เมื่อเวลา 18.00 น. วานนี้(24 ม.ค.) ที่โรงแรมพล่าซ่า แอทธินี ตัวแทนพรรคร่วมรัฐบาลได้เดินทางมาร่วมงานเลี้ยงรับประทานอาหารกับ ส.ส.ที่จัดโดยพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้ชื่อ“รวมพลัง สร้างสรรค์ประเทศไทย” อาทิ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกฯ นายชุมพล ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา นายชวรัตน์ ชาญวีรกุล รมว.กระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น ประธานส.ส.พรรคภูมิใจไทย นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนางพรรณศิริ กุลนาถศิริ รมช.สาธารณสุข จากพรรคภูมิใจไทย
ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดิน มีนายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรค และส.ส.ส่วนหนึ่งเดินทางมาด้วย แม้พรรคจะส่งข้อความห้ามสมาชิกพรรคไปร่วมงานเลี้ยง ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ เช่นนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน หัวหน้าพรรครวมชาติพัฒนา นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคฯ นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง รองหน้าพรรคมาตุภูมิ และนายนัดมุดดิน อูมา สส.นราธิวาส จากพรรคมาตุภูมิ
ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้การต้อนรับ อย่างไรก็ตามบรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงาแม้พรรคประชาธิปัตย์ จะตั้งโต๊ะไว้กว่า 600ที่นั่ง แต่ส.ส.พรรคร่ยมรับบาลกลับมาร่วมน้อยอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาในเวลา 18.30 น. โดยร่วมโต๊ะกับแกนนำพรรคร่วม มีการดื่มไวน์และชนแก้วกันอย่างสนุกสนาน
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลตัวจริง อย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายสุวัจน์ ลิปพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา ฯลฯ ไม่ได้เดินทางมาด้วย
รายงานแจ้งว่า ในฟากของแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน กลับมีการจัดเลี้ยงภายในพรรคเช่นเดียวกัน โดยนายพินิจ จารุสมบัติ ได้เชิญสส.ของพรรคร่วมมารับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมแกรน์ ไฮเอท เอราวัณ
มีรายงานด้วยว่า นายสุเทพได้หารือนอกรอบกับนายเนวิน แกนนำพรรคภูมิใจไทยแล้ว โดยเชื่อว่าจะได้เสียงข้างมากในการพิจารณาในวาระ 2ส่วนนายบรรหาร ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จะขอพบกับนายอภิสิทธิ์ เป็นส่วนตัว
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น ประธานส.ส.พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ส.ส.พรรคภูมิใจไทย จะให้อิสระกับส.ส. ตัดสินใจแต่เท่าที่ฟังเสียงจนถึงขณะนี้มีสส. 80-90 เปอร์เซ็นต์จะเลือกสูตร 400+100 แต่พรรค ยังยืนยันจะได้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว
เวลา 20.30น.นายอภิสิทธิ์ กล่าวบนเวทีว่า ขอขอบคุณวิปในการประชุมสภาที่ผ่านมา ทราบว่าเป็นการทำงานที่หนักจริงๆ พยายามทำงานในสภาเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ชัดว่าอีกซีกหนึ่งสภามรแนวทางชัดเจน ที่จะให้มีการตรวจสอบโดยการนัดองค์ประชุมทุกครั้ง ซึ่งจะมีการเปิดสมัยประชุมสภา ในวันอังคารที่ 25 ม.ค. นี้ ดังนั้นขอความร่วมมือทุกท่านใน 4 เดือน จากนี้ ไปขอให้ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ และขอให้ร่วมมือทำงานกับวิป อยากให้รัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลกำชับลูกพรรค โดยเฉพาะรัฐมนตรี จะขาดมากกว่าคนอื่น ซึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ก็ได้กำชับว่าให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศ และขอให้ความสำคัญกับการตอบกระทู้ในสภา
2 ปีกว่า ที่ผ่านมา ที่รัฐบาลอยู่มาได้เพราะทุ่มเทการทำงาน กอบกู้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ และประคับประคองสถานการณ์ทางการเมืองให้เดินหน้า ทำงานได้อย่างเต็มที่ ปีนี้ถือเป็นปีสุดท้าย ไม่ต้องไปคิดหรือคาดคะเนอะไรกันมาก มีคนบอกกให้ผมอยู่อีก 1 ปี ซึ่งตนบอกว่าเราได้ทำงานปีที่ 2 มาสั้นไปหน่อย จริงๆ คนผู้แทนไม่กลัวการยุบสภาฯ แต่กลัวการสอบตกมากกว่า แต่ทั้งหมดนี้ไม่ต้องกลัว หากพวกเรามีผลงานทำให้ประชาชนเห็น4 เดือนข้างหน้าต้องทำงานให้เต็มที่ และที่พูดมาไม่ได้บอกว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ แต่เราต้องพร้อมที่สุด ซึ่งเราถือว่าเราได้ทำงานมาครึ่งทางแล้ว ซึ่งก็อยากขอร้องหากมีกฎหมายอะไรที่สอดคล้องกับนโยบาย อยากให้เป็นประโยชน์กับประชาชน อยากให้ให้เร่งเสนอมาเพื่ออกกฎหมายให้กับประชาชน และขอขอบคุณความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวอันเดียวกัน ความเป็นปึกแผ่น ที่ร่วมทำงานมาด้วยกัน และก็ขอให้ร่วมใจกันทำงานกันต่อไป ไม่ใช่แค่ 2 ปีนี้เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับจำนวนบุคคลที่เข้ามาร่วมงานนั้นปรากฏว่าถือว่าบางตาอย่างเห็นได้ชัด โดยมีส.ส.นั่ง 30 โต๊ะ นอกนั้นเป็นโต๊ะของสื่อมวลชน คณะทำงาน ผู้ติดตาม แต่ทั้งนี้ก็ยังมีโต๊ะเหลือจำนวน 8 โต๊ะ หรือ 80 ที่
ขณะเดียกวันมีการเตรียมเมนู ออฟเดิร์ฟเย็น 4 อย่าง ตามมาด้วยอาหารหลัก “หูฉลามน้ำแดง เป็ดปักกิ่ง ไก่อบเกลือ ผัดผักสองสหาย ราดหน้าเนื้อปู ปลากระพงนึ่งซีอิ๊วฮ่องกง ข้าวผัดกวางตุ้ง ตบท้ายด้วยของหวานสาคูแคนตาลูป” มีการแสดงของโจนัสและคริสตี้ แอนเดอร์สัน มาขับกล่อมเสียงเพลงและการแสดงมากมาย
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้ใช้สูตร 375+125 ซึ่งถือว่าเป็นสูตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีผู้ที่ขอสงวนคำแปรญัตติ 3 คน ซึ่งทั้ง 3 คนก็ยืนยันว่าไม่ติดใจ แต่ขออภิปรายในส่วนที่แปรญัตติก่อน และจะโหวตให้กับร่างของรัฐบาล ส่วนการหารือกับพรรรคร่วมรัฐบาล และส.ว.นั้นจะยึดหลักการณ์และเหตุผลของคณะกรรมการอิสระเป็นสำคัญ.
