บทความทางวิชาการนี้ ผู้เขียนไม่ได้มีเจตนาที่จะทำลาย หรือบั่นทอน การบริหารงานของรัฐบาลหรือข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐแต่อย่างใด แต่มีเจตนาที่จะให้ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของรัฐดังกล่าวได้ตระหนักถึงผลของการกระทำในขณะนี้ ซึ่งมีและอาจมีผลเป็นการกระทำความผิดอาญาต่อแผ่นดินในข้อหาความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร การกระทำที่ผู้กระทำคิดไม่ถึง แต่ได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้ว ทำให้ราชอาณาจักรของรัฐไทยต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศ หรือทำให้เอกราชของรัฐเสื่อมเสียไป หรือมีการคบคิดกับบุคคลใด ( ไม่ว่าภายในหรือภายนอกราชอาณาจักรไทย ) เพื่อกระทำการใดๆอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ของรัฐต่างประเทศด้วยความประสงค์ที่จะก่อให้เกิดการดำเนินการในทางอื่นที่เป็นปรปักษ์ต่อรัฐไทย ผู้นั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้กระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามป.อาญามาตรา 119 , 120 ,128 และ 129 แล้ว
ไทยและกัมพูชาที่มีอาณาเขตแดนติดต่อเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน รัฐบาลและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งสองประเทศจะต้องทราบดีถึงหลักปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยจะต้องใช้หลักของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน ( good neighbourliness ) และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ( Peaceful coexistence ) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 5 ประการ ( Five Principles of Peaceful Coexistence ) คือ (1) สองฝ่ายจะต้องเคารพในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยแห่งเขตแดนซึ่งกันและกัน ( mutual respect for territorial integrity and sovereignty ) ( 2 ) การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน ( non - aggressive ) ( 3 ) ไม่ก้าวก่ายกิจการภายในซึ่งกันและกัน ( non - interference in internal affairs ) ( 4 ) มีผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ( equality and mutual advantage ) และ ( 5 ) การอยู่ร่วมกันเองอย่างสันติสุข ( Peaceful coexistence itself ) [ อันมีที่มาจากคดีพิพาท Sino - Indian Pancha Shiha Agreement of 1954 ]
ไทย และกัมพูชาได้ตระหนักถึงปัญหาเขตแดนที่มีต่อกันหลังจากสงครามในกัมพูชาได้สิ้นสุดลง จึงได้ร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นในปี 2543 หรือที่เรียกว่า MOU2543 ( โดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ) โดยบันทึกดังกล่าวในข้อ 3 ได้ระบุไว้ ให้มีคณะกรรมการบริหารเทคนิคร่วมพิสูจน์ เพื่อทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน เมื่อปี ค. ศ.1909 และ ค.ศ. 1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกันพิสูจน์เพื่อพิจารณา แสดงให้เห็นว่า เขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน ( ไม่ใช่กัมพูชา ) มีหลักเขตแดน 73 หลักอยู่แล้ว และไทยกับกัมพูชาจะใช้หลักเขตแดนเฉพาะ 73 หลัก เป็นแนวทางที่จะนำมาพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อปักปันเขตแดนทางบกกันตามMOU2543 ดังกล่าว แต่เมื่อยังไม่ปรากฏว่ามีการพิสูจน์ทางเทคนิคของที่ตั้งที่แท้จริงของ 73 หลักเขต การกำหนดการปักปันเขตแดนจึงยังมิไม่ได้มีการกระทำกัน ดังนั้นเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นรัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมิตรประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน ที่จะต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 5 ข้อและตาม MOU2543 ดังกล่าว