xs
xsm
sm
md
lg

กรณ์ ประสาร หม่อมเต่า ยังคงนำพาธปท.วิ่งอยู่นอกลู่

เผยแพร่:   โดย: สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์

ความล้มเหลวทางเศรษฐกิจโลกช่วง 100 ปีที่ผ่านมานี้ เพราะมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจ อันได้แก่การเกิดขึ้นของตลาดทุน ยิ่งมีการพัฒนาตลาดทุนมากขึ้นเท่าใด ยิ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบมากเท่านั้น เช่น การเปิดตลาดอนุพันธ์ เห็นได้จากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่กลายเป็นประเทศยากจนไปแล้ว ยุโรป จีน และภูมิภาคอื่นๆ ก็จะกลายเป็นประเทศยากจนตามมา เงินท่วมโลกแต่โลกยากจนลง ประเทศไทยเปิดตลาดหุ้นในปี 2518 เป็นต้นเหตุให้ประเทศไทยเข้าไอเอ็มเอฟมาแล้ว 2 ครั้ง นำพาตลาดเงินตราและตลาดเงินเสียหายหนัก ผู้สนใจศึกษาหารายละเอียดได้จากที่นี่ http://t.co/vLVe7sv

หลังจากประเทศไทยเข้าโครงการไอเอ็มเอฟครั้งแรกระหว่างปี 2524-2527 มีการออกแบบการป้องกันปัญหา ที่จะไม่ให้เกิดเหตุร้ายทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นซ้ำอีก โดยตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินขึ้นมา โดยมีปรัชญาว่า หากมีสภาพคล่องคอยช่วยเหลือสถาบันการเงินเมื่อสถาบันการเงินขาดสภาพคล่อง จะไม่ทำให้สถาบันการเงินล้ม ทางด้านตลาดทุนมีการนำระบบ Maintenance margin และ forced sell มาใช้ในปี 2536 ซ้ำเติมให้ตลาดหุ้นไทยพังทลายรุนแรงลงไปอีก

ระหว่างปี 2537 - 2539 ตลาดหุ้นพังทลายหนัก ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหายหนัก กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ได้ปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องให้สถาบันการเงินเต็มที่ ตามปรัชญาที่ตั้งไว้ ตลาดหุ้นพังทลายค่าเงินบาทก็พังทลายด้วย ช่วงดังกล่าว ได้มีการผูกค่าเงินไว้ “ทำให้ค่าเงินบาทแข็งผิดจริง” กองทุนโลกได้โอกาส ขายบาททำกำไรงาม พวกเขาต่างหาเงินบาททุกทาง กู้ยืมเงินบาทมาบ้าง ขายหุ้นในตลาดหุ้นไทยก็ได้บาท เอาบาทมาซื้อดอลลาร์จากธปท. จากที่ธปท.เคยมีทุนสำรอง 38,500 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็เหลือเพียง 1,144 ล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคม 2540 ต้องเข้าไอเอ็มเอฟอีกเป็นครั้งที่ 2

การออกแบบป้องกันปัญหาที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจแบบสุดกู่ ประเทศไทยพ่ายแพ้ย่อยยับ 2 ด้าน คือนอกจากไม่สามารถปกป้องสถาบันการเงินไว้ได้แล้ว ยังทำให้เงินบาทพังทลายหนัก มีการปิดสถาบันการเงินในช่วงแรก 54 แห่ง ทุกวันนี้ทั้งปิดทั้งขายให้ต่างชาติมากกว่า 80 แห่ง ภาคการผลิตจริงล้มลงมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หนี้เสียท่วมประเทศ อัตราเงินเฟ้อและคนตกงานสูงเป็นประวัติการณ์ แม้จะขายสินทรัพย์จำนวนมากของสถาบันการเงินที่ก่อหนี้ไว้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ แต่ก็ยังมีหนี้สาธารณะค้างอยู่ถึง 1.44 ล้านล้านบาท

ณ วันที่นำเสนอบทความนี้ ประเทศไทยกำลังเกิดความผิดปกติในระบบเศรษฐกิจไทยอย่างหนัก เงินท่วมประเทศไทยมากว่า 4 ปีแล้ว ท่วมมากกว่า 3.50 ล้านล้านบาท แม้วันที่ 19 ธันวาคม 2549 ธปท.ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า ก็ล้มเหลว ธปท.พ่ายแพ้และจำนนต่อการแก้ปัญหาตลาดเงินตรา ตลาดเงิน ตลอด 35 ปีที่ผ่านมา

ปรัชญาของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เบี่ยงเบนแต่แรก ที่คิดแก้แต่ปลายเหตุของปัญหา ต้นปี 2554 มีข่าวการแก้ปัญหาหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูก่อไว้ โดยจะมีการขายทรัพย์สินที่ถือโดยบริษัทบริหารทรัพย์สินกรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (BAM) และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM) ที่มีทั้งที่ดินเปล่า บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ อาคาร โรงงาน โกดัง รวมทั้งขายหุ้นธนาคารกรุงไทย เพื่อใช้หนี้กระทรวงการคลัง จะทำให้หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลงต่ำกว่า 1 ล้านล้านบาท กองทุนเพื่อการฟื้นฟูเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารกรุงไทย 6,184 ล้านหุ้น หรือ 55.33 เปอร์เซ็นต์ แม้ขายหุ้นธนาคารกรุงไทยทั้งหมด ที่ราคาหุ้นละ 20 บาท ก็ใช้หนี้ได้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของมูลหนี้เท่านั้น

ประเทศนั้นหมดตัวไปแล้ว มันเป็นความย่อยยับของชาติ ทุกวันนี้ทางการยังไม่ทราบว่า อะไรทำให้สภาพคล่องของประเทศเสียหาย เสียหายแบบไหน อย่างไร จนต้องเข้าไอเอ็มเอฟ แล้วก็เกิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูขึ้นมา แล้วกองทุนเพื่อการฟื้นฟูก็เสียหายซ้ำอีก เรากำลังแก้ความเสียหายของการเบี่ยงเบนอันที่ 2 (ความเสียหายของกองทุนฯ) แล้วการเบี่ยงเบนอันแรกที่เกิดก่อนหน้านี้ ที่กองทุนฯ เข้ามา แล้วก็เสียหายละ ยังไม่มีการแก้ไข แล้วจะทำอย่างไร

                 indexthai@yahoo.com
                 www.twitter.com/indexthai
กำลังโหลดความคิดเห็น