ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
การแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีที่ 7 คนไทยที่ต้องการตรวจสอบการที่ชาวกัมพูชารุกล้ำและยึดครองที่ทำกินของคนไทยในดินแดนไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยกัมพูชาได้รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อหาหลักฐานและพยายามยืนยันว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชา ในขณะที่นักการเมืองและข้าราชการไทยต่างส่งเสียงเดียวกันกับรัฐบาลกัมพูชาว่า 7 คนไทยได้รุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชาตั้งแต่วันแรกๆ แล้ว
เพื่อทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานในเบื้องต้นก่อนว่า เส้นเขตแดนที่อาศัย “หลักเขตแดน” นั้นถือเป็นพื้นที่ซึ่งมีความไม่ชัดเจน จึงต้องหาสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และเมื่อหลักเขตแดนถูกสร้างขึ้นแบบไม่ถาวรก็มีโอกาสที่หลักเขตจะถูกเคลื่อนย้ายโดยมนุษย์ได้เช่นกัน เส้นเขตแดนที่ใช้หลักเขตแดนจึงมีความไม่แน่นอนสูง
ดังนั้นการที่รัฐบาลและหน่วยงานราชาการด่วนสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในกัมพูชาจึงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมสำหรับ 7 คนไทยที่มีเจตนาดีกับบ้านเมือง กับปัญหาที่ชาวบ้านมาร้องเรียนว่าถูกชาวกัมพูชายึดครองที่ดินทำกินของตัวเองมากว่า 30 ปี
ซึ่งบริเวณที่ 7 คนไทยถูกจับกุมนั้น อยู่ในบริเวณหลักเขตที่ 46, 47 ซึ่งไทยและกัมพูชายังตกลงกันไม่ได้ในชั้นคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ว่าตำแหน่งหลักเขตแดนเดิมอยู่ที่ใด และรัฐสภาไทยก็ยังไม่ให้ความเห็นชอบจากเส้นเขตแดนในบริเวณนี้ ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดรัฐบาลและข้าราชการไทยไม่ควรจะไปด่วนสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชาในเวลานี้
ไม่มีประโยชน์อันที่จะมาถกเถียงว่าค่ายอพยพหนองจานอยู่ในดินแดนไทยหรือกัมพูชา เพราะตรรกะง่ายๆ ก็คือเส้นเขตแดนที่มีความไม่ชัดเจน เมื่อชาวกัมพูชาต้องอพยพหนีจากสงครามคงไม่มีชาวกัมพูชาอพยพคนใดจะมาสนใจว่าเป็นพื้นที่กัมพูชาหรือไทย ขอเพียงอย่างเดียวให้สามารถรอดชีวิตจากพื้นที่สงครามให้ได้ไกลที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่าบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาจะเกิดเหตุการณ์ที่ชาวกัมพูชาอพยพอยู่คร่อมเส้นเขตแดนได้
ประเทศไทยได้ตระหนักการรุกล้ำพื้นที่ของชาวกัมพูชาที่อพยพเข้ามาในดินแดนไทยเกินเส้นเขตแดนอย่างแน่นอน ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ฝ่ายไทยจัดทำรั้วลวดหนามล้อมเอาไว้ลึกเข้าไปดินแดนไทยมากกว่าเส้นเขตแดนตามหลักเขตแดนของไทย-กัมพูชาอย่างชัดเจน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาเมื่อเกิดสงครามภายในประเทศกัมพูชา หลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ 46, 47 มีแรงจูงใจทั้งจากฝ่ายไทยและกัมพูชาที่จะย้ายหลักเขตกลับไปมา
