วานนี้(11 ม.ค.) มีการประชุมคณะกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ที่มีนายเทอดพงษ์ ไชยนันท์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ เป็นการพิจารณาในร่างแก้ไขมาตรา 93-98 เกี่ยวกับระบบเลือกตั้งและจำนวนส.ส. โดยเปิดโอกาสให้กมธ.แสดงความเห็นว่าควรให้มีจำนวนส.ส.เท่าไหร ซึ่งปรากฏว่ากมธ.ในสัดส่วนพรรคร่วมรัฐบาลต่างแสดงความไม่เห็นด้วยกับกำหนดให้มีส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และระบบบัญชีรายชื่อ 125 คน แต่สนับสนุนให้มีการแก้ไขให้มีส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว 400 คนและบัญชีรายชื่อ 100 คน
นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ได้สอบถามประชาชนในพื้นที่ต่างเห็นด้วยกับการให้มีส.ส.400 + 100 คน สอดคล้องกับความคิดเห็นของนายภารดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา อภิปรายโดยอ้างว่าประชาชนในพื้นที่จ.อ่างทองสนับสนุนการให้มีส.ส.400+100คน ต่อมานายวินัย ภัทรประสิทธิ์ ส.ส.พิจิตร พรรครวมชาติพัฒนา และ นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน อภิปรายสนับสนุนจำนวนส.ส.400+100 คนเช่นเดียวกันเพราะประชาชนในพื้นที่เข้าใจระบบการเลือกตั้งแบบนี้มากกว่าระบบ375+125คน จากนั้นกมธ.ในสัดส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลขอสงวนคำแปรญัตติทั้งหมดเพื่อขอไปใช้สิทธิ์อภิปรายในวาระ 2 ในที่ประชุมรัฐสภา
ขณะที่ กมธ.ในสัดส่วนชองพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอรรถวิชช์ สุวรรณภัคดี ส.ส.กทม.ในฐานะเลขานุการกมธ. และ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.สัดส่วน อภิปรายสนับสนุนจำนวนส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และ บัญชีรายชื่อ 100คน ทั้งนี้ นายชำนิ กล่าวว่า อยากให้ที่ประชุมกมธ.พิจารณาให้ดีเพราะที่ประชุมรัฐสภาในวาระ 1 เห็นชอบในหลักการมาแล้วว่าต้องเป็น 375+100 คน อย่างไรก็ตาม ที่ไม่เห็นด้วยกับสูตร 400+100 เพราะระบบนี้เคยสร้างปัญหามาแล้วเมื่อครั้งมีการบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญ2540 จนทำให้เกิดการฉีกรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา
“ระบบ 375+125 เป็นการทำให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันมากขึ้นจากการมีส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็กและขนาดกลางได้จำนวนส.ส.มากขึ้น ที่มีการเสนอ 400+100 มันเป็นตัวเลขกลมๆที่เอาไปบอกประชาชนทำให้เข้าใจง่ายกว่าตัวเลข 375 +125 ที่เป็นตัวเลขไม่กลมเข้าใจยาก”นายชำนิ กล่าว
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกมธ.กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่เคยเห็นล้มเหลวระบบ 400+100 คนเลยหลังจากมีการใช้มาแล้ว 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ2540ประชาชนไม่เคยบ่นเลย ดังนั้น ไม่มีเหตุผลเลยที่จะมากล่าวหาระบบดังกล่าวล้มเหลว ที่พวกเรารับในรัฐสภาเพราะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เป็นคนกำหนดบอกว่าให้รับหลักการฉบับนี้พรรคร่วมรัฐบาลก็ร่วมรับมาด้วย เราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติเราต้องเป็นตัวของเราเองไม่ใช่เมื่อรัฐบาลมีมติว่ามาอย่างไรเราก็ต้องว่าอย่างนั้น
“ระบบ375 + 125คน ไม่เห็นความเป็นเหตุเป็นผล ถ้ามันดีมันดีอย่างไร ผมไม่ได้ต่อว่าอาจารย์สมบัติ นักวิชาการเขาก็คิดของเขาอย่างหนึ่ง เพราะมองว่าบัญชีรายชื่อมากขึ้นจะเป็นโอกาสให้นักวิชาการเข้าไปอยู่ในพรรคการเมืองเป็นส.ส.ได้มากขึ้น ส่วนระบบบัญชีรายชื่อเห็นด้วยไม่ควรแบ่งตามพื้นที่ต้องให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้งไม่ต้องกำหนด 5 % ความคิดต่างเราต่างกันแต่เราไม่ทะเลาะกัน” พล.ต.สนั่น กล่าว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก 18 ต่อ 17 เสียง เห็นชอบกับร่างแก้ไขรธน. ของ ครม. ที่กำหนดให้ สส. ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และบัญชีรายชื่อ 125 คน
**ชื่อคนหนุนสูตร 375+125
สำหรับผู้สนับสนุนสูตร 375+125 จำนวน 18 เสียง ประกอบด้วย กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 17 คน ได้แก่ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ นายพีรยศ ราฮิมมูลา ส.ส.สัดส่วน นายถวิล ไพรสณฑ์ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี นางสาวรัชดา ธนาดิเรก นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ส.ส.กทม. นางสาวผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา นายขยัน วิพรหมชัย ส.ส.ลำพูน นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช นายสุขวิชชาญ มุสิกุล ส.ส.กำแพงเพชร ขณะที่มีวุฒิสมาชิกจากการสรรหาลงมติรับร่าง 1 คน คือนายวิทวัส บุญญญสถิตย์
**พรรคร่วมหนุน 400+100
ขณะที่ผู้สนับสนุนสูตร 400+100 มีจำนวน 17 คน ประกอบด้วย พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ส.ส.ชัยภูมิ จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี จากพรรคภูมิใจไทย นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ส.ส.สัดส่วน จากพรรคมาตุภูมิ นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ ส.ส.พิจิตร จากพรรครวมชาติพัฒนา นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน จากพรรคกิจสังคม นายติ่งสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ ส.ส.นครสวรรค์ จากพรรคประชาราช ขณะที่มี วุฒิสภาสนับสนุน ด้วย 6 คน ได้แก่ พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช นายอนุรักษ์ นิยมเวช พลโทสุจินดา สุทธิพงศ์ ส.ว.สรรหา นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์
สำหรับผู้ขาดประชุมมี 9 คน เป็นฝ่ายส.ส.ได้แก่ นายวิทยา แก้วภราดัย นายบุญยอด สุขถิ่นไทย นายปัญญา ศรีปัญญา นายปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ นายวิเชียร อุดมศักดิ์ ส่วนส.ว.ได้แก่ นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ นายสมัคร เชาวภานันท์
ทั้งนี้ มีผู้ลงชื่อเข้าประชุมแต่ไม่อยู่ 1 คน ได้แก่ นายอโณทัย ฤทธิ์ปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา โดยนายอโณทัยเปิดเผยเหตุผลที่ไม่ยอมอยู่ลงมติว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และที่ผ่านมาในการพิจารณาของสภาวาระแรกก็ได้งดออกเสียงในทุกร่างที่มีการเสนอแก้ไข เพราะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้สร้างประโยชน์อะไร
**“เสธ.หนั่น” จำใจ รับมติโยนสภาชี้ขาด
พล.ต.สนั่น กล่าวภายหลังการประชุมว่า ตนเคารพในมติที่ออกมา ซึ่งขั้นตอนต่อไปขึ้นอยู่กับสภาจะเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ตนจะไม่ขอเสียงจากพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นการฟรีโหวต ส่วนจะมีผลกระทบต่อรัฐบาลหรือไม่นั้น ตนเห็นว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเสียรภาพของรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องของสภา ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล
เมื่อถามว่า ผู้ใหญ่ในพรรคร่วมรัฐบาลจะต้องมาเจรจาอีกหรือไม่ พล.ต.สนั่น กล่าวว่า ก็แล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้าหากต้องการให้มีการคุยกัน และคุยกันได้ก็เป็นเรื่องดี ต่อข้อถามว่าการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์เป็นการหักหลังพรรคร่วมหรือไม่ ประธานที่ปรึกษาพรรค ชทพ. กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการหักหลัง เพราะนายกฯ ให้โหวตแบบนั้น
** “ภูมิใจห้อย” ซัดไม่สง่างาม
นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ กมธ.จากพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า กมธ.เสียงข้างน้อยก็ต้องไปสงวนคำแปรญัตติในวาระ 2 และ3 ต่อไป อย่างไรก็ตามยืนยันว่าพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังยืนยันสูตร 400+100 โดยส่วนตัวเห็นว่าการโหวตในวันนี้ไม่สง่างาม ประธานมที่ประชุมไม่ควรลงมาโหวต และควรจะจะเลื่อนการฏหวตออกไปในสัปดาห์หน้า เพราะ วันนี้ กมธ.ขาดหลายคนเข้าไปว่าติดภารกิจต่างประเทศ
**เทพไท ชี้ตามคาด ปชป. ชนะโหวต
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นไปตามที่พรรคได้คาดหมายไว้ แต่ที่เสียงเฉียดฉิว เป็นเฉพาะสมาชิกพรรคขาดไป 2 คน คือ นายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช และนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. ติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังได้รับเสียงสนันสนุนจาก ส.ว.อีก 1 ท่าน คือ นายวิทวัส บุญสถิตย์ ส.ว.สรรหา ซึ่งคะแนน 18 ต่อ 17 นั้น แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ชัดเจนและมีเหตุผล รวมถึงทุกฝ่ายยอมรับ ส่วนเรื่องที่ประธานใช้สิทธิโหวตชี้ขาด เป็นสิทธิที่ประธานสามารถทำได้ และถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม
“ในห้องประชุม ประชาธิปัตย์ได้เสนอให้เลื่อนการโหวตออกไป เพื่อให้เกิดความรอบคอบ แต่จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสียงข้างน้อยก็เร่งรัดให้โหวตภายในวันนี้ เพราะคงมั่นใจว่าเสียงเพียงพอ แต่ฝ่ายประชาธิปัตย์เราค่อนข้างประนีประนอมอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการเร่งรัดจากอีกฝ่าย เราก็จำเป็นต้องปล่อยให้โหวต รวมถึงหากไม่โหวตเกรงว่าองค์ประชุมจะไม่ครบ เนื่องจากมี ส.ว.สรรหา ที่กำลังจะหมดวาระไป ส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหา สามารถคุยกันได้” นายเทพไท กล่าว
