ASTVผู้จัดการรายวัน - "สู้แล้วรวย"มาแล้ว "ไอ้กี้ร์" เดินตามรอยวิบากกรรมเหมือน"วีระ-เจ๊ดา" หลังถูกบสท.ฟ้องพิทักษ์ทรัพย์ 17 ล้านบาท แต่เจ้าตัวขอส่งทนายเลื่อนนัดฟังคำสั่งไป 30 มิ.ย.นี้ ลุ้น!ได้เงินก้อนใหม่ก่อน ด้านอัยการ เตรียมยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาออกหมายบังคับคดี-ตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ "ทักษิณ"ก่อนวันที่ 26 มี.ค.ชี้ เป็นสิทธิ “ครอบครัวแม้ว” ยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน
วานนี้(24 มี.ค.)นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด ในฐานะรับผิดชอบคดีที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงการยื่นคำบังคับคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งพิพากษาให้ยึดทรัพย์สิน จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว ว่า ตามหลักการเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วก็ได้ออกคำบังคับคดีไว้ในท้ายคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตาม โดยอัยการจะยื่นคำร้องขอศาลให้ออกหมายบังคับคดี และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นเดียวกับคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว ระบุว่า ให้ยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวในบัญชีเงินฝากธนาคารใด สาขาใด จำนวนเท่าใดบ้าง ซึ่งตัวความคดีนี้คือคณะกรรมการ คตส.ได้มีคำสั่งให้ยึดอายัดทรัพย์สินไว้ก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ซึ่งเมื่อ คตส.หมดวาระไปก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการติดตามทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ยึดตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งแทบไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะทรัพย์สินถูกอายัดแล้ว
นายวัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ตนทราบว่าช่วงเช้าวันเดียวกัน ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กรมบังคับคดี ป.ป.ช.และอัยการจะประชุมร่วมกัน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมจะมอบหมายให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาออกหมายบังคับคดี และตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก่อนวันที่ 26 มี.ค.นี้
นายวัยวุฒิ กล่าวถึงการยื่นอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวต่อศาลฎีกาฯ ว่า เป็นสิทธิของคู่ความที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ได้ตามกฎหมายภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ โดยศาลฎีกาฯ จะประชุมใหญ่เลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 5 คน มาพิจารณาอุทธรณ์ว่ามีพยานหลักฐานใหม่ปรากฏถูกต้องที่จะทำให้ศาลฎีกาต้องรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่ปรากฏพยานหลักฐานใหม่องค์คณะจะมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่เกี่ยวกับอัยการ แต่หากศาลฎีกามีคำสั่งรับอุทธรณ์ก็จะมีคำสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อัยการแก้อุทธรณ์ของคู่ความ
"ไอ้กี้ร์"ดิ้นยื้อเวลาล้มละลาย
วานนี้ (24) เวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 10 ศาลล้มละลายกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลนัดฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ คดีหมายเลขดำที่ 10320/2552 ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) เจ้าหนี้ ได้ยื่นฟ้อง นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ลูกหนี้ เรื่องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ มูลค่า 17 ล้านบาท
โดย นายอริสมันต์ ไม่ได้เดินทางมาศาล แต่มอบหมายให้ทนายความมายื่นคำร้องขอเลื่อนนัดออกไปก่อน ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตและนัดฟังคำสั่งพิทักษ์อีกครั้งในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บสท.ได้รับโอนหนี้ของนายอริสมันต์ต่อมาจากธนาคารหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB ซึ่งเป็นผลพวงที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และกระบวนการรับโอนนั้น เป็นผลต่อเนื่องจากนโยบายการแก้หนี้ทั้งระบบที่สมัย ทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อตั้งบสท.ขึ้นมา อย่างไรก็ดี เหตุผลที่ลูกหนี้ส่งทนายความไปขอเลื่อนนัด เนื่องจากลูกหนี้อาจนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ ที่มีทรัพย์อยู่ในบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่งมาชำระหนี้ หลังจากหักกลบลบหนี้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งนั้นแล้ว โดยจำนวนเงินดังกล่าวคงจะไม่เพียงพอกับมูลค่าที่บสท.พิทักษ์ทรัพย์ ดังนั้น ลูกหนี้ต้องทำแผนการชำระหนี้ยื่นแก่เจ้าหนี้ โดยแบ่งชำระเป็นงวดๆ
รวมพลแดงล้มละลาย!