โดยในช่วงแรกมีความเป็นไปได้สูงที่ฝ่ายกัมพูชาจะเคลื่อนย้ายหลักเขตแดนกินเข้าไปในพื้นที่กัมพูชา เพราะถือเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับทหารและผู้อพยพลี้ภัยของชาวกัมพูชา
แต่พอสงครามสงบลงก็อาจจะมีการเคลื่อนย้ายหลักเขตกินลึกเข้ามาเหมือนเดิม หรืออาจลึกมากกว่าเดิมเมื่อมีแรงจูงใจที่พ่อค้า ข้าราชการ และนักการเมืองไทย สมคบกันย้ายหลักเขตเข้ามากินดินแดนไทยเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นเขตกัมพูชาแล้วดำเนินการตัดไม้เถื่อนเอาไปขายแล้วไม่ได้ย้ายหลักเขตกลับที่เดิม (จากบทสัมภาษณ์ของ พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์)
ดังนั้นข้อมูลเรื่องเส้นเขตแดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาจึงถือว่ามีความไม่แน่นอน และมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงมาก ทำให้แผนที่ของไทยซึ่งจัดทำขึ้นในภายหลังทั้ง L 7017 (พิมพ์ขึ้นใช้ปี พ.ศ. 2538-2539) หรือ L 7018 (พิมพ์ขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2548-2549) ก็มีโอกาสผิดพลาดสูงหากยึดเอาหลักเขตแดนที่สำรวจค้นพบในภายหลังจากที่มีการเคลื่อนย้ายแล้ว โดยไม่ได้ทำการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และพยานบุคคลมาเป็นองค์ประกอบ
เหมือนกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาแล้วกับแผนที่ L 7017 ที่หลงผิดไปลากเส้นเขตแดนตามแนวรั้วรอบปราสาทพระวิหารตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแนวรั้วดังกล่าวไม่ใช่เส้นเขตแดน เพียงเพราะหลงผิดในประวัติศาสตร์
เส้นทางของ 7 คนไทยคือเดินเข้ามาตามคันนาสุดตรงถนน K 5 แล้วเลี้ยวขวา เดินตรงไปเมื่อถึง 3 แยกจึงเลี้ยวซ้ายเดินลงมาตามทิศใต้ของถนน โดยยังเดินไปไม่ถึง “สระน้ำ” ที่ UN ได้ขุดเอาไว้สำหรับการอุปโภค บริโภคให้กับชาวกัมพูชาที่อพยพหนองจาน
ถ้า “สระน้ำ UN” สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นดินแดนไทย ก็จะเป็นหลักฐานตอกย้ำว่า 7 คนไทยถูกทหารกัมพูชาจับในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะควรเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2522 เพราะหากยึดถือหลักเขตหลัง พ.ศ. 2522 อาจมีความไม่แน่นอนสูงเพราะมีแรงจูงใจในการย้ายหลักเขตของไทย-กัมพูชาจากทั้ง 2 ฝ่าย
จากการให้ปากคำของชาวบ้านจังหวัดสระแก้วที่สูญเสียที่ดินทำกินจากชาวกัมพูชามาอพยพอาศัยอยู่บริเวณหลักเขตที่ 46, 47 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554 พบว่า สระน้ำ UN ท้ายหมู่บ้านเขมรอพยพนั้นอยู่บนที่ดินซึ่งแจ้งการครอบครองประเภท ส.ค. 1 ที่กรมที่ดินได้ออกไว้ให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ของนายหมา อันสมศรี มีจำนวนเนื้อที่ 48 ไร่ ทิศเหนือติดจดที่ดินนายบุญส่ง ทิศใต้จดป่า ทิศตะวันออกจดที่ดินนายท้าว ทิศตะวันตกจดลำคลอง