** “เทือก”เมิน”เติ้ง”กดดันยึดสูตร400+100
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้ สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) ออกมาระบุชัดเจนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะใช้ระบบส.ส.เขต 400 และระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ว่า “ พรรคประชาธิปัตย์ยังคงยืนยันว่าสมควรจะใช้ระบบ 375 บวก 125 เมื่อวานผมก็ตอบอย่างนี้ วันนี้ก็ตอบว่ายืนยัน พรุ่งนี้ถ้ามาถามอีกตนก็จะตอบว่ายืนยันเหมือนเดิม” นายสุเทพ กล่าว
ทั้งนี้ คนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ยังยืนยันในร่างเดิมตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯชุดที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานได้ยกร่างมา สำหรับนายบรรหารนั้น เวลามีเหตุที่สมควรจะคุยตนก็คุยกันท่าน แต่ถ้าไม่มีอะไรก็ไม่ไปรบกวนท่าน แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไร เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในสภา ในคณะกรรมาธิการ และเรื่องการแสดงความคิดเห็นเวลาสื่อมวลชนไปถามทุกคนก็มีความคิดเห็นทุกวัน ทั้งนี้ตั้งแต่หลังปีใหม่มาตนยังไม่ได้ยกหูโทรศัพท์หารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ปีใหม่ก็ไม่ได้อวยพรกัน แต่ก่อนเปิดสมัยประชุมสภาจะเชิญสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลมารับประทานอาหารร่วมกัน
** เผาไทย กลับลำร่วมหนุน400 +100
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมพรรควันศุกร์นี้(14 ม.ค.) จะชี้ขาดว่า พรรคเพื่อไทยจะร่วมพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2-3 หรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่า แม้ว่าพรรคได้ประกาศไม่สังฆกรรมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า พรรครัฐบาลพยายามเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง เพื่อเจาะยางพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะคำให้สัมภาษณ์ขอวนายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุชัด ดังนั้น พรรคก็อาจจำเป็นต้องเข้าร่วมลงมติ เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้รัฐบาลมาทำร้ายพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาธิปัตย์มีแต่ได้กับได้ กะกินของฟรี หากเปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตเดียวคนเดียว 375 คนและ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 125 คนสำเร็จ โดยพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าจะได้ ส.ส.จากระบบปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มจากเดิม 40 เป็น 50 ที่ ส่วนพรรคเพื่อไทยปัจจุบันมี ส.ส.ระบบสัดส่วนประมาณ 40 จาก 80 คน หากเปลี่ยนเป็นปาร์ตี้ลิสต์ก็ยังเจ๋าเพราะอาจเพิ่มเป็น 70 จาก 125 คน
**“พินิจ”นำเช็คชื่อ ส.ส.เพื่อแผ่นดิน
วันเดียวกันเวลา 12.00 น. ที่โรงแรมสยามซิตี้ แกนนำและ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินได้นัดรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน โดยมีแกนนำ อาทิ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรค นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ รองหัวหน้าและเลขาธิการพรรค นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ อดีต รมช.คลัง และนายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้นแกนนำกลุ่ม 3 พี ได้แก่ นายพินิจ จารุสมบัติ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ได้เข้าร่วมรับประทานอาหารด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สมาชิกกลุ่มบ้านริมน้ำ กลุ่มสุรินทร์ นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาฯไม่ได้เข้าร่วมด้วย
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ รองหัวหน้าและเลขาธิการพรรค เปิดเผย ว่าพรรคเห็นตามมติของพรรคร่วมรัฐบาลในสูตร 400+100 ที่เคยร่วมกันเสนอ ส่วนสูตร 375+125 ประเมินว่าจะได้จำนวน ส.ส.เขตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในพรรคมีอดีต ส.ส.ที่เคยได้รับการเลือกตั้งจากระบบเขตเดียวเบอร์เดียวหลายคน ในส่วน ส.ส.ปาร์ตี้ลอสต์ก็คาดว่าจะได้ 7-8 คนเท่าเดิม
คาดว่าจะได้ ส.ส.ประมาณ 35 คนขึ้นไป โดยเฉพาะในพื่นที่ภาคอีสาน คือ จ.นครราชสีมา และ จ.อุบลราชธานี และหากมีการควบรวมกับพรรครวมชาติพัฒนาของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จริง ก็คาดว่าจะได้จำนวน ส.ส.มากถึง 50-60 คน
**“ปรีชา” แนะอย่าผูกยุบสภากับแก้ รธน.
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ แกนนำกลุ่ม 3 พี กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะนำประเด็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญมาผูกผันกับการบริหารประเทศหรือการตัดสินใจยุบสภา เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องกติกาการเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องของเกมในอนาคต ส่วนการจะอยู่หรือไปของรัฐบาลอยู่ที่การทำงานและแนวนโยบาย รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆที่กระทบเสถียรภาพของรัฐบาล อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. โดยส่วนตัวยังยึดหลักการเดิมคือสูตร 400+100 แต่หากทางคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนแปลงมาเป็น 375+125 หรือสูตรอื่นๆ ทางกรรมาธิการต้องมีเหตุผลอธิบายให้ชัดเจน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นทางพรรคเพื่อแผ่นดินจะมีการหารือกันอีกครั้ง
รายงานข่าวจากแกนนำระดับสูงของพรรคเพื่อแผ่นดิน เปิดเผยว่า ในการรับประทานอาหารร่วมกัน ส.ส.ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันต่อเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนจำนวน ส.ส.ตามสูตร 400+100 ทั้งนี้ยังแสดงความรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังคงยืนยันในสูตร 375+125 เพราะเมื่อนำผลการเลือกตั้งเมื่อปี 50 มาคำนวณจะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ราว 12 ล้านเสียงนั้นจะได้ ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 ที่นั่งทันที ทำให้ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ราว 50 ที่นั่ง ซึ่งใกล้เคียงกับพรรคเพื่อไทย ที่สมัยที่เป็นพรรคพลังประชาชนได้เสียงปาร์ตี้ลิสต์กว่า 12 ล้านเสียงเช่นกัน ประกอบกับคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ถือว่าดีขึ้นตามลำดับ หากประเมินจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านๆมา โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.จากผลการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข.ที่ผ่านมา ทำให้ในการเลือกตั้งครั้งหน้าคาดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคอันดับ 1 และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่คาดว่าจะได้ ส.ส.สัดส่วนเฉลี่ย 7-8 คนต่อพรรคเท่านั้น แสดงให้เห็นความได้เปรียบของพรรคการเมืองใหญ่
นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ได้สอบถามประชาชนในพื้นที่ต่างเห็นด้วยกับการให้มีส.ส.400 + 100 คน สอดคล้องกับความคิดเห็นของนายภารดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา อภิปรายโดยอ้างว่าประชาชนในพื้นที่จ.อ่างทองสนับสนุนการให้มีส.ส.400+100คน ต่อมานายวินัย ภัทรประสิทธิ์ ส.ส.พิจิตร พรรครวมชาติพัฒนา และ นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา พรรคเพื่อแผ่นดิน อภิปรายสนับสนุนจำนวนส.ส.400+100 คนเช่นเดียวกันเพราะประชาชนในพื้นที่เข้าใจระบบการเลือกตั้งแบบนี้มากกว่าระบบ375+125คน จากนั้นกมธ.ในสัดส่วนของพรรคร่วมรัฐบาลขอสงวนคำแปรญัตติทั้งหมดเพื่อขอไปใช้สิทธิ์อภิปรายในวาระ 2 ในที่ประชุมรัฐสภา
ขณะที่ กมธ.ในสัดส่วนชองพรรคประชาธิปัตย์ นำโดยนายอรรถวิชช์ สุวรรณภัคดี ส.ส.กทม.ในฐานะเลขานุการกมธ. และ นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ ส.ส.สัดส่วน อภิปรายสนับสนุนจำนวนส.ส.เขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และ บัญชีรายชื่อ 100คน ทั้งนี้ นายชำนิ กล่าวว่า อยากให้ที่ประชุมกมธ.พิจารณาให้ดีเพราะที่ประชุมรัฐสภาในวาระ 1 เห็นชอบในหลักการมาแล้วว่าต้องเป็น 375+100 คน อย่างไรก็ตาม ที่ไม่เห็นด้วยกับสูตร 400+100 เพราะระบบนี้เคยสร้างปัญหามาแล้วเมื่อครั้งมีการบังคับใช้ตามรัฐธรรมนูญ2540 จนทำให้เกิดการฉีกรัฐธรรมนูญในเวลาต่อมา
