ก่อนหน้านี้ เคยเป็นที่ถกเถียงกันมากว่า เมื่อรัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเปิดเสรี โดยใช้กลไกการเจรจาจัดทำข้อตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) กับประเทศต่างๆ มาเป็นหัวหอกในการเปิดตลาดให้กับสินค้าและบริการของไทย แล้วผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปิดเสรี ไม่ว่าจะเกิดกับเกษตรกรไทย ผู้ประกอบการของไทย อุตสาหกรรมของไทย ใครจะเป็นผู้เข้ามาดูแล
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 กระทรวงพาณิชย์ได้แก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดทำโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือเรียกสั้นๆ ว่า กองทุนเอฟทีเอ ขึ้นมา เพื่อใช้ในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พ.ค.2550 และมอบให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบบริหารกองทุนเอฟทีเอในรูปของคณะกรรมการ
การดำเนินการบริหารจัดการกองทุนเอฟทีเอนับจากวันที่ครม. ได้มีมติให้จัดตั้ง มาจนถึงวันนี้ ได้ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว แม้จะได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการในแต่ละปีไม่มากนัก แต่กองทุนเอฟทีเอก็สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีไปแล้วรวมทั้งสิ้น 18 โครงการ วงเงินให้ความช่วยเหลือรวม 139 ล้านบาท
ในจำนวนนี้ เป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติความช่วยเหลือและดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในปี 2550-51 จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 45.29 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเครื่องหนังไทย สินค้าปลาป่น สินค้าส้ม สินค้าโคเนื้อ 2 โครงการ สินค้าปลาน้ำจืด สินค้ายา 2 โครงการ
และปี 2552 อนุมัติความช่วยเหลือและอยู่ระหว่างดำเนินโครงการจำนวน 9 โครงการ วงเงิน 93.71 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าสมุนไพร สินค้าชา สินค้าปลาป่น สินค้าลิ้นจี่ สินค้าส้ม สินค้าโคเนื้อ สินค้ายา การบริการอาหาร และอาหารโคนม
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ความช่วยเหลือของกองทุนเอฟทีเอ สามารถทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเอสามารถปรับตัว และรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าได้ ซึ่งขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการที่กองทุนเอฟทีเอเข้าไปช่วยเหลือ สามารถทำธุรกิจ อยู่รอดได้ และไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลกระทบอีกต่อไป
ทั้งนี้ การดำเนินการของกองทุนเอฟทีเอยังไม่จบเพียงแค่นี้ กรมฯ ในฐานะที่ดูแลบริหารจัดการกองทุนฯ ยังได้เสนอให้คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติความช่วยเหลือแก่โครงการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มเติมอีก 3 โครงการ ได้แก่ สินค้านมโคสด 100% บริการโลจิสติกส์ และบริการท่องเที่ยว รวมแล้ววงเงิน 25.31 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าต่างๆ ที่ได้เสนอขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเออีก 6 โครงการ ได้แก่ สินค้าสับปะรด สินค้ากาแฟอราบิก้า สินค้าผ้าไหม สินค้าไวน์ สินค้าข้าวอินทรีย์ และสินค้าข้าวกล้อง
จะเห็นได้ว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีโครงการหลากหลายที่เสนอขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอ และยังจะเปิดรับการเสนอโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลืออีกต่อไป ซึ่งคงมีหลายคนสงสัยว่าหากต้องการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอต้องทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง แล้วจะได้รับความช่วยเหลือจริงหรือไม่
เงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สิ่งแรกที่ต้องรู้ คือ มีผลกระทบจากการเปิดเสรีจริงหรือไม่ โดยประเมินได้จากสินค้า/บริการ ประเภทเดียวกัน มีปริมาณนำเข้ามาจากต่างประเทศหลังจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ หรือมีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะได้รับผลกระทบ ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้ามีแนวโน้มลดลง การจ้างงานลดลง และมีผลการศึกษาระบุว่าภาคการผลิตหรือภาคบริการนั้นๆ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี
หากเข้าเงื่อนไขที่ว่า ก็สามารถจัดทำโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอได้ทันที โดยสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีในการขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ 1.ชื่อโครงการ 2.ผู้เสนอโครงการ 3.เสนอผ่านสถาบัน (ให้ระบุสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง) 4.เหตุผล ความจำเป็นในการเสนอโครงการ
5.วัตถุประสงค์ของโครงการ 6.ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในสาขา 7.รูปแบบการขอรับความช่วยเหลือ 8.วิธีดำเนินการ 9.วงเงินที่เสนอขอรับความช่วยเหลือ 10.ระยะเวลาการดำเนินการ 11.ผลสัมฤทธิ์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และ 12.ตัวชี้วัดของโครงการ
ผ่านมาแล้ว 3 ปี กองทุนเอฟทีเอสามารถช่วยให้เกษตรกรไทย ผู้ประกอบการไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้จริง เพราะวันนี้ หลายๆ คนอาจจะเริ่มเห็นสินค้าและบริการที่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดไม่มากก็น้อย หรือบางธุรกิจมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
และเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง
ทั้งนี้ หากใครที่คิดว่าตัวเองมีปัญหา หรือได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี แล้วยังหาทางออกไม่เจอ ลองเข้าไปปรึกษากับกองทุนเอฟทีเอดูได้ โดยสามารถค้นหารายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ www.dft.go.th หรืออยากจะสายตรงกับเจ้าหน้าที่ ก็โทรได้ที่ 0-2547-4818 เชื่อว่าทุกปัญหาจะมีทางออกให้อย่างแน่นอน
ย้อนกลับไปเมื่อปี 2550 กระทรวงพาณิชย์ได้แก้ไขปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยเสนอให้มีการจัดทำโครงการช่วยเหลือเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและภาคบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า หรือเรียกสั้นๆ ว่า กองทุนเอฟทีเอ ขึ้นมา เพื่อใช้ในการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 8 พ.ค.2550 และมอบให้กรมการค้าต่างประเทศ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบบริหารกองทุนเอฟทีเอในรูปของคณะกรรมการ
การดำเนินการบริหารจัดการกองทุนเอฟทีเอนับจากวันที่ครม. ได้มีมติให้จัดตั้ง มาจนถึงวันนี้ ได้ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 แล้ว แม้จะได้รับเงินงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการในแต่ละปีไม่มากนัก แต่กองทุนเอฟทีเอก็สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีไปแล้วรวมทั้งสิ้น 18 โครงการ วงเงินให้ความช่วยเหลือรวม 139 ล้านบาท
ในจำนวนนี้ เป็นโครงการที่ได้รับการอนุมัติความช่วยเหลือและดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วในปี 2550-51 จำนวน 9 โครงการ วงเงิน 45.29 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเครื่องหนังไทย สินค้าปลาป่น สินค้าส้ม สินค้าโคเนื้อ 2 โครงการ สินค้าปลาน้ำจืด สินค้ายา 2 โครงการ
และปี 2552 อนุมัติความช่วยเหลือและอยู่ระหว่างดำเนินโครงการจำนวน 9 โครงการ วงเงิน 93.71 ล้านบาท ได้แก่ สินค้าสมุนไพร สินค้าชา สินค้าปลาป่น สินค้าลิ้นจี่ สินค้าส้ม สินค้าโคเนื้อ สินค้ายา การบริการอาหาร และอาหารโคนม
