ASTVผู้จัดการรายวัน-เรกูเลเตอร์เล็งเปิดลงทะเบียนคัดคนมีรายได้ต่ำจริงๆ ให้ได้ใช้ไฟฟรี หลังพบกลุ่มคนที่ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน มีทั้งคนรวยและคนจนปะปนกันอยู่ใน 9 ล้านครัวเรือน หวังให้กลุ่มที่จะโดนเกลี่ยขึ้นค่าไฟมารับภาระเพิ่มยอมรับโดยดี เป้าแรกเล็งไปที่ภาคอุตสาหกรรมก่อน ขณะที่ลอยตัวแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมยังมึนตึบ หามาตรการช่วยเซรามิกส์ยังไม่ลงตัว
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ขณะนี้เรกูเลเตอร์กำลังหารือรายละเอียดในการกำหนดเงื่อนไขความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้มาตรการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน เกิดประโยชน์กับผู้ที่มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง โดยเบื้องต้นมีแนวคิดที่จะให้มีการลงทะเบียนใช้สิทธิ์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการใช้ไฟว่าเป็นบ้านหลังที่สองหรือไม่และมีรายได้สมควรแก่การใช้ไฟฟรีหรือไม่
“เราเห็นว่าควรจะให้คนที่ด้อยโอกาสได้ใช้ไฟฟรีจริงๆ ก็จะทำให้คนที่เขาโดนเกลี่ยค่าไฟเพิ่มขึ้น เพื่อมารับภาระส่วนนี้มีความเต็มใจอยากจะจ่าย เนื่องจากพบว่าในกลุ่มของผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนที่มีอยู่ 9 ล้านครัวเรือน มีทั้งผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่มีรายได้มากรวมอยู่ด้วยกันเช่น มีบ้านหลังที่สองหรือบ้านพักตาอากาศ บางคนเองพร้อมที่จะจ่ายไฟ ไม่ต้องการใช้ฟรีก็มีพอสมควร เลยคิดว่าน่าจะเปิดให้ลงทะเบียนใช้ไฟฟรี”นายดิเรกกล่าว
ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ 17 ล้านครัวเรือน โดยแยกเป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนจำนวน 9 ล้านครัวเรือน ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะรับภาระการใช้ไฟฟ้าฟรีในวงเงิน 13,500 ล้านบาท โดยเรคกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทางลดภาระการชดเชยค่าฟ้าจำนวนดังกล่าวอยู่ ซึ่งมีหลายแนวทาง
นายดิเรกกล่าวว่า กรณีจะมีการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมใหม่เพื่อเฉลี่ยค่าไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินมาอุดหนุนภาระอุ้มค่าไฟฟ้าให้กับรายย่อยนั้น มีหลายแนวทางที่มองไว้ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่หากแบ่งประเภทผู้ใช้ไฟแล้ว ภาคอุตสาหกรรมจะประกอบด้วยรายเล็ก รายกลางและรายใหญ่ คงจะต้องมาพิจารณาถึงความสามารถในการรับภาระเพิ่ม ส่วนข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่ต้องการให้ยกเว้นค่าประกันไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมาหารือในรายละเอียดร่วมกัน ซึ่งตามปกติผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านก็ต้องถูกเก็บค่าประกันมิเตอร์เช่นกันไม่ได้รับการยกเว้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกส์ส.อ.ท. ถึงข้อเสนอการให้ชะลอการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมว่า อส.อ.ท.ได้เสนอให้ชะลอการขึ้นราคาถึง 5 ปี ซึ่งเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่จะต้องทำเหตุผล เพื่อนำเสนอ รมว.พลังงานอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนแนวทางการช่วยเหลือด้วยการหาเชื้อเพลิงอื่น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาตินั้น มองไปที่ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่จะต้องขนส่งจากมาบตาพุด ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ราคาแพงมากไม่คุ้มค่า เบื้องต้นจึงมีแนวคิดว่ายังคงให้ใช้แอลพีจี แต่เป็นราคาที่ต้องปรับขึ้นตามนโยบายรัฐแล้วให้อิงราคาน้ำมันเตา แต่ส่วนต่างที่เพิ่มอาจให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุน
“ยอมรับว่าปัญหาค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ยังไม่มีข้อสรุปว่าท้ายสุดจะเป็นอย่างไร ก็คงจะต้องให้ระดับนโยบายเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นรายละเอียดอีกครั้ง”แหล่งข่าวกล่าว
