การเมืองกำลังเข้มข้น อังคารนี้ (25ม.ค.) ที่ประชุมรัฐสภา จะพิจารณาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 วันเดียวกัน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นัดรวมพลคนรักชาติ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ เพื่อแสดงจุดยืนและท่าทีต่อการปกป้องแผ่นดินไทยไม่ให้ถูกกัมพูชาละเมิดอธิปไตย
ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวฝ่ายค้านเพื่อไทยก็น่าจับตา ในฐานะพรรคที่มีส.ส.มากที่สุดในสภาฯ ที่จะเป็นตัวแปรกับการโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากพรรคร่วมรัฐบาลตกลงกันไม่ได้ รวมถึงที่สำคัญ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
“พิชัย นริพทะพันธุ์” อดีตรัฐมนตรีช่วยคลัง แกนนำทีมยกร่างนโยบายพรรค และคณะทำงานเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจของเพื่อไทย มาบอกเล่าให้เราฟัง ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการซักฟอกรวมถึงทิศทางพรรคเพื่อไทย ให้พอเห็นภาพก่อนจะรู้มติพรรคอย่างเป็นทางการ ที่จะมีการประชุมกันในวันจันทร์ที่ 24 ม.ค.นี้
- การประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทย วันจันทร์ที่ 24 ม.ค.นี้ ถูกจับตาอย่างมาก โดยเฉพาะท่าทีของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะได้ข้อสรุปเลยหรือไม่ ?
จะหารือเรื่องจะให้ใครเป็นผู้นำการอภิปราย และเสนอชื่อใครเป็นแนบญัตติให้เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรค ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งส.ส.หลายคนก็บอกว่าครั้งนี้น่าจะเปลี่ยนแนวอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยหลายคนก็สนับสนุน นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่โดยเฉพาะความเห็นของส.ส.ส่วนใหญ่ในพรรคจะเห็นอย่างไร ถ้ามีคนเสนอชื่อคนอื่น ก็ต้องหารือกันและอาจจะต้องมีการลงมติกันในที่ประชุม
รวมถึงประชุมครั้งนี้ จะมีการหารือถึงจุดยืนของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตอนนี้พรรคก็กำลังประเมินสถานการณ์การลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 กันอยู่ เพราะเห็นว่ามีความขัดแย้งกันอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ ถ้าเคลียร์กันไม่ได้ ก็อาจมีการพลิกผันอะไรได้ ยกเว้นตกลงกันได้
- เรื่องซักฟอกหลักๆ จะพุ่งเป้าประเด็นใด ?
เป้าหลักก็คือปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐบาล ที่มีมากและรุนแรงขึ้นจากหลายรัฐบาลที่ผ่านมา เห็นได้จากผลสำรวจของคนที่จ่ายเงิน คือพวกหอการค้าบอกตอนนี้จ่ายกัน 25-30 เปอร์เซนต์ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีการทุจริตกันมาก รวมถึงการอภิปรายเรื่องการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก โดยรัฐบาลไม่ออกมารับผิดชอบกับความสูญเสีย และยังมีเรื่องการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ที่จะเห็นได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจมันโตด้วยกระบวนการทางเศรษฐกิจเอง ไม่ใช่เพราะการบริหารงาน หรือการออกนโยบายของรัฐบาล 2 ปีนี้รัฐบาลกู้มาแล้ว 8 แสนล้านบาท แต่เศรษฐกิจโต 8 เปอร์เซนต์ ทั้งที่จริงการกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจมากขนาดนี้มันต้องมีผลลัพธ์ที่ดีกว่านี้ เช่นเงินหมุนเวียน จีดีพี
- ที่คนในพรรคอย่างเช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง บอกว่าพรรคต้องอภิปรายแบบหนักหน่วง ต้องมีทีเด็ดทีขาด แต่ส.ส.บางส่วนกลับเห็นตรงกันข้าม จริงๆ รูปแบบจะออกมาอย่างไร ?
