“อำเภอหัวไทร” จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นส่วนหนึ่งของลุ่มน้ำที่มีชื่อว่า “ลุ่มน้ำปากพนัง” ซึ่งมีพื้นที่ทั้งสิ้นประมาณ 1,937,500 ไร่ (3,100 ตารางกิโลเมตร) ครอบคลุมพื้นที่ใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอปากพนัง อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูลย์ อำเภอจุฬาภรณ์ อำเภอลานสกาบางส่วน อำเภอเมืองบางส่วน และกิ่งอำเภอพระพรหม) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และอำเภอระโนด (จังหวัดสงขลา บางส่วน) ก็ต้องยอมรับว่าในอดีตพื้นที่ดังกล่าวก็มีปัญหามากพอสมควร ประชาชนในพื้นที่อพยพย้ายถิ่นฐานเพราะการคมนาคมไม่สะดวก การประกอบอาชีพมีอุปสรรคที่มองไม่เห็นอนาคตมากนัก
การเข้ามาของธุรกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือความหวังของผู้คน แต่การขยายตัวของนากุ้งก็ส่งผลซ้ำเติมความทุกข์ยาก ความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีกระลอก จากการจัดสรรพื้นที่ทำนาข้าวกับนากุ้งไม่ลงตัว นากุ้งซึ่งต้องดึงเอาน้ำเค็มจากทะเลเข้าสู่พื้นที่กระทบต่อเกษตรกรผู้ทำนาข้าว ความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนานไม่ต่างจากตำนานความขัดแย้งระหว่างนากุ้งกับนาข้าวแห่งทุ่งระโนด ความขัดแย้งได้คลี่คลายลงจากการที่ธุรกิจนากุ้งต่างพากันล้มระเนนระนาดจากปัญหาทางการตลาดและปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็ม จึงได้พระราชทานพระราชดำริในวโรกาสและสถานที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปพระราชดำริเบื้องต้นได้ว่า
“... ทำประตูน้ำที่ปากน้ำ น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนังประมาณ 3 กิโลเมตร ก็พิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าเป็นกุญแจสำคัญของโครงการ จะแก้ไขปัญหาตั้งแต่น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม และสามารถที่จะให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและน้ำทำการเกษตร การสร้างประตูน้ำนั้น ก็เชื่อว่าถ้าไม่มีปัญหาที่ดินจะสร้างได้โดยเร็ว กะว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีเสร็จ แม้ว่าประตูระบายน้ำอันเดียวจะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมดซึ่งจะต้องก่อสร้างหรือทำโครงการต่อเนื่อง หากแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด จากอันนี้จะทำอะไรๆ ได้ทุกอย่างและแยกออกมาเป็นโครงการ...” โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ว่า
1. เพื่อป้องกันน้ำเค็มจากทะเลที่จะไหลเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง และลำน้ำสาขา
2. เพื่อลดระยะเวลาในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
3. เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรที่ทำนากุ้งและราษฎรที่ทำนาข้าว
4. เพื่อกักเก็บน้ำจืดและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดได้
5. ช่วยสร้างระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของอ่าวปากพนังให้มีสภาพดีขึ้น
6. เพื่อลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของราษฎร
เป้าหมายในการดำเนินงานของโครงการ ก็เพื่อจะพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ให้ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านชลประทาน เศรษฐกิจ และสังคม ให้ราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปราศจากความขัดแย้ง แม้ว่าในช่วงการเริ่มต้นของโครงการจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่และส่งผลกระทบพอสมควร ไม่ว่าการสร้างเขื่อนกันคลื่นที่ปากแม่น้ำ ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ส่งผลต่อบ้านเรือนของประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งและที่ปลูกบ้านอาศัยในพื้นที่ติดกับชายฝั่ง การปรับตัวของระดับน้ำอันเกิดจากการทำประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ขยายจมพื้นที่กินอาณาบริเวณกว้างกว่าเดิม การเกิดน้ำเน่าเสียอันเกิดจากการเน่าเปื่อยของวัชพืช เป็นต้น
อย่างไรก็แล้วแต่ 10 กว่าปีให้หลังของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ได้มีการบูรณาการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ส่วนลงไปดำเนินการ ส่งผลให้การประกอบอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นเป็นลำดับ แม้จะไม่หวือหวาเหมือนการพัฒนาจากภาคอุตสาหกรรมก็ตาม
พื้นที่ชายฝั่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่วางปะการังเทียมอย่างหนาแน่นตั้งแต่เขตชายฝั่งของอำเภอปากพนังจรดพื้นที่ชายฝั่งของอำเภอระโนดในเขตพื้นที่ของจังหวัดสงขลา ทำให้ตลอดแนวชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์น้ำ ชาวประมงในพื้นที่และใกล้เคียงได้ประกอบอาชีพทำการประมงได้ในทุกฤดูกาล อาหารทะเลสดๆ จากพื้นที่เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดตลาดพันธุ์สัตว์น้ำ เกิดอาชีพที่ต่อเนื่องจากการประมงอีกหลากหลาย ไม่ว่าร้านค้าอุปกรณ์ทางการประมง แพปลา ฯลฯ
ชุมชนประมงชายฝั่งก็ได้รับการพัฒนาทางความคิดในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง อย่างเป็นระบบรูปธรรมหนึ่ง เช่น ชุมชนประมงชายฝั่งบ้านเกาะเพชร ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทรได้ร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งหลายๆ รูปแบบไม่ว่ากิจกรรมการเฝ้าระวังชายฝั่งจากเครื่องมือทำการประมงแบบทำลายล้าง การปลูกป่าชายเลน การขยายพันธุ์สัตว์น้ำโดยการจัดตั้งธนาคารปู ฯลฯ จนชุมชนประมงบ้านเกาะเพชรได้รับรางวัลชุมชนประมงต้นแบบอันดับสองของประเทศ ได้รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อปีที่แล้ว น่าจะเป็นหลักฐานที่ทำให้เราเห็นว่าการตื่นตัว การอยู่ดีกินดีของประชาชนในพื้นที่เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ชลประทานน้ำเค็มหลังประตูน้ำ 4 กิโลเมตรถูกกำหนดให้เป็นเขตโซนพื้นที่เลี้ยงกุ้ง แยกออกจากโซนน้ำจืดอันเป็นพื้นที่ทำนาอย่างเด็ดขาด มีการจัดระบบการเลี้ยงกุ้งที่มีข้อตกลงในการบริหารจัดการร่วมกันของเกษตรกรผู้เลี้ยง ไม่ว่าการบริหารการจัดการน้ำเค็มเข้าบ่อ การกำจัดขี้เลน