ล้มอำมาตย์ โค่นอำมาตย์ รัฐบาลอำมาตย์ มหาอำมาตย์ อำมาตย์ชั่ว อำมาตย์เลว …
ไพร่แดง ไพร่เสื้อแดง เลือดไพร่ ชนชั้นไพร่ แกนนำไพร่ ไพร่ตาดำๆ …
ในช่วงหลายวันมานี้ ด้วยความรับผิดชอบทางหน้าที่การงาน ทำให้ผมต้องเกาะติดหน้าจอโทรทัศน์เสื้อแดง ตั้งแต่เช้าจรดดึก เช้ามาก็ฟัง “หมอแคน” อดิศร เพียงเกษ สบถคำพูดหยาบคาย สายก็ฟัง วิสา คัญทัพ-ไพจิตร อักษรณรงค์ ออกมาปราศรัยและร้องเพลงปลุกใจคนเสื้อแดงให้โค่นรัฐบาลอำมาตย์ พอตกค่ำก็ดูลีลาปราศรัยของ “สามเกลอ” วีระ มุสิกพงศ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กับ “มหาไพร่” ทักษิณ ชินวัตร วิดีโอลิงก์มาปลุกขวัญกำลังใจคนเสื้อแดง
ยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมา ตลอดตั้งแต่เช้าจรดเย็นผมก็นับไม่ถูกว่าแก้วหูของผมนั้นต้องถูกสั่นสะเทือนด้วยคำว่า “อำมาตย์” คำว่า “ไพร่” กี่ครั้งกี่ครา
พ.ศ. 2553 วาทกรรม “อำมาตย์-ไพร่-ทาส” กลับกลายมาเป็นประเด็นในสังคมไทยอีกครั้ง หลังจากคนเสื้อแดงพยายามปลุกปั่นให้คนในสังคมรู้สึกว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยนั้นกลายเป็นประเทศที่มีชนชั้น มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ราวกับประเทศนี้ย้อนยุคไปในสมัยศักดินาเมื่อสักร้อยปีก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เห็นคนอย่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ออกมาส่งเสียงเย้วๆ เชียร์คนเสื้อแดงทางช่องวอยซ์ทีวีและดีสเตชั่น, เห็นท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล กระโดดขึ้นเวทีที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ, เห็น ส.ส.พรรคเพื่อไทย เรียงหน้ากันมาสละเลือดไพร่เพื่อเอาไปเทรอบทำเนียบฯ-พรรคประชาธิปัตย์-บ้านพักนายกฯ และนึกได้ว่าแม้แต่ “มหาไพร่” อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เคยมีภรรยาที่มียศถาบรรดาศักดิ์สูงถึงระดับ “คุณหญิง” ก็ทำให้ผมต้องคิดทบทวนอีกครั้งว่า จริงๆ แล้ว คำจำกัดความว่า “อำมาตย์” ของคนเสื้อแดงนั้นหมายความว่าอย่างไรกันแน่
ตามหลักวิชาการ เมื่อเราเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เราจะพบความหมายของคำว่า อำมาตย์ ในหน้าที่ 1372 ดังนี้
อำมาตย-, อำมาตย์ น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา; แผลงมาจาก อมาตย์.
ซึ่งหากพิจารณาความหมายของคำว่า “อำมาตย์” ตามหลักภาษาแล้วจะเห็นได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เคยเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23, ท่านผู้หญิงวิระยาที่มักอวดตัวว่าเคยรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมานับครั้งไม่ถ้วน หรือแม้แต่แกนนำคนเสื้อแดงอย่าง นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตรัฐมนตรีและ ส.ส. หลายสมัย, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็ถือเป็นข้าราชการการเมือง และเข้าข่ายของการเป็น “อำมาตย์” ด้วยกันทั้งสิ้น มิพักต้องพูดถึง “หม่อมปลื้ม” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ที่สืบทอดเชื้อสายของราชวงศ์จักรีมาโดยตรง
ด้วยเหตุนี้ การที่กลุ่มคนเสื้อแดงตีกรอบของคำว่า “อำมาตย์” ไว้เพียงแค่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กับคณะองคมนตรีรวม 19 คน จึงไม่น่าจะถูกต้องและเป็นธรรมนัก อีกทั้งเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปแล้วก็จะพบว่า แกนนำคนเสื้อแดงได้ใช้มาตรฐานส่วนบุคคล และอารมณ์ความรู้สึกในการจัดกลุ่มว่าใครเป็นอำมาตย์ ใครเป็นสมุนอำมาตย์ ใครเป็นเครือข่ายธุรกิจของอำมาตย์ ตามอำเภอใจอย่างเห็นได้ชัด
ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา แกนนำคนเสื้อแดงได้ปรักปรำและปลุกปั่นว่า ธนาคารกรุงเทพ เครือซีพี หรือบริษัทในกลุ่มเบียร์ช้าง เป็นเครือข่ายธุรกิจของอำมาตย์ ทั้งๆ ที่ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแก๊ง 3 เกลอ เป็นใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้ก็ คบหาสมาคมมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้มาตลอด
ยกตัวอย่างเช่น นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (2546) และอุตสาหกรรม (2546-2548) ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นที่ทราบกันดีในสังคมว่า นายวัฒนานั้นเป็นบุตรเขยของตระกูลเจียรวนนท์ เจ้าของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เพราะนายวัฒนาตบแต่งไปกับ นางพัชรา (เจียรวนนท์) เมืองสุข
ผมจำได้ว่า สมัยนั้นแม้จะมีสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยออกมาทักท้วงว่า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แบ่งให้โควตากลุ่มทุนพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐมนตรี โดยไม่สนใจหัวอกประชาชนและความเหมาะสม แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังไม่ใส่ใจ เพราะฉะนั้น ณ วันนี้ เหตุใดพวกท่านจึงปรักปรำว่ากลุ่มทุนเหล่านี้เป็นสมุนของอำมาตย์ และเป็นศัตรูของประชาชนเล่า?
เมื่อกลับมาพลิกพจนานุกรมฉบับเดิม เพื่อดูความหมายของคำว่า “ไพร่” ในทางภาษาศาสตร์บ้างก็ได้พบคำตอบดังนี้
ไพร่ (โบ) น. ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว.
จากความหมายในพจนานุกรมข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า คำว่า “ไพร่” นั้นเป็นคำนาม เป็นคำโบราณ (ตามคำย่อในวงเล็บหน้าบทนิยม) โดยเมื่อดูความหมายและนำมาเปรียบเทียบแล้วก็จะพบว่า ตัวผมเองในฐานะสื่อมวลชนตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ไม่เคยรับราชการ ไม่เคยเป็น ส.ส. ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี และแทบจะไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เจ้านายเลยนั้นน่าจะเข้าข่ายของการเป็น “ไพร่” มากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คุณวีระ คุณจตุพร และคุณณัฐวุฒิ เสียอีก
ยังไม่ต้องพูดถึงคนอย่าง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี หรือพนักงานเอเอสทีวี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็น “สื่ออำมาตย์” ก็เป็นสื่อมวลชนมาเกือบทั้งชีวิต เป็นนักธุรกิจ เป็นพนักงานของบริษัทเอกชน และไม่เข้าเกณฑ์ของการได้รับพิจารณาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ ยศถาบรรดาศักดิ์ของทางราชการใดๆ แม้สักนิด ก็ดูจะเข้าข่ายความเป็น “ไพร่” มากกว่า แกนนำเสื้อแดง และคนเสื้อแดงหลายคนที่ประกาศว่าตัวเองเป็นข้าราชการเสื้อแดงเสียอีก
ในความเป็นจริง การหยิบยกเอาประเด็นของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และปัญหาของการกระจายรายได้ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่คนเสื้อแดงมักจะหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้งขึ้นมาบิดเบือนให้เป็นเรื่อง “การต่อสู้ทางชนชั้นและอุดมการณ์ทางระบอบการปกครองที่แตกต่าง” นั้นก็ถือเป็นความสามานย์ประการหนึ่ง
การที่ พ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำเสื้อแดง หยิบยกเรื่องเทปลับ เทปตัดต่อเสียง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขึ้นมาผลิตซ้ำ ดัดแปลงให้เป็นวาทกรรมแห่งการทำลายล้าง เพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างความวุ่นวายทางบ้านเมืองแล้ว ก็ยิ่งถือเป็นความชั่วร้ายที่ยากจะให้อภัย
ด้วยเหตุนี้เอง ความพยายามของแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะ “สามเกลอ” ในการจัดหมวดหมู่ให้ศัตรูเป็น “อำมาตย์” และวางสถานะให้ตัวเองเป็น “ไพร่” นั้น ผมคิดว่า ความหมายของคำว่า “ไพร่” ของพวกเขาไม่น่าจะใช่ “ความเป็นชาวเมือง หรือความเป็นพลเมืองสามัญ” แต่น่าจะเป็น “ความหมายสุดท้าย” ของคำว่า “ไพร่” ตามพจนานุกรม พ.ศ. 2542 หน้าที่ 807 มากกว่า
ไพร่แดง ไพร่เสื้อแดง เลือดไพร่ ชนชั้นไพร่ แกนนำไพร่ ไพร่ตาดำๆ …
ในช่วงหลายวันมานี้ ด้วยความรับผิดชอบทางหน้าที่การงาน ทำให้ผมต้องเกาะติดหน้าจอโทรทัศน์เสื้อแดง ตั้งแต่เช้าจรดดึก เช้ามาก็ฟัง “หมอแคน” อดิศร เพียงเกษ สบถคำพูดหยาบคาย สายก็ฟัง วิสา คัญทัพ-ไพจิตร อักษรณรงค์ ออกมาปราศรัยและร้องเพลงปลุกใจคนเสื้อแดงให้โค่นรัฐบาลอำมาตย์ พอตกค่ำก็ดูลีลาปราศรัยของ “สามเกลอ” วีระ มุสิกพงศ์ จตุพร พรหมพันธุ์ ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ กับ “มหาไพร่” ทักษิณ ชินวัตร วิดีโอลิงก์มาปลุกขวัญกำลังใจคนเสื้อแดง
ยอมรับกันอย่างตรงไปตรงมา ตลอดตั้งแต่เช้าจรดเย็นผมก็นับไม่ถูกว่าแก้วหูของผมนั้นต้องถูกสั่นสะเทือนด้วยคำว่า “อำมาตย์” คำว่า “ไพร่” กี่ครั้งกี่ครา
พ.ศ. 2553 วาทกรรม “อำมาตย์-ไพร่-ทาส” กลับกลายมาเป็นประเด็นในสังคมไทยอีกครั้ง หลังจากคนเสื้อแดงพยายามปลุกปั่นให้คนในสังคมรู้สึกว่า ณ วันนี้ ประเทศไทยนั้นกลายเป็นประเทศที่มีชนชั้น มีความเหลื่อมล้ำต่ำสูง ราวกับประเทศนี้ย้อนยุคไปในสมัยศักดินาเมื่อสักร้อยปีก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อได้เห็นคนอย่าง ม.ล.ณัฏฐกรณ์ เทวกุล ออกมาส่งเสียงเย้วๆ เชียร์คนเสื้อแดงทางช่องวอยซ์ทีวีและดีสเตชั่น, เห็นท่านผู้หญิงวิระยา ชวกุล กระโดดขึ้นเวทีที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ, เห็น ส.ส.พรรคเพื่อไทย เรียงหน้ากันมาสละเลือดไพร่เพื่อเอาไปเทรอบทำเนียบฯ-พรรคประชาธิปัตย์-บ้านพักนายกฯ และนึกได้ว่าแม้แต่ “มหาไพร่” อย่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เคยมีภรรยาที่มียศถาบรรดาศักดิ์สูงถึงระดับ “คุณหญิง” ก็ทำให้ผมต้องคิดทบทวนอีกครั้งว่า จริงๆ แล้ว คำจำกัดความว่า “อำมาตย์” ของคนเสื้อแดงนั้นหมายความว่าอย่างไรกันแน่
ตามหลักวิชาการ เมื่อเราเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 เราจะพบความหมายของคำว่า อำมาตย์ ในหน้าที่ 1372 ดังนี้
อำมาตย-, อำมาตย์ น. ข้าราชการ, ข้าเฝ้า; ที่ปรึกษา; แผลงมาจาก อมาตย์.
