อีกเพียงเดือนเดียวเท่านั้นที่ ส.ว.สรรหาจำนวน 74 คนจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งในวันที่ 18 ก.พ. โดยมีกระแสข่าวที่ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า ส.ว.สรรหาอย่างน้อย 60 คนจะตัดสินใจลาออกก่อนครบวาระ
เพื่อเข้ารับการสรรหาเข้ามาเป็น ส.ว.อีกครั้ง ตามที่บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญปี 50 เปิดโอกาสไว้ โดยจะมีการทยอยลาออกในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ.
การที่ต้องพิจารณาลาออกก่อนครบวาระนั้นก็มาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 115 (8) และมาตรา 102 ที่ระบุว่า “ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการเลือกตั้งและสรรหาต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ซึ่งคำว่า “เจ้าหน้าที่รัฐ” นี้เองที่กลายเป็นปัญหาถกเถียงกันในหมู่ ส.ว.อย่างกว้างขวางว่า ตำแหน่ง ส.ว.นั้นเข้าข่ายหรือไม่ เพราะศาลฎีกาได้เคยมีคำวินิจฉัยว่าหมายถึง บุคคลที่กินเงินเดือนหลวง ซึ่งหาก ส.ว.อยู่จนครบวาระและทำหน้าที่รักษาการ ก็จะได้รับเงินเดือนหลวงต่อไป
ยิ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีความระบุชัดเจนว่า ส.ส. ส.ว. และสมาชิกสภาท้องถิ่น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ในหมู่ ส.ว.สรรหาที่กำลังหมดวาระ “ตื่นตระหนก” กันมากยิ่งขึ้นไปอีก
เพราะเมื่อยังไม่มีการตีความชี้ชัดออกมา ก็ยังถือเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่อย่างยิ่ง
ไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดตำแหน่ง “ส.ว.สรรหา” นี้ถึงช่าง “เย้ายวน” เสียจนสมาชิกผู้ทรงเกียรติต้องดิ้นรนหาทางออกเพื่อให้ได้กลับเข้ามาทำหน้าที่อีกครั้ง คล้ายกับว่าเป็นโควต้าส่วนตัวไปซะอย่างนั้น
เพราะหากได้เข้ามาทำหน้าที่อีกครั้ง จะได้อยู่ยาวถึง 6 ปีตามวาระ รวมกับ 3 ปีที่ผ่านมา รวมเป็น 9 ปี กับเงินเดือนหลักแสนที่ไม่ใช่หาได้ง่ายๆตามท้องตลาด
แถมที่มาก็ไม่ได้ยึดโยงฐานเสียงประชาชนเหมือน ส.ส. หรือ ส.ว.เลือกตั้ง จึงไม่มีความจำเป็นต้องลงพื้นที่พบปะประชาชน และไม่ต้องทุ่มทุนเป็น “ภาษีสังคม” กับงานศพ งานบวช งานแต่ง หรืองานการกุศลใดๆ
ความวุ่นวายในสภาสูงยังไม่หมดแค่นั้น เพราะล่าสุดในการประชุมนัดแรกของวุฒิสภา วานนี้ (24 ม.ค.) บรรยากาศก็ดุเดือดทันที เมื่อ “เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ” ส.ว.สรรหา ลุกขึ้นขอหารือเกี่ยวกับกระแสข่าว “สินบน” ซื้อเก้าอี้ “ประธานวุฒิสภา” พร้อมทวงถามคำมั่นสัญญาที่ “ประสพสุข บุญเดช” เจ้าของเก้าอี้ ที่เคยให้ไว้กับสมาชิก ทั้งที่งานสัมมนาครบรอบ 1 ปี ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ เมื่อปี 52 และในการพูดคุยกันว่า จะลาออกหลังจากทำหน้าที่ครบ 2 ปี
แต่แล้วผ่านพ้นจนเกือบหมดวาระ 3 ปีของ ส.ว.สรรหา ประธานฯประสพสุขก็ยังไม่มีทีท่าจะลุกออกจากตำแหน่ง
พอสิ้นเสียง ส.ว.เรืองไกรเท่านั้น ทำเอา ส.ว.ทั้งฝ่ายไล่-ฝ่ายหนุนได้ทีเรียงหน้าแสดงความเห็นกันวุ่นวาย
