xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

เช็กเสียง“เพื่อไทย”กทม. จะต่ำสิบก็เพราะคนเสื้อแดง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์ - สัปดาห์ที่ผ่านมา มีภาพชุดที่คนพรรคเพื่อไทยเท่านั้น เชื่อว่ากระแสความขัดแย้ง ที่เหมือนกำลังเกิดขึ้นในพรรค ได้ลดดีกรีลงตามลำดับ หลังจากมีภาพการสวมกอดของคนใหญ่คนโตของพรรค ในงานวันฉลองมงคลสมรส ของ “อาจหาญ อยู่บำรุง” บุตรชาย “ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง” ประธานส.ส.พรรคเพื่อไทย เมื่อค่ำวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา หลังจากช่วงบ่ายวันเดียวกัน เจ้าตัวฟาดงวงฟาดงา ถึงขั้น ประกาศจะออกจากพรรคไปตั้งพรรคใหม่ เหมือนกับกำลังน้อยใจคนบางคน สุดท้ายก็โบ้ย!! มั่วนิ่ม กล่าวหาว่า “สื่อเข้าใจผิด”

แต่การตั้งพรรคการเมือง ตั้งพรรคอะไหล่ มีการเดินหน้าไปก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ว่าจะเป็น “พรรครักเมืองไทย” ของ “ชูวิทย์ กมลวิศิษฐ์ ” ที่เป็นหัวหน้าพรรคอยู่ หรือชื่อพรรคใหม่ “พรรคทางเลือกใหม่” ที่ ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวอ้างในวันนั้น แต่สุดท้ายแล้วฐานเสียง ก็ไม่พ้น “คนเสื้อแดง” หรือฐานเสียงเดิมๆ ของพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชนเก่า ในเขตกรุงเทพฯนั้นเอง

ดังนั้นจึงขอนำฐานข้อมูลของพรรคเพื่อไทย ล่าสุด มาเรียบเรียงว่า มีผู้สนับสนุน “พรรคเพื่อไทย” ในเขตกรุงเทพฯ อยู่เพียงใด มีทิศทางที่จะยังเป็นพรรคอันดับต้นๆในกรุงเทพฯ หรือไม่ เพราะถ้าหากมีการกำหนดเขตเลือกตั้ง กรุงเทพมหานครขนาดนี้ เป็นแบบเดิม คือ 12 เขตเลือกตั้ง คือ เขตเล็ก 3 คน โดยเทียบกับตัวเลขการเลือกตั้งสมาชิดสภากรุงเทพ (ส.ก.) และสมาชิกสภาเขต(สข.) โดยอ้างอิงกับจำนวนเขตในกรุงเทพจาก50 เขต ที่มีจำนวนหน่วยเลือกตั้งทั้งสิ้น 6,433 หน่วย และจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 4,139,075 คน

เมื่อวันที่ 30 ส.ค.ที่ผ่านมา มีผู้ไปใช้สิทธิจำนวน 1,702,845 คน และผู้สมัครของ “เพื่อไทย” ได้รับเลือกสก. 15 คน และสข. 39 คน เป็นการชนะยกทีมรวม 5 เขต ประกอบด้วย ธนบุรี ภาษีเจริญ หนองแขม หนองจอกและห้วยขวาง และมีจำนวน 3 เขตที่ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ผสมกับพรรคเพื่อไทย ประกอบด้วย เขตจอมทอง ดุสิต และเขตทุ่งครุ แต่ก็เสียบมาได้เขตละคนสองคนเท่านั้น

จะเห็นได้ว่า ในความนิยมในตัวสข. สก. หรือส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่คาดว่ายังหากินได้อีกนานได้แก่ ลาดกระบัง ดอนเมือง สายไหม บางเขน คลองสามวา คันนายาว หนองจอก มีนบุรี บางกะปิ รวมทั้งธนบุรี จตุจักร และลาดพร้าว

