ASTVผู้จัดการรายวัน - แรงงานนอกระบบ 35 ล้านราย มีหลักประกันมั่นคง กองทุนการออมแห่งชาติผ่านสภาผู้แทนราษฎร 3 วาระรวด “กรณ์” ชี้หลังผ่านมติวุฒิสภากฎหมายจะมีผลบังคับใช้เมษายนนี้และรับสมาชิกได้ปีหน้า ผู้สูงอายุเฮ! รัฐบาลสมทบสูงสุดหัวละ 1,200 บาท อายุครบ 60 ปีรับบำนาญได้ตลอดชีพ
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 และวาระที่ 3 แล้ว และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร มีดังนี้
1.กอช. เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน และอาจมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทน ตามความเหมาะสมได้ 2.ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใดๆ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้มีการขยายอายุของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. ที่อายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กองทุนเปิดรับสมาชิก ให้เป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปี ซึ่งผู้สมัครในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะรวมถึงผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ด้วย
3.การจ่ายเงินเข้ากองทุนมาจาก 2 ฝ่าย คือ สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 บาท แต่ไม่เกินจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจะกำหนดไว้ 1,100 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้แก่สมาชิกตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุน โดยการจ่ายเงินสมทบในระยะแรกจะกำหนดในกฎกระทรวง ดังนี้
อายุสมาชิกไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปีอัตราเงินสมทบ ร้อยละ 50 ของเงินสะสม เงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 600 บาทต่อปี อายุสมาชิกมากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี อัตราเงินสมทบร้อยละ 80 ของเงินสะสมเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 960 บาทต่อปี และอายุสมาชิกมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี อัตราเงินสมทบร้อยละ 100 ของเงินสะสม เงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี
4.รัฐบาลรับประกันให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนโดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง โดยจะคำนวณเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้รับกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำดังกล่าวในวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปี หรือเสียชีวิต
5.การจ่ายเงินออกจากกองทุน มีดังนี้ กรณีอายุครบ 60 ปี รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต หากเสียชีวิตจะคืนเงินที่เหลือแก่ทายาท หากมีเงินในบัญชีไม่ถึงจำนวนบำนาญขั้นต่ำจะจ่าย “เงินดำรงชีพ” เท่ากับบำนาญขั้นต่ำเป็นรายเดือนจนกว่าเงินในบัญชีจะหมด กรณีเสียชีวิต รับเงินก้อนเท่ากับจำนวนเงินในบัญชี จ่ายเงินแก่ทายาท หากไม่มีทายาทจะจ่ายให้ผู้ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้กับกองทุน เป็นต้น
6.สิทธิการรับเงินตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้ 7.กรณีที่สมาชิกเปลี่ยนงานและทำให้สมาชิกได้รับความคุ้มครองหรือหลักประกันทางรายได้เพื่อการชราภาพตามกฎหมายอื่นที่มีรัฐหรือนายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุน หรืออยู่ในระบบบำนาญใดๆ ให้สมาชิกคงเงินไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยให้สมาชิกสามารถออมเงินสะสมต่อไปได้ ทั้งนี้ เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนในกรณีนี้ จะไม่นำมารวมคำนวณบำนาญและรัฐมิได้ค้ำประกันผลประโยชน์ตอบแทน
และ 8.กรณีที่สมาชิก หรือผู้รับบำนาญ หรือผู้รับเงินดำรงชีพเสียชีวิต และยังมีเงินคงเหลือในบัญชีของผู้นั้นให้จ่ายเงินที่เหลือนั้นแก่ทายาท แต่หากไม่มีทายาทให้จ่ายเงินนั้นแก่ผู้ที่สมาชิกได้แจ้งไว้กับกองทุน
สำหรับการดำเนินการขั้นต่อไป มีดังนี้ ร่างพ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... คาดว่าจะมีผลใช้บังคับในเดือนเมษายน 2554 ซึ่งจะทำให้ กอช. เปิดรับสมาชิกได้ในเดือนเมษายน 2555 โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการเตรียมการ 5 คณะ เพื่อดำเนินการในด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กรและบุคลากร ด้านกฎหมาย ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านงบประมาณ ระบบบัญชี การเงิน และพัสดุ และด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแล้วเสร็จตามกำหนด
“ทั้งนี้ กอช. จะเป็นเครื่องมือของรัฐที่ช่วยสร้างหลักประกันยามชราภาพในรูปแบบบำนาญ สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งครอบคลุมผู้สิทธิเป็นสมาชิกของกองทุนทั้งสิ้นประมาณ 35 ล้านคนหรือร้อยละ 53 ของประชากรทั้งประเทศ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญ เพื่อเป็นรายได้สำหรับการดำรงชีวิต และสร้างความมั่นคงในชีวิตวัยชรา” นายกรณ์กล่าว.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เปิดเผยว่า ความคืบหน้าของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... ขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร วาระที่ 2 และวาระที่ 3 แล้ว และเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป โดยสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ที่ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร มีดังนี้