โดย “ฝ่ายไล่” นำทีมโดย “เกชา ศักดิ์สมบูรณ์” ส.ว.ราชบุรี ที่ออกมาร่ายยาวถึง “สัญญาหลังไมค์” ที่ประธานฯประสพสุขเคยให้ไว้ ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการกลับไปกลับมาหลายหน พร้อมทวงถามด้วยถ้อยแถลงหนักแน่นว่า “อยากถามความชัดเจนเพราะท่านเคยยืนยันจากปากท่านเอง แต่กลับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ทำไมจึงเปลี่ยนไป ไม่ทำตามที่พูดคุยไว้”
แถมยังแฉอีกว่า เคยได้รับการประสานงานจาก รมต.คนหนึ่งให้ไปตกลงเรื่องนี้กันที่ห้องทำงานของประธานฯประสพสุขมาแล้ว
ขณะที่ “ฝ่ายหนุน” ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็น ส.ว.สรรหาเห็นว่า ไม่ควรมีการเปลี่ยนตัวประธานในตอนนี้ เพราะอีกไม่ถึงเดือนก็จะมีการสรรหา ส.ว.ชุดใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ปิดกั้นการมีส่วนร่วมในการเลือกประธานของ 74 ส.ว.สรรหา
โดยให้ประธานฯประสพสุข “เสียสละ” ทำหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ เพื่อรักษาสิทธิ์ของ ส.ว.สรรหาชุดใหม่
จนประธานฯประสพสุขที่นั่งนิ่งอยู่นาน ก็เปลี่ยนมาเล่น “บทเข้ม” ด้วยการเสนอให้ที่ประชุมโหวตนอกรอบว่าจะให้ตัวเองอยู่หรือไป ท้ายที่สุดผลปรากฎว่าที่ประชุมลงมติ 53 ต่อ 9 เสียง ในการให้นายประสพสุขทำหน้าที่ต่อไป
ทำเอา ส.ว.สายเลือกตั้งนำโดย “ประสิทธิ โพธสุธน” ส.ว.สุพรรณบุรี และ ส.ว.เกชา ไม่ยอมรับผลโหวตแล้วมาตั้งโต๊ะแถลงยื่นจดหมายเปิดผนึกขับไล่อีกทางหนึ่ง ซึ่งในจดหมายเต็มไปด้วยสำนวนจิกกัดที่รุนแรง
รวมทั้งคำจ่าหน้าที่ระบุถึง “นายประสพสุข บุญเดช ผู้หลงใหลอำนาจประธานวุฒิสภา”
ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นความพยายามช่วงชิง “บัลลังก์” ของฝ่าย ส.ว.เลือกตั้ง โดยหวังอาศัยจังหวะที่ ส.ว.สรรหาลาออก เพื่อเข้ารับการสรรหาใหม่ ยึดเก้าอี้ประธานวุฒิสภา และรองประธานฯทั้ง 2 ตำแหน่งมาครอบครอง
สำหรับ "แคนดิเดต" ประธานวุฒิสภาที่โดดเด่นในตอนนี้มีอยู่ 2 คน คือ “นิคม ไวยรัชพานิช” ส.ว.ฉะเชิงเทรา ที่กินตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 อยู่ แม้ในการประชุมวานนี้ได้ประกาศชัดเจนไม่ได้หวังตำแหน่ง และสนับสนุนให้นายประสพสุขอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ
แต่ที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่านายนิคมหมายมั่นปั้นมือเตรียมลงชิงตำแหน่งมาโดยตลอด
โดยมีกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้งทั้งภาคกลางและอีสานให้การสนับสนุนพอสมควรผ่านสายของ “สมชาติ พรรณพัฒน์” ส.ว.นครปฐม และ “ประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์” ส.ว.ขอนแก่น และยังมีคอนเนคชั่นส่วนตัวกับ “สุชาติ ตันเจริญ” แกนนำกลุ่มบ้านริมน้ำ จึงมีแรงหนุนจากค่ายภูมิใจไทยอีกแรงหนึ่ง แต่ช่วงหลังๆกลับเกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้สนับสนุนนายนิคม จากกรณีการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์อิสระ และโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ทำให้เสียงสนับสนุนนายนิคมหดหายไปมากทีเดียว