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศฟ้องพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำนปช.และอดีตพิธีกรรายการ " ความจริงวันนี้ " คดีหมายเลขแดงที่ ล. 4464/2551 ลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 กรกฎาคม 2551
ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเป็นต้นไป เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจ ตามมาตรา22 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ดังต่อไปนี้ 1. จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป 2.เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สิน ซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับ จากผู้อื่น 3.ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
เช่นเดียวกับ "ไฮโซสาวใหญ่" ดารุณี กฤตบุญญาลัย ที่มาร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงจนกลายเป็นแม่งานหลักช่วยนช.ทักษิณกลับประเทศ ก็เคยตกอยู่ในสภาพล้มละลาย เมื่อบริษัท เงินทุนบุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ลูกหนี้ล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งลงวัน ที่ 14 กันยายน 2548 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล พี.แอนด์.พี.เอ็นจิเนียริ่ง ที่ 1 นายประกิจ กฤตบุญญาลัย ที่ 2 นางดารณี กฤตบุญญาลัยที่ 3 บริษัท สยาม เอ.อาร์.ไอ. จำกัด ที่ 4 นางสาววิรุฬกานต์ กฤตบุญญาลัย ที่ 5 นางสาวธารนที กฤตบุญญาลัย ที่ 6 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483
ต่อมาศาลล้มละลายกลาง พิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ให้ลูกหนี้ทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลาย ก่อนที่จะมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 53 ให้ปลดจากลูกหนี้ล้มละลาย.
วานนี้(24 มี.ค.)นายวัยวุฒิ หล่อตระกูล รองอัยการสูงสุด ในฐานะรับผิดชอบคดีที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) กล่าวถึงการยื่นคำบังคับคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งพิพากษาให้ยึดทรัพย์สิน จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และครอบครัว ว่า ตามหลักการเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วก็ได้ออกคำบังคับคดีไว้ในท้ายคำพิพากษา แต่ถ้าผู้ต้องคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตาม โดยอัยการจะยื่นคำร้องขอศาลให้ออกหมายบังคับคดี และตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี เช่นเดียวกับคดียึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว ระบุว่า ให้ยึดทรัพย์ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวในบัญชีเงินฝากธนาคารใด สาขาใด จำนวนเท่าใดบ้าง ซึ่งตัวความคดีนี้คือคณะกรรมการ คตส.ได้มีคำสั่งให้ยึดอายัดทรัพย์สินไว้ก่อนศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ซึ่งเมื่อ คตส.หมดวาระไปก็เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการติดตามทรัพย์สินที่ศาลสั่งให้ยึดตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งแทบไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เพราะทรัพย์สินถูกอายัดแล้ว
นายวัยวุฒิ กล่าวต่อไปว่า ตนทราบว่าช่วงเช้าวันเดียวกัน ทางกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง กรมบังคับคดี ป.ป.ช.และอัยการจะประชุมร่วมกัน ซึ่งคาดว่าที่ประชุมจะมอบหมายให้อัยการยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาออกหมายบังคับคดี และตั้งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ก่อนวันที่ 26 มี.ค.นี้
