เมื่อเวลา 09.30 น. วานนี้(25ม.ค.)ที่รัฐสภา นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้รับการปล่อยตัวจากทางการกัมพูชาและป่วยจากการติดเชื้อและรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสมิติเวช ได้เดินทางร่วมประชุมร่วมรัฐสภา เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ 2550 ด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า ขณะนี้ตนได้กลับมารักษาตัวอยู่ที่บ้านแล้ว แต่ยังต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งได้ยามารับประทาน 3 วัน และ อีก 3 วันจะทราบผลการตรวจเลือดเพิ่มเติม ทั้งนี้จะอยู่ร่วมประชุมตลอดทั้งวัน เพราะมีความตั้งใจที่จะออกมาที่สภา หวังว่าคงจะได้ทำหน้าที่อย่างเต็มที่และมั่นใจในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์อยู่แล้ว ซึ่งผู้ใหญ่ในพรรคก็แสดงความเป็นห่วงในเรื่องสุขภาพ ส่วนในเรื่องของหน้าที่ทุกคนก็ได้พูดชัดเจนว่าให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างครบถ้วนในทุกภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และตนก็คิดว่าถ้าหายดีภายใน 1-2 วันนี้ ก็จะไปลงพื้นที่เพราะมีประชาชนในพื้นที่ของตนก็ถามถึงเพราะเห็นว่าหายไปหลายวันแล้ว
เมื่อถามว่า เป็นห่วงเรื่องสถานะความเป็น ส.ส.หรือไม่ นายพนิชกล่าวว่า ไม่ เพราะ ณ ตอนนี้ตนเชื่อว่ายังสามารถทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส.และลงมติได้ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ถ้ามีใครส่งเรื่องไปตีความ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของ กกต. หรือเจ้าหน้าที่ของสภามาบอกว่าตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทุกคนยังให้ความมั่นใจว่าสามารถทำหน้าที่ ส.ส.ได้
นายพนิช ยังยืนยันว่าจะใช้สิทธิ์เข้าร่วมประชุมรัฐสภา และจะไม่ลาการประชุมตามที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาขอร้อง เนื่องจากว่าตอนนี้สถานะของตนยังคงความเป็นส.ส. และหากมีการเรียกแสดงตน ตนก็จะยืนยันจะแสดงตนอย่างแน่นอน ส่วนจะร่วมโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขณะนี้ตนได้หารือกับนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล แต่ยังไม่ได้คำตอบยืนยัน ซึ่งหากเกิดปัญหาใดขึ้นตนพร้อมที่จะรับผิดชอบ
รายงานข่าวแจ้งว่า นายพนิชได้ร่วมโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และมาตรา 93-98 ด้วย
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมแทนนายอภิชาต สุขัคานนท์ ประธานกกต. ที่เดินทางไปต่างประเทศ กล่าวภายหลังการประชุมกกต.ว่า ที่ประชุมรับทราบกรณีกระทรวงการต่างประเทศ รายงานข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ทางการประเทศกัมพูชาได้จับกุม 7 คนไทยจริง ซึ่งรวมถึงนายพนิช ต่อมาศาลกัมพูชาได้มีคำพิพากษาจำคุก 5 คนไทย โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา กกต.จึงเห็นว่า อาจมีปัญหาเกี่ยวกับสมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายพนิช ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (5)(11) ที่ระบุว่า สมาชิกภาพความเป็นส.ส.สิ้นสุดลง เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
ที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมายว่า เหตุให้ต้องสิ้นสมาชิกภาพนั้น หมายรวมถึงต้องคำพิพากษาศาลในต่างประเทศด้วยหรือไม่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 30 วัน และให้เสนอต่อ กกต. เพื่อพิจารณา หากที่สุด กกต.เห็นว่า ต้องสิ้นสภาพความเป็น ส.ส. ก็ต้องส่งเรื่องไปที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป
เมื่อถามว่า เป็นห่วงเรื่องสถานะความเป็น ส.ส.หรือไม่ นายพนิชกล่าวว่า ไม่ เพราะ ณ ตอนนี้ตนเชื่อว่ายังสามารถทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส.และลงมติได้ จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ถ้ามีใครส่งเรื่องไปตีความ แต่ตอนนี้ก็ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ของ กกต. หรือเจ้าหน้าที่ของสภามาบอกว่าตนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทุกคนยังให้ความมั่นใจว่าสามารถทำหน้าที่ ส.ส.ได้
นายพนิช ยังยืนยันว่าจะใช้สิทธิ์เข้าร่วมประชุมรัฐสภา และจะไม่ลาการประชุมตามที่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาขอร้อง เนื่องจากว่าตอนนี้สถานะของตนยังคงความเป็นส.ส. และหากมีการเรียกแสดงตน ตนก็จะยืนยันจะแสดงตนอย่างแน่นอน ส่วนจะร่วมโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่นั้น ขณะนี้ตนได้หารือกับนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานวิปรัฐบาล แต่ยังไม่ได้คำตอบยืนยัน ซึ่งหากเกิดปัญหาใดขึ้นตนพร้อมที่จะรับผิดชอบ
รายงานข่าวแจ้งว่า นายพนิชได้ร่วมโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และมาตรา 93-98 ด้วย
ด้านนายประพันธ์ นัยโกวิท กกต. ด้านบริหารงานเลือกตั้ง ซึ่งทำหน้าที่ประธานการประชุมแทนนายอภิชาต สุขัคานนท์ ประธานกกต. ที่เดินทางไปต่างประเทศ กล่าวภายหลังการประชุมกกต.ว่า ที่ประชุมรับทราบกรณีกระทรวงการต่างประเทศ รายงานข้อเท็จจริงเบื้องต้นว่า ทางการประเทศกัมพูชาได้จับกุม 7 คนไทยจริง ซึ่งรวมถึงนายพนิช ต่อมาศาลกัมพูชาได้มีคำพิพากษาจำคุก 5 คนไทย โดยโทษจำคุกให้รอลงอาญา กกต.จึงเห็นว่า อาจมีปัญหาเกี่ยวกับสมาชิกภาพความเป็นส.ส.ของนายพนิช ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 106 (5)(11) ที่ระบุว่า สมาชิกภาพความเป็นส.ส.สิ้นสุดลง เมื่อต้องคำพิพากษาให้จำคุก หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุด แม้จะมีการรอการลงโทษ เว้นแต่เป็นการรอการลงโทษในความผิดอันได้กระทำโดยประมาท
ที่ประชุมจึงมีมติให้ตั้งคณะอนุกรรมการสืบสวนสอบสวน เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงข้อกฎหมายว่า เหตุให้ต้องสิ้นสมาชิกภาพนั้น หมายรวมถึงต้องคำพิพากษาศาลในต่างประเทศด้วยหรือไม่ โดยให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จใน 30 วัน และให้เสนอต่อ กกต. เพื่อพิจารณา หากที่สุด กกต.เห็นว่า ต้องสิ้นสภาพความเป็น ส.ส. ก็ต้องส่งเรื่องไปที่ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป