แม้คำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะออกมาแล้ว แต่ก็ชัดเจนว่าคุณทักษิณ ชินวัตรไม่หยุดต่อสู้แน่นอน ล่าสุดก็หยิบยกเอาโคลงของศรีปราชญ์มากล่าวเสมือนแช่งชักหักกระดูก และบอกว่าตนไม่ผิด ถ้าผิดขอให้ตายในสามวันเจ็ดวัน โดยก่อนหน้านี้ก็พูดออกมาหลายครั้งเหลือเกินว่าจะตามหาความยุติธรรมจนเจอ ไม่ว่าในนรกหรือบนสวรรค์
ในบรรดาทวิตเตอร์นับร้อยของอดีตนายกฯไร้แผ่นดินคนนี้ ผมสะกิดใจข้อความเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ก่อนวันพิพากษา 2 วัน
“หลักมีอยู่ว่า don’t ask for mercy from your enemy ผมเพียงหาทางลงให้ทุกฝ่าย เพื่อบ้านเมืองจะได้สงบ แต่ถ้าเขาไม่สน the show must go on....”
ไม่รู้ว่าคำว่า “เขา” ในประโยคนี้ คุณทักษิณจงใจจะให้หมายถึงใครเป็นพิเศษ ?
หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ในวันรุ่งขึ้นแปลคำ mercy ว่า “เมตตา” ทำให้ผมย้อนนึกถึงคำพูดอันโด่งดังของคุณทักษิณเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ที่ว่า
“แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่จะทรงเมตตา หรือพลังของพี่น้องประชาชนเท่านั้น”
จริง ๆ แล้วคำ mercy ที่ถูกจะต้องแปลว่า “กรุณา” พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ก็ว่าไว้อย่างนั้น
คำ “mercy – กรุณา” ทำให้นึกถึงพระราชนิพนธ์แปล “เวนิสวานิช” ของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ซึ่งเคยเป็นบทอาขนานในชั้นมัธยมศึกษา เคยเขียนแนะตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 ให้คุณทักษิณกลับไปหาอ่านให้ได้ ไม่ว่าจะฉบับพระราชนิพนธ์แปล หรือต้นฉบับ The Merchants of Venice ของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ เพราะในเนื้อหานั้นนอกจากจะเกี่ยวกับความกรุณาและพระบารมีแล้ว ยังตบท้ายไว้ด้วยเรื่องความยุติธรรมที่คุณทักษิณดิ้นรนจะตามล่าไปถึงนรกถึงสวรรค์ด้วย
“อันว่าความกรุณาปรานี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน :
เป็นสิ่งดีสองชั้น ; พลันปลื้มใจ
แก่ผู้ให้และผู้รับสมถวิล :
ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์
เรืองจรัสยิ่งมงกุฎสุดสง่า ;
พระแสงทรงดำรงซึ่งอาชญา
เหนือประชาพสกนิกร,
ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์
ที่สถิตอานุภาพ ;
แต่การุณยธรรมสุนทร
งามงอนกว่าพระแสงอันแรงฤทธิ์
เสถียรในหฤทัยพระราชา,
เป็นคุณค่าของเทวาผู้มหิทธิ์ ;
และราชาเทียมเทพอมฤต
ยามบพิตรเผยแพร่พระกรุณา,
ทั้งหมดนี้ ท่านที่ทราบเนื้อเรื่องดีก็คงทราบว่าเป็นคำพูดของนางปอร์เชียขณะว่าความในศาลเพื่อแก้คดีให้อันโตนิโยให้รอดชีวิตจากสัญญาหฤโหดของยิวไชล็อก ที่ให้บัสสานิโยกู้เงินจำนวน 3 พันเหรียญโดยไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ให้ทำสัญญากัน โดยมีพยานรู้เห็น ว่าหากไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ตามเงื่อนไข จะขอเชือดเนื้อหนัก 1 ปอนด์จากส่วนไหนของร่างกายก็ได้ของอันโตนิโย เพื่อนรักของบัสสานิโยผู้เป็นคู่แค้นของตน เป็นการชำระหนี้แทน ปอร์เชียได้ซักถามไชล็อกกับอันโตนิโยเกี่ยวกับสัญญาเป็นเบื้องต้น เห็นว่ากฎหมายเวนิสมิได้ห้ามการทำสัญญาแบบนี้ อันโตนิโยจึงตกในที่เสียเปรียบ จึงขอให้ไชล็อกกรุณา แต่ไม่เป็นผล ไชล็อกบอกว่าจะบังคับตนด้วยเหตุผลใด นางกล่าวหว่านล้อมอย่างคมคายด้วยความตามบทพระราชนิพนธ์ข้างต้น และเตือนไชล็อก ว่าอย่าได้อ้างแต่ความยุติธรรมตามสัญญา....
