ASTVผู้จัดการรายวัน-“พาณิชย์”เผยกองทุนเอฟทีเอได้อนุมัติการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและธุรกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีล่าสุด 18 โครงการ วงเงิน 140 ล้านบาท สำเร็จแล้ว 9 โครงการ ปลาป่น ส้ม โคเนื้อ ปลาน้ำจืด และยา พลิกจากร่อแร่เป็นรุ่งโรจน์ จ่ออนุมัติให้ความช่วยเหลืออีก 7 โครงการ
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุนเอฟทีเอ) ได้มีการอนุมัติการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าจำนวน 18 โครงการ วงเงิน 140 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ มีโครงการที่ได้ดำเนินการสำเร็จและสามารถปรับตัวรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าได้แล้ว 9 โครงการ
“ผลการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเอฟทีเอ สามารถทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเอสามารถปรับตัว และรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าได้ ซึ่งขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการใน 9 โครงการที่กองทุนเอฟทีเอเข้าไปช่วยเหลือ มีศักยภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะแข่งขันกับสินค้านำเข้ารวมทั้งจะก้าวไปสู่การส่งออกได้ในอนาคตอันใกล้ ”นายวิจักรกล่าว
สำหรับ 9 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการเผยแพร่ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าและการคุ้มครองผู้บริโภค เสนอโดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.โครงการศึกษาเพื่อปรับยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบการค้าเสรี เสนอโดยสมาคมเครื่องหนังไทย 3.โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP โรงงานปลาป่นเพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เสนอโดยสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 4.โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มคลัสเตอร์ส้มเชียงใหม่ เพื่อการปรับตัวจากผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า เสนอโดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมส้มในเขตภาคเหนือตอนบน (คลัสเตอร์ส้ม)5.โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ (Beef Competitiveness) เสนอโดยสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพง แสน จำกัด
6.โครงการรณรงค์การบริโภคเนื้อโคและการขยายตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อโคไทย เสนอโดยสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย 7. โครงการนำร่องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาน้ำจืด เสนอโดยสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 8.โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคคลากรในอุตสาหกรรมเพื่อรองรับผลกระทบ AFTA ในข้อตกลงด้าน ASEAN Harmonized Productsของสินค้ายาจากระบบเอกสารการขึ้นทะเบียนยาแบบ ACTD (ASEAN Common Technical Dossier) เสนอโดยสมาคมไทยอุตสหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน 9.โครงการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบจากบันทึกความตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement : MRA) ตามกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน เสนอโดยสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กองทุนเอฟทีเอ มีวงเงินคงเหลือที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอีกประมาณ 75 ล้านบาท โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขอรับความช่วยเหลือ 7 โครงการ ได้แก่ นมโคสดแท้ 100% การท่องเที่ยว สัปปะรด ข้าวกล้องงอก ข้าวอินทรีย์ โลจิสติกส์ และกาแฟ
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทุนเพื่อการปรับตัวของภาคการผลิตและบริการที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (กองทุนเอฟทีเอ) ได้มีการอนุมัติการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรและผู้ประกอบการไทยที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าจำนวน 18 โครงการ วงเงิน 140 ล้านบาท โดยในจำนวนนี้ มีโครงการที่ได้ดำเนินการสำเร็จและสามารถปรับตัวรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าได้แล้ว 9 โครงการ
“ผลการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเอฟทีเอ สามารถทำให้เกษตรกรและผู้ประกอบการที่ขอใช้เงินกองทุนเอฟทีเอสามารถปรับตัว และรับมือกับการเปิดเสรีทางการค้าได้ ซึ่งขณะนี้กลุ่มผู้ประกอบการใน 9 โครงการที่กองทุนเอฟทีเอเข้าไปช่วยเหลือ มีศักยภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นพร้อมที่จะแข่งขันกับสินค้านำเข้ารวมทั้งจะก้าวไปสู่การส่งออกได้ในอนาคตอันใกล้ ”นายวิจักรกล่าว
สำหรับ 9 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการเผยแพร่ความรู้ด้านมาตรฐานสินค้าและการคุ้มครองผู้บริโภค เสนอโดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 2.โครงการศึกษาเพื่อปรับยุทธศาสตร์ของอุตสาหกรรมเครื่องหนังไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้กรอบการค้าเสรี เสนอโดยสมาคมเครื่องหนังไทย 3.โครงการจัดทำระบบประกันคุณภาพ GMP โรงงานปลาป่นเพื่อความปลอดภัยของอาหารสัตว์และเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เสนอโดยสมาคมผู้ผลิตปลาป่นไทย 4.โครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มคลัสเตอร์ส้มเชียงใหม่ เพื่อการปรับตัวจากผลกระทบของการเปิดเสรีทางการค้า เสนอโดยกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมส้มในเขตภาคเหนือตอนบน (คลัสเตอร์ส้ม)5.โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มผู้เลี้ยงโคเนื้อ (Beef Competitiveness) เสนอโดยสหกรณ์โคเนื้อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพง แสน จำกัด
6.โครงการรณรงค์การบริโภคเนื้อโคและการขยายตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อโคไทย เสนอโดยสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย 7. โครงการนำร่องการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมปลาน้ำจืด เสนอโดยสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด 8.โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคคลากรในอุตสาหกรรมเพื่อรองรับผลกระทบ AFTA ในข้อตกลงด้าน ASEAN Harmonized Productsของสินค้ายาจากระบบเอกสารการขึ้นทะเบียนยาแบบ ACTD (ASEAN Common Technical Dossier) เสนอโดยสมาคมไทยอุตสหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน 9.โครงการศึกษาและเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยาเพื่อรองรับผลกระทบจากบันทึกความตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Agreement : MRA) ตามกรอบข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน เสนอโดยสมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กองทุนเอฟทีเอ มีวงเงินคงเหลือที่จะให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอีกประมาณ 75 ล้านบาท โดยมีโครงการที่อยู่ระหว่างการขอรับความช่วยเหลือ 7 โครงการ ได้แก่ นมโคสดแท้ 100% การท่องเที่ยว สัปปะรด ข้าวกล้องงอก ข้าวอินทรีย์ โลจิสติกส์ และกาแฟ