การที่เจ็ดคนไทยได้เข้าไปในพื้นที่ที่เป็นเขตดินแดนที่ยังมีปัญหา เพื่อที่จะเข้าไปตรวจดูหลักเขตและที่ดินซึ่งมีราษฎรมาร้องทุกข์ว่าไม่สามารถเข้าไปทำกินในที่ดินซึ่งมีหนังสือสำคัญที่ได้ออกโดยรัฐไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปีได้ เพราะมีชาวเขมรเข้ามาอยู่ในที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ที่มีเขมรอพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดนไทยหลายปีมาแล้วแต่ไม่ยอมออกไป อันเป็นการเข้าไปปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ( ตามที่มีข่าว) โดยไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเขตแดนหรือกองกำลังรักษาดินแดนฝ่ายใดได้ห้ามปราบมิให้เข้าไปในสถานที่ดังกล่าวแล้ว รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาจะกล่าวหาว่าคนไทย 7 คนรุกล้ำดินแดน หรือเข้าเมืองกัมพูชาโดยผิดกฎหมายไม่ได้เลย และกัมพูชาจะจับกุมเจ็ดคนไทยเยี่ยงผู้กระทำความผิดไม่ได้เช่นกัน จะตั้งข้อหาเพิ่มเติมภายหลังการจับกุมว่ากระทำการจารกรรมไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะการกระทำดังกล่าวขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศและขัดต่อMOU2543 ข้อ 6 ซึ่งได้กำหนดให้ระงับข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดจากการตีความ หรือการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา
เมื่อ 7 คนไทย ถูกจับบริเวณหลักเขตแดน ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นดินแดนของเขตประเทศใด เพราะยังไม่มีการพิสูจน์ทางเทคนิคกันในเรื่องหลักเขตกัน กัมพูชาไม่มีอำนาจที่จะจับกุมคนไทยทั้ง 7 คนได้ (หากไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดซึ่งหน้าอื่น อันเป็นความผิดตามกฎหมายของประเทศกัมพูชาเกิดขึ้นในขณะนั้น ) และจะนำคนไทยทั้ง 7 คนไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาไม่ได้เลย เพราะศาลที่จะมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีได้จะต้องมีเขตอำนาจศาล ( Territorial Jurisdiction ) เมื่อสถานที่เกิดเหตุเป็นเขตแดนที่ยังไม่รู้ว่าเป็นเขตแดนประเทศใด ศาลกัมพูชาย่อมไม่มีเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีรุกล้ำเขตแดนประเทศได้เลย และในกรณีเช่นนี้ ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะยอมรับเขตอำนาจศาลของประเทศที่ประชิดพรมแดนกันให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพลเมืองของประเทศตนในเรื่องการรุกล้ำเขตแดนได้ และจะผลักใสพลเมืองของประเทศให้ไปอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยทางศาลของประเทศนั้นก็ไม่ได้เช่นกัน การไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลในกรณีดังกล่าวไม่ใช่เป็นก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศ แต่เป็นการที่ประเทศนั้นต้องรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตน รัฐไทยและรัฐกัมพูชาต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวด้วยกัน
เจ็ดคนไทยถูกจับกุมขณะเดินเข้าไปในเขตแดนติดต่อระหว่างไทย-กัมพูชา บริเวณหลักเขตที่ 44 - 47 ( ตามข่าว) เพื่อที่จะเข้าไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรที่มาร้องทุกข์ เรื่องที่ทำกิน และถูกกองกำลังทหารกัมพูชาจับกุมนำไปกักขังเพื่อขึ้นศาลกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ โดยในขณะที่เดินเข้าไปและถูกจับกุมโดยกองกำลังทหารกัมพูชา นั้น กลับไม่พบกองกำลังรักษาดินแดนของไทยเลย และจากข้อร้องทุกข์ของราษฎรที่อ้างว่า ไม่สามารถเข้าไปทำกินในที่ดินที่มีเอกสารสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเวลานานแล้ว จึงมีข้อที่น่าสังเกตว่ารัฐไทยได้ยินยอมให้ชาวกัมพูชาเข้ามายึดที่ดินของราษฎรไทยที่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิไปหมดแล้ว