ยืนยันว่าพรรคจะอภิปรายอย่างเข้มข้น จริงจัง ดุดันในเนื้อหาและการนำเสนอ การอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ใช่จะมาชี้แนะรัฐบาล แต่ต้องบอกว่ารัฐบาลทำผิดอย่างไร ทุจริตทำผิดกฎหมายตรงไหน มีคนเจ็บคนตายใครจะรับผิดชอบ
- พร้อมแค่ไหน ข้อมูลแน่นจริงไหม ?
ข้อมูลเรามีมาก อย่างทุจริตก็ที่พรรคไปทำหนังสือการทุจริตของรัฐบาลที่เห็นในช่วง 2 ปี ก็เป็นร้อยแล้ว ในอดีตรัฐบาลไหนมีปัญหาทุจริตแค่เรื่องเดียวก็อยู่ไม่ได้แล้ว แต่รัฐบาลนี้ยังบริหารประเทศให้เสียหายกันอยู่ได้ หลายเรื่องก็แก้ไม่ได้ ตอบข้อสงสัยสังคมไม่ได้ เรื่องปฏิรูปบอกจะแก้ทุจริต ก็แสดงว่ารัฐบาลยอมรับมีการทุจริตกันจริง
- เป้าหลักคือพุ่งไปที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ?
ใช่ เพราะนายกรัฐมนตรี คือหัวหน้ารัฐบาล เมื่อปัญหามากขนาดนี้ก็ต้องรับผิดชอบ หมดแล้วที่จะมาบอกว่าตัวเองสะอาด แต่ปล่อยให้คนอื่นโกง มันต้องเลิกแล้ว เมื่อโกงก็คือโกง นายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมด
-เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคจะเอาอย่างไร เห็นด้วยกับสูตรไหน ?
พรรคพร้อมทุกสูตร เพราะเชื่อว่าไม่ว่าจะออกมาแบบไหน พรรคก็จะได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากประชาชน
- แล้วปัญหาในพรรคดูเหมือนคลื่นใต้น้ำเยอะ จะขัดแย้งรุนแรงก่อนเลือกตั้งหรือไม่ ?
ภายนอกอาจดูเหมือนพรรคยุ่งๆ มีปัญหา แต่จริงๆแล้วไม่มีอะไร หากมีการเลือกตั้งพรรคก็พร้อม แกนนำพรรคทุกคนก็จะจับมือกันทำพรรคให้กลับมาชนะเลือกตั้ง อาจเป็นแผนล่อเพื่อทำให้คนภายนอกเห็นว่าเรามีปัญหา แต่จริงๆ แล้วพรรคเข้มแข็งมาก คราวนี้เราอาจทำเป็นอ่อนแอ ป๊อกแป๊กๆ เพื่อให้คนตายใจก็ได้ รอดูได้เลย เป่านกหวีดเลือกตั้งเมื่อใด ทุกคน ทุกสาย จะกลับมาจับมือกัน ทำให้เป็นเพื่อไทยที่เข้มแข็งเหนือคู่แข่ง
- แล้วนโยบายหาเสียงพร้อมแค่ไหน เห็นเงียบๆ อยู่ ?
เราเตรียมไว้หมดแล้ว ที่เราไม่ประกาศเพราะกลัวโดนลอก ขนาดไม่นานนี้ พรรคเสนอแนวคิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยนโยบายเต็มรูปแบบ คือ 30 ล้าน เที่ยวทั่วไทย คนไทยยิ้มได้ คือการทำให้นักท่องเที่ยวเข้าไทยปีหนึ่งๆไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน เราวางวิธีไว้หลายขั้นตอน แค่ประกาศรัฐบาลก็เอาไอเดียเราไปก็อปปี้ เอาเข้าที่ประชุม ครม.