ก่อนหน้านั้นเวลา 16.00น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกระแสข่าวว่าอาจจะมีการฟรีโหวต ว่า ไม่ทราบเพราะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรั,ฐบาล (วิปรัฐบาล)ต้องประชุมกันก่อน ส่วนที่ว่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลตัวจริงอาจจะจะไม่เดินทางไปร่วมด้วย ก็ไม่ทราบเช่นกัน เพราะยังไม่เคยได้ยิน
ช่วงเช้านายสุเทพ กล่าวว่า ที่ว่าจะเป็นตัวจริง หรือตัวปลอมตนก็คุยทั้งนั้น หลักในการทำงานของตนคือ ต้องให้ทุกฝ่ายได้รับฟังเหตุผลของกันและกัน และเชื่อว่าจะมีการไปปรึกษาหารือกัน ในแต่ละพรรรคการเมือง
อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ประเมินเสียงสนับสนุนของซีกรัฐบาล ว่าเกินกึ่งหนึ่งของเสียงทั้งหมดของทั้งสองสภาที่จะใช้ลงมติหรือไม่ แต่ตั้งหลักเอาไว้ว่า ให้สมาชิกรัฐสภาได้มีอิสระเสรีในการแสดงออก
ส่วนเสียงของ ส.ว. ที่อาจจะไม่สนับสนุนด้วยนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นการคาดการณ์กันไปทั้งนั้น อย่าไปกังวลใจอะไรเลย เรื่องเสียงโหวตพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีการปล่อยให้ฟรีโหวต แต่จะยืนยันโหวตเหมือนในวาระแรกยังยืนยันในจำนวนส.ส.เขตเลือกตั้ง 375 และ ส.ส.ระบบบัญชีสัดส่วน 125 คนเหมือนเดิม
“กระแสฟรีโหวต คงไม่ถึงกับกล่อม ผมชี้แจงเหตุผลให้เขาไปแล้วและตอนรับประทานอาหารด้วยกันเย็นวันนี้ก็จะคุยกันอีก”
ส่วนที่มีข่าวว่าหากพรรคร่วมรัฐบาลไม่เอาตามพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการขู่ยุบ สภานั้น ได้เรียนแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ข่มขู่ใคร ไม่ข่มขู่พรรคร่วมรัฐบาล เราก็ร่วมรัฐบาลกันมาช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหาบ้านเมืองมา 2 ปีกว่าแล้ว ก็ประคับประคองกันไป ไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปข่มขู่อะไรกัน
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)แถลงว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะมีส.ว.สรรหาที่จะครบวาระในวันที่ 18 ก.พ.และจะมีส.ว.บางคนลาออกก่อนวันครบวาระ ซึ่งจะมีผลทำให้ต้องส่งตีความว่าส.ว.ที่เหลืออยู่และมีจำนวนไม่ถึง 95%จะสามารถเป็นองค์ประชุมวุฒิสภาได้หรือไม่และเพื่อป้องกันปัญหาทำให้กระบวนการ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้อออกไปจนรัฐบาลอาจถูกวิจารณ์ว่าไม่จริงใจตามข้อเสนอของคนนอก ที่ประชุมวิปรัฐบาลจึงเห็นพ้องต้องกันกับแนวทางของนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาที่จะจัดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 25ม.ค.
ในการพิจารณาม.190 ซึ่งคณะกรรมาธิการได้มีการแก้ไขไปหลายวรรค และมีผู้สงวนคำแปรญัตติไว้ 10 กว่าคน ซึ่งที่ประชุมวิปรัฐบาลเห็นว่า เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขตามที่คณะกรรมาธิการฯ เสียงข้างมากแก้ไข
