ถ้านับจาก 12 มี.ค. 2553 วันที่แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือ นปช.แดงทั้งแผ่นดินโหมโรงการชุมนุมใหญ่ ถึงวันนี้ (24 มี.ค.) ครบ 12วันของการชุมนุมพอดี
หากนับไปถึงวันที่ 27 มี.ค.วันที่ นปช.เขาประกาศจะเดินทัพทางไกลทั่วกรุงเทพฯ แบบเดียวกับปฏิบัติการเมื่อวันเสาร์ที่ 20 มี.ค.อีกครั้ง การชุมนุมก็จะครบ 15 วัน
ย้อนไปเมื่อครั้งเหตุการณ์ “เมษาเลือด 2552” นปช.ใช้เวลาการชุมนุมที่จบลงด้วยการป่วนบ้านเผาเมือง 19 วัน คือจาก 26 มี.ค. – 14 เม.ย.
การชุมนุมรอบใหม่นี้ดูเหมือนว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 19 วันเป็นแน่ แต่อย่างไรก็ไม่ถึง 193 วันแบบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
ลักษณะทั่วไป หรือภาพรวมการชุมนุมของ นปช.ในห้วง 12 วัน เท่าที่มองเห็น
1) มีมวลชนเข้าร่วมการชุมนุมสูงสุด เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ประมาณ 75,000 คน รองลงมาคือวันเสาร์ที่ 20 มี.ค. ประมาณ 55,000 คน โดยยอดผู้ชุมนุมถัวเฉลี่ยในคืนอื่นๆ อยู่ที่ประมาณ 20,000 คน ซึ่งสามารถพูดได้ว่าเป็นม็อบที่อยู่ตัวแล้วหรือม็อบที่จุดติดแล้ว
2) เมื่อท่อน้ำเลี้ยงทำงาน ขบวนการทำงานสามารถแก้ปัญหาท่อน้ำเลี้ยงไม่ไหลเพราะโพยก๊วนสะดุดได้แล้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็ทยอยกันขึ้นเวทีอย่างมีสีสันและมีพลังมากขึ้น มากกว่าการที่มีแต่กลุ่มก๊วนของแกนนำสามเกลอปราศรัย ทำให้ระยะหลังๆ การปราศรัยมีเนื้อหาสาระดีขึ้น ทั้งนี้จากการปรับรูปขบวนหลังการ “เสียรังวัด” กรณีเจาะเลือดละเลงแผ่นดิน..
3) การปรากฏตัวของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และโดยเฉพาะพล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร รวมทั้งแม่ทัพนายกองอดีตทหาร-ตำรวจใหญ่บนเวทีปราศรัยเมื่อคืนวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าสงครามรอบนี้เป็นสงครามใหญ่ ก้าวไกลไปกว่าเป็นการชุมนุมของสามเกลอแฟนคลับอย่างแน่นอน
4) สำหรับข้อเรียกร้องของ นปช.แดงทั้งแผ่นดินนั้น ในขณะที่ปักธงเรียกร้องให้รัฐบาล “ยุบสภา” คืนอำนาจให้ประชาชน กลับปรากฏว่าคำขวัญของการชุมนุมกลับไปขับเน้นเรื่อง “สงครามไพร่โค่นอำมาตย์” และ “สงครามชนชั้น” ทำให้ข้อเรียกร้อง-คำอธิบายเรื่องการยุบสภาไม่แจ่มชัด
ไม่แต่เท่านั้นเพราะคำว่า “ไพร่” คำว่า “อำมาตย์” คำว่า “สงครามชนชั้น” นี่แหละที่ทำเอา “นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร พูดจาจาบจ้วงสถาบันครั้งแล้วครั้งเล่าจากการวิดีโอลิงก์ (หน่วยงานความมั่นคงของรัฐควรจะถอดเทปพิจารณา)
5) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดินประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะลอกเลียนแบบมาจากพันธมิตรฯ อาจจะดูตลกขบขัน เพ้อเจ้อในระยะแรกๆ แต่ถึงวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า นี่ก็คือกลุ่มพลังที่จะชี้ชะตาสังคมไทยเช่นเดียวกับพันธมิตรฯ เช่นเดียวกับอำนาจรัฐ
หันมาพิจารณาการทำงานของรัฐบาล ซึ่งต้องฟันธงว่าเป็นการทำงานในลักษณะเชิงรับ จะพบว่า