เมื่อดูคะแนนสก.ในเขตที่ได้รับการเลือกตั้ง และบางเขตที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง แต่มีคะแนนสูสีกับคู่แข่ง ในหลักหมื่นต้นๆ ประกอบด้วย ดอนเมือง 1ได้คะแนนหนุน11,170 คะแนน ดอนเมือง 2 ได้คะแนนหนุน11,863 คะแนน ดุสิต ได้คะแนน14,160 คะแนน บางเขน 1 ได้คะแนน13,979 คะแนน บางแค 2 ได้ 10,631คะแนน บึงกุ่ม ได้ 16,134 คะแนน สะพานสูง ได้ 10,983 คะแนน ลาดกระบัง 1 ได้ 10,096 คะแนน ลาดกระบัง 2ได้ 10,425 คะแนน คันนายาว ได้ 15,646 คะแนน ดินแดง ได้ 17,915 คะแนน ธนบุรี ได้ 12,821 คะแนน มีนบุรี ได้ 20,53 คะแนน หนองแขม ได้ 22,804 คะแนน หนองจอก ได้ 20,787 คะแนน ห้วยขวาง ได้ 13,621คะแนน จตุจักร1 ได้10,057 คะแนน

ขณะที่เขตอื่นๆได้ 5,000-6,000 คะแนน เมื่อรวมกว่า 50 เขตเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนในกทม.ประมาณ 500,000 คะแนน

ส่วนตัวเลขอ้างอิงในปี 2552 ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 “ยุรนันท์ ภมรมนตรี” ลงสมัครชิงตำแหน่ง ได้รับเสียงสนีบสนุน 611,669 คะแนน มาเป็นอันดับที่ 2

หากจะดูฐานข้อมูลล่าสุดกับความเป็นจริงในพรรคเพื่อไทย ในชื่อของพรรคพลังประชาชนขณะนั้น

ขณะนี้พรรคมี ส.ส.ในกทม.เพียง 10 คน แบ่งออกเป็นระบบเขต 6 คน และ ส.ส.สัดส่วนอีก4 คน ประกอบด้วย เขต 5 (บางเขน สายไหม ดอนเมือง) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ นายอนุสรณ์ ปั้นทอง และการุณ โหสกุล ,เขต 6 (หนองจอก คลองสามวา คันนายาว) นายไพโรจน์ อิสระเสรีพงส์ และ เขต7 (บางกะปิ สะพานสูง มีนบุรี ลาดกระบัง)นายดนุพร ปุณณกันต์ กับนายวิชาญ มีนชัยนันท์ ซึ่งต้องยอมรับว่า เกือบทั้งหมด 6 คนมีแบ๊คอัพ สาย “เจ๊หน่อย” สุดารัตน์ เกยุราพันธ์ ทั้งสิ้น

ขณะที่ส.ส.สัดส่วน เขต 6 (กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี และสมุทรปราการ) ประกอบด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ จตุพร พรหมพันธุ์ และมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ มีคะแนนสัดส่วนรวม1,545,743คะแนน มาเป็นที่สอง ที่สัดส่วน 3.4545 รวมจากส.ส.สัดส่วนเขต 6 ทั้งสิ้นจำนวน 3,734,439 คะแนน

ในกทม.นอกจากฐานเสียงของ 6 ส.ส.ข้างต้นแล้ว ยังมี กลุ่มต่าง ๆให้การสนับสนุนพรรคเพื่อไทย ที่ชัดๆก็คือสายคนเสื้อแดง (นปช.) ที่เป็นคนระดับล่างอย่างแท้จริงให้การสนับสนุน รวมถึงสายนายหญิงนายใหญ่ นักวิชาการ เช่น “ปลอดประสพ สุรัสวดี” รองหัวหน้าพรรค ที่เชื่อว่ารัฐบาลจะยุบสภา อย่างแน่นอน จึงมีความเห็นให้รอและก้าวข้ามพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของพรรคตัวจริง หรือ “โอฬาร ไชยประวัติ” “สุชาติ ธาดาธำรงเวช” หรือ “ปานปรีย์ พหิทธานุกร” ก็ยังไม่เทียบชั้นที่จะนำในกทม.