โดยไม่ดำเนินการใดๆเพราะมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาล และ ข้าราชการของทั้งสองประเทศหรือไม่ เพราะแทบจะทันทีที่มีข่าวว่าทหารกัมพูชาจับคนไทยนั้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยระดับสูง ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการต่างก็ออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า คนไทยถูกจับในเขตแดนของประเทศกัมพูชา โดยที่บุคคลเหล่านั้นไม่ได้รู้เห็นสถานที่คนไทยถูกจับกุมแต่อย่างใดเลย และจากการออกมายืนยันต่อสาธารณชนดังกล่าว ซึ่งก็มีผลโดยมีข่าวว่ากัมพูชาจะอ้างบุคคลดังกล่าวเป็นพยานในศาลกัมพูชาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีลงโทษคนไทย การออกมาพูดต่อสาธารณะของเจ้าหน้าที่ไทยยืนยันว่าคนไทยถูกจับในเขตแดนกัมพูชา โดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางเทคนิคของหลักเขต 73 หลัก เป็นการที่ผู้พูดมีเจตนาประสงค์จะให้พื้นที่ที่คนทั้ง 7 ถูกจับนั้นเป็นเขตดินแดนของกัมพูชา ซึ่งจะต้องกล่าวหาว่า 7 คนไทยได้กระทำความผิด อันเป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการยัดข้อหาให้กับพลเมืองของรัฐไทย และเพื่อแสดงให้เห็นว่าบริเวณที่ถูกจับนั้นเป็นอาณาเขตประเทศกัมพูชา และเมื่อมีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องการประกันตัว ก็มีการแสดงออกสู่สาธารณะที่จะให้ศาลกัมพูชาพิจารณาพิพากษาคดีโดยเร็ว เพื่อที่จะได้ขออภัยโทษจากกษัตริย์กัมพูชา จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งในการยินยอมให้ศาลกัมพูชามีเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อปักปันเขตดินแดน โดยยัดเยียดข้อหาให้คนไทยเพื่อให้อำนาจอธิปไตยทางศาลของกัมพูชามามีอำนาจเหนือพลเมืองและดินแดนของรัฐไทย โดยที่ 7 คนไทยมิได้กระทำความผิดใดๆเพราะจุดที่ถูกจับนั้นยังไม่รู้ว่าเป็นดินแดนของไทยหรือกัมพูชา
ผู้นำกัมพูชาประกาศกร้าวให้ดำเนินคดีกับ 7 คนไทยที่ศาลกัมพูชา ใครจะก้าวก่ายอำนาจศาลกัมพูชาไม่ได้ เป็นการแสดงออกที่ไม่ปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและตามMOU 2543
ผู้นำรัฐไทยทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจทั้งฝ่ายความมั่นคงและต่างประเทศประกาศยอมรับไม่ก้าวก่ายอำนาจศาลของกัมพูชา อันเป็นการที่ไทยยอมสยบให้อำนาจอธิปไตยทางศาลกัมพูชาให้มีอำนาจเหนือพลเมืองรัฐไทยและเหนือดินแดนที่มีการจับกุม คนไทยโดยที่ยังไม่รู้ว่าดินแดนตรงนั้นเป็นของไทยหรือกัมพูชา โดยอ้างว่าคนไทยทั้ง 7 รุกล้ำเขตแดนกัมพูชา
เมื่อเจ็ดคนไทยถูกนำขึ้นศาลกัมพูชาแล้ว ได้มีการตั้งข้อหาเพิ่มเฉพาะนายวีระ สมความคิดและนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ในข้อหากระทำการจารกรรม ( พยายามประมวลข่าวสาร ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการป้องกันประเทศ) การตั้งข้อหาดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายมาที่บุคคลทั้งสอง เพราะบุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นประชาชนซึ่งไม่มีประโยชน์ที่คนทั้งสองจะไปทำการจารกรรมข่าวสารมาให้ตนเอง เพราะไม่มีพลังอำนาจใดๆที่จะไปดำเนินการเพื่อให้เกิดอันตรายต่อการป้องกันประเทศกัมพูชาได้ แต่การตั้งข้อหาดังกล่าวจึงมีจุดมุ่งหมายมาที่รัฐไทย เพื่อให้ประชาคมโลกเห็นว่า รัฐไทยนั้นปฏิบัติต่อกัมพูชาอย่างเป็นศัตรูกัน โดยใช้ให้คนไทยไปทำการจารกรรมมาให้รัฐไทย การยอมรับให้ศาลกัมพูชามีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคนไทยในข้อหากระทำการจารกรรมได้ ย่อมจะเป็นผลร้ายต่อรัฐไทยในประชาคมโลกในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง
การที่รัฐไทยไม่ได้ดำเนินตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและตามMOU2543 แต่กลับยินยอมให้กองกำลังทหารกัมพูชาจับคนไทย 7 คน ในเขตแดนที่ยังไม่รู้ว่าเป็นของฝ่ายใด ไทยได้แสดงออกให้ประชาคมโลกเห็นว่า คนไทยรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา โดยเจ้าหน้าที่รัฐไทยพยายามหาหลักฐานเพื่อมายืนยันว่า สถานที่จับเป็นเขตแดนกัมพูชา ไทยยอมรับในเขตอำนาจศาลกัมพูชาให้อำนาจอธิปไตยทางศาลกัมพูชามีอำนาจเหนือพลเมืองไทยและเหนือดินแดนที่มีการจับกุมคนไทย ไทยไม่ได้เรียกร้องให้กัมพูชาเคารพในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยแห่งเขตแดนไทย ไทยไม่ได้ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการรุกรานของชุมชนชาวกัมพูชา จนพลเมืองไทยไร้ที่ทำกิน ต้องเร่ร่อนร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลมาเป็นเวลานานนับสิบปี ทำให้ราษฎรไทย-กัมพูชาไม่อาจอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ ราษฎรไทยต้องทิ้งถิ่นที่อยู่เพราะถูกแย่งที่ทำกินไป ไทยไม่ได้ป้องกันสิทธิพลเมืองของรัฐไทยในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากการถูกกองกำลังทหารกัมพูชาจับกุม ในขณะเดียวกันรัฐไทยก็เห็นดี เห็นชอบกับการที่กัมพูชาไม่ต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 5 ข้อ และMOU2543 ด้วยเช่นกัน โดยไม่เรียกร้องให้ระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีกับคนไทย 7 คน แต่กลับยินยอมให้นำไปดำเนินคดีที่ศาลและยอมรับเขตอำนาจศาลกัมพูชาให้ดำเนินคดีกับพลเมืองไทย เป็นการยัดเยียดอำนาจอธิปไตยทางศาลของกัมพูชาให้มีเหนือพลเมืองของรัฐไทยและดินแดนไทย โดยที่พลเมืองไทยไม่ได้กระทำความผิดใดๆเพราะยังไม่มีเขตดินแดน ความผิดตามข้อกล่าวหาจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่ากรณีใด ไทยยินยอมให้กับการกระทำของกัมพูชาที่ไม่เคารพในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยในเขตแดนของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศและMOU 2543 การกระทำในลักษณะดังกล่าวส่อพฤติการณ์ให้เห็นได้ว่า เป็นการร่วมกันกระทำการเพื่อให้เขตดินแดนของไทยต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อให้รู้เขตที่แน่นอน และโดยไม่ต้องใช้MOU2543 2543 ด้วยการหันมาใช้คำพิพากษาของศาลกัมพูชาแทน เมื่อศาลกัมพูชาพิพากษา ลงโทษคนไทย คำพิพากษาย่อมผูกพันรัฐไทยเกี่ยวกับเขตดินแดนไปด้วย เพราะไทยได้ยอมรับอำนาจอธิปไตยทางศาลของกัมพูชาให้มีอำนาจเหนือดินแดนรัฐไทย และพลเมืองของไทยไปแล้ว ทั้งMOU2543 กำลังมีปัญหาเนื่องจากประชาชนจำนวนหนึ่งได้เรียกร้องให้ยกเลิกMOU 2543 การกระทำของผู้บริหารรัฐไทยและรัฐกัมพูชาจึงอาจเข้าข่ายเป็นการร่วมกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 , 120 , 128 และ 129 ผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดแม้อยู่นอกราชอาณาจักรก็มีความผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 (1) การกระทำดังกล่าว ยังอาจเป็นการร่วมกันกระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศอีกด้วย เพราะสิทธิของพลเมืองได้รับความคุ้มครองตามกฎบัตรสหประชาชาติและสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว ( ผู้เขียนจะไม่เข้าไปในรายละเอียด)
การกระทำความผิดของผู้มีอำนาจบริหารรัฐและผู้นำกัมพูชาจะไม่เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร จะต้องมีการปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและMOU2543 ( ถ้าเห็นว่า MOU2543 ชอบด้วยกฎหมาย ) แต่เมื่อรัฐไทยและกัมพูชาได้ร่วมกันละเมิดต่อMOU2543 โดยไม่ระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและเจรจากันแล้ว ไทยจะต้องประกาศยกเลิกMOU2543โดยพลัน และใช้วิธีทางการฑูตเรียกให้กัมพูชาปฏิบัติหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งในเรื่องการนำปราสาทเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก และการจับกุมกักขังคนไทยทั้ง 7 คนโดยไม่มีอำนาจการจับกุมและไม่มีเขตอำนาจศาล และขอให้ส่งคนไทย 7 คนกลับประเทศไทยโดยเร็วก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้ ( เพราะกัมพูชาไม่ได้ปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและMOU2543 มาตั้งแต่ต้น )
ความผิดอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้มีหน้าที่ต้องกระทำตามกฎหมาย คดีอาญามีอายุความยาวนาน การสูญเสียอำนาจอธิปไตยและเอกราชของราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่เป็นนโยบายของรัฐ และรัฐบาลจะมีนโยบายดังกล่าวไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด MOU2543 เป็นอันตรายต่อผู้มีอำนาจบริหารงานของรัฐอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปพิสูจน์การกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรได้
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง
ไทยและกัมพูชาที่มีอาณาเขตแดนติดต่อเป็นประเทศเพื่อนบ้านกัน รัฐบาลและผู้มีหน้าที่รับผิดชอบทั้งสองประเทศจะต้องทราบดีถึงหลักปฏิบัติต่อกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ โดยจะต้องใช้หลักของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน ( good neighbourliness ) และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ( Peaceful coexistence ) ซึ่งเป็นหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 5 ประการ ( Five Principles of Peaceful Coexistence ) คือ (1) สองฝ่ายจะต้องเคารพในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยแห่งเขตแดนซึ่งกันและกัน ( mutual respect for territorial integrity and sovereignty ) ( 2 ) การไม่รุกรานซึ่งกันและกัน ( non - aggressive ) ( 3 ) ไม่ก้าวก่ายกิจการภายในซึ่งกันและกัน ( non - interference in internal affairs ) ( 4 ) มีผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน ( equality and mutual advantage ) และ ( 5 ) การอยู่ร่วมกันเองอย่างสันติสุข ( Peaceful coexistence itself ) [ อันมีที่มาจากคดีพิพาท Sino - Indian Pancha Shiha Agreement of 1954 ]
ไทย และกัมพูชาได้ตระหนักถึงปัญหาเขตแดนที่มีต่อกันหลังจากสงครามในกัมพูชาได้สิ้นสุดลง จึงได้ร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาขึ้นในปี 2543 หรือที่เรียกว่า MOU2543 ( โดยไม่ได้ผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา ) โดยบันทึกดังกล่าวในข้อ 3 ได้ระบุไว้ ให้มีคณะกรรมการบริหารเทคนิคร่วมพิสูจน์ เพื่อทราบตำแหน่งที่แน่ชัดของหลักเขตแดน 73 หลัก ซึ่งจัดทำขึ้นโดยคณะกรรมปักปันเขตแดนระหว่างสยามกับอินโดจีน เมื่อปี ค. ศ.1909 และ ค.ศ. 1919 และรายงานผลการพิสูจน์ทราบต่อคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมกันพิสูจน์เพื่อพิจารณา แสดงให้เห็นว่า เขตแดนระหว่างไทยกับอินโดจีน ( ไม่ใช่กัมพูชา ) มีหลักเขตแดน 73 หลักอยู่แล้ว และไทยกับกัมพูชาจะใช้หลักเขตแดนเฉพาะ 73 หลัก เป็นแนวทางที่จะนำมาพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อปักปันเขตแดนทางบกกันตามMOU2543 ดังกล่าว แต่เมื่อยังไม่ปรากฏว่ามีการพิสูจน์ทางเทคนิคของที่ตั้งที่แท้จริงของ 73 หลักเขต การกำหนดการปักปันเขตแดนจึงยังมิไม่ได้มีการกระทำกัน ดังนั้นเมื่อมีปัญหาความขัดแย้งเกิดขึ้นรัฐบาลทั้งสองประเทศจะต้องปฏิบัติต่อกันเยี่ยงมิตรประเทศที่เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกัน ที่จะต้องอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 5 ข้อและตาม MOU2543 ดังกล่าว การที่เจ็ดคนไทยได้เข้าไปในพื้นที่ที่เป็นเขตดินแดนที่ยังมีปัญหา เพื่อที่จะเข้าไปตรวจดูหลักเขตและที่ดินซึ่งมีราษฎรมาร้องทุกข์ว่าไม่สามารถเข้าไปทำกินในที่ดินซึ่งมีหนังสือสำคัญที่ได้ออกโดยรัฐไทยมาเป็นเวลาหลายสิบปีได้ เพราะมีชาวเขมรเข้ามาอยู่ในที่ดินดังกล่าวตั้งแต่ที่มีเขมรอพยพเข้ามาอยู่ในเขตแดนไทยหลายปีมาแล้วแต่ไม่ยอมออกไป