1) รัฐบาลกำลังแก้ปัญหาด้านความมั่นคง ที่เป็นผลมาจากการปล่อยปละละเลยปัญหามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีเต็มๆ ด้วยคาดคิดว่าการยืนอยู่ตรงกลางโดยไม่ทำอะไรสามารถแก้ปัญหาหรือสร้างความสมานฉันท์ได้
2) รัฐบาลติดกับดักของตัวเองที่ปล่อยปละ และเปิดทางให้กับคำว่า “ชุมนุมอย่างสันติ” จนตัวเองแทบจะกระดิกกระเดี้ยไม่ได้ ถึงแม้จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรก็ตาม
กล่าวเช่นนี้หมายความว่ารัฐบาลไม่สามารถที่จะจัดการกับการท้าทายใดๆ ของนปช.แดงทั้งแผ่นดินได้ การถอนประกัน การออกหมายจับแกนนำบางคนก็ไม่สามารถทำให้มีผลทางปฏิบัติได้
3) รัฐบาลปะทะหรือยันสงครามรอบนี้อยู่ได้ ด้านหลักเพราะต้นทุนของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่นับวันต้นทุนทางการเมือง ทางสังคม และภาวะความเป็นผู้นำประเทศของนายกฯ จะร่อยหรอเหลือน้อยลงเรื่อยๆ เพราะการหลบไปใช้บริการของกองทัพในค่ายทหารและถูกโจมตีจี้จุดจากฝ่ายตรงข้าม
4) การใช้สื่อของรัฐโดยรวมยังล้มเหลวเหมือนเดิม
5) อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความบอบช้ำของนายกฯ อภิสิทธิ์ สังคมไทยก็ยังมีความมั่นใจอย่างไม่มีทางเลือกว่านายกฯ คนนี้จะตัดสินใจในสิ่งที่เป็นทางออกให้กับบ้านเมืองได้ โดยเฉพาะการประคับประคองสถานการณ์อย่างอดทน อดกลั้น แม้สิ่งนี้จะทำให้ใครต่อใครอึดอัด
แล้วทางออก- แนวโน้มสถานการณ์ควรหรือน่าจะเป็นอย่างไร
1) ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์หรือรัฐบาลถอดใจยอมที่จะ “ยุบสภา” ก็สามารถที่จะตั้งโต๊ะเจรจาต่อรองกับแกนนำ นปช.ได้ น่าจะต่อรองยืดเวลาให้บ้านเมืองก่อนยุบสภาได้อีก 3-4 เดือน โดยก่อนยุบสภาอาจจะมีการลงสัตยาบันกันในประเด็นความสงบสันติเมื่อเข้าสู่บรรยากาศตอนเลือกตั้ง-หลังเลือกตั้ง
ถ้าเดินตามแนวทางนี้ก็พอจะมองเห็นว่า รัฐบาลหลังการเลือกตั้งแนวโน้มน่าจะเป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย จากนั้นก็คงเป็นไปในแนวเดิมคือต้องแก้กฎหมายเพื่อ ปลดปล่อยไพร่แสนล้านอย่างทักษิณ ชินวัตร
2) ถ้ารัฐบาลไม่เลือกแนวทางยุบสภา ประคับประคองสถานการณ์ไปเรื่อยๆ ในลักษณะ “ดำน้ำแข่ง” กับ นปช.ว่าใครจะอดทนกว่ากัน
2.1 อาจจะผ่านไปได้ รัฐบาลได้ชัยชนะชั่วคราวแล้วค่อยไปปรับกระบวนท่าใหม่ ช่วงสงกรานต์อาจจะเป็นช่วงพักรบและเป็นจุดเปลี่ยนที่ นปช.ยากที่จะปลุกม็อบได้อีก
2.2 ฝ่าย นปช.อาจจะอดทนไม่ได้ มือที่สามมือที่สี่ กองกำลังไม่ทราบฝ่ายอาจก่อเหตุการณ์ผสมโรง ความรุนแรงจะเกิดขึ้น
3) แนวทางนี้อาจจะเป็นได้น้อยกล่าวคือ ถ้ารัฐบาลยุบสภา แต่หลังการยุบสภาระยะหนึ่ง ตามติดมาด้วยการยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการบริหารพรรคถูกเว้นวรรคการเมือง นายกฯ อภิสิทธิ์หมดสภาพความเป็นนายกฯ ไปโดยอัตโนมัติ บ้านเมืองเหลือแต่วุฒิสภา สุญญากาศทางการเมืองจะเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้สะสางปัญหาสังคมไทยเริ่มต้นกันใหม่อย่างมีบทเรียน ซึ่งหนทางนี้บางคนบอกว่าอาจยุบเลิกกฎหมายพรรคการเมืองไปเลยก็ได้
4) การยึดอำนาจ รัฐประหาร-โอกาสเกิดมีน้อยถึงน้อยที่สุด
.................................