สำหรับการพิจารณา ม.93 ที่ประชุมได้หารือกันถึงกระบวนการการลงคะแนนมติต่างๆ เนื่องจากในวันที่ 25 ม.ค.การประชุมร่วมรัฐสภา มี ส.ส.ใหม่ 5 คน ยังไม่ได้ปฏิญานตนต่อสภา ซึ่งข้อบังคับการประชุมสภา ส.ส.5 คน ต้องปฏิญานตนต่อสภา แต่วันที่ 25 ม.ค.เป็นการประชุมรัฐสภา ทำให้ ส.ส.ทั้ง 5 คน ยังไม่มีสิทธิ์ร่วมอภิปราย และลงมติ ดังนั้นองค์ประชุมส.ส.ทั้งหมด จะเหลือ 470 คน ส.ว.150 คน รวมจะมีองค์ประชุมร่วมรัฐสภา 620 คน เสียงกึ่งหนึ่งคือ 310 คน
ที่ประชุมยังมีมติให้ทุกพรรคร่วมรัฐบาลกลับไปประชุม เพื่อให้รู้ว่าพรรคใดเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก หรือแต่ละพรรคที่มีผู้แปร ญัตติแตกต่างออกไป ก็ให้พิจารณาไปทิศทางเดียวกัน และถ้าสามารถเป็นไปตามร่าง ที่รัฐบาลนำเสนอได้ก็จะเป็นการดี
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เสร็จ ในวันที่ 25 ม.ค.วันเดียว ก็จะดี อาจพิจารณาต่อเนื่องไปถึงดึกได้ก็จะทำให้วันที่ 26 ม.ค. พิจารณากฎหมายอื่นต่อไป
ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ท่าทีของพรรคต่อประเด็นหลักคือการเปลี่ยนเขตเลือกตั้งจากเขตใหญ่เป็นเขตเล็ก รวมถึงสูตร 400+100 หรือ 375+125 นั้น ที่ประชุมมีมติให้นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ดูท่าทีและทิศทางจากการหารือร่วมกันของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนจะแถลงในเวลา 09.00 น.ที่รัฐสภาในวันที่ 25 ม.ค.ที่ห้องวิปฝ่ายค้าน เพราะขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมีการแถลงท่าทีของพรรค
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า กลุ่ม 40 ส.ว.มีจุดยืนมาตั้งแต่วาระแรกแล้วว่า หากจะแก้เขตใหญ่ให้เป็นเขตเล็ก ก็ไม่ได้แก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ ดังนั้นในชั้นแปรญัตติ เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯยืนยันที่สูตร 375+125 ส.ว.ในกลุ่มต่างก็สงวนคำแปรญัตติไว้ในสูตรต่างๆ แต่โดยรวมเห็นว่า ควรลดจำนวน ส.ส.เขตลงให้น้อยกว่า 375 คน ฉะนั้น หากคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯยังยืนยันสูตรเดิมในที่ประชุมจนต้องมีการโหวต กลุ่ม 40 ส.ว.ที่เคยโหวตไม่เอาด้วยในวาระแรก ก็จะโหวตไม่เอาเหมือนเดิม.
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ในช่วงปิดสมัยประชุมที่ผ่านมา มีการเลือกตั้งซ่อมส.ส.5 คน โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 123 ได้ระบุว่าก่อนเข้ารับหน้าที่ต้องปฏิญาณตนต่อสภาฯ ที่ตนเองเป็นสมาชิก เป็นแต่เนื่องในวันที่ 25 ม.ค.เป็นการเปิดประชุมรัฐสภา ทำให้ส.ส.ใหม่ทั้ง 5 คน ไม่ได้ปฏิญาณตนต่อสภาผู้แทนราษฎร จึงยังไม่นับเป็นองค์ประชุม ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 25 ม.ค.จะมีส.ส.470 คน ส.ว.150 รวม 610 เสียง ทำให้องค์ประชุมในการประชุมรัฐสภาคือ 310 เสียง แต่ถ้าในวาระที่ 2 ก็คือวันที่ 26 ม.ค.ซึ่งส.ส.ทั้ง 5 คนปฏิญาณตนแล้ว การลงมติในวาระที่ 3 องค์ประชุมจะเพิ่มขึ้น 5 คน เป็น ส.ส.475 คน ส.ว.150 คน ดังนั้น องค์ประชุมคือ 313 คน ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงเห็นชอบว่าเมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับความเห็นชอบจากกกต.