พัทลุง -ชาวสวนยางพาราพัทลุงที่ได้รับความผลกระทบจากพายุดีเปรสชันพัดถล่มกว่า 2,600 ราย ยังไม่ได้รับความช่วยเหลือ เหตุรัฐบาลยังไม่อนุมัติเงินค่าความเสียหาย ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถกรีดได้ เนื่องจากฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง และเกิดโรคใบร่วงระบาดรุนแรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรผู้ประสบภัยจากพายุดีเปรสชันพัดถล่ม ทำให้สวนยางพาราใน จ.พัทลุง ล้มระเนระนาดได้รับความเสียหายมากที่สุดเกือบ 60,000 ไร่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด โดยเฉพาะที่ อ.ปากพะยูน และ อ.ป่าบอน ที่เสียหายมากที่สุด แม้ขณะนี้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.) จ.พัทลุง ได้สำรวจเสร็จสิ้น เกือบ 100% ที่เหลือเนื่องจากน้ำท่วมขัง โดยมีผู้เสียหายกว่า 2,600 ราย เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณกว่า 103 ล้านบาท โดยจะชดเชยให้ไร่ละ 6,007 บาท
ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์เตรียมจะมอบเงินให้แก่ชาวสวนตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2553 แต่เกษตรกรก็ยังไม่สามารถขอรับเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้ เนื่องจากรัฐบาลยังไม่อนุมัติเงินค่าความเสียหายดังกล่าว ทำให้เกษตรกรต้องรอกันต่อไปอย่างไม่มีกำหนด
ในขณะที่สภาวะชาวสวนยางพัทลุงขณะนี้ สวนยางที่เหลือก็ยังไม่สามารถกรีดได้ เนื่องจากมีฝนตกชุกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 เดือน จนถึงขณะนี้ และเกิดโรคใบร่วงระบาดรุนแรงครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด ในขณะที่ยางพารามีราคาสูงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งในเป็นความจริงที่ จ.พัทลุง สามารถกรีดยางพาราได้แล้วตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.เป็นต้นมา และในต้นเดือน ม.ค.นี้ สามารถกรีดยางได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นจังหวะที่ให้น้ำยางมากที่สุด
ด้าน นายนพดล พฤกษะวัน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 เปิดเผยว่า ตนยอมรับว่าเมื่อราคายางพาราสูงขึ้น เป็นสิ่งจูงใจให้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า จ.พัทลุง และเขตรักษาเทือกเขาบรรทัด ในเขต จ.ตรัง จ.สตูล และ จ.พัทลุง โดยลักษณะการบุกรุกทำลายป่าขณะนี้ประชาชนที่บุกรุกทำลายป่า ได้มีการเดินเท้าเข้าไปในป่าลึก พร้อมด้วยการนำเสบียงอาหารนอนค้างคืน ทำการโค่นในช่วงที่ฝนตก เนื่องจากเจ้าหน้าที่หยุดการลาดตระเวน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เกษตรกรผู้ประสบภัยจากพายุดีเปรสชันพัดถล่ม ทำให้สวนยางพาราใน จ.พัทลุง ล้มระเนระนาดได้รับความเสียหายมากที่สุดเกือบ 60,000 ไร่ แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือแต่อย่างใด โดยเฉพาะที่ อ.ปากพะยูน และ อ.ป่าบอน ที่เสียหายมากที่สุด แม้ขณะนี้สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.) จ.พัทลุง ได้สำรวจเสร็จสิ้น เกือบ 100% ที่เหลือเนื่องจากน้ำท่วมขัง โดยมีผู้เสียหายกว่า 2,600 ราย เป็นเงินทั้งสิ้นประมาณกว่า 103 ล้านบาท โดยจะชดเชยให้ไร่ละ 6,007 บาท
ทั้งนี้ สำนักงานกองทุนสงเคราะห์เตรียมจะมอบเงินให้แก่ชาวสวนตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2553 แต่เกษตรกรก็ยังไม่สามารถขอรับเงินค่าชดเชยดังกล่าวได้ เนื่องจากรัฐบาลยังไม่อนุมัติเงินค่าความเสียหายดังกล่าว ทำให้เกษตรกรต้องรอกันต่อไปอย่างไม่มีกำหนด
ในขณะที่สภาวะชาวสวนยางพัทลุงขณะนี้ สวนยางที่เหลือก็ยังไม่สามารถกรีดได้ เนื่องจากมีฝนตกชุกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 เดือน จนถึงขณะนี้ และเกิดโรคใบร่วงระบาดรุนแรงครอบคลุมทั่วทั้งจังหวัด ในขณะที่ยางพารามีราคาสูงมากเป็นประวัติการณ์ ซึ่งในเป็นความจริงที่ จ.พัทลุง สามารถกรีดยางพาราได้แล้วตั้งแต่ปลายเดือน ธ.ค.เป็นต้นมา และในต้นเดือน ม.ค.นี้ สามารถกรีดยางได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย และเป็นจังหวะที่ให้น้ำยางมากที่สุด
ด้าน นายนพดล พฤกษะวัน ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 6 เปิดเผยว่า ตนยอมรับว่าเมื่อราคายางพาราสูงขึ้น เป็นสิ่งจูงใจให้มีการบุกรุกแผ้วถางป่าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเขตอุทยานแห่งชาติเขาปู่เขาย่า จ.พัทลุง และเขตรักษาเทือกเขาบรรทัด ในเขต จ.ตรัง จ.สตูล และ จ.พัทลุง โดยลักษณะการบุกรุกทำลายป่าขณะนี้ประชาชนที่บุกรุกทำลายป่า ได้มีการเดินเท้าเข้าไปในป่าลึก พร้อมด้วยการนำเสบียงอาหารนอนค้างคืน ทำการโค่นในช่วงที่ฝนตก เนื่องจากเจ้าหน้าที่หยุดการลาดตระเวน