นโยบายเราจะไม่มองเรื่องเล็กมากเกินไป อย่างเรื่องขายไข่ แต่เราจะบอกว่าโครสร้าง-ปัญหาของประเทศไทย ควรจะเปลี่ยนอย่างไร อย่างเรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์ ซึ่งทำให้ค่าขนส่งทางธุรกิจและการคมนาคมของเราสูงมาก เทียบเป็น 19 เปอร์เซนต์ของรายได้ประชาชาติ ประเทศอื่นแค่ 8-10 เปอร์เซนต์ นโยบายเราคือ ทำอย่างไรให้ค่าขนส่งเราลดลงมาให้ได้จาก 19 เปอร์เซนต์เหลือ 10 เปอร์เซนต์ ก็ต้องเปลี่ยนทั้งระบบ ไม่อยากบอกตอนนี้จะโดนลอก แต่จะเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจ เพิ่มการแข่งขัน เพราะหากเราผลิตสินค้าถูกกว่าประเทศอื่น แต่ขนส่งแพงกว่าเขา เราก็ขายไม่ถูกกว่าคนอื่นแล้ว แต่รัฐบาลไม่ได้มองภาพกว้าง หลายเรื่องพูดแล้วก็ไม่ได้ทำ หลายเรื่องทำก็เปิดช่องทุจริต เช่นงบไทยเข้มแข็ง ชุมชนพอเพียง
นโยบายของเราจะให้ความสำคัญกับชนชั้นกลางมากเป็นพิเศษ แต่ก็ดูแลทุกกลุ่มด้วย อย่างประชาธิปัตย์ที่พยายามจะลงมาหาเสียง ออกนโยบายกับชนชั้นแรงงาน รากหญ้า แล้วโยนภาระไปให้ชนชั้นกลางมากขึ้น แบบนี้ก็ไม่ถูก อย่างการอุดหนุนแก๊ส ก็ทำให้ชนชั้นกลางกลับต้องมาภาระมากขึ้น มันก็ไม่ยุติธรรม เพื่อไทยจะดูแลคนทุกกลุ่มเท่ากันหมด ยืนยันว่านโยบายใหม่ ชนชั้นกลางต้องชอบอย่างมาก คนไหนยังไม่มั่นใจพรรคเพื่อไทย พอเห็นแล้วก็จะเชื่อมั่นเลยทันที
-แล้วกับคนเสื้อแดง จะเดินไปด้วยกันหรือรักษาระยะห่าง ?
เราเป็นพรรคการเมือง ก็ต้องทำให้คนทุกคนมีความสุข คนเสื้อแดงก็ถือเป็นลูกค้าของเรา แต่ไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มเดียว เราก็ต้องดูแลให้ความสำคัญกับคนทุกกลุ่ม ชนชั้นกลาง แม้เขาจะไม่เลือกเรา ก็ต้องดูแลให้ความสำคัญด้วย หากคนชั้นล่างมีความเป็นอยู่ดีขึ้น มันก็จะดีขึ้นทั้งหมด คนชั้นกลางก็จะดีตามไปด้วย
-การเมืองหลังเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงเกินครึ่ง การตั้งรัฐบาลก็จะราบรื่น แต่หากชนะเลือกตั้งได้เสียงมากอันดับหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า การฟอร์มรัฐบาลอาจยากบ้าง แต่อยากบอกประชาชนว่า ถ้ารัฐบาลทำดี คุณก็เลือกรัฐบาล แต่เมื่อรัฐบาลทำผิด มีปัญหามาก บริหารล้มเหลว คุณก็ควรเลือกและให้โอกาสฝ่ายค้าน ถ้าจะคิดแค่ว่า เลือกฝ่ายค้านตอนนี้แล้ว หากได้มาเป็นรัฐบาลจะมีปฏิวัติ เกิดเหตุวุ่นวาย แบบนี้ประเทศก็เดินไปไม่ได้ มันก็ไม่มีระบบตรวจสอบ คือเห็นว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ก็ยังต้องเลือก เพราะมีกำลังภายในมาให้เลือก ก็ควรให้โอกาสพรรคฝ่ายค้านอย่างเพื่อไทย ที่มีความพร้อมทุกด้านมากกว่า
ขณะเดียวกัน ความเคลื่อนไหวฝ่ายค้านเพื่อไทยก็น่าจับตา ในฐานะพรรคที่มีส.ส.มากที่สุดในสภาฯ ที่จะเป็นตัวแปรกับการโหวตแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากพรรคร่วมรัฐบาลตกลงกันไม่ได้ รวมถึงที่สำคัญ การอภิปรายไม่ไว้วางใจ
“พิชัย นริพทะพันธุ์” อดีตรัฐมนตรีช่วยคลัง แกนนำทีมยกร่างนโยบายพรรค และคณะทำงานเตรียมอภิปรายไม่ไว้วางใจของเพื่อไทย มาบอกเล่าให้เราฟัง ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการซักฟอกรวมถึงทิศทางพรรคเพื่อไทย ให้พอเห็นภาพก่อนจะรู้มติพรรคอย่างเป็นทางการ ที่จะมีการประชุมกันในวันจันทร์ที่ 24 ม.ค.นี้
- การประชุมส.ส.พรรคเพื่อไทย วันจันทร์ที่ 24 ม.ค.นี้ ถูกจับตาอย่างมาก โดยเฉพาะท่าทีของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการอภิปรายไม่ไว้วางใจ จะได้ข้อสรุปเลยหรือไม่ ?
จะหารือเรื่องจะให้ใครเป็นผู้นำการอภิปราย และเสนอชื่อใครเป็นแนบญัตติให้เป็นนายกรัฐมนตรีของพรรค ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ ซึ่งส.ส.หลายคนก็บอกว่าครั้งนี้น่าจะเปลี่ยนแนวอภิปรายไม่ไว้วางใจ โดยหลายคนก็สนับสนุน นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับเสียงส่วนใหญ่โดยเฉพาะความเห็นของส.ส.ส่วนใหญ่ในพรรคจะเห็นอย่างไร ถ้ามีคนเสนอชื่อคนอื่น ก็ต้องหารือกันและอาจจะต้องมีการลงมติกันในที่ประชุม
รวมถึงประชุมครั้งนี้ จะมีการหารือถึงจุดยืนของพรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตอนนี้พรรคก็กำลังประเมินสถานการณ์การลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 2 กันอยู่ เพราะเห็นว่ามีความขัดแย้งกันอยู่ในพรรคร่วมรัฐบาลกับประชาธิปัตย์ ถ้าเคลียร์กันไม่ได้ ก็อาจมีการพลิกผันอะไรได้ ยกเว้นตกลงกันได้
- เรื่องซักฟอกหลักๆ จะพุ่งเป้าประเด็นใด ?
เป้าหลักก็คือปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นในรัฐบาล ที่มีมากและรุนแรงขึ้นจากหลายรัฐบาลที่ผ่านมา เห็นได้จากผลสำรวจของคนที่จ่ายเงิน คือพวกหอการค้าบอกตอนนี้จ่ายกัน 25-30 เปอร์เซนต์ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลมีการทุจริตกันมาก รวมถึงการอภิปรายเรื่องการสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดงที่ทำให้มีคนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก โดยรัฐบาลไม่ออกมารับผิดชอบกับความสูญเสีย และยังมีเรื่องการบริหารงานที่ล้มเหลวของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องเศรษฐกิจ ที่จะเห็นได้ว่าการเติบโตของเศรษฐกิจมันโตด้วยกระบวนการทางเศรษฐกิจเอง ไม่ใช่เพราะการบริหารงาน หรือการออกนโยบายของรัฐบาล 2 ปีนี้รัฐบาลกู้มาแล้ว 8 แสนล้านบาท แต่เศรษฐกิจโต 8 เปอร์เซนต์ ทั้งที่จริงการกู้เงินมากระตุ้นเศรษฐกิจมากขนาดนี้มันต้องมีผลลัพธ์ที่ดีกว่านี้ เช่นเงินหมุนเวียน จีดีพี
- ที่คนในพรรคอย่างเช่น ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง บอกว่าพรรคต้องอภิปรายแบบหนักหน่วง ต้องมีทีเด็ดทีขาด แต่ส.ส.บางส่วนกลับเห็นตรงกันข้าม จริงๆ รูปแบบจะออกมาอย่างไร ?
ยืนยันว่าพรรคจะอภิปรายอย่างเข้มข้น จริงจัง ดุดันในเนื้อหาและการนำเสนอ การอภิปรายไม่ไว้วางใจไม่ใช่จะมาชี้แนะรัฐบาล แต่ต้องบอกว่ารัฐบาลทำผิดอย่างไร ทุจริตทำผิดกฎหมายตรงไหน มีคนเจ็บคนตายใครจะรับผิดชอบ
- พร้อมแค่ไหน ข้อมูลแน่นจริงไหม ?
ข้อมูลเรามีมาก อย่างทุจริตก็ที่พรรคไปทำหนังสือการทุจริตของรัฐบาลที่เห็นในช่วง 2 ปี ก็เป็นร้อยแล้ว ในอดีตรัฐบาลไหนมีปัญหาทุจริตแค่เรื่องเดียวก็อยู่ไม่ได้แล้ว แต่รัฐบาลนี้ยังบริหารประเทศให้เสียหายกันอยู่ได้ หลายเรื่องก็แก้ไม่ได้ ตอบข้อสงสัยสังคมไม่ได้ เรื่องปฏิรูปบอกจะแก้ทุจริต ก็แสดงว่ารัฐบาลยอมรับมีการทุจริตกันจริง
- เป้าหลักคือพุ่งไปที่ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ?
ใช่ เพราะนายกรัฐมนตรี คือหัวหน้ารัฐบาล เมื่อปัญหามากขนาดนี้ก็ต้องรับผิดชอบ หมดแล้วที่จะมาบอกว่าตัวเองสะอาด แต่ปล่อยให้คนอื่นโกง มันต้องเลิกแล้ว เมื่อโกงก็คือโกง นายกรัฐมนตรีก็ต้องรับผิดชอบทั้งหมด
-เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ พรรคจะเอาอย่างไร เห็นด้วยกับสูตรไหน ?
พรรคพร้อมทุกสูตร เพราะเชื่อว่าไม่ว่าจะออกมาแบบไหน พรรคก็จะได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากประชาชน
- แล้วปัญหาในพรรคดูเหมือนคลื่นใต้น้ำเยอะ จะขัดแย้งรุนแรงก่อนเลือกตั้งหรือไม่ ?
ภายนอกอาจดูเหมือนพรรคยุ่งๆ มีปัญหา แต่จริงๆแล้วไม่มีอะไร หากมีการเลือกตั้งพรรคก็พร้อม แกนนำพรรคทุกคนก็จะจับมือกันทำพรรคให้กลับมาชนะเลือกตั้ง อาจเป็นแผนล่อเพื่อทำให้คนภายนอกเห็นว่าเรามีปัญหา แต่จริงๆ แล้วพรรคเข้มแข็งมาก คราวนี้เราอาจทำเป็นอ่อนแอ ป๊อกแป๊กๆ เพื่อให้คนตายใจก็ได้ รอดูได้เลย เป่านกหวีดเลือกตั้งเมื่อใด ทุกคน ทุกสาย จะกลับมาจับมือกัน ทำให้เป็นเพื่อไทยที่เข้มแข็งเหนือคู่แข่ง
- แล้วนโยบายหาเสียงพร้อมแค่ไหน เห็นเงียบๆ อยู่ ?
เราเตรียมไว้หมดแล้ว ที่เราไม่ประกาศเพราะกลัวโดนลอก ขนาดไม่นานนี้ พรรคเสนอแนวคิดการกระตุ้นการท่องเที่ยวด้วยนโยบายเต็มรูปแบบ คือ 30 ล้าน เที่ยวทั่วไทย คนไทยยิ้มได้ คือการทำให้นักท่องเที่ยวเข้าไทยปีหนึ่งๆไม่ต่ำกว่า 30 ล้านคน เราวางวิธีไว้หลายขั้นตอน แค่ประกาศรัฐบาลก็เอาไอเดียเราไปก็อปปี้ เอาเข้าที่ประชุม ครม.