และรายงานตัวต่อสภาฯ ควรจะเข้าไปร่วมรับฟังในวาระที่ 2 แต่ไม่มีสิทธิ์อภิปราย ส่วนการลงมติจะให้มีการลงคะแนนที่เดียวทั้ง 13 ฉบับ โดยนำมาว่างเรียงรายฉบับเพื่อให้สมาชิกได้ลงคะแนนว่าจะเลือกฉบับไหน หรือจะใช้การหาเสียงสูตรไหนตามใจชอบ ส่วนวิธีการลงคะแนนเป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาจะเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาเพียง 1 วันก็เสร็จ เพราะผู้ที่มีสิทธิ์ อภิปรายจะต้องเป็นผู้เสนอคำแปรญัตติเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 20 คน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงประเด็นที่นายพนิช จะสามารถลงมติประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และเห็นว่านายพนิชมีสิทธิ์ที่จะโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ด้วย
ขณะที่พรรคเพื่อแผ่นดิน มีนายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาธิการ นายสุรเดช ยะสวัสดิ์ รองหัวหน้าพรรค และส.ส.ส่วนหนึ่งเดินทางมาด้วย แม้พรรคจะส่งข้อความห้ามสมาชิกพรรคไปร่วมงานเลี้ยง ส่วนพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ เช่นนพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รมว.พลังงาน หัวหน้าพรรครวมชาติพัฒนา นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รมช.คลัง ในฐานะเลขาธิการพรรคฯ นายมั่น พัธโนทัย รมช.คลัง รองหน้าพรรคมาตุภูมิ และนายนัดมุดดิน อูมา สส.นราธิวาส จากพรรคมาตุภูมิ
ขณะที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้การต้อนรับ อย่างไรก็ตามบรรยากาศเป็นไปอย่างเงียบเหงาแม้พรรคประชาธิปัตย์ จะตั้งโต๊ะไว้กว่า 600ที่นั่ง แต่ส.ส.พรรคร่ยมรับบาลกลับมาร่วมน้อยอย่างเห็นได้ชัด
ทั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เดินทางมาในเวลา 18.30 น. โดยร่วมโต๊ะกับแกนนำพรรคร่วม มีการดื่มไวน์และชนแก้วกันอย่างสนุกสนาน
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่แกนนำพรรคร่วมรัฐบาลตัวจริง อย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย นายสุวัจน์ ลิปพัลลภ แกนนำพรรครวมชาติพัฒนา ฯลฯ ไม่ได้เดินทางมาด้วย
รายงานแจ้งว่า ในฟากของแกนนำพรรคเพื่อแผ่นดิน กลับมีการจัดเลี้ยงภายในพรรคเช่นเดียวกัน โดยนายพินิจ จารุสมบัติ ได้เชิญสส.ของพรรคร่วมมารับประทานอาหารค่ำที่โรงแรมแกรน์ ไฮเอท เอราวัณ
มีรายงานด้วยว่า นายสุเทพได้หารือนอกรอบกับนายเนวิน แกนนำพรรคภูมิใจไทยแล้ว โดยเชื่อว่าจะได้เสียงข้างมากในการพิจารณาในวาระ 2ส่วนนายบรรหาร ที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ก็จะขอพบกับนายอภิสิทธิ์ เป็นส่วนตัว
นายประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ ส.ส.ขอนแก่น ประธานส.ส.พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ส.ส.พรรคภูมิใจไทย จะให้อิสระกับส.ส. ตัดสินใจแต่เท่าที่ฟังเสียงจนถึงขณะนี้มีสส. 80-90 เปอร์เซ็นต์จะเลือกสูตร 400+100 แต่พรรค ยังยืนยันจะได้ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว
เวลา 20.30น.นายอภิสิทธิ์ กล่าวบนเวทีว่า ขอขอบคุณวิปในการประชุมสภาที่ผ่านมา ทราบว่าเป็นการทำงานที่หนักจริงๆ พยายามทำงานในสภาเป็นไปอย่างราบรื่น ได้ชัดว่าอีกซีกหนึ่งสภามรแนวทางชัดเจน ที่จะให้มีการตรวจสอบโดยการนัดองค์ประชุมทุกครั้ง ซึ่งจะมีการเปิดสมัยประชุมสภา ในวันอังคารที่ 25 ม.ค. นี้ ดังนั้นขอความร่วมมือทุกท่านใน 4 เดือน จากนี้ ไปขอให้ทุ่มเททำงานอย่างเต็มที่ และขอให้ร่วมมือทำงานกับวิป อยากให้รัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคร่วมรัฐบาลกำชับลูกพรรค โดยเฉพาะรัฐมนตรี จะขาดมากกว่าคนอื่น ซึ่งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันนี้ก็ได้กำชับว่าให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปต่างประเทศ และขอให้ความสำคัญกับการตอบกระทู้ในสภา
2 ปีกว่า ที่ผ่านมา ที่รัฐบาลอยู่มาได้เพราะทุ่มเทการทำงาน กอบกู้ปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ และประคับประคองสถานการณ์ทางการเมืองให้เดินหน้า ทำงานได้อย่างเต็มที่ ปีนี้ถือเป็นปีสุดท้าย ไม่ต้องไปคิดหรือคาดคะเนอะไรกันมาก มีคนบอกกให้ผมอยู่อีก 1 ปี ซึ่งตนบอกว่าเราได้ทำงานปีที่ 2 มาสั้นไปหน่อย จริงๆ คนผู้แทนไม่กลัวการยุบสภาฯ แต่กลัวการสอบตกมากกว่า แต่ทั้งหมดนี้ไม่ต้องกลัว หากพวกเรามีผลงานทำให้ประชาชนเห็น4 เดือนข้างหน้าต้องทำงานให้เต็มที่ และที่พูดมาไม่ได้บอกว่าจะยุบสภาเมื่อไหร่ แต่เราต้องพร้อมที่สุด ซึ่งเราถือว่าเราได้ทำงานมาครึ่งทางแล้ว ซึ่งก็อยากขอร้องหากมีกฎหมายอะไรที่สอดคล้องกับนโยบาย อยากให้เป็นประโยชน์กับประชาชน อยากให้ให้เร่งเสนอมาเพื่ออกกฎหมายให้กับประชาชน และขอขอบคุณความเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวอันเดียวกัน ความเป็นปึกแผ่น ที่ร่วมทำงานมาด้วยกัน และก็ขอให้ร่วมใจกันทำงานกันต่อไป ไม่ใช่แค่ 2 ปีนี้เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับจำนวนบุคคลที่เข้ามาร่วมงานนั้นปรากฏว่าถือว่าบางตาอย่างเห็นได้ชัด โดยมีส.ส.นั่ง 30 โต๊ะ นอกนั้นเป็นโต๊ะของสื่อมวลชน คณะทำงาน ผู้ติดตาม แต่ทั้งนี้ก็ยังมีโต๊ะเหลือจำนวน 8 โต๊ะ หรือ 80 ที่
ขณะเดียกวันมีการเตรียมเมนู ออฟเดิร์ฟเย็น 4 อย่าง ตามมาด้วยอาหารหลัก “หูฉลามน้ำแดง เป็ดปักกิ่ง ไก่อบเกลือ ผัดผักสองสหาย ราดหน้าเนื้อปู ปลากระพงนึ่งซีอิ๊วฮ่องกง ข้าวผัดกวางตุ้ง ตบท้ายด้วยของหวานสาคูแคนตาลูป” มีการแสดงของโจนัสและคริสตี้ แอนเดอร์สัน มาขับกล่อมเสียงเพลงและการแสดงมากมาย
รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ มีมติให้ใช้สูตร 375+125 ซึ่งถือว่าเป็นสูตรที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยมีผู้ที่ขอสงวนคำแปรญัตติ 3 คน ซึ่งทั้ง 3 คนก็ยืนยันว่าไม่ติดใจ แต่ขออภิปรายในส่วนที่แปรญัตติก่อน และจะโหวตให้กับร่างของรัฐบาล ส่วนการหารือกับพรรรคร่วมรัฐบาล และส.ว.นั้นจะยึดหลักการณ์และเหตุผลของคณะกรรมการอิสระเป็นสำคัญ.
ก่อนหน้านั้นเวลา 16.00น.ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ กล่าวถึงกระแสข่าวว่าอาจจะมีการฟรีโหวต ว่า ไม่ทราบเพราะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรั,ฐบาล (วิปรัฐบาล)ต้องประชุมกันก่อน ส่วนที่ว่าแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลตัวจริงอาจจะจะไม่เดินทางไปร่วมด้วย ก็ไม่ทราบเช่นกัน เพราะยังไม่เคยได้ยิน