“ฉะนั้นยิว, แม้อ้างยุติธรรม
จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า
ในกระแสแห่งยุติธรรมา
ยากจะหาความเกษมเปรมใจ :”
ปอร์เชียขออ่านสัญญา แล้วเสนอชำระหนี้ ให้ 3 เท่า เมื่อไชล็อกไม่ยอม นางจึงให้เตรียมการแล่เนื้อริมหัวใจตามที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์ในสัญญา นางบอกให้ไชล็อกเตรียมหมอมารอไว้ เพื่อช่วยแก้ไขเมื่อเลือดไหลไม่หยุด !
แต่ไชล็อกแย้งว่า -- ไม่มีในสัญญา จะเตรียมหมอทำไม ?
ปอร์เชียบอกว่า ในสัญญามิได้ระบุว่ายอมให้มีเลือดติดเนื้อไปด้วย ให้แต่เนื้อหนัก 1 ปอนด์เท่านั้น หากเนื้อนั้นมีเลือดติดไปแม้แต่นิดเดียว กฎหมายเวนิสบอกว่า ต้องริบทรัพย์ผู้แล่เนื้อเป็นของหลวงทันที ไชล็อกตกใจด้วยมิได้คาดคิดถึงประเด็นนี้ รีบกลับคำขอรับชำระหนี้เป็นเงิน
ปอร์เชียห้ามบัสสานิโยมิให้มอบเงินแก่ไชล็อก โดยยืนยันให้ไชล็อกได้ “ความยุติธรรม” ตาม “สัญญา” ที่ร้องขอ !
คือให้แล่เนื้อไม่ติดเลือดให้ได้น้ำหนัก 1 ปอนด์พอดี ไม่ขาดไม่เกิน หากตาชั่งเอียงไปข้างใดแม้เพียงน้ำหนักเท่าเส้นผม -- ไชล็อกจะต้องถูกประหารชีวิต และริบสมบัติทั้งหมด!!
แม้จะเป็นเรื่องแต่ง แต่ก็มีความคมคายและได้แง่คิดเป็นคติสอนใจ
สอนใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
สำหรับผม ก็อยากจะตั้งคำถามกับคุณทักษิณด้วยความเคารพในฐานะเพื่อนร่วมชาติคนหนึ่ง
ท่านเฝ้าวอนหาความกรุณา และความยุติธรรม ให้กับตัวเองคนเดียวมากเกินไป ?
โดยลืมที่จะถามตัวท่านเองว่าได้ให้ความกรุณาและความยุติธรรมกับพี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติของท่านในองค์รวมแค่ไหน ??
กับการที่จับความสงบสุขของมาตุภูมิเป็นตัวประกันเช่นที่ผ่านมา !!
หยุดเถอะครับ ยุติเถิด
ไม่ต้องไปตามหาความยุติธรรมในนรกหรือบนสวรรค์หรอก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ความยุติธรรมแก่ท่านแล้ว และให้ความยุติธรรมแก่พี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติของท่านในองค์รวมด้วยเช่นกัน
“ฉะนั้นยิว, แม้อ้างยุติธรรม
จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า
ในกระแสแห่งยุติธรรมา
ยากจะหาความเกษมเปรมใจ :”
ในบรรดาทวิตเตอร์นับร้อยของอดีตนายกฯไร้แผ่นดินคนนี้ ผมสะกิดใจข้อความเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ก่อนวันพิพากษา 2 วัน
“หลักมีอยู่ว่า don’t ask for mercy from your enemy ผมเพียงหาทางลงให้ทุกฝ่าย เพื่อบ้านเมืองจะได้สงบ แต่ถ้าเขาไม่สน the show must go on....”
ไม่รู้ว่าคำว่า “เขา” ในประโยคนี้ คุณทักษิณจงใจจะให้หมายถึงใครเป็นพิเศษ ?
หนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ในวันรุ่งขึ้นแปลคำ mercy ว่า “เมตตา” ทำให้ผมย้อนนึกถึงคำพูดอันโด่งดังของคุณทักษิณเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 ที่ว่า
“แน่นอน ไม่มีใครเอาผมกลับประเทศไทยได้ นอกจากพระบารมีที่จะทรงเมตตา หรือพลังของพี่น้องประชาชนเท่านั้น”
จริง ๆ แล้วคำ mercy ที่ถูกจะต้องแปลว่า “กรุณา” พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรมของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ก็ว่าไว้อย่างนั้น
คำ “mercy – กรุณา” ทำให้นึกถึงพระราชนิพนธ์แปล “เวนิสวานิช” ของล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 ซึ่งเคยเป็นบทอาขนานในชั้นมัธยมศึกษา เคยเขียนแนะตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 ให้คุณทักษิณกลับไปหาอ่านให้ได้ ไม่ว่าจะฉบับพระราชนิพนธ์แปล หรือต้นฉบับ The Merchants of Venice ของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ เพราะในเนื้อหานั้นนอกจากจะเกี่ยวกับความกรุณาและพระบารมีแล้ว ยังตบท้ายไว้ด้วยเรื่องความยุติธรรมที่คุณทักษิณดิ้นรนจะตามล่าไปถึงนรกถึงสวรรค์ด้วย
“อันว่าความกรุณาปรานี
จะมีใครบังคับก็หาไม่
หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ
จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน :
เป็นสิ่งดีสองชั้น ; พลันปลื้มใจ
แก่ผู้ให้และผู้รับสมถวิล :
ประดุจทรงวราภรณ์สุนทรสวัสดิ์
เรืองจรัสยิ่งมงกุฎสุดสง่า ;
พระแสงทรงดำรงซึ่งอาชญา
เหนือประชาพสกนิกร,
ประดับพระวรเดชวิเศษฤทธิ์
ที่สถิตอานุภาพ ;
แต่การุณยธรรมสุนทร
งามงอนกว่าพระแสงอันแรงฤทธิ์
เสถียรในหฤทัยพระราชา,
เป็นคุณค่าของเทวาผู้มหิทธิ์ ;
และราชาเทียมเทพอมฤต
ยามบพิตรเผยแพร่พระกรุณา,
ทั้งหมดนี้ ท่านที่ทราบเนื้อเรื่องดีก็คงทราบว่าเป็นคำพูดของนางปอร์เชียขณะว่าความในศาลเพื่อแก้คดีให้อันโตนิโยให้รอดชีวิตจากสัญญาหฤโหดของยิวไชล็อก ที่ให้บัสสานิโยกู้เงินจำนวน 3 พันเหรียญโดยไม่คิดดอกเบี้ยเงินกู้ แต่ให้ทำสัญญากัน โดยมีพยานรู้เห็น ว่าหากไม่สามารถชำระเงินกู้ได้ตามเงื่อนไข จะขอเชือดเนื้อหนัก 1 ปอนด์จากส่วนไหนของร่างกายก็ได้ของอันโตนิโย เพื่อนรักของบัสสานิโยผู้เป็นคู่แค้นของตน เป็นการชำระหนี้แทน ปอร์เชียได้ซักถามไชล็อกกับอันโตนิโยเกี่ยวกับสัญญาเป็นเบื้องต้น เห็นว่ากฎหมายเวนิสมิได้ห้ามการทำสัญญาแบบนี้ อันโตนิโยจึงตกในที่เสียเปรียบ จึงขอให้ไชล็อกกรุณา แต่ไม่เป็นผล ไชล็อกบอกว่าจะบังคับตนด้วยเหตุผลใด นางกล่าวหว่านล้อมอย่างคมคายด้วยความตามบทพระราชนิพนธ์ข้างต้น และเตือนไชล็อก ว่าอย่าได้อ้างแต่ความยุติธรรมตามสัญญา....