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กล่าวว่า ความช่วยเหลือของกองทุนเอฟทีเอ สามารถทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเอสามารถปรับตัว และรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าได้ ซึ่งขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องในโครงการที่กองทุนเอฟทีเอเข้าไปช่วยเหลือ สามารถทำธุรกิจ อยู่รอดได้ และไม่ต้องกังวลว่าจะมีผลกระทบอีกต่อไป
ทั้งนี้ การดำเนินการของกองทุนเอฟทีเอยังไม่จบเพียงแค่นี้ กรมฯ ในฐานะที่ดูแลบริหารจัดการกองทุนฯ ยังได้เสนอให้คณะกรรมการกองทุนฯ อนุมัติความช่วยเหลือแก่โครงการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าเพิ่มเติมอีก 3 โครงการ ได้แก่ สินค้านมโคสด 100% บริการโลจิสติกส์ และบริการท่องเที่ยว รวมแล้ววงเงิน 25.31 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาโครงการให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในกลุ่มสินค้าต่างๆ ที่ได้เสนอขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเออีก 6 โครงการ ได้แก่ สินค้าสับปะรด สินค้ากาแฟอราบิก้า สินค้าผ้าไหม สินค้าไวน์ สินค้าข้าวอินทรีย์ และสินค้าข้าวกล้อง
จะเห็นได้ว่า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีโครงการหลากหลายที่เสนอขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอ และยังจะเปิดรับการเสนอโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลืออีกต่อไป ซึ่งคงมีหลายคนสงสัยว่าหากต้องการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอต้องทำยังไง มีเงื่อนไขอะไรบ้าง แล้วจะได้รับความช่วยเหลือจริงหรือไม่
เงื่อนไขในการขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอ มีขั้นตอนไม่ยุ่งยาก สิ่งแรกที่ต้องรู้ คือ มีผลกระทบจากการเปิดเสรีจริงหรือไม่ โดยประเมินได้จากสินค้า/บริการ ประเภทเดียวกัน มีปริมาณนำเข้ามาจากต่างประเทศหลังจากการเปิดเสรีเพิ่มขึ้นผิดปกติ และส่งผลกระทบต่อสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศ หรือมีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะได้รับผลกระทบ ส่วนแบ่งการตลาดของสินค้ามีแนวโน้มลดลง การจ้างงานลดลง และมีผลการศึกษาระบุว่าภาคการผลิตหรือภาคบริการนั้นๆ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี
หากเข้าเงื่อนไขที่ว่า ก็สามารถจัดทำโครงการเพื่อขอรับความช่วยเหลือจากกองทุนเอฟทีเอได้ทันที โดยสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีในการขอรับความช่วยเหลือ ได้แก่ 1.ชื่อโครงการ 2.ผู้เสนอโครงการ 3.เสนอผ่านสถาบัน (ให้ระบุสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย หรือสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง) 4.เหตุผล ความจำเป็นในการเสนอโครงการ
5.วัตถุประสงค์ของโครงการ 6.ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในสาขา 7.รูปแบบการขอรับความช่วยเหลือ 8.วิธีดำเนินการ 9.วงเงินที่เสนอขอรับความช่วยเหลือ 10.ระยะเวลาการดำเนินการ 11.ผลสัมฤทธิ์ ผลที่คาดว่าจะได้รับ และ 12.ตัวชี้วัดของโครงการ
ผ่านมาแล้ว 3 ปี กองทุนเอฟทีเอสามารถช่วยให้เกษตรกรไทย ผู้ประกอบการไทย ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี สามารถปรับตัวและอยู่รอดได้จริง เพราะวันนี้ หลายๆ คนอาจจะเริ่มเห็นสินค้าและบริการที่ได้รับความช่วยเหลือจากกองทุนฯ วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดไม่มากก็น้อย หรือบางธุรกิจมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น ถือเป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน
และเกิดขึ้นท่ามกลางการแข่งขันที่รุนแรง
ทั้งนี้ หากใครที่คิดว่าตัวเองมีปัญหา หรือได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรี แล้วยังหาทางออกไม่เจอ ลองเข้าไปปรึกษากับกองทุนเอฟทีเอดูได้ โดยสามารถค้นหารายละเอียดเบื้องต้นได้ที่ www.dft.go.th หรืออยากจะสายตรงกับเจ้าหน้าที่ ก็โทรได้ที่ 0-2547-4818 เชื่อว่าทุกปัญหาจะมีทางออกให้อย่างแน่นอน