ช่วงเช้านายสุเทพ กล่าวว่า ที่ว่าจะเป็นตัวจริง หรือตัวปลอมตนก็คุยทั้งนั้น หลักในการทำงานของตนคือ ต้องให้ทุกฝ่ายได้รับฟังเหตุผลของกันและกัน และเชื่อว่าจะมีการไปปรึกษาหารือกัน ในแต่ละพรรรคการเมือง
อย่างไรก็ตามยังไม่ได้ประเมินเสียงสนับสนุนของซีกรัฐบาล ว่าเกินกึ่งหนึ่งของเสียงทั้งหมดของทั้งสองสภาที่จะใช้ลงมติหรือไม่ แต่ตั้งหลักเอาไว้ว่า ให้สมาชิกรัฐสภาได้มีอิสระเสรีในการแสดงออก
ส่วนเสียงของ ส.ว. ที่อาจจะไม่สนับสนุนด้วยนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า เป็นการคาดการณ์กันไปทั้งนั้น อย่าไปกังวลใจอะไรเลย เรื่องเสียงโหวตพรรคประชาธิปัตย์ไม่มีการปล่อยให้ฟรีโหวต แต่จะยืนยันโหวตเหมือนในวาระแรกยังยืนยันในจำนวนส.ส.เขตเลือกตั้ง 375 และ ส.ส.ระบบบัญชีสัดส่วน 125 คนเหมือนเดิม
“กระแสฟรีโหวต คงไม่ถึงกับกล่อม ผมชี้แจงเหตุผลให้เขาไปแล้วและตอนรับประทานอาหารด้วยกันเย็นวันนี้ก็จะคุยกันอีก”
ส่วนที่มีข่าวว่าหากพรรคร่วมรัฐบาลไม่เอาตามพรรคประชาธิปัตย์ จะมีการขู่ยุบ สภานั้น ได้เรียนแล้วว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ข่มขู่ใคร ไม่ข่มขู่พรรคร่วมรัฐบาล เราก็ร่วมรัฐบาลกันมาช่วยกันดูแลแก้ไขปัญหาบ้านเมืองมา 2 ปีกว่าแล้ว ก็ประคับประคองกันไป ไม่มีเหตุผลที่จะต้องไปข่มขู่อะไรกัน
ด้านนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)แถลงว่า การพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญนั้นจะมีส.ว.สรรหาที่จะครบวาระในวันที่ 18 ก.พ.และจะมีส.ว.บางคนลาออกก่อนวันครบวาระ ซึ่งจะมีผลทำให้ต้องส่งตีความว่าส.ว.ที่เหลืออยู่และมีจำนวนไม่ถึง 95%จะสามารถเป็นองค์ประชุมวุฒิสภาได้หรือไม่และเพื่อป้องกันปัญหาทำให้กระบวนการ ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญยืดเยื้อออกไปจนรัฐบาลอาจถูกวิจารณ์ว่าไม่จริงใจตามข้อเสนอของคนนอก ที่ประชุมวิปรัฐบาลจึงเห็นพ้องต้องกันกับแนวทางของนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาที่จะจัดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 25ม.ค.
ในการพิจารณาม.190 ซึ่งคณะกรรมาธิการได้มีการแก้ไขไปหลายวรรค และมีผู้สงวนคำแปรญัตติไว้ 10 กว่าคน ซึ่งที่ประชุมวิปรัฐบาลเห็นว่า เห็นด้วยกับแนวทางการแก้ไขตามที่คณะกรรมาธิการฯ เสียงข้างมากแก้ไข
สำหรับการพิจารณา ม.93 ที่ประชุมได้หารือกันถึงกระบวนการการลงคะแนนมติต่างๆ เนื่องจากในวันที่ 25 ม.ค.การประชุมร่วมรัฐสภา มี ส.ส.ใหม่ 5 คน ยังไม่ได้ปฏิญานตนต่อสภา ซึ่งข้อบังคับการประชุมสภา ส.ส.5 คน ต้องปฏิญานตนต่อสภา แต่วันที่ 25 ม.ค.เป็นการประชุมรัฐสภา ทำให้ ส.ส.ทั้ง 5 คน ยังไม่มีสิทธิ์ร่วมอภิปราย และลงมติ ดังนั้นองค์ประชุมส.ส.ทั้งหมด จะเหลือ 470 คน ส.ว.150 คน รวมจะมีองค์ประชุมร่วมรัฐสภา 620 คน เสียงกึ่งหนึ่งคือ 310 คน
ที่ประชุมยังมีมติให้ทุกพรรคร่วมรัฐบาลกลับไปประชุม เพื่อให้รู้ว่าพรรคใดเห็นด้วยกับกรรมาธิการเสียงข้างมาก หรือแต่ละพรรคที่มีผู้แปร ญัตติแตกต่างออกไป ก็ให้พิจารณาไปทิศทางเดียวกัน และถ้าสามารถเป็นไปตามร่าง ที่รัฐบาลนำเสนอได้ก็จะเป็นการดี
อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญได้เสร็จ ในวันที่ 25 ม.ค.วันเดียว ก็จะดี อาจพิจารณาต่อเนื่องไปถึงดึกได้ก็จะทำให้วันที่ 26 ม.ค. พิจารณากฎหมายอื่นต่อไป