1.กอช. เป็นหน่วยงานของรัฐ และมีฐานะเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจมีการบริหารจัดการโดยคณะกรรมการกองทุน และอาจมอบหมายให้บุคคลใดดำเนินการแทน ตามความเหมาะสมได้ 2.ผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. จะต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นสมาชิกของกองทุนเพื่อการชราภาพใดๆ ที่มีการสมทบเงินจากรัฐหรือนายจ้าง เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการกรุงเทพมหานคร กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น กองทุนประกันสังคม (ซึ่งส่งเงินเพื่อได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน เป็นต้น
ทั้งนี้ ได้มีการขยายอายุของผู้มีสิทธิเป็นสมาชิก กอช. ที่อายุ 50 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปและสมัครภายใน 1 ปีนับแต่วันที่กองทุนเปิดรับสมาชิก ให้เป็นสมาชิกต่อไปได้อีก 10 ปี ซึ่งผู้สมัครในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะรวมถึงผู้ที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ด้วย
3.การจ่ายเงินเข้ากองทุนมาจาก 2 ฝ่าย คือ สมาชิกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 50 บาท แต่ไม่เกินจำนวนที่จะกำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งจะกำหนดไว้ 1,100 บาทต่อเดือน และรัฐบาลจ่ายเงินสมทบให้แก่สมาชิกตามระดับอายุของสมาชิก และเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่สมาชิกสะสมเข้ากองทุน โดยการจ่ายเงินสมทบในระยะแรกจะกำหนดในกฎกระทรวง ดังนี้
อายุสมาชิกไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 30 ปีอัตราเงินสมทบ ร้อยละ 50 ของเงินสะสม เงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 600 บาทต่อปี อายุสมาชิกมากกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน 50 ปี อัตราเงินสมทบร้อยละ 80 ของเงินสะสมเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 960 บาทต่อปี และอายุสมาชิกมากกว่า 50 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี อัตราเงินสมทบร้อยละ 100 ของเงินสะสม เงินสมทบสูงสุด ไม่เกิน 1,200 บาทต่อปี
4.รัฐบาลรับประกันให้สมาชิกได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำเงินสะสมและเงินสมทบไปลงทุนไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำประเภท 12 เดือนโดยเฉลี่ยของธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารพาณิชย์แห่งใหญ่ 5 แห่ง โดยจะคำนวณเปรียบเทียบผลตอบแทนที่ได้รับกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำดังกล่าวในวันที่สมาชิกสิ้นสมาชิกภาพเพราะอายุครบ 60 ปี หรือเสียชีวิต
5.การจ่ายเงินออกจากกองทุน มีดังนี้ กรณีอายุครบ 60 ปี รับบำนาญรายเดือนตลอดชีวิต หากเสียชีวิตจะคืนเงินที่เหลือแก่ทายาท หากมีเงินในบัญชีไม่ถึงจำนวนบำนาญขั้นต่ำจะจ่าย “เงินดำรงชีพ” เท่ากับบำนาญขั้นต่ำเป็นรายเดือนจนกว่าเงินในบัญชีจะหมด กรณีเสียชีวิต รับเงินก้อนเท่ากับจำนวนเงินในบัญชี จ่ายเงินแก่ทายาท หากไม่มีทายาทจะจ่ายให้ผู้ที่สมาชิกแจ้งชื่อไว้กับกองทุน เป็นต้น
6.สิทธิการรับเงินตามพระราชบัญญัตินี้เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่อาจโอนแก่กันได้ 7.กรณีที่สมาชิกเปลี่ยนงานและทำให้สมาชิกได้รับความคุ้มครองหรือหลักประกันทางรายได้เพื่อการชราภาพตามกฎหมายอื่นที่มีรัฐหรือนายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุน หรืออยู่ในระบบบำนาญใดๆ ให้สมาชิกคงเงินไว้ในกองทุน และคงการเป็นสมาชิกต่อไป โดยให้สมาชิกสามารถออมเงินสะสมต่อไปได้ ทั้งนี้ เงินสะสมที่สมาชิกจ่ายเข้ากองทุนในกรณีนี้ จะไม่นำมารวมคำนวณบำนาญและรัฐมิได้ค้ำประกันผลประโยชน์ตอบแทน
และ 8.กรณีที่สมาชิก หรือผู้รับบำนาญ หรือผู้รับเงินดำรงชีพเสียชีวิต และยังมีเงินคงเหลือในบัญชีของผู้นั้นให้จ่ายเงินที่เหลือนั้นแก่ทายาท แต่หากไม่มีทายาทให้จ่ายเงินนั้นแก่ผู้ที่สมาชิกได้แจ้งไว้กับกองทุน
สำหรับการดำเนินการขั้นต่อไป มีดังนี้ ร่างพ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ พ.ศ. .... คาดว่าจะมีผลใช้บังคับในเดือนเมษายน 2554 ซึ่งจะทำให้ กอช. เปิดรับสมาชิกได้ในเดือนเมษายน 2555 โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเตรียมการจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัตินี้ พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการเตรียมการ 5 คณะ เพื่อดำเนินการในด้านต่างๆ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านองค์กรและบุคลากร ด้านกฎหมาย ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านงบประมาณ ระบบบัญชี การเงิน และพัสดุ และด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การจัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและแล้วเสร็จตามกำหนด
“ทั้งนี้ กอช. จะเป็นเครื่องมือของรัฐที่ช่วยสร้างหลักประกันยามชราภาพในรูปแบบบำนาญ สร้างความเท่าเทียมและเป็นธรรมแก่ประชาชน โดยเฉพาะแรงงานที่อยู่นอกระบบ ซึ่งครอบคลุมผู้สิทธิเป็นสมาชิกของกองทุนทั้งสิ้นประมาณ 35 ล้านคนหรือร้อยละ 53 ของประชากรทั้งประเทศ ให้ได้รับผลประโยชน์ในรูปบำนาญ เพื่อเป็นรายได้สำหรับการดำรงชีวิต และสร้างความมั่นคงในชีวิตวัยชรา” นายกรณ์กล่าว.