ซึ่งหากพิจารณาความหมายของคำว่า “อำมาตย์” ตามหลักภาษาแล้วจะเห็นได้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ที่เคยเป็นถึงอดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 23, ท่านผู้หญิงวิระยาที่มักอวดตัวว่าเคยรับใช้เบื้องพระยุคลบาทมานับครั้งไม่ถ้วน หรือแม้แต่แกนนำคนเสื้อแดงอย่าง นายวีระ มุสิกพงศ์ อดีตรัฐมนตรีและ ส.ส. หลายสมัย, นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ อดีตโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายจตุพร พรหมพันธุ์ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ส.ส.พรรคเพื่อไทยก็ถือเป็นข้าราชการการเมือง และเข้าข่ายของการเป็น “อำมาตย์” ด้วยกันทั้งสิ้น มิพักต้องพูดถึง “หม่อมปลื้ม” ม.ล.ณัฏฐกรณ์ ที่สืบทอดเชื้อสายของราชวงศ์จักรีมาโดยตรง
ด้วยเหตุนี้ การที่กลุ่มคนเสื้อแดงตีกรอบของคำว่า “อำมาตย์” ไว้เพียงแค่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ กับคณะองคมนตรีรวม 19 คน จึงไม่น่าจะถูกต้องและเป็นธรรมนัก อีกทั้งเมื่อพิจารณาให้ลึกลงไปแล้วก็จะพบว่า แกนนำคนเสื้อแดงได้ใช้มาตรฐานส่วนบุคคล และอารมณ์ความรู้สึกในการจัดกลุ่มว่าใครเป็นอำมาตย์ ใครเป็นสมุนอำมาตย์ ใครเป็นเครือข่ายธุรกิจของอำมาตย์ ตามอำเภอใจอย่างเห็นได้ชัด
ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา แกนนำคนเสื้อแดงได้ปรักปรำและปลุกปั่นว่า ธนาคารกรุงเทพ เครือซีพี หรือบริษัทในกลุ่มเบียร์ช้าง เป็นเครือข่ายธุรกิจของอำมาตย์ ทั้งๆ ที่ในสมัยที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และแก๊ง 3 เกลอ เป็นใหญ่ในบ้านนี้เมืองนี้ก็ คบหาสมาคมมีปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายธุรกิจเหล่านี้มาตลอด
ยกตัวอย่างเช่น นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (2546) และอุตสาหกรรม (2546-2548) ในสมัย พ.ต.ท.ทักษิณเป็นนายกรัฐมนตรี ก็เป็นที่ทราบกันดีในสังคมว่า นายวัฒนานั้นเป็นบุตรเขยของตระกูลเจียรวนนท์ เจ้าของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เพราะนายวัฒนาตบแต่งไปกับ นางพัชรา (เจียรวนนท์) เมืองสุข
ผมจำได้ว่า สมัยนั้นแม้จะมีสื่อมวลชนจำนวนไม่น้อยออกมาทักท้วงว่า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ แบ่งให้โควตากลุ่มทุนพรรคไทยรักไทยเข้ามาเป็นรัฐมนตรี โดยไม่สนใจหัวอกประชาชนและความเหมาะสม แต่ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ยังไม่ใส่ใจ เพราะฉะนั้น ณ วันนี้ เหตุใดพวกท่านจึงปรักปรำว่ากลุ่มทุนเหล่านี้เป็นสมุนของอำมาตย์ และเป็นศัตรูของประชาชนเล่า?
