ASTVผู้จัดการรายวัน - เอกชนมึนยังหาข้อสรุปแนวทางการลดผลกระทบมาตรการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมไม่ได้ ขอชะลอขึ้นราคาออกไปหลัง ก.ค.54 ขณะที่กลุ่มเซรามิกส์ยังหนีไม่พ้นต้องใช้แอลพีจีเหตุก๊าซธรรมชาติ ด้าน ส.ผู้ค้าแอลพีจียื่นรัฐปรับเกณฑ์กำหนดให้ผู้ใช้ก๊าซหุงต้มต่ำกว่า 1,000 กก.ต่อเดือนเข้าข่ายไม่ต้องขึ้นราคา
นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจ พลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า จากที่กรมฯได้หารือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมในการปรับขึ้นราคาแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐบาลแต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โดยจะต้องหารือในรายละเอียดในทุกๆ ด้านซึ่งเบื้องต้นจากการหารือภาคเอกชนได้เสนอให้มีการชะลอการปรับขึ้นแอลพีจีอุตสาหกรรมออกไปหลังก.ค.2554 เพื่อหามาตรการลดผลกระทบให้ชัดเจนก่อนและให้มีการปรับขึ้นแบบขั้นบันไดเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีการปรับตัว
นอกจากนี้ยังมีการขอให้ธพ.ทบทวนหลักเกณฑ์ในการแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ที่ขณะนี้ธพ.อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างประกาศพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สำหรับโรงงานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ...ซึ่งกำหนดการใช้แอลพีจีจากมากกว่า 500 กิโลกรัม(กก.)ต่อเดือนที่จะต้องขอใบอนุญาตหรือจัดเป็นประเภทอุตสาหกรรมเป็นมากกว่า 1,000 กก.ต่อเดือน
นายอำนาจ ยะโส เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ล่าสุดได้มีการหารือกับภาครัฐถึงการลดผลกระทบกับอุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตโดยเฉพาะเซรามิกส์ แก้วและกระจกที่ใช้แอลพีจี 25-40% โดยกลุ่มเซรามิกส์สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนแอลพีจีได้แต่จากการหารือกับภาครัฐพบว่าการเดินท่อก๊าซฯไปไม่คุ้มทุน ประกอบกับก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ที่ราคาแพง
“วันนี้ยังหาทางออกไม่ได้ที่สุดแล้วแอลพีจีคือคำตอบดังนั้นการลดผลกระทบทางส.อ.ท.และกระทรวงพลังงานคงจะต้องหารือในประเด็นนี้อย่างจริงจังเพราะหากไม่สามารถมาตรการช่วยเหลือได้การขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม จะกระทบมากเพราะผู้ประกอบการได้มีการทำสัญญาขายกันล่วงหน้าไปแล้วบางรายยาวเป็นปี
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนถึงการกำหนดประเภทแอลพีจีว่าขนาดใดหรือใช้ถังอย่างไรจึงจะเข้าข่ายได้รับการยกเว้นซึ่งที่ผ่านมาการใช้ถังขนาดใหญ่หรือเบาท์เป็นการส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยแล้วจะอนุโลมให้ใช้ถัง 48 กก.ได้ 10 ถังก็เท่ากับไม่ยุติธรรม”นายอำนาจกล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) กล่าวว่า ภายในก.พ.นี้จะทำหนังสือยื่นไปยังธพ.เพื่อขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์ในการแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ ในร่างประกาศพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535สำหรับโรงงานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อรองรับการลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ร่างดังกล่าวกำหนดผู้ที่ใช้ก๊าซหุงต้มมากกว่า 500 กิโลกรัม(กก.)ต่อเดือน จะต้องขอใบอนุญาตในการครอบครอง และเปลี่ยนจากถังขนาด 48 กก. เป็นถังขนาดใหญ่(เบาท์)หรือเท่ากับราคาแอลพีจีจะปรับขึ้นสะท้อนตลาดโลกในกลุ่มนี้โดยสมาคมฯจะยื่นขอให้ขยายปริมาณแอลพีจีที่กำหนดเป็นมากกว่า 1,000 กก.ต่อเดือนเพื่อที่จะไม่กระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ซึ่งจะรวมถึงร้านค้าที่จำหน่ายแอลพีจีรายเล็กด้วยเนื่องจากมีจำนวนไม่น้อยที่อาศัยรายได้จากการจำหน่ายแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม
“ เรากำลังรวบรวมผลกระทบต่อร้านค้าแอลพีจีทั่วประเทศที่มีกว่าหมื่นรายโดยส่งหนังสือสอบถามไปและให้ส่งกลับภายใน 31 ม.ค.นี้ โดยยอมรับว่าหากมีการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมก็อาจทำให้มีการหันไปใช้พลังงานอื่นแทนหรือไปซื้อจากรายใหญ่ที่มีศักยภาพดีกว่าโดยเฉพาะผู้ค้าแอลพีจีมาตรา 7 “ นายชิษณุพงศ์กล่าว.