“ระบบ 375+125 เป็นการทำให้พรรคการเมืองมีความเป็นสถาบันมากขึ้นจากการมีส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้น เป็นการเปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็กและขนาดกลางได้จำนวนส.ส.มากขึ้น ที่มีการเสนอ 400+100 มันเป็นตัวเลขกลมๆที่เอาไปบอกประชาชนทำให้เข้าใจง่ายกว่าตัวเลข 375 +125 ที่เป็นตัวเลขไม่กลมเข้าใจยาก”นายชำนิ กล่าว
พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะกมธ.กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่เคยเห็นล้มเหลวระบบ 400+100 คนเลยหลังจากมีการใช้มาแล้ว 8 ปีตามรัฐธรรมนูญ2540ประชาชนไม่เคยบ่นเลย ดังนั้น ไม่มีเหตุผลเลยที่จะมากล่าวหาระบบดังกล่าวล้มเหลว ที่พวกเรารับในรัฐสภาเพราะคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เป็นคนกำหนดบอกว่าให้รับหลักการฉบับนี้พรรคร่วมรัฐบาลก็ร่วมรับมาด้วย เราเป็นฝ่ายนิติบัญญัติเราต้องเป็นตัวของเราเองไม่ใช่เมื่อรัฐบาลมีมติว่ามาอย่างไรเราก็ต้องว่าอย่างนั้น
“ระบบ375 + 125คน ไม่เห็นความเป็นเหตุเป็นผล ถ้ามันดีมันดีอย่างไร ผมไม่ได้ต่อว่าอาจารย์สมบัติ นักวิชาการเขาก็คิดของเขาอย่างหนึ่ง เพราะมองว่าบัญชีรายชื่อมากขึ้นจะเป็นโอกาสให้นักวิชาการเข้าไปอยู่ในพรรคการเมืองเป็นส.ส.ได้มากขึ้น ส่วนระบบบัญชีรายชื่อเห็นด้วยไม่ควรแบ่งตามพื้นที่ต้องให้ประเทศเป็นเขตเลือกตั้งไม่ต้องกำหนด 5 % ความคิดต่างเราต่างกันแต่เราไม่ทะเลาะกัน” พล.ต.สนั่น กล่าว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมาธิการ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีมติเสียงข้างมาก 18 ต่อ 17 เสียง เห็นชอบกับร่างแก้ไขรธน. ของ ครม. ที่กำหนดให้ สส. ระบบเขตเดียวเบอร์เดียว 375 คน และบัญชีรายชื่อ 125 คน
**ชื่อคนหนุนสูตร 375+125
สำหรับผู้สนับสนุนสูตร 375+125 จำนวน 18 เสียง ประกอบด้วย กมธ.พรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 17 คน ได้แก่ นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ นายนิพนธ์ บุญญามณี นายสุทัศน์ เงินหมื่น นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์ นายบุรณัชย์ สมุทรักษ์ นายพีรยศ ราฮิมมูลา ส.ส.สัดส่วน นายถวิล ไพรสณฑ์ นายอรรถวิชช์ สุวรรณภักดี นางสาวรัชดา ธนาดิเรก นางเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ส.ส.กทม. นางสาวผ่องศรี ธาราภูมิ ส.ส.ลพบุรี นายศุภชัย ศรีหล้า ส.ส.อุบลราชธานี นายอาคม เอ่งฉ้วน ส.ส.กระบี่ นายศิริโชค โสภา ส.ส.สงขลา นายขยัน วิพรหมชัย ส.ส.ลำพูน นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช นายสุขวิชชาญ มุสิกุล ส.ส.กำแพงเพชร ขณะที่มีวุฒิสมาชิกจากการสรรหาลงมติรับร่าง 1 คน คือนายวิทวัส บุญญญสถิตย์
**พรรคร่วมหนุน 400+100
ขณะที่ผู้สนับสนุนสูตร 400+100 มีจำนวน 17 คน ประกอบด้วย พลตรีสนั่น ขจรประศาสน์ ส.ส.พิจิตร นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ส.ส.ชัยภูมิ จากพรรคชาติไทยพัฒนา นายศุภชัย โพธิ์สุ ส.ส.นครพนม นายมานิต นพอมรบดี ส.ส.ราชบุรี จากพรรคภูมิใจไทย นางจิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล ส.ส.นครราชสีมา นายสาธิต เทพวงศ์ศิริรัตน์ ส.ส.สุรินทร์ จากพรรคเพื่อแผ่นดิน นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ ส.ส.สัดส่วน จากพรรคมาตุภูมิ นายวินัย ภัทรประสิทธิ์ ส.ส.พิจิตร จากพรรครวมชาติพัฒนา นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน จากพรรคกิจสังคม นายติ่งสมชัย เจริญชัยฤทธิ์ ส.ส.นครสวรรค์ จากพรรคประชาราช ขณะที่มี วุฒิสภาสนับสนุน ด้วย 6 คน ได้แก่ พลเอกเลิศรัตน์ รัตนวานิช นายอนุรักษ์ นิยมเวช พลโทสุจินดา สุทธิพงศ์ ส.ว.สรรหา นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร นายประสิทธิ์ โพธสุธน ส.ว.สุพรรณบุรี นายอนันต์ อริยะชัยพาณิชย์ ส.ว.สุรินทร์