เมื่อกลับมาพลิกพจนานุกรมฉบับเดิม เพื่อดูความหมายของคำว่า “ไพร่” ในทางภาษาศาสตร์บ้างก็ได้พบคำตอบดังนี้
ไพร่ (โบ) น. ชาวเมือง, พลเมืองสามัญ; คนเลว.
จากความหมายในพจนานุกรมข้างต้น ชี้ให้เห็นว่า คำว่า “ไพร่” นั้นเป็นคำนาม เป็นคำโบราณ (ตามคำย่อในวงเล็บหน้าบทนิยม) โดยเมื่อดูความหมายและนำมาเปรียบเทียบแล้วก็จะพบว่า ตัวผมเองในฐานะสื่อมวลชนตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ไม่เคยรับราชการ ไม่เคยเป็น ส.ส. ไม่เคยเป็นรัฐมนตรี และแทบจะไม่มีโอกาสได้เข้าเฝ้าฯ เจ้านายเลยนั้นน่าจะเข้าข่ายของการเป็น “ไพร่” มากกว่า พ.ต.ท.ทักษิณ คุณวีระ คุณจตุพร และคุณณัฐวุฒิ เสียอีก
ยังไม่ต้องพูดถึงคนอย่าง คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี หรือพนักงานเอเอสทีวี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็น “สื่ออำมาตย์” ก็เป็นสื่อมวลชนมาเกือบทั้งชีวิต เป็นนักธุรกิจ เป็นพนักงานของบริษัทเอกชน และไม่เข้าเกณฑ์ของการได้รับพิจารณาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรือ ยศถาบรรดาศักดิ์ของทางราชการใดๆ แม้สักนิด ก็ดูจะเข้าข่ายความเป็น “ไพร่” มากกว่า แกนนำเสื้อแดง และคนเสื้อแดงหลายคนที่ประกาศว่าตัวเองเป็นข้าราชการเสื้อแดงเสียอีก
ในความเป็นจริง การหยิบยกเอาประเด็นของความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความเหลื่อมล้ำทางสังคม และปัญหาของการกระจายรายได้ซึ่งปัจจุบันเกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง สหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือประเทศมหาอำนาจอย่างจีนที่คนเสื้อแดงมักจะหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้งขึ้นมาบิดเบือนให้เป็นเรื่อง “การต่อสู้ทางชนชั้นและอุดมการณ์ทางระบอบการปกครองที่แตกต่าง” นั้นก็ถือเป็นความสามานย์ประการหนึ่ง
การที่ พ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำเสื้อแดง หยิบยกเรื่องเทปลับ เทปตัดต่อเสียง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีขึ้นมาผลิตซ้ำ ดัดแปลงให้เป็นวาทกรรมแห่งการทำลายล้าง เพื่อจุดมุ่งหมายในการสร้างความวุ่นวายทางบ้านเมืองแล้ว ก็ยิ่งถือเป็นความชั่วร้ายที่ยากจะให้อภัย
ด้วยเหตุนี้เอง ความพยายามของแกนนำคนเสื้อแดงโดยเฉพาะ “สามเกลอ” ในการจัดหมวดหมู่ให้ศัตรูเป็น “อำมาตย์” และวางสถานะให้ตัวเองเป็น “ไพร่” นั้น ผมคิดว่า ความหมายของคำว่า “ไพร่” ของพวกเขาไม่น่าจะใช่ “ความเป็นชาวเมือง หรือความเป็นพลเมืองสามัญ” แต่น่าจะเป็น “ความหมายสุดท้าย” ของคำว่า “ไพร่” ตามพจนานุกรม พ.ศ. 2542 หน้าที่ 807 มากกว่า