นายพีระพล สาครินทร์ อธิบดีกรมธุรกิจ พลังงาน (ธพ.) เปิดเผยว่า จากที่กรมฯได้หารือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมในการปรับขึ้นราคาแอลพีจี (ก๊าซหุงต้ม) ภาคอุตสาหกรรมตามนโยบายรัฐบาลแต่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน โดยจะต้องหารือในรายละเอียดในทุกๆ ด้านซึ่งเบื้องต้นจากการหารือภาคเอกชนได้เสนอให้มีการชะลอการปรับขึ้นแอลพีจีอุตสาหกรรมออกไปหลังก.ค.2554 เพื่อหามาตรการลดผลกระทบให้ชัดเจนก่อนและให้มีการปรับขึ้นแบบขั้นบันไดเพื่อให้ทุกฝ่ายได้มีการปรับตัว
นอกจากนี้ยังมีการขอให้ธพ.ทบทวนหลักเกณฑ์ในการแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ที่ขณะนี้ธพ.อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำร่างประกาศพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 สำหรับโรงงานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ...ซึ่งกำหนดการใช้แอลพีจีจากมากกว่า 500 กิโลกรัม(กก.)ต่อเดือนที่จะต้องขอใบอนุญาตหรือจัดเป็นประเภทอุตสาหกรรมเป็นมากกว่า 1,000 กก.ต่อเดือน
นายอำนาจ ยะโส เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกส์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า ล่าสุดได้มีการหารือกับภาครัฐถึงการลดผลกระทบกับอุตสาหกรรมที่ใช้แอลพีจีเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตโดยเฉพาะเซรามิกส์ แก้วและกระจกที่ใช้แอลพีจี 25-40% โดยกลุ่มเซรามิกส์สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนแอลพีจีได้แต่จากการหารือกับภาครัฐพบว่าการเดินท่อก๊าซฯไปไม่คุ้มทุน ประกอบกับก๊าซธรรมชาติส่วนหนึ่งต้องนำเข้าจากต่างประเทศในรูปของก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ที่ราคาแพง
“วันนี้ยังหาทางออกไม่ได้ที่สุดแล้วแอลพีจีคือคำตอบดังนั้นการลดผลกระทบทางส.อ.ท.และกระทรวงพลังงานคงจะต้องหารือในประเด็นนี้อย่างจริงจังเพราะหากไม่สามารถมาตรการช่วยเหลือได้การขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม จะกระทบมากเพราะผู้ประกอบการได้มีการทำสัญญาขายกันล่วงหน้าไปแล้วบางรายยาวเป็นปี
นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนถึงการกำหนดประเภทแอลพีจีว่าขนาดใดหรือใช้ถังอย่างไรจึงจะเข้าข่ายได้รับการยกเว้นซึ่งที่ผ่านมาการใช้ถังขนาดใหญ่หรือเบาท์เป็นการส่งเสริมเรื่องความปลอดภัยแล้วจะอนุโลมให้ใช้ถัง 48 กก.ได้ 10 ถังก็เท่ากับไม่ยุติธรรม”นายอำนาจกล่าว
นายชิษณุพงศ์ รุ่งโรจน์งามเจริญ นายกสมาคมผู้ค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว(แอลพีจี) กล่าวว่า ภายในก.พ.นี้จะทำหนังสือยื่นไปยังธพ.เพื่อขอให้ทบทวนหลักเกณฑ์ในการแยกประเภทแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมใหม่ ในร่างประกาศพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบและการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535สำหรับโรงงานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. ... ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อรองรับการลอยตัวราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ร่างดังกล่าวกำหนดผู้ที่ใช้ก๊าซหุงต้มมากกว่า 500 กิโลกรัม(กก.)ต่อเดือน จะต้องขอใบอนุญาตในการครอบครอง และเปลี่ยนจากถังขนาด 48 กก. เป็นถังขนาดใหญ่(เบาท์)หรือเท่ากับราคาแอลพีจีจะปรับขึ้นสะท้อนตลาดโลกในกลุ่มนี้โดยสมาคมฯจะยื่นขอให้ขยายปริมาณแอลพีจีที่กำหนดเป็นมากกว่า 1,000 กก.ต่อเดือนเพื่อที่จะไม่กระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและย่อม(เอสเอ็มอี)ซึ่งจะรวมถึงร้านค้าที่จำหน่ายแอลพีจีรายเล็กด้วยเนื่องจากมีจำนวนไม่น้อยที่อาศัยรายได้จากการจำหน่ายแอลพีจีภาคอุตสาหกรรม
“ เรากำลังรวบรวมผลกระทบต่อร้านค้าแอลพีจีทั่วประเทศที่มีกว่าหมื่นรายโดยส่งหนังสือสอบถามไปและให้ส่งกลับภายใน 31 ม.ค.นี้ โดยยอมรับว่าหากมีการขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมก็อาจทำให้มีการหันไปใช้พลังงานอื่นแทนหรือไปซื้อจากรายใหญ่ที่มีศักยภาพดีกว่าโดยเฉพาะผู้ค้าแอลพีจีมาตรา 7 “ นายชิษณุพงศ์กล่าว.