ส่วนอีกคน “ดิเรก ถึงฝั่ง” ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ผู้จุดประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ที่วันนี้มาแรงแซงทางโค้งจนนายนิคมคู่แข่งยังยอมรับผ่านสื่อว่าเสียงสนับสนุนนายดิเรกเกือบ 100 เสียง โดยมี ส.ว.จากกรรมาธิการที่ร่วมทำงานอยู่สนับสนุนราว 20 คน บวกกับ ส.ว.สายสตรี และกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ให้การสนับสนุน และยังมีแรงหนุนห่างๆจาก “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” แกนนำ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย อีกด้วย
ที่สำคัญ ส.ว.เลือกตั้งที่เคยหนุนนายนิคมมาก่อน ได้เปลี่ยนข้างมาหนุนนายดิเรก ทั้งกลุ่มของนายประสิทธิ และนายเกชา ที่รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 40 เสียง ความได้เปรียบตกไปอยู่กับฝ่ายนายดิเรกอย่างชัดเจน จนมีการออกมากดดันให้นายนิคมลาออกจากตำแหน่งรองประธานฯเสียก่อนจะลงสมัครแข่งในตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยอ้างถึงเรื่องมารยาททางการเมือง แต่ในความเป็นจริงกลุ่มผู้สนับสนุนนายดิเรกต้องการที่จะยึดทั้ง 3 เก้าอี้บนบัลลังก์ประธานวุฒิสภาไปครอบครองทั้งหมด โดยได้มีการวางตัวไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่ถึงนาทีนี้ไม่ว่าใครก็ต้องผิดหวังกันถ้วนหน้า เพราะ “ประสพสุข” ตัดสินใจกอดเก้าอี้ประมุขส.ว.ไว้แทนที่จะลาออกเพื่อเข้ารับการสรรหาใหม่ตามที่ตั้งใจไว้ เพื่อรักษาสิทธิให้แก่ ส.ว.สรรหาชุดใหม่ 74 คน ที่จะเข้ามามีส่วนในการเลือกประธานสภาสูงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และป้องกันการเกิดสุญญากาศของการทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาในห้วงเวลาที่มีกฎหมายสำคัญจ่อคิวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
ถึงแม้จะไม่ค่อยสง่างามนัก แต่ต้องถือว่า “ประสพสุข บุญเดช” เป็นผู้เสียสละ แม้จะตัวเองต้องตกขบวนก็ตาม
เพื่อเข้ารับการสรรหาเข้ามาเป็น ส.ว.อีกครั้ง ตามที่บทเฉพาะกาลในรัฐธรรมนูญปี 50 เปิดโอกาสไว้ โดยจะมีการทยอยลาออกในช่วงวันที่ 16-17 ก.พ.
การที่ต้องพิจารณาลาออกก่อนครบวาระนั้นก็มาจากบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 50 มาตรา 115 (8) และมาตรา 102 ที่ระบุว่า “ผู้มีสิทธิ์เข้ารับการเลือกตั้งและสรรหาต้องไม่เป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ” ซึ่งคำว่า “เจ้าหน้าที่รัฐ” นี้เองที่กลายเป็นปัญหาถกเถียงกันในหมู่ ส.ว.อย่างกว้างขวางว่า ตำแหน่ง ส.ว.นั้นเข้าข่ายหรือไม่ เพราะศาลฎีกาได้เคยมีคำวินิจฉัยว่าหมายถึง บุคคลที่กินเงินเดือนหลวง ซึ่งหาก ส.ว.อยู่จนครบวาระและทำหน้าที่รักษาการ ก็จะได้รับเงินเดือนหลวงต่อไป
ยิ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีเพิ่งมีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งมีความระบุชัดเจนว่า ส.ส. ส.ว. และสมาชิกสภาท้องถิ่น ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทำให้ในหมู่ ส.ว.สรรหาที่กำลังหมดวาระ “ตื่นตระหนก” กันมากยิ่งขึ้นไปอีก
เพราะเมื่อยังไม่มีการตีความชี้ชัดออกมา ก็ยังถือเป็นเรื่องที่หมิ่นเหม่อย่างยิ่ง