การที่มีที่ดินคนไทยอีกคนหนึ่งอยู่ทิศตะวันออกของที่ดินของนายหมา อันสมศรี ย่อมแสดงว่าด้านทิศตะวันออกของ “สระน้ำ UN” ยังไม่สุดเขตแดนไทย-กัมพูชา และยังมีที่ดินทำกินของคนไทยอีกรายหนึ่งชื่อ “นายท้าว”ด้วย
เมื่อตรวจสอบแล้ว “นายท้าว” ก็คือชื่อเล่นที่ชาวบ้านเรียกนายบุญจันทร์ เกษธาตุ (ปัจจุบันอายุ 84 ปีและยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งมีที่ดินที่แจ้งการครอบครองประเภท ส.ค. 1 อยู่ประมาณ 24 ไร่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยระบุว่าทิศตะวันตกของที่ดินของนายบุญจันทร์ เกษธาตุนั้นเป็นที่ดินของ นายหมา อันสมศรี และทิศใต้จดเส้นเขตแดน
ที่ดินของนายบุญจันทร์ เกษธาตุ ซึ่งติดกับสระน้ำ UN ด้านทิศตะวันออก และเป็นทิศตะวันออกของถนนที่ 7 คนไทยกำลังเดินลงมาทางทิศใต้นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า “หลักเขตปัจจุบันถูกเคลื่อนย้ายเข้ามาในดินแดนไทย” และหากยึดเส้นเขตแดนตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ต้องถือว่า 7 คนไทยยังอยู่ในดินแดนไทยอย่างแน่นอน และไม่มีทางที่จะอยู่ในดินแดนของกัมพูชาไปได้
แม้หลักฐานในระดับ ส.ค. 1 จะไม่สามารถเทียบเท่าได้กับ น.ส. 3 ก. หรือ โฉนด แต่สาระสำคัญกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องที่ว่านายหมา อันสมศรี หรือ นายบุญจันทร์ เกษธาตุ มีสิทธิ์การครอบครองที่ดินหรือไม่และแค่ไหน แต่สาระสำคัญในเรื่องนี้อยู่ตรงที่ว่า มีพยานบุคคล และ เจ้าหน้าที่รัฐเคยไปสำรวจแล้วว่าดินแดนบริเวณนั้นอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยการแสดงอธิปไตยที่ชัดเจนที่สุดก็คือ “รัฐไทย” จัดเก็บภาษีจากที่ดินทำกินในบริเวณนี้จากชาวบ้านมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน
เพราะมีหลักฐานภายในประเทศระดับหนึ่งทำให้เชื่อได้ว่าดินแดนดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุผลนี้การด่วนสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชา จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุผลที่ว่าการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่ 46, 47 ยังตกลงกันไม่ได้ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม เอ็มโอยู 2543 และเส้นเขตแดนยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 190 ก็ทำให้ไม่สมควรจะสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในกัมพูชาแล้วเช่นกัน
ด้วยเหตุผลที่ว่าไทยและกัมพูชาได้มีข้อตกลงต่อกันว่ากรณีที่คนทั้ง 2 ประเทศพลัดหลงข้ามแดนกันไปมาโดยไม่ติดอาวุธ จะต้องไม่นำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือการพิจารณาในชั้นศาลของทั้ง 2 ประเทศ ก็ยิ่งไม่ควรปล่อยให้กัมพูชาแสดงอธิปไตยทางศาลพิจารณาพิพากษา 7 คนไทยอย่างไม่ถูกต้อง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่กล่าวมาข้างต้น ศาลกัมพูชาไม่มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนี้ และไทยก็ไม่ควรยอมรับอำนาจการตัดสินของกัมพูชาที่จะมาลงโทษคนไทย หรือมุ่งแต่จะขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ 7 คนไทย จากกษัตริย์กัมพูชาโดยไม่คำนึงถึงเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี และ “อธิปไตยของชาติไทย”