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ส.อ.ท.กล่าวว่า กลุ่มเซรามิกส์ แก้วและกระจกจะได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะแอลพีจีถือเป็นต้นทุนการผลิต 25-40% กรณีที่จะหันไปใช้น้ำมันเตาเป็นการลดเกรดสินค้าให้ต่ำ จึงต้องการพลังงานสะอาด คือ ก๊าซธรรมชาติเท่านั้น แต่ก็มีปัญหาราคาที่แพงกว่า จึงต้องการให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งจะต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรคกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า ขณะนี้เรกูเลเตอร์กำลังหารือรายละเอียดในการกำหนดเงื่อนไขความเป็นไปได้ที่จะผลักดันให้มาตรการที่รัฐบาลได้ประกาศให้ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือน เกิดประโยชน์กับผู้ที่มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง โดยเบื้องต้นมีแนวคิดที่จะให้มีการลงทะเบียนใช้สิทธิ์เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติการใช้ไฟว่าเป็นบ้านหลังที่สองหรือไม่และมีรายได้สมควรแก่การใช้ไฟฟรีหรือไม่
“เราเห็นว่าควรจะให้คนที่ด้อยโอกาสได้ใช้ไฟฟรีจริงๆ ก็จะทำให้คนที่เขาโดนเกลี่ยค่าไฟเพิ่มขึ้น เพื่อมารับภาระส่วนนี้มีความเต็มใจอยากจะจ่าย เนื่องจากพบว่าในกลุ่มของผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนที่มีอยู่ 9 ล้านครัวเรือน มีทั้งผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่มีรายได้มากรวมอยู่ด้วยกันเช่น มีบ้านหลังที่สองหรือบ้านพักตาอากาศ บางคนเองพร้อมที่จะจ่ายไฟ ไม่ต้องการใช้ฟรีก็มีพอสมควร เลยคิดว่าน่าจะเปิดให้ลงทะเบียนใช้ไฟฟรี”นายดิเรกกล่าว
ปัจจุบันจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าอยู่ 17 ล้านครัวเรือน โดยแยกเป็นกลุ่มผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 90 หน่วยต่อเดือนจำนวน 9 ล้านครัวเรือน ซึ่งคาดการณ์กันว่าจะรับภาระการใช้ไฟฟ้าฟรีในวงเงิน 13,500 ล้านบาท โดยเรคกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการพิจารณาหาแนวทางลดภาระการชดเชยค่าฟ้าจำนวนดังกล่าวอยู่ ซึ่งมีหลายแนวทาง
นายดิเรกกล่าวว่า กรณีจะมีการปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมใหม่เพื่อเฉลี่ยค่าไฟฟ้าให้เพิ่มขึ้น เพื่อนำเงินมาอุดหนุนภาระอุ้มค่าไฟฟ้าให้กับรายย่อยนั้น มีหลายแนวทางที่มองไว้ ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่หากแบ่งประเภทผู้ใช้ไฟแล้ว ภาคอุตสาหกรรมจะประกอบด้วยรายเล็ก รายกลางและรายใหญ่ คงจะต้องมาพิจารณาถึงความสามารถในการรับภาระเพิ่ม ส่วนข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่ต้องการให้ยกเว้นค่าประกันไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมนั้น จะต้องมาหารือในรายละเอียดร่วมกัน ซึ่งตามปกติผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านก็ต้องถูกเก็บค่าประกันมิเตอร์เช่นกันไม่ได้รับการยกเว้น
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงการหารือกับกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกส์ส.อ.ท. ถึงข้อเสนอการให้ชะลอการปรับขึ้นราคาแอลพีจีภาคอุตสาหกรรมว่า อส.อ.ท.ได้เสนอให้ชะลอการขึ้นราคาถึง 5 ปี ซึ่งเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่จะต้องทำเหตุผล เพื่อนำเสนอ รมว.พลังงานอย่างเป็นทางการอีกครั้ง ส่วนแนวทางการช่วยเหลือด้วยการหาเชื้อเพลิงอื่น โดยเฉพาะก๊าซธรรมชาตินั้น มองไปที่ก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่จะต้องขนส่งจากมาบตาพุด ซึ่งกลายเป็นปัญหาที่ราคาแพงมากไม่คุ้มค่า เบื้องต้นจึงมีแนวคิดว่ายังคงให้ใช้แอลพีจี แต่เป็นราคาที่ต้องปรับขึ้นตามนโยบายรัฐแล้วให้อิงราคาน้ำมันเตา แต่ส่วนต่างที่เพิ่มอาจให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาอุดหนุน
“ยอมรับว่าปัญหาค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร ยังไม่มีข้อสรุปว่าท้ายสุดจะเป็นอย่างไร ก็คงจะต้องให้ระดับนโยบายเป็นผู้ตัดสินใจในขั้นรายละเอียดอีกครั้ง”แหล่งข่าวกล่าว
นายอำนาจ ยะโสธร เลขาธิการกลุ่มอุตสาหกรรมเซรามิกส์ ส.อ.ท.กล่าวว่า กลุ่มเซรามิกส์ แก้วและกระจกจะได้รับผลกระทบอย่างมาก เพราะแอลพีจีถือเป็นต้นทุนการผลิต 25-40% กรณีที่จะหันไปใช้น้ำมันเตาเป็นการลดเกรดสินค้าให้ต่ำ จึงต้องการพลังงานสะอาด คือ ก๊าซธรรมชาติเท่านั้น แต่ก็มีปัญหาราคาที่แพงกว่า จึงต้องการให้รัฐบาลหามาตรการช่วยเหลือ ซึ่งจะต้องหารือในรายละเอียดอีกครั้ง