นอกจากนายหญิงและน้องสาวนายใหญ่ที่เดินเกมอยู่ข้างหลังจะมาเป็นแกนนำในกทม.เสียเอง

ขณะเดียวกัน พรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะใน กทม.ยังแหล่งชุมนุมของบรรดาเจ้าสัว อดีตข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ นายทหาร อดีตตท.10 เพื่อร่วมรุ่นอดีตนายกฯ คอยนำทิศทางในกทม.อีกหลายคน

ส่วนกลุ่มที่สดที่สุดก็น่าจะเป็น“กลุ่มกรุงเทพ 50” ที่นำโดย “พ.ต.ท.กุลธน ประจวบเหมาะ” กับบุคคลสำคัญจากหลากหลายสาขาอาชีพ ที่ส่วนใหญ่เป็น “เศรษฐี-ไฮโซ” ตระกูลดังที่จับมือลงขันสืบทอดเจนารมณ์บรรพบุรุษมีชื่ออย่างเช่น พรศักดิ์ ศรีละวน ,ชริษรัตน์ จันทรุเบกษา ,พันธุ์เลิศ ใบหยก ,ชนาพันษา นาลูล่า ,ตระการ พันธุมเลิศรุจี ,ธีรภัทร สูตะบุตร ,กรด โรจนเสถียร,บุญอนันต์ เปี่ยมพงศ์สานต์ ฯลฯ ซึ่งล้วนแต่เป็นกลุ่มเงินถุงเงินถังทั้งสิ้น

ขณะที่ส.ส.กทม.อย่าง “น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ” ถึงออกมาพูดว่าถ้ากลุ่มนี้ออกจากพรรค มีผลต่อการสรรหาผู้สมัครอย่างแน่นอน

ดังนั้นไม่ว่าการต่อสู้เพื่อช่วงชิงการนำระหว่างกลุ่มที่สนับสนุน ร.ต.อ.เฉลิม กับ กลุ่มที่ใกล้ชิดกับ คุณหญิงสุดารัตน์ หรือกลุ่มที่สนับสนุน นายมิ่งขวัญ กับ กลุ่มที่สนับสนุน ร.ต.อ.เฉลิม จะออกมาในทิศทางใดแต่ฐานคะแนนในกทม.ของพรรคเพื่อไทย กลับถูกปรามาสว่า ต่ำลงๆ ก็เนื่องจากฐานเสียงส่วนใหญ่ที่อยู่ในกลุ่มคนเสื้แดง ยืนยัน ดื้อดึง ที่จะชุมนุมในพื้นที่ราชประสงค์ เดือนละ 2 ครั้ง โดยไม่ฟังความเห็น หรือการขอร้องจากผู้ที่ได้รับผลกระทบ ย่อมไม่ส่งผลดีกับความรู้สึก ของพี่น้อง กทม อย่างแน่นอน..จะถูกพรรคคู่แข่งนำไปขยายผลทำให้คนกทม มองภาพเสื้อแดง ติดลบแย่ไปจากที่เป็นอยู่อีก ดังนั้นการเลือกตั้ง หลายครั้งใน กทม ยังคงถูกฝังใจกับภาพเหตการณ์ ความไม่สงบที่เกิดขึ้นใน กทม เมื่อตอนช่วงกลางปี ที่ผ่านมาได้.

มองภาพในอนาคตถ้าพรรคเพื่อไทย ในกทม.กลายเป็นพรรคต่ำสิบ เชื่อว่าการเคลื่อนไหวต่อๆไปบรรดา ส.ส. กทม ไม่กล้าที่จะสนับสนุนแน่..
กำลังโหลดความคิดเห็น