โดย...ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
การแสวงหาข้อเท็จจริงกรณีที่ 7 คนไทยที่ต้องการตรวจสอบการที่ชาวกัมพูชารุกล้ำและยึดครองที่ทำกินของคนไทยในดินแดนไทยเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554 ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง โดยกัมพูชาได้รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเพื่อหาหลักฐานและพยายามยืนยันว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชา ในขณะที่นักการเมืองและข้าราชการไทยต่างส่งเสียงเดียวกันกับรัฐบาลกัมพูชาว่า 7 คนไทยได้รุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชาตั้งแต่วันแรกๆ แล้ว
เพื่อทำความเข้าใจเป็นพื้นฐานในเบื้องต้นก่อนว่า เส้นเขตแดนที่อาศัย “หลักเขตแดน” นั้นถือเป็นพื้นที่ซึ่งมีความไม่ชัดเจน จึงต้องหาสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น และเมื่อหลักเขตแดนถูกสร้างขึ้นแบบไม่ถาวรก็มีโอกาสที่หลักเขตจะถูกเคลื่อนย้ายโดยมนุษย์ได้เช่นกัน เส้นเขตแดนที่ใช้หลักเขตแดนจึงมีความไม่แน่นอนสูง
ดังนั้นการที่รัฐบาลและหน่วยงานราชาการด่วนสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในกัมพูชาจึงเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรมสำหรับ 7 คนไทยที่มีเจตนาดีกับบ้านเมือง กับปัญหาที่ชาวบ้านมาร้องเรียนว่าถูกชาวกัมพูชายึดครองที่ดินทำกินของตัวเองมากว่า 30 ปี
ซึ่งบริเวณที่ 7 คนไทยถูกจับกุมนั้น อยู่ในบริเวณหลักเขตที่ 46, 47 ซึ่งไทยและกัมพูชายังตกลงกันไม่ได้ในชั้นคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) ว่าตำแหน่งหลักเขตแดนเดิมอยู่ที่ใด และรัฐสภาไทยก็ยังไม่ให้ความเห็นชอบจากเส้นเขตแดนในบริเวณนี้ ดังนั้นอย่างน้อยที่สุดรัฐบาลและข้าราชการไทยไม่ควรจะไปด่วนสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชาในเวลานี้
ไม่มีประโยชน์อันที่จะมาถกเถียงว่าค่ายอพยพหนองจานอยู่ในดินแดนไทยหรือกัมพูชา เพราะตรรกะง่ายๆ ก็คือเส้นเขตแดนที่มีความไม่ชัดเจน เมื่อชาวกัมพูชาต้องอพยพหนีจากสงครามคงไม่มีชาวกัมพูชาอพยพคนใดจะมาสนใจว่าเป็นพื้นที่กัมพูชาหรือไทย ขอเพียงอย่างเดียวให้สามารถรอดชีวิตจากพื้นที่สงครามให้ได้ไกลที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ว่าบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชาจะเกิดเหตุการณ์ที่ชาวกัมพูชาอพยพอยู่คร่อมเส้นเขตแดนได้
ประเทศไทยได้ตระหนักการรุกล้ำพื้นที่ของชาวกัมพูชาที่อพยพเข้ามาในดินแดนไทยเกินเส้นเขตแดนอย่างแน่นอน ดังจะเห็นได้จากหลักฐานที่ฝ่ายไทยจัดทำรั้วลวดหนามล้อมเอาไว้ลึกเข้าไปดินแดนไทยมากกว่าเส้นเขตแดนตามหลักเขตแดนของไทย-กัมพูชาอย่างชัดเจน