จนกิจการนากุ้งกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งอย่างเป็นระบบและอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังในวันนี้มีนากุ้งที่กลับมาเลี้ยงกันใหม่อีกครั้งมีไม่ต่ำกว่า 35,000 ไร่ ทำรายได้เข้าพื้นที่เข้าประเทศปีละไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท เกษตรกรที่เป็นชาวนาชาวสวนก็สามารถพัฒนาพื้นที่ทำนาทำสวน ทำแปลงเกษตรผสมผสานได้ โดยไม่ขัดแย้งกับผู้เลี้ยงกุ้งอีกต่อไป หัวไทรจึงกลายเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารที่มีทั้งข้าวปลาอาหารและเศรษฐกิจอันเกี่ยวเนื่องจากเกษตรกรทั้งจากการทำนาและการเลี้ยงกุ้งควบคู่กันไปอย่างปกติสุข
ธงที่มีข้อความคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ปลิวไสวอยู่หน้าบ้านแทบทุกครัวเรือนในเขตพื้นที่ของอำเภอหัวไทร แผ่นปลิวประกาศเจตนารมณ์ร่วมคัดค้านที่ปิดตามร้านค้าของแม่ค้าในตลาด กระสอบปุ๋ย กระสอบอาหารกุ้งที่เขียนด้วยข้อความอันออกมาจากใจและความรู้สึกของชาวบ้าน ด้วยคำพูดเชิงขอร้อง เชิงไม่เห็นด้วย ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กำลังจะมาเลือกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาเป็นที่ตั้ง ย่อมมีเหตุผลที่พวกเขาอธิบายได้
อธิบายได้ว่าพวกเขาผ่านความทุกข์ยากในการประกอบอาชีพ ทุกข์ยากในการหาหนทางสร้างอนาคตมามากแค่ไหน จนได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนพวกเขาเริ่มลืมตาอ้าปากได้ เริ่มมองเห็นอนาคตของอาชีพ ของสังคมที่มีความหวังแล้วจู่ๆ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กลับนำเอาโครงการขนาดยักษ์อย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะส่งผลกระทบต่อพวกเขาในหลายๆ ด้านมาลงในพื้นที่ ที่มาพร้อมด้วยคำอธิบายผลดีต่างๆ ของโครงการอย่างมากมาย ทั้งจากนักวิชาการ และนักประชาสัมพันธ์ที่ กฟผ.ว่าจ้างมาด้วยเงินก้อนโต แต่ไม่เคยมีใครหรือหน่วยงานใดเลยที่จะมาว่าจ้างให้นักวิชาการคนไหนหรือบริษัทรับจ้างประชาสัมพันธ์อะไรมา “ฟัง”ว่าชาวบ้านหัวไทรพื้นที่ที่คุณจะเอาโน่นนี่โยนลงมาในชุมชนของเขานั้น เขาคิดอะไรกันอยู่....หรือคิดว่าเขาคิดอะไรไม่เป็น???
การเข้ามาของธุรกิจการเลี้ยงกุ้งกุลาดำคือความหวังของผู้คน แต่การขยายตัวของนากุ้งก็ส่งผลซ้ำเติมความทุกข์ยาก ความขัดแย้งให้เกิดขึ้นอีกระลอก จากการจัดสรรพื้นที่ทำนาข้าวกับนากุ้งไม่ลงตัว นากุ้งซึ่งต้องดึงเอาน้ำเค็มจากทะเลเข้าสู่พื้นที่กระทบต่อเกษตรกรผู้ทำนาข้าว ความขัดแย้งต่อเนื่องยาวนานไม่ต่างจากตำนานความขัดแย้งระหว่างนากุ้งกับนาข้าวแห่งทุ่งระโนด ความขัดแย้งได้คลี่คลายลงจากการที่ธุรกิจนากุ้งต่างพากันล้มระเนนระนาดจากปัญหาทางการตลาดและปัญหาทางสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรม
ในปี พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นถึงความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม และน้ำเค็ม จึงได้พระราชทานพระราชดำริในวโรกาสและสถานที่ต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปพระราชดำริเบื้องต้นได้ว่า