ที่พรรคเพื่อไทย นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงว่า ท่าทีของพรรคต่อประเด็นหลักคือการเปลี่ยนเขตเลือกตั้งจากเขตใหญ่เป็นเขตเล็ก รวมถึงสูตร 400+100 หรือ 375+125 นั้น ที่ประชุมมีมติให้นายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ดูท่าทีและทิศทางจากการหารือร่วมกันของพรรคประชาธิปัตย์ ก่อนจะแถลงในเวลา 09.00 น.ที่รัฐสภาในวันที่ 25 ม.ค.ที่ห้องวิปฝ่ายค้าน เพราะขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะมีการแถลงท่าทีของพรรค
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า กลุ่ม 40 ส.ว.มีจุดยืนมาตั้งแต่วาระแรกแล้วว่า หากจะแก้เขตใหญ่ให้เป็นเขตเล็ก ก็ไม่ได้แก้ปัญหาการซื้อเสียงได้ ดังนั้นในชั้นแปรญัตติ เมื่อคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯยืนยันที่สูตร 375+125 ส.ว.ในกลุ่มต่างก็สงวนคำแปรญัตติไว้ในสูตรต่างๆ แต่โดยรวมเห็นว่า ควรลดจำนวน ส.ส.เขตลงให้น้อยกว่า 375 คน ฉะนั้น หากคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างฯยังยืนยันสูตรเดิมในที่ประชุมจนต้องมีการโหวต กลุ่ม 40 ส.ว.ที่เคยโหวตไม่เอาด้วยในวาระแรก ก็จะโหวตไม่เอาเหมือนเดิม.
นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงว่า ในช่วงปิดสมัยประชุมที่ผ่านมา มีการเลือกตั้งซ่อมส.ส.5 คน โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 123 ได้ระบุว่าก่อนเข้ารับหน้าที่ต้องปฏิญาณตนต่อสภาฯ ที่ตนเองเป็นสมาชิก เป็นแต่เนื่องในวันที่ 25 ม.ค.เป็นการเปิดประชุมรัฐสภา ทำให้ส.ส.ใหม่ทั้ง 5 คน ไม่ได้ปฏิญาณตนต่อสภาผู้แทนราษฎร จึงยังไม่นับเป็นองค์ประชุม ในการประชุมรัฐสภาวันที่ 25 ม.ค.จะมีส.ส.470 คน ส.ว.150 รวม 610 เสียง ทำให้องค์ประชุมในการประชุมรัฐสภาคือ 310 เสียง แต่ถ้าในวาระที่ 2 ก็คือวันที่ 26 ม.ค.ซึ่งส.ส.ทั้ง 5 คนปฏิญาณตนแล้ว การลงมติในวาระที่ 3 องค์ประชุมจะเพิ่มขึ้น 5 คน เป็น ส.ส.475 คน ส.ว.150 คน ดังนั้น องค์ประชุมคือ 313 คน ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงเห็นชอบว่าเมื่อนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ได้รับความเห็นชอบจากกกต.และรายงานตัวต่อสภาฯ ควรจะเข้าไปร่วมรับฟังในวาระที่ 2 แต่ไม่มีสิทธิ์อภิปราย ส่วนการลงมติจะให้มีการลงคะแนนที่เดียวทั้ง 13 ฉบับ โดยนำมาว่างเรียงรายฉบับเพื่อให้สมาชิกได้ลงคะแนนว่าจะเลือกฉบับไหน หรือจะใช้การหาเสียงสูตรไหนตามใจชอบ ส่วนวิธีการลงคะแนนเป็นหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาจะเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามคาดว่าจะใช้เวลาพิจารณาเพียง 1 วันก็เสร็จ เพราะผู้ที่มีสิทธิ์ อภิปรายจะต้องเป็นผู้เสนอคำแปรญัตติเท่านั้น ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 20 คน
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงประเด็นที่นายพนิช จะสามารถลงมติประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และเห็นว่านายพนิชมีสิทธิ์ที่จะโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ด้วย