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาเมื่อเกิดสงครามภายในประเทศกัมพูชา หลักเขตแดนไทย-กัมพูชาที่ 46, 47 มีแรงจูงใจทั้งจากฝ่ายไทยและกัมพูชาที่จะย้ายหลักเขตกลับไปมา
โดยในช่วงแรกมีความเป็นไปได้สูงที่ฝ่ายกัมพูชาจะเคลื่อนย้ายหลักเขตแดนกินเข้าไปในพื้นที่กัมพูชา เพราะถือเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับทหารและผู้อพยพลี้ภัยของชาวกัมพูชา
แต่พอสงครามสงบลงก็อาจจะมีการเคลื่อนย้ายหลักเขตกินลึกเข้ามาเหมือนเดิม หรืออาจลึกมากกว่าเดิมเมื่อมีแรงจูงใจที่พ่อค้า ข้าราชการ และนักการเมืองไทย สมคบกันย้ายหลักเขตเข้ามากินดินแดนไทยเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นเขตกัมพูชาแล้วดำเนินการตัดไม้เถื่อนเอาไปขายแล้วไม่ได้ย้ายหลักเขตกลับที่เดิม (จากบทสัมภาษณ์ของ พล.อ.จรัล กุลละวณิชย์)
ดังนั้นข้อมูลเรื่องเส้นเขตแดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมาจึงถือว่ามีความไม่แน่นอน และมีโอกาสคลาดเคลื่อนสูงมาก ทำให้แผนที่ของไทยซึ่งจัดทำขึ้นในภายหลังทั้ง L 7017 (พิมพ์ขึ้นใช้ปี พ.ศ. 2538-2539) หรือ L 7018 (พิมพ์ขึ้นใช้ในปี พ.ศ. 2548-2549) ก็มีโอกาสผิดพลาดสูงหากยึดเอาหลักเขตแดนที่สำรวจค้นพบในภายหลังจากที่มีการเคลื่อนย้ายแล้ว โดยไม่ได้ทำการสืบค้นข้อมูลทางประวัติศาสตร์และพยานบุคคลมาเป็นองค์ประกอบ
เหมือนกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมาแล้วกับแผนที่ L 7017 ที่หลงผิดไปลากเส้นเขตแดนตามแนวรั้วรอบปราสาทพระวิหารตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งๆที่ในความเป็นจริงแนวรั้วดังกล่าวไม่ใช่เส้นเขตแดน เพียงเพราะหลงผิดในประวัติศาสตร์
เส้นทางของ 7 คนไทยคือเดินเข้ามาตามคันนาสุดตรงถนน K 5 แล้วเลี้ยวขวา เดินตรงไปเมื่อถึง 3 แยกจึงเลี้ยวซ้ายเดินลงมาตามทิศใต้ของถนน โดยยังเดินไปไม่ถึง “สระน้ำ” ที่ UN ได้ขุดเอาไว้สำหรับการอุปโภค บริโภคให้กับชาวกัมพูชาที่อพยพหนองจาน
ถ้า “สระน้ำ UN” สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นดินแดนไทย ก็จะเป็นหลักฐานตอกย้ำว่า 7 คนไทยถูกทหารกัมพูชาจับในดินแดนประเทศไทย โดยเฉพาะควรเป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นก่อนปี พ.ศ. 2522 เพราะหากยึดถือหลักเขตหลัง พ.ศ. 2522 อาจมีความไม่แน่นอนสูงเพราะมีแรงจูงใจในการย้ายหลักเขตของไทย-กัมพูชาจากทั้ง 2 ฝ่าย
จากการให้ปากคำของชาวบ้านจังหวัดสระแก้วที่สูญเสียที่ดินทำกินจากชาวกัมพูชามาอพยพอาศัยอยู่บริเวณหลักเขตที่ 46, 47 เมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2554 พบว่า สระน้ำ UN ท้ายหมู่บ้านเขมรอพยพนั้นอยู่บนที่ดินซึ่งแจ้งการครอบครองประเภท ส.ค. 1 ที่กรมที่ดินได้ออกไว้ให้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 ของนายหมา อันสมศรี มีจำนวนเนื้อที่ 48 ไร่ ทิศเหนือติดจดที่ดินนายบุญส่ง ทิศใต้จดป่า ทิศตะวันออกจดที่ดินนายท้าว ทิศตะวันตกจดลำคลอง