“... ทำประตูน้ำที่ปากน้ำ น้ำห่างจากตัวอำเภอปากพนังประมาณ 3 กิโลเมตร ก็พิจารณาว่าจะแก้ปัญหาทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าเป็นกุญแจสำคัญของโครงการ จะแก้ไขปัญหาตั้งแต่น้ำแล้ง น้ำท่วม น้ำเค็ม และสามารถที่จะให้ประชาชนมีน้ำบริโภคและน้ำทำการเกษตร การสร้างประตูน้ำนั้น ก็เชื่อว่าถ้าไม่มีปัญหาที่ดินจะสร้างได้โดยเร็ว กะว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 ปีเสร็จ แม้ว่าประตูระบายน้ำอันเดียวจะไม่แก้ไขปัญหาทั้งหมดซึ่งจะต้องก่อสร้างหรือทำโครงการต่อเนื่อง หากแต่ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ไขปัญหาทั้งหมด จากอันนี้จะทำอะไรๆ ได้ทุกอย่างและแยกออกมาเป็นโครงการ...” โดยกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ว่า
1. เพื่อป้องกันน้ำเค็มจากทะเลที่จะไหลเข้าไปในแม่น้ำปากพนัง และลำน้ำสาขา
2. เพื่อลดระยะเวลาในการระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ที่เกิดอุทกภัย
3. เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างราษฎรที่ทำนากุ้งและราษฎรที่ทำนาข้าว
4. เพื่อกักเก็บน้ำจืดและเป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์สัตว์น้ำจืดได้
5. ช่วยสร้างระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมของอ่าวปากพนังให้มีสภาพดีขึ้น
6. เพื่อลดปัญหาการอพยพย้ายถิ่นฐานของราษฎร
เป้าหมายในการดำเนินงานของโครงการ ก็เพื่อจะพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ให้ได้รับการพัฒนาทั้งในด้านชลประทาน เศรษฐกิจ และสังคม ให้ราษฎรในพื้นที่ให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ปราศจากความขัดแย้ง แม้ว่าในช่วงการเริ่มต้นของโครงการจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่และส่งผลกระทบพอสมควร ไม่ว่าการสร้างเขื่อนกันคลื่นที่ปากแม่น้ำ ซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ส่งผลต่อบ้านเรือนของประชาชนที่ประกอบอาชีพประมงชายฝั่งและที่ปลูกบ้านอาศัยในพื้นที่ติดกับชายฝั่ง การปรับตัวของระดับน้ำอันเกิดจากการทำประตูกั้นน้ำ ทำให้น้ำท่วมพื้นที่ขยายจมพื้นที่กินอาณาบริเวณกว้างกว่าเดิม การเกิดน้ำเน่าเสียอันเกิดจากการเน่าเปื่อยของวัชพืช เป็นต้น
อย่างไรก็แล้วแต่ 10 กว่าปีให้หลังของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ได้มีการบูรณาการของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องในหลายๆ ส่วนลงไปดำเนินการ ส่งผลให้การประกอบอาชีพ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ดีขึ้นเป็นลำดับ แม้จะไม่หวือหวาเหมือนการพัฒนาจากภาคอุตสาหกรรมก็ตาม
พื้นที่ชายฝั่งถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่วางปะการังเทียมอย่างหนาแน่นตั้งแต่เขตชายฝั่งของอำเภอปากพนังจรดพื้นที่ชายฝั่งของอำเภอระโนดในเขตพื้นที่ของจังหวัดสงขลา ทำให้ตลอดแนวชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์สัตว์น้ำ ชาวประมงในพื้นที่และใกล้เคียงได้ประกอบอาชีพทำการประมงได้ในทุกฤดูกาล อาหารทะเลสดๆ จากพื้นที่เป็นที่ต้องการของตลาด เกิดตลาดพันธุ์สัตว์น้ำ เกิดอาชีพที่ต่อเนื่องจากการประมงอีกหลากหลาย ไม่ว่าร้านค้าอุปกรณ์ทางการประมง แพปลา ฯลฯ