สำหรับผู้ขาดประชุมมี 9 คน เป็นฝ่ายส.ส.ได้แก่ นายวิทยา แก้วภราดัย นายบุญยอด สุขถิ่นไทย นายปัญญา ศรีปัญญา นายปุระพัฒน์ วิเศษจินดาวัฒนา นายสุชาติ ตันติวณิชชานนท์ นายวิเชียร อุดมศักดิ์ ส่วนส.ว.ได้แก่ นายสิงห์ชัย ทุ่งทอง นายเกชา ศักดิ์สมบูรณ์ นายสมัคร เชาวภานันท์
ทั้งนี้ มีผู้ลงชื่อเข้าประชุมแต่ไม่อยู่ 1 คน ได้แก่ นายอโณทัย ฤทธิ์ปัญญาวงศ์ ส.ว.สรรหา โดยนายอโณทัยเปิดเผยเหตุผลที่ไม่ยอมอยู่ลงมติว่า ไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว และที่ผ่านมาในการพิจารณาของสภาวาระแรกก็ได้งดออกเสียงในทุกร่างที่มีการเสนอแก้ไข เพราะเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่ได้สร้างประโยชน์อะไร
**“เสธ.หนั่น” จำใจ รับมติโยนสภาชี้ขาด
พล.ต.สนั่น กล่าวภายหลังการประชุมว่า ตนเคารพในมติที่ออกมา ซึ่งขั้นตอนต่อไปขึ้นอยู่กับสภาจะเป็นผู้พิจารณา ทั้งนี้ ตนจะไม่ขอเสียงจากพรรคร่วมรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นการฟรีโหวต ส่วนจะมีผลกระทบต่อรัฐบาลหรือไม่นั้น ตนเห็นว่า ไม่น่าจะมีผลกระทบต่อเสียรภาพของรัฐบาล เพราะเป็นเรื่องของสภา ไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล
เมื่อถามว่า ผู้ใหญ่ในพรรคร่วมรัฐบาลจะต้องมาเจรจาอีกหรือไม่ พล.ต.สนั่น กล่าวว่า ก็แล้วแต่ผู้ใหญ่ ถ้าหากต้องการให้มีการคุยกัน และคุยกันได้ก็เป็นเรื่องดี ต่อข้อถามว่าการกระทำของพรรคประชาธิปัตย์เป็นการหักหลังพรรคร่วมหรือไม่ ประธานที่ปรึกษาพรรค ชทพ. กล่าวว่า ไม่ได้เป็นการหักหลัง เพราะนายกฯ ให้โหวตแบบนั้น
** “ภูมิใจห้อย” ซัดไม่สง่างาม
นายศุภชัย โพธิ์สุ รมช.เกษตรฯ กมธ.จากพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า กมธ.เสียงข้างน้อยก็ต้องไปสงวนคำแปรญัตติในวาระ 2 และ3 ต่อไป อย่างไรก็ตามยืนยันว่าพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังยืนยันสูตร 400+100 โดยส่วนตัวเห็นว่าการโหวตในวันนี้ไม่สง่างาม ประธานมที่ประชุมไม่ควรลงมาโหวต และควรจะจะเลื่อนการฏหวตออกไปในสัปดาห์หน้า เพราะ วันนี้ กมธ.ขาดหลายคนเข้าไปว่าติดภารกิจต่างประเทศ
**เทพไท ชี้ตามคาด ปชป. ชนะโหวต
นายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกประจำตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นไปตามที่พรรคได้คาดหมายไว้ แต่ที่เสียงเฉียดฉิว เป็นเฉพาะสมาชิกพรรคขาดไป 2 คน คือ นายวิทยา แก้วภารดัย ส.ส.นครศรีธรรมราช และนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. ติดภารกิจ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยังได้รับเสียงสนันสนุนจาก ส.ว.อีก 1 ท่าน คือ นายวิทวัส บุญสถิตย์ ส.ว.สรรหา ซึ่งคะแนน 18 ต่อ 17 นั้น แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างมีจุดยืนที่ชัดเจนและมีเหตุผล รวมถึงทุกฝ่ายยอมรับ ส่วนเรื่องที่ประธานใช้สิทธิโหวตชี้ขาด เป็นสิทธิที่ประธานสามารถทำได้ และถือเป็นเรื่องที่เหมาะสม
“ในห้องประชุม ประชาธิปัตย์ได้เสนอให้เลื่อนการโหวตออกไป เพื่อให้เกิดความรอบคอบ แต่จะเห็นได้ว่าฝ่ายเสียงข้างน้อยก็เร่งรัดให้โหวตภายในวันนี้ เพราะคงมั่นใจว่าเสียงเพียงพอ แต่ฝ่ายประชาธิปัตย์เราค่อนข้างประนีประนอมอยู่แล้ว แต่เมื่อมีการเร่งรัดจากอีกฝ่าย เราก็จำเป็นต้องปล่อยให้โหวต รวมถึงหากไม่โหวตเกรงว่าองค์ประชุมจะไม่ครบ เนื่องจากมี ส.ว.สรรหา ที่กำลังจะหมดวาระไป ส่วนตัวเชื่อว่าเรื่องนี้จะไม่เป็นปัญหา สามารถคุยกันได้” นายเทพไท กล่าว