การที่มีที่ดินคนไทยอีกคนหนึ่งอยู่ทิศตะวันออกของที่ดินของนายหมา อันสมศรี ย่อมแสดงว่าด้านทิศตะวันออกของ “สระน้ำ UN” ยังไม่สุดเขตแดนไทย-กัมพูชา และยังมีที่ดินทำกินของคนไทยอีกรายหนึ่งชื่อ “นายท้าว”ด้วย
เมื่อตรวจสอบแล้ว “นายท้าว” ก็คือชื่อเล่นที่ชาวบ้านเรียกนายบุญจันทร์ เกษธาตุ (ปัจจุบันอายุ 84 ปีและยังมีชีวิตอยู่) ซึ่งมีที่ดินที่แจ้งการครอบครองประเภท ส.ค. 1 อยู่ประมาณ 24 ไร่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 โดยระบุว่าทิศตะวันตกของที่ดินของนายบุญจันทร์ เกษธาตุนั้นเป็นที่ดินของ นายหมา อันสมศรี และทิศใต้จดเส้นเขตแดน
ที่ดินของนายบุญจันทร์ เกษธาตุ ซึ่งติดกับสระน้ำ UN ด้านทิศตะวันออก และเป็นทิศตะวันออกของถนนที่ 7 คนไทยกำลังเดินลงมาทางทิศใต้นั้น ย่อมแสดงให้เห็นว่า “หลักเขตปัจจุบันถูกเคลื่อนย้ายเข้ามาในดินแดนไทย” และหากยึดเส้นเขตแดนตั้งแต่ พ.ศ. 2498 ต้องถือว่า 7 คนไทยยังอยู่ในดินแดนไทยอย่างแน่นอน และไม่มีทางที่จะอยู่ในดินแดนของกัมพูชาไปได้
แม้หลักฐานในระดับ ส.ค. 1 จะไม่สามารถเทียบเท่าได้กับ น.ส. 3 ก. หรือ โฉนด แต่สาระสำคัญกรณีนี้ไม่ใช่เรื่องที่ว่านายหมา อันสมศรี หรือ นายบุญจันทร์ เกษธาตุ มีสิทธิ์การครอบครองที่ดินหรือไม่และแค่ไหน แต่สาระสำคัญในเรื่องนี้อยู่ตรงที่ว่า มีพยานบุคคล และ เจ้าหน้าที่รัฐเคยไปสำรวจแล้วว่าดินแดนบริเวณนั้นอยู่ในราชอาณาจักรไทย โดยการแสดงอธิปไตยที่ชัดเจนที่สุดก็คือ “รัฐไทย” จัดเก็บภาษีจากที่ดินทำกินในบริเวณนี้จากชาวบ้านมาทุกปีจนถึงปัจจุบัน
เพราะมีหลักฐานภายในประเทศระดับหนึ่งทำให้เชื่อได้ว่าดินแดนดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรไทย ด้วยเหตุผลนี้การด่วนสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในพื้นที่กัมพูชา จึงไม่สมควรอย่างยิ่ง
ด้วยเหตุผลที่ว่าการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนที่ 46, 47 ยังตกลงกันไม่ได้ระหว่างไทย-กัมพูชาตาม เอ็มโอยู 2543 และเส้นเขตแดนยังไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 190 ก็ทำให้ไม่สมควรจะสรุปว่า 7 คนไทยรุกเข้าไปในกัมพูชาแล้วเช่นกัน
ด้วยเหตุผลที่ว่าไทยและกัมพูชาได้มีข้อตกลงต่อกันว่ากรณีที่คนทั้ง 2 ประเทศพลัดหลงข้ามแดนกันไปมาโดยไม่ติดอาวุธ จะต้องไม่นำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือการพิจารณาในชั้นศาลของทั้ง 2 ประเทศ ก็ยิ่งไม่ควรปล่อยให้กัมพูชาแสดงอธิปไตยทางศาลพิจารณาพิพากษา 7 คนไทยอย่างไม่ถูกต้อง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดที่กล่าวมาข้างต้น ศาลกัมพูชาไม่มีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนี้ และไทยก็ไม่ควรยอมรับอำนาจการตัดสินของกัมพูชาที่จะมาลงโทษคนไทย หรือมุ่งแต่จะขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ 7 คนไทย จากกษัตริย์กัมพูชาโดยไม่คำนึงถึงเกียรติภูมิ ศักดิ์ศรี และ “อธิปไตยของชาติไทย”