ขอบคุณ คุณสำราญ รอดเพชร เจ้าของพื้นที่คอลัมน์ที่เปิดโอกาสให้ผมได้แลกเปลี่ยนข้อมูล–ความเห็นกับท่านผู้อ่านเป็นครั้งที่สามแล้ว
ขอเป็นกำลังใจท่านผู้อ่านในการติดตามสถานการณ์ และขอให้คุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านนี้เมืองนี้ดลบันดาลให้ประเทศของเราผ่านวิกฤตการณ์การเมืองรอบนี้ไปได้ด้วยความบอบช้ำน้อยที่สุด.
“นักสังเกตการณ์ 63”
samr_rod@hotmail.com
หากนับไปถึงวันที่ 27 มี.ค.วันที่ นปช.เขาประกาศจะเดินทัพทางไกลทั่วกรุงเทพฯ แบบเดียวกับปฏิบัติการเมื่อวันเสาร์ที่ 20 มี.ค.อีกครั้ง การชุมนุมก็จะครบ 15 วัน
ย้อนไปเมื่อครั้งเหตุการณ์ “เมษาเลือด 2552” นปช.ใช้เวลาการชุมนุมที่จบลงด้วยการป่วนบ้านเผาเมือง 19 วัน คือจาก 26 มี.ค. – 14 เม.ย.
การชุมนุมรอบใหม่นี้ดูเหมือนว่าจะใช้เวลาไม่น้อยกว่า 19 วันเป็นแน่ แต่อย่างไรก็ไม่ถึง 193 วันแบบพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยอย่างแน่นอน
ลักษณะทั่วไป หรือภาพรวมการชุมนุมของ นปช.ในห้วง 12 วัน เท่าที่มองเห็น
1) มีมวลชนเข้าร่วมการชุมนุมสูงสุด เมื่อวันที่ 14 มี.ค. ประมาณ 75,000 คน รองลงมาคือวันเสาร์ที่ 20 มี.ค. ประมาณ 55,000 คน โดยยอดผู้ชุมนุมถัวเฉลี่ยในคืนอื่นๆ อยู่ที่ประมาณ 20,000 คน ซึ่งสามารถพูดได้ว่าเป็นม็อบที่อยู่ตัวแล้วหรือม็อบที่จุดติดแล้ว
2) เมื่อท่อน้ำเลี้ยงทำงาน ขบวนการทำงานสามารถแก้ปัญหาท่อน้ำเลี้ยงไม่ไหลเพราะโพยก๊วนสะดุดได้แล้ว ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็ทยอยกันขึ้นเวทีอย่างมีสีสันและมีพลังมากขึ้น มากกว่าการที่มีแต่กลุ่มก๊วนของแกนนำสามเกลอปราศรัย ทำให้ระยะหลังๆ การปราศรัยมีเนื้อหาสาระดีขึ้น ทั้งนี้จากการปรับรูปขบวนหลังการ “เสียรังวัด” กรณีเจาะเลือดละเลงแผ่นดิน..
3) การปรากฏตัวของพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ และโดยเฉพาะพล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร รวมทั้งแม่ทัพนายกองอดีตทหาร-ตำรวจใหญ่บนเวทีปราศรัยเมื่อคืนวันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมาเป็นการส่งสัญญาณชัดเจนว่าสงครามรอบนี้เป็นสงครามใหญ่ ก้าวไกลไปกว่าเป็นการชุมนุมของสามเกลอแฟนคลับอย่างแน่นอน
4) สำหรับข้อเรียกร้องของ นปช.แดงทั้งแผ่นดินนั้น ในขณะที่ปักธงเรียกร้องให้รัฐบาล “ยุบสภา” คืนอำนาจให้ประชาชน กลับปรากฏว่าคำขวัญของการชุมนุมกลับไปขับเน้นเรื่อง “สงครามไพร่โค่นอำมาตย์” และ “สงครามชนชั้น” ทำให้ข้อเรียกร้อง-คำอธิบายเรื่องการยุบสภาไม่แจ่มชัด
ไม่แต่เท่านั้นเพราะคำว่า “ไพร่” คำว่า “อำมาตย์” คำว่า “สงครามชนชั้น” นี่แหละที่ทำเอา “นายใหญ่” ทักษิณ ชินวัตร พูดจาจาบจ้วงสถาบันครั้งแล้วครั้งเล่าจากการวิดีโอลิงก์ (หน่วยงานความมั่นคงของรัฐควรจะถอดเทปพิจารณา)
5) อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการชุมนุมของ นปช.แดงทั้งแผ่นดินประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์จะลอกเลียนแบบมาจากพันธมิตรฯ อาจจะดูตลกขบขัน เพ้อเจ้อในระยะแรกๆ แต่ถึงวันนี้ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า นี่ก็คือกลุ่มพลังที่จะชี้ชะตาสังคมไทยเช่นเดียวกับพันธมิตรฯ เช่นเดียวกับอำนาจรัฐ
หันมาพิจารณาการทำงานของรัฐบาล ซึ่งต้องฟันธงว่าเป็นการทำงานในลักษณะเชิงรับ จะพบว่า
1) รัฐบาลกำลังแก้ปัญหาด้านความมั่นคง ที่เป็นผลมาจากการปล่อยปละละเลยปัญหามาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีเต็มๆ ด้วยคาดคิดว่าการยืนอยู่ตรงกลางโดยไม่ทำอะไรสามารถแก้ปัญหาหรือสร้างความสมานฉันท์ได้
2) รัฐบาลติดกับดักของตัวเองที่ปล่อยปละ และเปิดทางให้กับคำว่า “ชุมนุมอย่างสันติ” จนตัวเองแทบจะกระดิกกระเดี้ยไม่ได้ ถึงแม้จะมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรก็ตาม
กล่าวเช่นนี้หมายความว่ารัฐบาลไม่สามารถที่จะจัดการกับการท้าทายใดๆ ของนปช.แดงทั้งแผ่นดินได้ การถอนประกัน การออกหมายจับแกนนำบางคนก็ไม่สามารถทำให้มีผลทางปฏิบัติได้
3) รัฐบาลปะทะหรือยันสงครามรอบนี้อยู่ได้ ด้านหลักเพราะต้นทุนของนายกฯอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ แต่นับวันต้นทุนทางการเมือง ทางสังคม และภาวะความเป็นผู้นำประเทศของนายกฯ จะร่อยหรอเหลือน้อยลงเรื่อยๆ เพราะการหลบไปใช้บริการของกองทัพในค่ายทหารและถูกโจมตีจี้จุดจากฝ่ายตรงข้าม