** “เทือก”เมิน”เติ้ง”กดดันยึดสูตร400+100
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ให้ สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตหัวหน้าพรรคชาติไทย ในฐานะประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา(ชทพ.) ออกมาระบุชัดเจนว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญควรจะใช้ระบบส.ส.เขต 400 และระบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ว่า “ พรรคประชาธิปัตย์ยังคงยืนยันว่าสมควรจะใช้ระบบ 375 บวก 125 เมื่อวานผมก็ตอบอย่างนี้ วันนี้ก็ตอบว่ายืนยัน พรุ่งนี้ถ้ามาถามอีกตนก็จะตอบว่ายืนยันเหมือนเดิม” นายสุเทพ กล่าว
ทั้งนี้ คนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันได้ แต่ในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์ยังยืนยันในร่างเดิมตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯชุดที่มีนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ เป็นประธานได้ยกร่างมา สำหรับนายบรรหารนั้น เวลามีเหตุที่สมควรจะคุยตนก็คุยกันท่าน แต่ถ้าไม่มีอะไรก็ไม่ไปรบกวนท่าน แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไร เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในสภา ในคณะกรรมาธิการ และเรื่องการแสดงความคิดเห็นเวลาสื่อมวลชนไปถามทุกคนก็มีความคิดเห็นทุกวัน ทั้งนี้ตั้งแต่หลังปีใหม่มาตนยังไม่ได้ยกหูโทรศัพท์หารือกับแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ปีใหม่ก็ไม่ได้อวยพรกัน แต่ก่อนเปิดสมัยประชุมสภาจะเชิญสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลมารับประทานอาหารร่วมกัน
** เผาไทย กลับลำร่วมหนุน400 +100
นายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย เปิดเผยว่า ในการประชุมพรรควันศุกร์นี้(14 ม.ค.) จะชี้ขาดว่า พรรคเพื่อไทยจะร่วมพิจารณาการแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 2-3 หรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่า แม้ว่าพรรคได้ประกาศไม่สังฆกรรมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เนื่องจากการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เห็นได้ชัดว่า พรรครัฐบาลพยายามเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง เพื่อเจาะยางพรรคเพื่อไทย โดยเฉพาะคำให้สัมภาษณ์ขอวนายเทพไท เสนพงศ์ โฆษกส่วนตัวหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ที่ระบุชัด ดังนั้น พรรคก็อาจจำเป็นต้องเข้าร่วมลงมติ เพื่อป้องกันตัวเองไม่ให้รัฐบาลมาทำร้ายพรรคเพื่อไทย
พรรคประชาธิปัตย์มีแต่ได้กับได้ กะกินของฟรี หากเปลี่ยนระบบเลือกตั้งเป็น ส.ส.เขตเดียวคนเดียว 375 คนและ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ 125 คนสำเร็จ โดยพรรคประชาธิปัตย์เชื่อว่าจะได้ ส.ส.จากระบบปาร์ตี้ลิสต์เพิ่มจากเดิม 40 เป็น 50 ที่ ส่วนพรรคเพื่อไทยปัจจุบันมี ส.ส.ระบบสัดส่วนประมาณ 40 จาก 80 คน หากเปลี่ยนเป็นปาร์ตี้ลิสต์ก็ยังเจ๋าเพราะอาจเพิ่มเป็น 70 จาก 125 คน