ชุมชนประมงชายฝั่งก็ได้รับการพัฒนาทางความคิดในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง อย่างเป็นระบบรูปธรรมหนึ่ง เช่น ชุมชนประมงชายฝั่งบ้านเกาะเพชร ตำบลเกาะเพชร อำเภอหัวไทรได้ร่วมกันทำกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งหลายๆ รูปแบบไม่ว่ากิจกรรมการเฝ้าระวังชายฝั่งจากเครื่องมือทำการประมงแบบทำลายล้าง การปลูกป่าชายเลน การขยายพันธุ์สัตว์น้ำโดยการจัดตั้งธนาคารปู ฯลฯ จนชุมชนประมงบ้านเกาะเพชรได้รับรางวัลชุมชนประมงต้นแบบอันดับสองของประเทศ ได้รับรางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เมื่อปีที่แล้ว น่าจะเป็นหลักฐานที่ทำให้เราเห็นว่าการตื่นตัว การอยู่ดีกินดีของประชาชนในพื้นที่เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ
ชลประทานน้ำเค็มหลังประตูน้ำ 4 กิโลเมตรถูกกำหนดให้เป็นเขตโซนพื้นที่เลี้ยงกุ้ง แยกออกจากโซนน้ำจืดอันเป็นพื้นที่ทำนาอย่างเด็ดขาด มีการจัดระบบการเลี้ยงกุ้งที่มีข้อตกลงในการบริหารจัดการร่วมกันของเกษตรกรผู้เลี้ยง ไม่ว่าการบริหารการจัดการน้ำเค็มเข้าบ่อ การกำจัดขี้เลน จนกิจการนากุ้งกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งอย่างเป็นระบบและอย่างยั่งยืน พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังในวันนี้มีนากุ้งที่กลับมาเลี้ยงกันใหม่อีกครั้งมีไม่ต่ำกว่า 35,000 ไร่ ทำรายได้เข้าพื้นที่เข้าประเทศปีละไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาท เกษตรกรที่เป็นชาวนาชาวสวนก็สามารถพัฒนาพื้นที่ทำนาทำสวน ทำแปลงเกษตรผสมผสานได้ โดยไม่ขัดแย้งกับผู้เลี้ยงกุ้งอีกต่อไป หัวไทรจึงกลายเป็นแหล่งความมั่นคงทางอาหารที่มีทั้งข้าวปลาอาหารและเศรษฐกิจอันเกี่ยวเนื่องจากเกษตรกรทั้งจากการทำนาและการเลี้ยงกุ้งควบคู่กันไปอย่างปกติสุข
ธงที่มีข้อความคัดค้านโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ปลิวไสวอยู่หน้าบ้านแทบทุกครัวเรือนในเขตพื้นที่ของอำเภอหัวไทร แผ่นปลิวประกาศเจตนารมณ์ร่วมคัดค้านที่ปิดตามร้านค้าของแม่ค้าในตลาด กระสอบปุ๋ย กระสอบอาหารกุ้งที่เขียนด้วยข้อความอันออกมาจากใจและความรู้สึกของชาวบ้าน ด้วยคำพูดเชิงขอร้อง เชิงไม่เห็นด้วย ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กำลังจะมาเลือกบ้านเกิดเมืองนอนของพวกเขาเป็นที่ตั้ง ย่อมมีเหตุผลที่พวกเขาอธิบายได้
อธิบายได้ว่าพวกเขาผ่านความทุกข์ยากในการประกอบอาชีพ ทุกข์ยากในการหาหนทางสร้างอนาคตมามากแค่ไหน จนได้รับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จนพวกเขาเริ่มลืมตาอ้าปากได้ เริ่มมองเห็นอนาคตของอาชีพ ของสังคมที่มีความหวังแล้วจู่ๆ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กลับนำเอาโครงการขนาดยักษ์อย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะส่งผลกระทบต่อพวกเขาในหลายๆ ด้านมาลงในพื้นที่ ที่มาพร้อมด้วยคำอธิบายผลดีต่างๆ ของโครงการอย่างมากมาย ทั้งจากนักวิชาการ และนักประชาสัมพันธ์ที่ กฟผ.ว่าจ้างมาด้วยเงินก้อนโต แต่ไม่เคยมีใครหรือหน่วยงานใดเลยที่จะมาว่าจ้างให้นักวิชาการคนไหนหรือบริษัทรับจ้างประชาสัมพันธ์อะไรมา “ฟัง”ว่าชาวบ้านหัวไทรพื้นที่ที่คุณจะเอาโน่นนี่โยนลงมาในชุมชนของเขานั้น เขาคิดอะไรกันอยู่....หรือคิดว่าเขาคิดอะไรไม่เป็น???