4) การใช้สื่อของรัฐโดยรวมยังล้มเหลวเหมือนเดิม
5) อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความบอบช้ำของนายกฯ อภิสิทธิ์ สังคมไทยก็ยังมีความมั่นใจอย่างไม่มีทางเลือกว่านายกฯ คนนี้จะตัดสินใจในสิ่งที่เป็นทางออกให้กับบ้านเมืองได้ โดยเฉพาะการประคับประคองสถานการณ์อย่างอดทน อดกลั้น แม้สิ่งนี้จะทำให้ใครต่อใครอึดอัด
แล้วทางออก- แนวโน้มสถานการณ์ควรหรือน่าจะเป็นอย่างไร
1) ถ้านายกฯ อภิสิทธิ์หรือรัฐบาลถอดใจยอมที่จะ “ยุบสภา” ก็สามารถที่จะตั้งโต๊ะเจรจาต่อรองกับแกนนำ นปช.ได้ น่าจะต่อรองยืดเวลาให้บ้านเมืองก่อนยุบสภาได้อีก 3-4 เดือน โดยก่อนยุบสภาอาจจะมีการลงสัตยาบันกันในประเด็นความสงบสันติเมื่อเข้าสู่บรรยากาศตอนเลือกตั้ง-หลังเลือกตั้ง
ถ้าเดินตามแนวทางนี้ก็พอจะมองเห็นว่า รัฐบาลหลังการเลือกตั้งแนวโน้มน่าจะเป็นรัฐบาลของพรรคเพื่อไทย จากนั้นก็คงเป็นไปในแนวเดิมคือต้องแก้กฎหมายเพื่อ ปลดปล่อยไพร่แสนล้านอย่างทักษิณ ชินวัตร
2) ถ้ารัฐบาลไม่เลือกแนวทางยุบสภา ประคับประคองสถานการณ์ไปเรื่อยๆ ในลักษณะ “ดำน้ำแข่ง” กับ นปช.ว่าใครจะอดทนกว่ากัน
2.1 อาจจะผ่านไปได้ รัฐบาลได้ชัยชนะชั่วคราวแล้วค่อยไปปรับกระบวนท่าใหม่ ช่วงสงกรานต์อาจจะเป็นช่วงพักรบและเป็นจุดเปลี่ยนที่ นปช.ยากที่จะปลุกม็อบได้อีก
2.2 ฝ่าย นปช.อาจจะอดทนไม่ได้ มือที่สามมือที่สี่ กองกำลังไม่ทราบฝ่ายอาจก่อเหตุการณ์ผสมโรง ความรุนแรงจะเกิดขึ้น
3) แนวทางนี้อาจจะเป็นได้น้อยกล่าวคือ ถ้ารัฐบาลยุบสภา แต่หลังการยุบสภาระยะหนึ่ง ตามติดมาด้วยการยุบพรรคประชาธิปัตย์ กรรมการบริหารพรรคถูกเว้นวรรคการเมือง นายกฯ อภิสิทธิ์หมดสภาพความเป็นนายกฯ ไปโดยอัตโนมัติ บ้านเมืองเหลือแต่วุฒิสภา สุญญากาศทางการเมืองจะเกิดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้สะสางปัญหาสังคมไทยเริ่มต้นกันใหม่อย่างมีบทเรียน ซึ่งหนทางนี้บางคนบอกว่าอาจยุบเลิกกฎหมายพรรคการเมืองไปเลยก็ได้
4) การยึดอำนาจ รัฐประหาร-โอกาสเกิดมีน้อยถึงน้อยที่สุด
.................................
ขอบคุณ คุณสำราญ รอดเพชร เจ้าของพื้นที่คอลัมน์ที่เปิดโอกาสให้ผมได้แลกเปลี่ยนข้อมูล–ความเห็นกับท่านผู้อ่านเป็นครั้งที่สามแล้ว
ขอเป็นกำลังใจท่านผู้อ่านในการติดตามสถานการณ์ และขอให้คุณพระศรีรัตนตรัย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้านนี้เมืองนี้ดลบันดาลให้ประเทศของเราผ่านวิกฤตการณ์การเมืองรอบนี้ไปได้ด้วยความบอบช้ำน้อยที่สุด.
“นักสังเกตการณ์ 63”
samr_rod@hotmail.com