**“พินิจ”นำเช็คชื่อ ส.ส.เพื่อแผ่นดิน
วันเดียวกันเวลา 12.00 น. ที่โรงแรมสยามซิตี้ แกนนำและ ส.ส.พรรคเพื่อแผ่นดินได้นัดรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน โดยมีแกนนำ อาทิ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง หัวหน้าพรรค นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ รองหัวหน้าและเลขาธิการพรรค นพ.วัลลภ ไทยเหนือ ส.ส.สัดส่วน นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ อดีต รมช.คลัง และนายพลพีร์ สุวรรณฉวี ส.ส.นครราชสีมา เป็นต้น นอกจากนั้นแกนนำกลุ่ม 3 พี ได้แก่ นายพินิจ จารุสมบัติ และนายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ ได้เข้าร่วมรับประทานอาหารด้วย แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สมาชิกกลุ่มบ้านริมน้ำ กลุ่มสุรินทร์ นายไชยยศ จิรเมธากร รมช.ศึกษาฯไม่ได้เข้าร่วมด้วย
นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ รองหัวหน้าและเลขาธิการพรรค เปิดเผย ว่าพรรคเห็นตามมติของพรรคร่วมรัฐบาลในสูตร 400+100 ที่เคยร่วมกันเสนอ ส่วนสูตร 375+125 ประเมินว่าจะได้จำนวน ส.ส.เขตเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากในพรรคมีอดีต ส.ส.ที่เคยได้รับการเลือกตั้งจากระบบเขตเดียวเบอร์เดียวหลายคน ในส่วน ส.ส.ปาร์ตี้ลอสต์ก็คาดว่าจะได้ 7-8 คนเท่าเดิม
คาดว่าจะได้ ส.ส.ประมาณ 35 คนขึ้นไป โดยเฉพาะในพื่นที่ภาคอีสาน คือ จ.นครราชสีมา และ จ.อุบลราชธานี และหากมีการควบรวมกับพรรครวมชาติพัฒนาของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ จริง ก็คาดว่าจะได้จำนวน ส.ส.มากถึง 50-60 คน
**“ปรีชา” แนะอย่าผูกยุบสภากับแก้ รธน.
นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ แกนนำกลุ่ม 3 พี กล่าวว่า โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยที่รัฐบาลจะนำประเด็นเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญมาผูกผันกับการบริหารประเทศหรือการตัดสินใจยุบสภา เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญในเรื่องกติกาการเลือกตั้งนั้นเป็นเรื่องของเกมในอนาคต ส่วนการจะอยู่หรือไปของรัฐบาลอยู่ที่การทำงานและแนวนโยบาย รวมไปถึงเหตุการณ์ต่างๆที่กระทบเสถียรภาพของรัฐบาล อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงจำนวน ส.ส. โดยส่วนตัวยังยึดหลักการเดิมคือสูตร 400+100 แต่หากทางคณะกรรมาธิการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนแปลงมาเป็น 375+125 หรือสูตรอื่นๆ ทางกรรมาธิการต้องมีเหตุผลอธิบายให้ชัดเจน ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นทางพรรคเพื่อแผ่นดินจะมีการหารือกันอีกครั้ง
รายงานข่าวจากแกนนำระดับสูงของพรรคเพื่อแผ่นดิน เปิดเผยว่า ในการรับประทานอาหารร่วมกัน ส.ส.ส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันต่อเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนจำนวน ส.ส.ตามสูตร 400+100 ทั้งนี้ยังแสดงความรู้สึกอึดอัดกับท่าทีของพรรคประชาธิปัตย์ที่ยังคงยืนยันในสูตร 375+125 เพราะเมื่อนำผลการเลือกตั้งเมื่อปี 50 มาคำนวณจะพบว่าพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ราว 12 ล้านเสียงนั้นจะได้ ส.ส.ในระบบบัญชีรายชื่อเพิ่มขึ้นถึงกว่า 10 ที่นั่งทันที ทำให้ได้ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ราว 50 ที่นั่ง ซึ่งใกล้เคียงกับพรรคเพื่อไทย ที่สมัยที่เป็นพรรคพลังประชาชนได้เสียงปาร์ตี้ลิสต์กว่า 12 ล้านเสียงเช่นกัน ประกอบกับคะแนนเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ถือว่าดีขึ้นตามลำดับ หากประเมินจากผลการเลือกตั้งที่ผ่านๆมา โดยเฉพาะในพื้นที่ กทม.จากผลการเลือกตั้ง ส.ก.-ส.ข.ที่ผ่านมา ทำให้ในการเลือกตั้งครั้งหน้าคาดว่าพรรคประชาธิปัตย์จะเป็นพรรคอันดับ 1 และเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลต่อไป ซึ่งถือว่าเป็นอุปสรรคสำคัญของพรรคการเมืองขนาดเล็ก ที่คาดว่าจะได้ ส.ส.สัดส่วนเฉลี่ย 7-8 คนต่อพรรคเท่านั้น แสดงให้เห็นความได้เปรียบของพรรคการเมืองใหญ่