“ฉะนั้นยิว, แม้อ้างยุติธรรม
จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า
ในกระแสแห่งยุติธรรมา
ยากจะหาความเกษมเปรมใจ :”
ปอร์เชียขออ่านสัญญา แล้วเสนอชำระหนี้ ให้ 3 เท่า เมื่อไชล็อกไม่ยอม นางจึงให้เตรียมการแล่เนื้อริมหัวใจตามที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์ในสัญญา นางบอกให้ไชล็อกเตรียมหมอมารอไว้ เพื่อช่วยแก้ไขเมื่อเลือดไหลไม่หยุด !
แต่ไชล็อกแย้งว่า -- ไม่มีในสัญญา จะเตรียมหมอทำไม ?
ปอร์เชียบอกว่า ในสัญญามิได้ระบุว่ายอมให้มีเลือดติดเนื้อไปด้วย ให้แต่เนื้อหนัก 1 ปอนด์เท่านั้น หากเนื้อนั้นมีเลือดติดไปแม้แต่นิดเดียว กฎหมายเวนิสบอกว่า ต้องริบทรัพย์ผู้แล่เนื้อเป็นของหลวงทันที ไชล็อกตกใจด้วยมิได้คาดคิดถึงประเด็นนี้ รีบกลับคำขอรับชำระหนี้เป็นเงิน
ปอร์เชียห้ามบัสสานิโยมิให้มอบเงินแก่ไชล็อก โดยยืนยันให้ไชล็อกได้ “ความยุติธรรม” ตาม “สัญญา” ที่ร้องขอ !
คือให้แล่เนื้อไม่ติดเลือดให้ได้น้ำหนัก 1 ปอนด์พอดี ไม่ขาดไม่เกิน หากตาชั่งเอียงไปข้างใดแม้เพียงน้ำหนักเท่าเส้นผม -- ไชล็อกจะต้องถูกประหารชีวิต และริบสมบัติทั้งหมด!!
แม้จะเป็นเรื่องแต่ง แต่ก็มีความคมคายและได้แง่คิดเป็นคติสอนใจ
สอนใจอย่างไร ขึ้นอยู่กับแต่ละคน
สำหรับผม ก็อยากจะตั้งคำถามกับคุณทักษิณด้วยความเคารพในฐานะเพื่อนร่วมชาติคนหนึ่ง
ท่านเฝ้าวอนหาความกรุณา และความยุติธรรม ให้กับตัวเองคนเดียวมากเกินไป ?
โดยลืมที่จะถามตัวท่านเองว่าได้ให้ความกรุณาและความยุติธรรมกับพี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติของท่านในองค์รวมแค่ไหน ??
กับการที่จับความสงบสุขของมาตุภูมิเป็นตัวประกันเช่นที่ผ่านมา !!
หยุดเถอะครับ ยุติเถิด
ไม่ต้องไปตามหาความยุติธรรมในนรกหรือบนสวรรค์หรอก ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ความยุติธรรมแก่ท่านแล้ว และให้ความยุติธรรมแก่พี่น้องประชาชนเพื่อนร่วมชาติของท่านในองค์รวมด้วยเช่นกัน
“ฉะนั้นยิว, แม้อ้างยุติธรรม
จงกำหนดจดจำไว้ด้วยว่า
ในกระแสแห่งยุติธรรมา
ยากจะหาความเกษมเปรมใจ :”