อันเป็นการเข้าไปปฏิบัติภารกิจตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ( ตามที่มีข่าว) โดยไม่ปรากฏว่ามีเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเขตแดนหรือกองกำลังรักษาดินแดนฝ่ายใดได้ห้ามปราบมิให้เข้าไปในสถานที่ดังกล่าวแล้ว รัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชาจะกล่าวหาว่าคนไทย 7 คนรุกล้ำดินแดน หรือเข้าเมืองกัมพูชาโดยผิดกฎหมายไม่ได้เลย และกัมพูชาจะจับกุมเจ็ดคนไทยเยี่ยงผู้กระทำความผิดไม่ได้เช่นกัน จะตั้งข้อหาเพิ่มเติมภายหลังการจับกุมว่ากระทำการจารกรรมไม่ได้โดยเด็ดขาด เพราะการกระทำดังกล่าวขัดต่อหลักกฎหมายระหว่างประเทศและขัดต่อMOU2543 ข้อ 6 ซึ่งได้กำหนดให้ระงับข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดจากการตีความ หรือการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้โดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและการเจรจา
เมื่อ 7 คนไทย ถูกจับบริเวณหลักเขตแดน ซึ่งยังไม่รู้ว่าเป็นดินแดนของเขตประเทศใด เพราะยังไม่มีการพิสูจน์ทางเทคนิคกันในเรื่องหลักเขตกัน กัมพูชาไม่มีอำนาจที่จะจับกุมคนไทยทั้ง 7 คนได้ (หากไม่ปรากฏว่ามีการกระทำความผิดซึ่งหน้าอื่น อันเป็นความผิดตามกฎหมายของประเทศกัมพูชาเกิดขึ้นในขณะนั้น ) และจะนำคนไทยทั้ง 7 คนไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาไม่ได้เลย เพราะศาลที่จะมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีได้จะต้องมีเขตอำนาจศาล ( Territorial Jurisdiction ) เมื่อสถานที่เกิดเหตุเป็นเขตแดนที่ยังไม่รู้ว่าเป็นเขตแดนประเทศใด ศาลกัมพูชาย่อมไม่มีเขตอำนาจศาลที่จะพิจารณาพิพากษาคดีในกรณีรุกล้ำเขตแดนประเทศได้เลย และในกรณีเช่นนี้ ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะยอมรับเขตอำนาจศาลของประเทศที่ประชิดพรมแดนกันให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพลเมืองของประเทศตนในเรื่องการรุกล้ำเขตแดนได้ และจะผลักใสพลเมืองของประเทศให้ไปอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยทางศาลของประเทศนั้นก็ไม่ได้เช่นกัน การไม่ยอมรับเขตอำนาจศาลในกรณีดังกล่าวไม่ใช่เป็นก้าวก่ายกิจการภายในของประเทศ แต่เป็นการที่ประเทศนั้นต้องรักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของตน รัฐไทยและรัฐกัมพูชาต่างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศดังกล่าวด้วยกัน
เจ็ดคนไทยถูกจับกุมขณะเดินเข้าไปในเขตแดนติดต่อระหว่างไทย-กัมพูชา บริเวณหลักเขตที่ 44 - 47 ( ตามข่าว) เพื่อที่จะเข้าไปตรวจสอบที่ดินของราษฎรที่มาร้องทุกข์ เรื่องที่ทำกิน และถูกกองกำลังทหารกัมพูชาจับกุมนำไปกักขังเพื่อขึ้นศาลกัมพูชาที่กรุงพนมเปญ โดยในขณะที่เดินเข้าไปและถูกจับกุมโดยกองกำลังทหารกัมพูชา นั้น กลับไม่พบกองกำลังรักษาดินแดนของไทยเลย และจากข้อร้องทุกข์ของราษฎรที่อ้างว่า ไม่สามารถเข้าไปทำกินในที่ดินที่มีเอกสารสำคัญแสดงสิทธิในที่ดินเป็นเวลานานแล้ว จึงมีข้อที่น่าสังเกตว่ารัฐไทยได้ยินยอมให้ชาวกัมพูชาเข้ามายึดที่ดินของราษฎรไทยที่มีหนังสือสำคัญแสดงสิทธิไปหมดแล้ว โดยไม่ดำเนินการใดๆเพราะมีความสัมพันธ์อันดีระหว่างรัฐบาล และ ข้าราชการของทั้งสองประเทศหรือไม่ เพราะแทบจะทันทีที่มีข่าวว่าทหารกัมพูชาจับคนไทยนั้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยระดับสูง ทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการต่างก็ออกมายืนยันเป็นเสียงเดียวกันว่า คนไทยถูกจับในเขตแดนของประเทศกัมพูชา โดยที่บุคคลเหล่านั้นไม่ได้รู้เห็นสถานที่คนไทยถูกจับกุมแต่อย่างใดเลย และจากการออกมายืนยันต่อสาธารณชนดังกล่าว ซึ่งก็มีผลโดยมีข่าวว่ากัมพูชาจะอ้างบุคคลดังกล่าวเป็นพยานในศาลกัมพูชาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีลงโทษคนไทย การออกมาพูดต่อสาธารณะของเจ้าหน้าที่ไทยยืนยันว่าคนไทยถูกจับในเขตแดนกัมพูชา โดยที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางเทคนิคของหลักเขต 73 หลัก เป็นการที่ผู้พูดมีเจตนาประสงค์จะให้พื้นที่ที่คนทั้ง 7 ถูกจับนั้นเป็นเขตดินแดนของกัมพูชา ซึ่งจะต้องกล่าวหาว่า 7 คนไทยได้กระทำความผิด อันเป็นการกระทำที่มีลักษณะเป็นการยัดข้อหาให้กับพลเมืองของรัฐไทย และเพื่อแสดงให้เห็นว่าบริเวณที่ถูกจับนั้นเป็นอาณาเขตประเทศกัมพูชา และเมื่อมีการดำเนินการให้ความช่วยเหลือในเรื่องการประกันตัว ก็มีการแสดงออกสู่สาธารณะที่จะให้ศาลกัมพูชาพิจารณาพิพากษาคดีโดยเร็ว เพื่อที่จะได้ขออภัยโทษจากกษัตริย์กัมพูชา จึงเป็นการแสดงโดยชัดแจ้งในการยินยอมให้ศาลกัมพูชามีเขตอำนาจศาลเหนือดินแดนที่ยังไม่ได้มีการพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อปักปันเขตดินแดน โดยยัดเยียดข้อหาให้คนไทยเพื่อให้อำนาจอธิปไตยทางศาลของกัมพูชามามีอำนาจเหนือพลเมืองและดินแดนของรัฐไทย โดยที่ 7 คนไทยมิได้กระทำความผิดใดๆเพราะจุดที่ถูกจับนั้นยังไม่รู้ว่าเป็นดินแดนของไทยหรือกัมพูชา
ผู้นำกัมพูชาประกาศกร้าวให้ดำเนินคดีกับ 7 คนไทยที่ศาลกัมพูชา ใครจะก้าวก่ายอำนาจศาลกัมพูชาไม่ได้ เป็นการแสดงออกที่ไม่ปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและตามMOU 2543
ผู้นำรัฐไทยทั้งฝ่ายการเมืองและข้าราชการที่มีอำนาจทั้งฝ่ายความมั่นคงและต่างประเทศประกาศยอมรับไม่ก้าวก่ายอำนาจศาลของกัมพูชา อันเป็นการที่ไทยยอมสยบให้อำนาจอธิปไตยทางศาลกัมพูชาให้มีอำนาจเหนือพลเมืองรัฐไทยและเหนือดินแดนที่มีการจับกุม คนไทยโดยที่ยังไม่รู้ว่าดินแดนตรงนั้นเป็นของไทยหรือกัมพูชา โดยอ้างว่าคนไทยทั้ง 7 รุกล้ำเขตแดนกัมพูชา
เมื่อเจ็ดคนไทยถูกนำขึ้นศาลกัมพูชาแล้ว ได้มีการตั้งข้อหาเพิ่มเฉพาะนายวีระ สมความคิดและนางสาวราตรี พิพัฒนาไพบูลย์ ในข้อหากระทำการจารกรรม ( พยายามประมวลข่าวสาร ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อการป้องกันประเทศ) การตั้งข้อหาดังกล่าวไม่ได้มีจุดมุ่งหมายมาที่บุคคลทั้งสอง เพราะบุคคลทั้งสองไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ แต่เป็นประชาชนซึ่งไม่มีประโยชน์ที่คนทั้งสองจะไปทำการจารกรรมข่าวสารมาให้ตนเอง เพราะไม่มีพลังอำนาจใดๆที่จะไปดำเนินการเพื่อให้เกิดอันตรายต่อการป้องกันประเทศกัมพูชาได้ แต่การตั้งข้อหาดังกล่าวจึงมีจุดมุ่งหมายมาที่รัฐไทย เพื่อให้ประชาคมโลกเห็นว่า รัฐไทยนั้นปฏิบัติต่อกัมพูชาอย่างเป็นศัตรูกัน โดยใช้ให้คนไทยไปทำการจารกรรมมาให้รัฐไทย การยอมรับให้ศาลกัมพูชามีเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีคนไทยในข้อหากระทำการจารกรรมได้ ย่อมจะเป็นผลร้ายต่อรัฐไทยในประชาคมโลกในอนาคตเป็นอย่างยิ่ง
การที่รัฐไทยไม่ได้ดำเนินตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและตามMOU2543 แต่กลับยินยอมให้กองกำลังทหารกัมพูชาจับคนไทย 7 คน ในเขตแดนที่ยังไม่รู้ว่าเป็นของฝ่ายใด ไทยได้แสดงออกให้ประชาคมโลกเห็นว่า คนไทยรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา โดยเจ้าหน้าที่รัฐไทยพยายามหาหลักฐานเพื่อมายืนยันว่า สถานที่จับเป็นเขตแดนกัมพูชา ไทยยอมรับในเขตอำนาจศาลกัมพูชาให้อำนาจอธิปไตยทางศาลกัมพูชามีอำนาจเหนือพลเมืองไทยและเหนือดินแดนที่มีการจับกุมคนไทย ไทยไม่ได้เรียกร้องให้กัมพูชาเคารพในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยแห่งเขตแดนไทย ไทยไม่ได้ดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการรุกรานของชุมชนชาวกัมพูชา จนพลเมืองไทยไร้ที่ทำกิน ต้องเร่ร่อนร้องขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลมาเป็นเวลานานนับสิบปี ทำให้ราษฎรไทย-กัมพูชาไม่อาจอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้ ราษฎรไทยต้องทิ้งถิ่นที่อยู่เพราะถูกแย่งที่ทำกินไป