นายวัยวุฒิ กล่าวถึงการยื่นอุทธรณ์คดียึดทรัพย์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ และครอบครัวต่อศาลฎีกาฯ ว่า เป็นสิทธิของคู่ความที่จะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ได้ตามกฎหมายภายใน 30 วัน นับตั้งแต่มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ โดยศาลฎีกาฯ จะประชุมใหญ่เลือกองค์คณะผู้พิพากษาจำนวน 5 คน มาพิจารณาอุทธรณ์ว่ามีพยานหลักฐานใหม่ปรากฏถูกต้องที่จะทำให้ศาลฎีกาต้องรับอุทธรณ์ไว้พิจารณาหรือไม่ หากไม่ปรากฏพยานหลักฐานใหม่องค์คณะจะมีคำสั่งให้ยกคำร้อง ซึ่งขั้นตอนนี้ไม่เกี่ยวกับอัยการ แต่หากศาลฎีกามีคำสั่งรับอุทธรณ์ก็จะมีคำสั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ให้อัยการแก้อุทธรณ์ของคู่ความ
"ไอ้กี้ร์"ดิ้นยื้อเวลาล้มละลาย
วานนี้ (24) เวลา 09.30 น.ที่ห้องพิจารณาคดี 10 ศาลล้มละลายกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ ศาลนัดฟังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ คดีหมายเลขดำที่ 10320/2552 ที่บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย(บสท.) เจ้าหนี้ ได้ยื่นฟ้อง นายอริสมันต์ พงษ์เรืองรอง แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ลูกหนี้ เรื่องขอให้พิทักษ์ทรัพย์ มูลค่า 17 ล้านบาท
โดย นายอริสมันต์ ไม่ได้เดินทางมาศาล แต่มอบหมายให้ทนายความมายื่นคำร้องขอเลื่อนนัดออกไปก่อน ศาลพิจารณาแล้วอนุญาตและนัดฟังคำสั่งพิทักษ์อีกครั้งในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เวลา 09.30 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า บสท.ได้รับโอนหนี้ของนายอริสมันต์ต่อมาจากธนาคารหลวงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCIB ซึ่งเป็นผลพวงที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ และกระบวนการรับโอนนั้น เป็นผลต่อเนื่องจากนโยบายการแก้หนี้ทั้งระบบที่สมัย ทักษิณ ชินวัตร ได้ก่อตั้งบสท.ขึ้นมา อย่างไรก็ดี เหตุผลที่ลูกหนี้ส่งทนายความไปขอเลื่อนนัด เนื่องจากลูกหนี้อาจนำเงินที่ได้จากการขายทรัพย์ ที่มีทรัพย์อยู่ในบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งหนึ่งมาชำระหนี้ หลังจากหักกลบลบหนี้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์แห่งนั้นแล้ว โดยจำนวนเงินดังกล่าวคงจะไม่เพียงพอกับมูลค่าที่บสท.พิทักษ์ทรัพย์ ดังนั้น ลูกหนี้ต้องทำแผนการชำระหนี้ยื่นแก่เจ้าหนี้ โดยแบ่งชำระเป็นงวดๆ
รวมพลแดงล้มละลาย!
ก่อนหน้านี้ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศฟ้องพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดนายวีระ มุสิกพงศ์ แกนนำนปช.และอดีตพิธีกรรายการ " ความจริงวันนี้ " คดีหมายเลขแดงที่ ล. 4464/2551 ลงในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 29 กรกฎาคม 2551
ดังนั้น นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดเป็นต้นไป เจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจ ตามมาตรา22 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ดังต่อไปนี้ 1. จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป 2.เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สิน ซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับ จากผู้อื่น 3.ประนีประนอมยอมความ หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
เช่นเดียวกับ "ไฮโซสาวใหญ่" ดารุณี กฤตบุญญาลัย ที่มาร่วมกับกลุ่มคนเสื้อแดงจนกลายเป็นแม่งานหลักช่วยนช.ทักษิณกลับประเทศ ก็เคยตกอยู่ในสภาพล้มละลาย เมื่อบริษัท เงินทุนบุคคลัภย์ จำกัด (มหาชน) เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลางขอให้ลูกหนี้ล้มละลายและศาลได้มีคำสั่งลงวัน ที่ 14 กันยายน 2548 ให้พิทักษ์ทรัพย์ของ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล พี.แอนด์.พี.เอ็นจิเนียริ่ง ที่ 1 นายประกิจ กฤตบุญญาลัย ที่ 2 นางดารณี กฤตบุญญาลัยที่ 3 บริษัท สยาม เอ.อาร์.ไอ. จำกัด ที่ 4 นางสาววิรุฬกานต์ กฤตบุญญาลัย ที่ 5 นางสาวธารนที กฤตบุญญาลัย ที่ 6 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พุทธศักราช 2483
ต่อมาศาลล้มละลายกลาง พิพากษาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2549 ให้ลูกหนี้ทั้งสามเป็นบุคคลล้มละลาย ก่อนที่จะมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 53 ให้ปลดจากลูกหนี้ล้มละลาย.