ไม่น่าแปลกใจว่าเหตุใดตำแหน่ง “ส.ว.สรรหา” นี้ถึงช่าง “เย้ายวน” เสียจนสมาชิกผู้ทรงเกียรติต้องดิ้นรนหาทางออกเพื่อให้ได้กลับเข้ามาทำหน้าที่อีกครั้ง คล้ายกับว่าเป็นโควต้าส่วนตัวไปซะอย่างนั้น
เพราะหากได้เข้ามาทำหน้าที่อีกครั้ง จะได้อยู่ยาวถึง 6 ปีตามวาระ รวมกับ 3 ปีที่ผ่านมา รวมเป็น 9 ปี กับเงินเดือนหลักแสนที่ไม่ใช่หาได้ง่ายๆตามท้องตลาด
แถมที่มาก็ไม่ได้ยึดโยงฐานเสียงประชาชนเหมือน ส.ส. หรือ ส.ว.เลือกตั้ง จึงไม่มีความจำเป็นต้องลงพื้นที่พบปะประชาชน และไม่ต้องทุ่มทุนเป็น “ภาษีสังคม” กับงานศพ งานบวช งานแต่ง หรืองานการกุศลใดๆ
ความวุ่นวายในสภาสูงยังไม่หมดแค่นั้น เพราะล่าสุดในการประชุมนัดแรกของวุฒิสภา วานนี้ (24 ม.ค.) บรรยากาศก็ดุเดือดทันที เมื่อ “เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ” ส.ว.สรรหา ลุกขึ้นขอหารือเกี่ยวกับกระแสข่าว “สินบน” ซื้อเก้าอี้ “ประธานวุฒิสภา” พร้อมทวงถามคำมั่นสัญญาที่ “ประสพสุข บุญเดช” เจ้าของเก้าอี้ ที่เคยให้ไว้กับสมาชิก ทั้งที่งานสัมมนาครบรอบ 1 ปี ที่โบนันซ่า เขาใหญ่ เมื่อปี 52 และในการพูดคุยกันว่า จะลาออกหลังจากทำหน้าที่ครบ 2 ปี
แต่แล้วผ่านพ้นจนเกือบหมดวาระ 3 ปีของ ส.ว.สรรหา ประธานฯประสพสุขก็ยังไม่มีทีท่าจะลุกออกจากตำแหน่ง
พอสิ้นเสียง ส.ว.เรืองไกรเท่านั้น ทำเอา ส.ว.ทั้งฝ่ายไล่-ฝ่ายหนุนได้ทีเรียงหน้าแสดงความเห็นกันวุ่นวาย
โดย “ฝ่ายไล่” นำทีมโดย “เกชา ศักดิ์สมบูรณ์” ส.ว.ราชบุรี ที่ออกมาร่ายยาวถึง “สัญญาหลังไมค์” ที่ประธานฯประสพสุขเคยให้ไว้ ตลอด 2 ปีที่ผ่านมาที่มีการกลับไปกลับมาหลายหน พร้อมทวงถามด้วยถ้อยแถลงหนักแน่นว่า “อยากถามความชัดเจนเพราะท่านเคยยืนยันจากปากท่านเอง แต่กลับเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ทำไมจึงเปลี่ยนไป ไม่ทำตามที่พูดคุยไว้”
แถมยังแฉอีกว่า เคยได้รับการประสานงานจาก รมต.คนหนึ่งให้ไปตกลงเรื่องนี้กันที่ห้องทำงานของประธานฯประสพสุขมาแล้ว
ขณะที่ “ฝ่ายหนุน” ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็น ส.ว.สรรหาเห็นว่า ไม่ควรมีการเปลี่ยนตัวประธานในตอนนี้ เพราะอีกไม่ถึงเดือนก็จะมีการสรรหา ส.ว.ชุดใหม่ จึงเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสม ปิดกั้นการมีส่วนร่วมในการเลือกประธานของ 74 ส.ว.สรรหา
โดยให้ประธานฯประสพสุข “เสียสละ” ทำหน้าที่ต่อไปจนครบวาระ เพื่อรักษาสิทธิ์ของ ส.ว.สรรหาชุดใหม่
จนประธานฯประสพสุขที่นั่งนิ่งอยู่นาน ก็เปลี่ยนมาเล่น “บทเข้ม” ด้วยการเสนอให้ที่ประชุมโหวตนอกรอบว่าจะให้ตัวเองอยู่หรือไป ท้ายที่สุดผลปรากฎว่าที่ประชุมลงมติ 53 ต่อ 9 เสียง ในการให้นายประสพสุขทำหน้าที่ต่อไป
ทำเอา ส.ว.สายเลือกตั้งนำโดย “ประสิทธิ โพธสุธน” ส.ว.สุพรรณบุรี และ ส.ว.เกชา ไม่ยอมรับผลโหวตแล้วมาตั้งโต๊ะแถลงยื่นจดหมายเปิดผนึกขับไล่อีกทางหนึ่ง ซึ่งในจดหมายเต็มไปด้วยสำนวนจิกกัดที่รุนแรง
รวมทั้งคำจ่าหน้าที่ระบุถึง “นายประสพสุข บุญเดช ผู้หลงใหลอำนาจประธานวุฒิสภา”