ไทยไม่ได้ป้องกันสิทธิพลเมืองของรัฐไทยในกรณีที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากการถูกกองกำลังทหารกัมพูชาจับกุม ในขณะเดียวกันรัฐไทยก็เห็นดี เห็นชอบกับการที่กัมพูชาไม่ต้องปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 5 ข้อ และMOU2543 ด้วยเช่นกัน โดยไม่เรียกร้องให้ระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีกับคนไทย 7 คน แต่กลับยินยอมให้นำไปดำเนินคดีที่ศาลและยอมรับเขตอำนาจศาลกัมพูชาให้ดำเนินคดีกับพลเมืองไทย เป็นการยัดเยียดอำนาจอธิปไตยทางศาลของกัมพูชาให้มีเหนือพลเมืองของรัฐไทยและดินแดนไทย โดยที่พลเมืองไทยไม่ได้กระทำความผิดใดๆเพราะยังไม่มีเขตดินแดน ความผิดตามข้อกล่าวหาจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้ไม่ว่ากรณีใด ไทยยินยอมให้กับการกระทำของกัมพูชาที่ไม่เคารพในบูรณภาพและอำนาจอธิปไตยในเขตแดนของไทยตามกฎหมายระหว่างประเทศและMOU 2543 การกระทำในลักษณะดังกล่าวส่อพฤติการณ์ให้เห็นได้ว่า เป็นการร่วมกันกระทำการเพื่อให้เขตดินแดนของไทยต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจอธิปไตยของกัมพูชา โดยไม่ต้องมีการพิสูจน์ทางเทคนิคเพื่อให้รู้เขตที่แน่นอน และโดยไม่ต้องใช้MOU2543 2543 ด้วยการหันมาใช้คำพิพากษาของศาลกัมพูชาแทน เมื่อศาลกัมพูชาพิพากษา ลงโทษคนไทย คำพิพากษาย่อมผูกพันรัฐไทยเกี่ยวกับเขตดินแดนไปด้วย เพราะไทยได้ยอมรับอำนาจอธิปไตยทางศาลของกัมพูชาให้มีอำนาจเหนือดินแดนรัฐไทย และพลเมืองของไทยไปแล้ว ทั้งMOU2543 กำลังมีปัญหาเนื่องจากประชาชนจำนวนหนึ่งได้เรียกร้องให้ยกเลิกMOU 2543 การกระทำของผู้บริหารรัฐไทยและรัฐกัมพูชาจึงอาจเข้าข่ายเป็นการร่วมกันกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 119 , 120 , 128 และ 129 ผู้ที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดแม้อยู่นอกราชอาณาจักรก็มีความผิดด้วย ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 5 มาตรา 6 มาตรา 7 (1) การกระทำดังกล่าว ยังอาจเป็นการร่วมกันกระทำความผิดอาญาระหว่างประเทศอีกด้วย เพราะสิทธิของพลเมืองได้รับความคุ้มครองตามกฎบัตรสหประชาชาติและสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ซึ่งทั้งไทยและกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นภาคีในสนธิสัญญาดังกล่าวแล้ว ( ผู้เขียนจะไม่เข้าไปในรายละเอียด)
การกระทำความผิดของผู้มีอำนาจบริหารรัฐและผู้นำกัมพูชาจะไม่เป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร จะต้องมีการปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและMOU2543 ( ถ้าเห็นว่า MOU2543 ชอบด้วยกฎหมาย ) แต่เมื่อรัฐไทยและกัมพูชาได้ร่วมกันละเมิดต่อMOU2543 โดยไม่ระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธีด้วยการปรึกษาหารือและเจรจากันแล้ว ไทยจะต้องประกาศยกเลิกMOU2543โดยพลัน และใช้วิธีทางการฑูตเรียกให้กัมพูชาปฏิบัติหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งในเรื่องการนำปราสาทเขาพระวิหารไปขึ้นทะเบียนมรดกโลก และการจับกุมกักขังคนไทยทั้ง 7 คนโดยไม่มีอำนาจการจับกุมและไม่มีเขตอำนาจศาล และขอให้ส่งคนไทย 7 คนกลับประเทศไทยโดยเร็วก่อนทุกอย่างจะสายเกินแก้ ( เพราะกัมพูชาไม่ได้ปฏิบัติตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศและMOU2543 มาตั้งแต่ต้น )
ความผิดอาญาเป็นเรื่องเฉพาะตัวของผู้มีหน้าที่ต้องกระทำตามกฎหมาย คดีอาญามีอายุความยาวนาน การสูญเสียอำนาจอธิปไตยและเอกราชของราชอาณาจักรไทย ไม่ใช่เป็นนโยบายของรัฐ และรัฐบาลจะมีนโยบายดังกล่าวไม่ได้ไม่ว่าในกรณีใด MOU2543 เป็นอันตรายต่อผู้มีอำนาจบริหารงานของรัฐอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปพิสูจน์การกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักรได้
ยินดี วัชรพงศ์ ต่อสุวรรณ
อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และศาลภาษีอากรกลาง