นโยบายเราจะไม่มองเรื่องเล็กมากเกินไป อย่างเรื่องขายไข่ แต่เราจะบอกว่าโครสร้าง-ปัญหาของประเทศไทย ควรจะเปลี่ยนอย่างไร อย่างเรื่องการพัฒนาโลจิสติกส์ ซึ่งทำให้ค่าขนส่งทางธุรกิจและการคมนาคมของเราสูงมาก เทียบเป็น 19 เปอร์เซนต์ของรายได้ประชาชาติ ประเทศอื่นแค่ 8-10 เปอร์เซนต์ นโยบายเราคือ ทำอย่างไรให้ค่าขนส่งเราลดลงมาให้ได้จาก 19 เปอร์เซนต์เหลือ 10 เปอร์เซนต์ ก็ต้องเปลี่ยนทั้งระบบ ไม่อยากบอกตอนนี้จะโดนลอก แต่จะเป็นการลดต้นทุนทางธุรกิจ เพิ่มการแข่งขัน เพราะหากเราผลิตสินค้าถูกกว่าประเทศอื่น แต่ขนส่งแพงกว่าเขา เราก็ขายไม่ถูกกว่าคนอื่นแล้ว แต่รัฐบาลไม่ได้มองภาพกว้าง หลายเรื่องพูดแล้วก็ไม่ได้ทำ หลายเรื่องทำก็เปิดช่องทุจริต เช่นงบไทยเข้มแข็ง ชุมชนพอเพียง
นโยบายของเราจะให้ความสำคัญกับชนชั้นกลางมากเป็นพิเศษ แต่ก็ดูแลทุกกลุ่มด้วย อย่างประชาธิปัตย์ที่พยายามจะลงมาหาเสียง ออกนโยบายกับชนชั้นแรงงาน รากหญ้า แล้วโยนภาระไปให้ชนชั้นกลางมากขึ้น แบบนี้ก็ไม่ถูก อย่างการอุดหนุนแก๊ส ก็ทำให้ชนชั้นกลางกลับต้องมาภาระมากขึ้น มันก็ไม่ยุติธรรม เพื่อไทยจะดูแลคนทุกกลุ่มเท่ากันหมด ยืนยันว่านโยบายใหม่ ชนชั้นกลางต้องชอบอย่างมาก คนไหนยังไม่มั่นใจพรรคเพื่อไทย พอเห็นแล้วก็จะเชื่อมั่นเลยทันที
-แล้วกับคนเสื้อแดง จะเดินไปด้วยกันหรือรักษาระยะห่าง ?
เราเป็นพรรคการเมือง ก็ต้องทำให้คนทุกคนมีความสุข คนเสื้อแดงก็ถือเป็นลูกค้าของเรา แต่ไม่ใช่ลูกค้ากลุ่มเดียว เราก็ต้องดูแลให้ความสำคัญกับคนทุกกลุ่ม ชนชั้นกลาง แม้เขาจะไม่เลือกเรา ก็ต้องดูแลให้ความสำคัญด้วย หากคนชั้นล่างมีความเป็นอยู่ดีขึ้น มันก็จะดีขึ้นทั้งหมด คนชั้นกลางก็จะดีตามไปด้วย
-การเมืองหลังเลือกตั้ง จะเป็นอย่างไร ?
ถ้าพรรคเพื่อไทยได้เสียงเกินครึ่ง การตั้งรัฐบาลก็จะราบรื่น แต่หากชนะเลือกตั้งได้เสียงมากอันดับหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า การฟอร์มรัฐบาลอาจยากบ้าง แต่อยากบอกประชาชนว่า ถ้ารัฐบาลทำดี คุณก็เลือกรัฐบาล แต่เมื่อรัฐบาลทำผิด มีปัญหามาก บริหารล้มเหลว คุณก็ควรเลือกและให้โอกาสฝ่ายค้าน ถ้าจะคิดแค่ว่า เลือกฝ่ายค้านตอนนี้แล้ว หากได้มาเป็นรัฐบาลจะมีปฏิวัติ เกิดเหตุวุ่นวาย แบบนี้ประเทศก็เดินไปไม่ได้ มันก็ไม่มีระบบตรวจสอบ คือเห็นว่ารัฐบาลไม่ดี แต่ก็ยังต้องเลือก เพราะมีกำลังภายในมาให้เลือก ก็ควรให้โอกาสพรรคฝ่ายค้านอย่างเพื่อไทย ที่มีความพร้อมทุกด้านมากกว่า