ASTVผู้จัดการรายวัน - นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องได้อีก 4% จากที่เติบโตสูงถึง 8% ในปี 53 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 3% ซึ่งทำให้เศรษฐกิจที่แท้จริงขยายตัว 7% ส่วนปี 55 จะอยู่ระดับใกล้เคียงปี 54
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องได้อีก 4% จากที่เติบโตสูงถึง 8% ในปี 53 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 3% ซึ่งทำให้เศรษฐกิจที่แท้จริงขยายตัว 7% ส่วนปี 55 จะอยู่ระดับใกล้เคียงปี 54
"อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันค่อนข้างมาก"
ส่วนโครงการประชาวิวัฒน์ที่นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงรายละเอียดในวันที่ 9 ม.ค. นั้น ส่วนหนึ่งจะมีการปฎิรูป พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานนอกระบบได้สิทธิคุ้มครอง และเป็นการแก้ไขที่สอดคล้องกับกองทุนการออมแห่งชาติ แต่จะมีการแยกบัญชีจากระบบประกันสังคม ซึ่งกองทุนการออมแห่งชาติคาดว่าจะมีการตราเป็นกฎหมายได้ในช่วง มิ.ย.54 ซึ่งหากดำเนินการตามกฎหมายประชาชนจะเริ่มการออมได้ในอีก 1 ปี
โครงการนี้จะเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลค่าครองชีพประชาชน โดยประเมินว่ารัฐบาลจะใช้เงินส่วนของงบประมาณปี 54-55 ไม่เกิน 2 พันล้านบาท ขณะที่สร้างมูลค่าเพิ่มต่อรูปเศรษฐกิจและประชาชนเป็นมูลค่าถึง 2.6 หมื่นล้านบาท และประชาชนได้ประโยชน์นับสินล้านราย
ที่สำนักงานพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรม เมื่อวานนี้ (7 ม.ค.) รมว.คลังกล่าวปาถกฐาเรื่องยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยว่า ขณะนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ระดับไม่มีปัญหา โดยหนี้สาธารณะปัจจุบันอยู่ที่ 42% ต่อจีดีพี เท่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ยอดหนี้เพิ่มขึ้นตามฐานเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยมองว่าระดับหนี้สาธารณะที่ 42-43% ต่อจีดีพี เป็นระดับที่ไม่ได้สร้างปัญหาต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและระดับความเชื่อมั่นต่างประเทศ ขณะที่ความสามารถการส่งออกของผู้ประกอบการยังคงเป็นการเกินดุลการค้า ซึ่งเป็นเหตุให้เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ระดับสูง อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4 แสนราย หรือประมาณ 1.1% ของแรงงานในระบบ ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำ
ปัจจัยที่น่ากังวลคือด้านราคาอาหาร ซึ่งราคาสินค้าเกษตรได้ปรับสูงขึ้น ซึ่งในไทยมีปัญหาในหลายมิติทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต จึงต้องมีการบริหารจัดการ โดยประเด็นแรกต้องบริหารจัดการให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ต่อมาจะต้องไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อาจกระทบต่อการส่งออก ดังนั้นจึงต้องมีการกระจายการส่งออกในค้าให้ดี แต่จากการประเมินการแข็งค่าของเงินบาท ที่อาจทำให้กำลังซื้อลดลงในประเทศสหรัฐและยุโรป แต่พบว่าไม่ได้ส่งผลกระทบมากตามที่กังวล และหากเศรษฐกิจจีนดีขึ้นต่อเนื่องจะยิ่งเป็นปัจจัยหนุนต่อเศรษฐกิจในปี 54
ด้านปัจจัยเสี่ยงจากวิกฤติทางการเมืองซึ่งยังมีความพยายามสร้างความแตกแยก โดยนำปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมาตรการช่วยเหลือประชาชนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาตรการบางส่วนเป็นประชานิยมหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสีย หรือสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็นจริงๆ หรือไม่
นายกรณ์กล่าวถึงราคาน้ำมันว่า ปัจจุบันการกำหนดเพดานภาษียังมีกรอบปรับขึ้นได้อีก แต่อัตราภาษีปัจจุบันยังมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น เห็นว่าไม่ต้องการให้มีการบริหารจัดการเพื่อให้น้ำมันราคาถูก เพราะจะเป็นภาระของประเทศต่อเนื่อง ขณะที่ระยะยาวรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินภาษีเพื่อนำไปพัฒนาระบบขนส่งทางเลือก โดยเฉพาะระบบรางใน 5 ปีข้างหน้า มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท.
นายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง คาดว่า ในปีนี้เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องได้อีก 4% จากที่เติบโตสูงถึง 8% ในปี 53 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในปีนี้น่าจะอยู่ที่ 3% ซึ่งทำให้เศรษฐกิจที่แท้จริงขยายตัว 7% ส่วนปี 55 จะอยู่ระดับใกล้เคียงปี 54
"อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องราคาน้ำมัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากกว่าประเทศอื่น เนื่องจากไทยเป็นประเทศที่ใช้น้ำมันค่อนข้างมาก"
ส่วนโครงการประชาวิวัฒน์ที่นายกรัฐมนตรีจะชี้แจงรายละเอียดในวันที่ 9 ม.ค. นั้น ส่วนหนึ่งจะมีการปฎิรูป พ.ร.บ.ประกันสังคม ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้แรงงานนอกระบบได้สิทธิคุ้มครอง และเป็นการแก้ไขที่สอดคล้องกับกองทุนการออมแห่งชาติ แต่จะมีการแยกบัญชีจากระบบประกันสังคม ซึ่งกองทุนการออมแห่งชาติคาดว่าจะมีการตราเป็นกฎหมายได้ในช่วง มิ.ย.54 ซึ่งหากดำเนินการตามกฎหมายประชาชนจะเริ่มการออมได้ในอีก 1 ปี
โครงการนี้จะเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาส่วนที่เป็นอุปสรรคต่อการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ การเพิ่มประสิทธิภาพ การดูแลค่าครองชีพประชาชน โดยประเมินว่ารัฐบาลจะใช้เงินส่วนของงบประมาณปี 54-55 ไม่เกิน 2 พันล้านบาท ขณะที่สร้างมูลค่าเพิ่มต่อรูปเศรษฐกิจและประชาชนเป็นมูลค่าถึง 2.6 หมื่นล้านบาท และประชาชนได้ประโยชน์นับสินล้านราย
ที่สำนักงานพัฒนาข้าราชการศาลยุติธรรม เมื่อวานนี้ (7 ม.ค.) รมว.คลังกล่าวปาถกฐาเรื่องยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทยว่า ขณะนี้เสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ระดับไม่มีปัญหา โดยหนี้สาธารณะปัจจุบันอยู่ที่ 42% ต่อจีดีพี เท่าช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ยอดหนี้เพิ่มขึ้นตามฐานเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น โดยมองว่าระดับหนี้สาธารณะที่ 42-43% ต่อจีดีพี เป็นระดับที่ไม่ได้สร้างปัญหาต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจและระดับความเชื่อมั่นต่างประเทศ ขณะที่ความสามารถการส่งออกของผู้ประกอบการยังคงเป็นการเกินดุลการค้า ซึ่งเป็นเหตุให้เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ระดับสูง อัตราการว่างงานลดลงเหลือ 4 แสนราย หรือประมาณ 1.1% ของแรงงานในระบบ ขณะที่อัตราเงินเฟ้ออยู่ระดับต่ำ
ปัจจัยที่น่ากังวลคือด้านราคาอาหาร ซึ่งราคาสินค้าเกษตรได้ปรับสูงขึ้น ซึ่งในไทยมีปัญหาในหลายมิติทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิต จึงต้องมีการบริหารจัดการ โดยประเด็นแรกต้องบริหารจัดการให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ต่อมาจะต้องไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อาจกระทบต่อการส่งออก ดังนั้นจึงต้องมีการกระจายการส่งออกในค้าให้ดี แต่จากการประเมินการแข็งค่าของเงินบาท ที่อาจทำให้กำลังซื้อลดลงในประเทศสหรัฐและยุโรป แต่พบว่าไม่ได้ส่งผลกระทบมากตามที่กังวล และหากเศรษฐกิจจีนดีขึ้นต่อเนื่องจะยิ่งเป็นปัจจัยหนุนต่อเศรษฐกิจในปี 54
ด้านปัจจัยเสี่ยงจากวิกฤติทางการเมืองซึ่งยังมีความพยายามสร้างความแตกแยก โดยนำปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางสังคม โดยมาตรการช่วยเหลือประชาชนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่ามาตรการบางส่วนเป็นประชานิยมหรือไม่ มีข้อดี ข้อเสีย หรือสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็นจริงๆ หรือไม่
นายกรณ์กล่าวถึงราคาน้ำมันว่า ปัจจุบันการกำหนดเพดานภาษียังมีกรอบปรับขึ้นได้อีก แต่อัตราภาษีปัจจุบันยังมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น เห็นว่าไม่ต้องการให้มีการบริหารจัดการเพื่อให้น้ำมันราคาถูก เพราะจะเป็นภาระของประเทศต่อเนื่อง ขณะที่ระยะยาวรัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินภาษีเพื่อนำไปพัฒนาระบบขนส่งทางเลือก โดยเฉพาะระบบรางใน 5 ปีข้างหน้า มูลค่า 1.7 แสนล้านบาท.