ความเคลื่อนไหวในครั้งนี้เป็นความพยายามช่วงชิง “บัลลังก์” ของฝ่าย ส.ว.เลือกตั้ง โดยหวังอาศัยจังหวะที่ ส.ว.สรรหาลาออก เพื่อเข้ารับการสรรหาใหม่ ยึดเก้าอี้ประธานวุฒิสภา และรองประธานฯทั้ง 2 ตำแหน่งมาครอบครอง
สำหรับ "แคนดิเดต" ประธานวุฒิสภาที่โดดเด่นในตอนนี้มีอยู่ 2 คน คือ “นิคม ไวยรัชพานิช” ส.ว.ฉะเชิงเทรา ที่กินตำแหน่งรองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 อยู่ แม้ในการประชุมวานนี้ได้ประกาศชัดเจนไม่ได้หวังตำแหน่ง และสนับสนุนให้นายประสพสุขอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนครบวาระ
แต่ที่ผ่านมาเป็นที่ทราบกันดีว่านายนิคมหมายมั่นปั้นมือเตรียมลงชิงตำแหน่งมาโดยตลอด
โดยมีกลุ่ม ส.ว.เลือกตั้งทั้งภาคกลางและอีสานให้การสนับสนุนพอสมควรผ่านสายของ “สมชาติ พรรณพัฒน์” ส.ว.นครปฐม และ “ประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์” ส.ว.ขอนแก่น และยังมีคอนเนคชั่นส่วนตัวกับ “สุชาติ ตันเจริญ” แกนนำกลุ่มบ้านริมน้ำ จึงมีแรงหนุนจากค่ายภูมิใจไทยอีกแรงหนึ่ง แต่ช่วงหลังๆกลับเกิดความขัดแย้งในกลุ่มผู้สนับสนุนนายนิคม จากกรณีการสรรหาบุคคลมาดำรงตำแหน่งในองค์อิสระ และโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ทำให้เสียงสนับสนุนนายนิคมหดหายไปมากทีเดียว
ส่วนอีกคน “ดิเรก ถึงฝั่ง” ส.ว.นนทบุรี อดีตประธานคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ผู้จุดประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 6 ประเด็น ที่วันนี้มาแรงแซงทางโค้งจนนายนิคมคู่แข่งยังยอมรับผ่านสื่อว่าเสียงสนับสนุนนายดิเรกเกือบ 100 เสียง โดยมี ส.ว.จากกรรมาธิการที่ร่วมทำงานอยู่สนับสนุนราว 20 คน บวกกับ ส.ว.สายสตรี และกลุ่ม 40 ส.ว.ที่ให้การสนับสนุน และยังมีแรงหนุนห่างๆจาก “คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์” แกนนำ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย อีกด้วย
ที่สำคัญ ส.ว.เลือกตั้งที่เคยหนุนนายนิคมมาก่อน ได้เปลี่ยนข้างมาหนุนนายดิเรก ทั้งกลุ่มของนายประสิทธิ และนายเกชา ที่รวมกันแล้วไม่ต่ำกว่า 40 เสียง ความได้เปรียบตกไปอยู่กับฝ่ายนายดิเรกอย่างชัดเจน จนมีการออกมากดดันให้นายนิคมลาออกจากตำแหน่งรองประธานฯเสียก่อนจะลงสมัครแข่งในตำแหน่งประธานวุฒิสภา โดยอ้างถึงเรื่องมารยาททางการเมือง แต่ในความเป็นจริงกลุ่มผู้สนับสนุนนายดิเรกต้องการที่จะยึดทั้ง 3 เก้าอี้บนบัลลังก์ประธานวุฒิสภาไปครอบครองทั้งหมด โดยได้มีการวางตัวไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่ถึงนาทีนี้ไม่ว่าใครก็ต้องผิดหวังกันถ้วนหน้า เพราะ “ประสพสุข” ตัดสินใจกอดเก้าอี้ประมุขส.ว.ไว้แทนที่จะลาออกเพื่อเข้ารับการสรรหาใหม่ตามที่ตั้งใจไว้ เพื่อรักษาสิทธิให้แก่ ส.ว.สรรหาชุดใหม่ 74 คน ที่จะเข้ามามีส่วนในการเลือกประธานสภาสูงตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ และป้องกันการเกิดสุญญากาศของการทำหน้าที่ประธานวุฒิสภาในห้วงเวลาที่มีกฎหมายสำคัญจ่อคิวเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา
ถึงแม้จะไม่ค่อยสง่างามนัก แต่ต้องถือว่า “ประสพสุข บุญเดช” เป็นผู้เสียสละ แม้จะตัวเองต้องตกขบวนก็ตาม