นับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2553 ที่ผ่านมา เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ได้มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์ สินค้าที่ค้าขายภายในอาเซียนกว่า 8,300 รายการ ได้มีการปรับลดภาษีลงมาเหลือ 0% และต้องมีการยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่างๆ จึงเกิดคำถามขึ้นมามากมายว่าไทยพร้อมแค่ไหนในการเปิดเสรี AFTA มาตรการเตรียมความพร้อมของไทยเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการไทยจะได้หรือเสียประโยชน์หรือไม่
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะที่รับผิดชอบการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ AFTA หลายรายการ ได้เปิดโอกาสให้ “ASTVผู้จัดการรายวัน” สัมภาษณ์เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ AFTA และแนวทางการทำงานเพื่อรับมือการเปิดเสรี AFTA ของกรมการค้าต่างประเทศ
นายวิจักรเริ่มต้นการสัมภาษณ์โดยชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศได้เตรียมการรับมือการเปิดเสรี AFTA มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดเสรีสินค้าเกษตรที่คนส่วนใหญ่มีความกังวล และหนึ่งในนั้น ก็คือ ข้าว เพราะข้าวเกี่ยวข้องกับคนเป็นจำนวนมากในประเทศ เริ่มจากเกษตรกร โรงสี พ่อค้า ผู้ส่งออก ซึ่งการดำเนินการ ถือว่าเราทำได้ดี โดยได้มีการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จนมีมาตรการรับมือออกมาในที่สุด
มาตรการที่ทำออกมา ก็คือ การกำหนดให้เฉพาะอุตสาหกรรมเท่านั้นที่สามารถนำเข้าได้ และให้นำเข้าได้เฉพาะปลายข้าว
มีกำหนดช่วงระยะเวลานำเข้า 2 ช่วง คือ เดือนพ.ค.-ก.ค. และเดือนส.ค.-ต.ค. เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวไทยออกมาน้อยที่สุด และยังมีมาตรการกำกับการนำเข้า โดยให้นำเข้าได้เฉพาะด่านที่กำหนด รวมทั้งผู้นำเข้าต้องแจ้งว่าจะนำเข้ามาเท่าไร ใช้ไปเท่าไร และก่อนนำเข้าต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ด้วย เช่น การตรวจสอบโรคพืช การตรวจสอบสารตกค้าง ต้องผ่านมาตรฐาน การตรวจสอบว่าปลอด GMOs และมีใบรับรองว่าเป็นสินค้าของอาเซียน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ส่วนสินค้าเกษตรอื่นๆ ทั้งชา กาแฟ ข้าวโพด เมล็ดถั่วเหลือง และสินค้าพวกนมทั้งหลาย เราเป็นผู้ออกประกาศตามความเห็นของหน่วยงานที่ดูแล ซึ่งมาตรการในการกำกับการนำเข้าก็มีหลากหลาย แต่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีผลกระทบกับไทย หรือหากมีทะลักเข้ามามากๆ เราก็มีมาตรการเซฟการ์ดที่จะใช้ปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้
จากปัญหาที่คนส่วนใหญ่มีความกังวล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความเห็นห่วง และมอบนโยบายให้กรมการค้าต่างประเทศไปจัดตั้งศูนย์ที่ดูแลในเรื่อง AFTA ขึ้นมา ซึ่งหลังจากรับทราบนโยบาย ก็ได้มีการดำเนินการในทันที และได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 ไปแล้วเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2553 ที่ผ่านมา
“ศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 จะเป็นศูนย์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเสรี AFTA ทั้งหมด คนที่อยากรู้เรื่อง AFTA สามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้ หรืออยากจะมาติดต่อที่กรมฯ เลยก็ได้ โดยศูนย์ตั้งอยู่ที่อาคารกรมการค้าต่างประเทศชั้น 4 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พร้อมที่จะให้บริการ”นายวิจักรกล่าว
สำหรับรูปแบบการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 จะปฏิบัติงานในลักษณะของศูนย์เบ็ดเสร็จ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มสายด่วน AFTA (Q&A Unit) จะตอบคำถามและรับฟังปัญหา ข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับ AFTA และการเปิดตลาด
2.กลุ่มติดตามและประเมินสถานการณ์ (Monitoring Unit) ติดตามสถานการณ์การนำเข้า-ส่งออก เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันกับเหตุการณ์
3.กลุ่มให้คำปรึกษาสัญจร (AFTA Mobile Unit) เป็นหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้คำปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.กลุ่มมาตรการช่วยเหลือ (Remedy Unit) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากความตกลง ตลอดจนการเยียวยาผลกระทบและใช้มาตรการช่วยเหลือต่างๆ
นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ AFTA ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลง AFTA การใช้ประโยชน์จาก AFTA การบุกเจาะตลาดอาเซียน สินค้ากลุ่มไหนที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรี หรือมีผลกระทบจากการเปิดเสรี AFTA สามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ที่ AFTA Hotline 1385
นายวิจักรย้ำว่า มาตรการรองรับการเปิดเสรี AFTA ไม่ใช่มีเพียงแค่การเปิดศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 กระทรวงพาณิชย์ยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการกำกับดูแลและป้องกันผลกระทบจากการเปิดเสรี AFTA โดยมีนายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่ในการติดตามปัญหาและหามาตรการแก้ไขอย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ กรมการค้าต่างประเทศ ยังกำหนดจัดสัมมนาใหญ่ประมาณกลางเดือนก.พ.2553 และเดินสายทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลง AFTA ให้มากที่สุด พร้อมติดตามผลและรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
“มาตรการรองรับการเปิดเสรี AFTA ที่กล่าวถึงทั้งหมด เป็นข้อยืนยันได้ว่าภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้ประโยชน์จากการเปิดเสรี AFTA ให้มากที่สุด และมีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปิดเสรี AFTA อย่างทันท่วงที แต่ทั้งนี้ หากใครที่ยังมีข้อสงสัย ก็สามารถหาคำตอบได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 ได้ รวมทั้งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dft.go.th” นายวิจักรกล่าวในที่สุด
นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะที่รับผิดชอบการเปิดตลาดสินค้าภายใต้ AFTA หลายรายการ ได้เปิดโอกาสให้ “ASTVผู้จัดการรายวัน” สัมภาษณ์เพื่อตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับ AFTA และแนวทางการทำงานเพื่อรับมือการเปิดเสรี AFTA ของกรมการค้าต่างประเทศ
นายวิจักรเริ่มต้นการสัมภาษณ์โดยชี้ให้เห็นว่า ที่ผ่านมา กรมการค้าต่างประเทศได้เตรียมการรับมือการเปิดเสรี AFTA มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเตรียมความพร้อมรับมือการเปิดเสรีสินค้าเกษตรที่คนส่วนใหญ่มีความกังวล และหนึ่งในนั้น ก็คือ ข้าว เพราะข้าวเกี่ยวข้องกับคนเป็นจำนวนมากในประเทศ เริ่มจากเกษตรกร โรงสี พ่อค้า ผู้ส่งออก ซึ่งการดำเนินการ ถือว่าเราทำได้ดี โดยได้มีการเปิดเวทีสาธารณะรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จนมีมาตรการรับมือออกมาในที่สุด
มาตรการที่ทำออกมา ก็คือ การกำหนดให้เฉพาะอุตสาหกรรมเท่านั้นที่สามารถนำเข้าได้ และให้นำเข้าได้เฉพาะปลายข้าว
มีกำหนดช่วงระยะเวลานำเข้า 2 ช่วง คือ เดือนพ.ค.-ก.ค. และเดือนส.ค.-ต.ค. เพราะเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวไทยออกมาน้อยที่สุด และยังมีมาตรการกำกับการนำเข้า โดยให้นำเข้าได้เฉพาะด่านที่กำหนด รวมทั้งผู้นำเข้าต้องแจ้งว่าจะนำเข้ามาเท่าไร ใช้ไปเท่าไร และก่อนนำเข้าต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ด้วย เช่น การตรวจสอบโรคพืช การตรวจสอบสารตกค้าง ต้องผ่านมาตรฐาน การตรวจสอบว่าปลอด GMOs และมีใบรับรองว่าเป็นสินค้าของอาเซียน ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเสนอให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา
ส่วนสินค้าเกษตรอื่นๆ ทั้งชา กาแฟ ข้าวโพด เมล็ดถั่วเหลือง และสินค้าพวกนมทั้งหลาย เราเป็นผู้ออกประกาศตามความเห็นของหน่วยงานที่ดูแล ซึ่งมาตรการในการกำกับการนำเข้าก็มีหลากหลาย แต่มั่นใจได้ว่าจะไม่มีผลกระทบกับไทย หรือหากมีทะลักเข้ามามากๆ เราก็มีมาตรการเซฟการ์ดที่จะใช้ปกป้องการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นได้
จากปัญหาที่คนส่วนใหญ่มีความกังวล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้แสดงความเห็นห่วง และมอบนโยบายให้กรมการค้าต่างประเทศไปจัดตั้งศูนย์ที่ดูแลในเรื่อง AFTA ขึ้นมา ซึ่งหลังจากรับทราบนโยบาย ก็ได้มีการดำเนินการในทันที และได้เปิดตัวศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 ไปแล้วเมื่อวันที่ 8 ม.ค.2553 ที่ผ่านมา
“ศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 จะเป็นศูนย์ที่ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการเปิดเสรี AFTA ทั้งหมด คนที่อยากรู้เรื่อง AFTA สามารถโทรเข้ามาปรึกษาได้ หรืออยากจะมาติดต่อที่กรมฯ เลยก็ได้ โดยศูนย์ตั้งอยู่ที่อาคารกรมการค้าต่างประเทศชั้น 4 ซึ่งมีเจ้าหน้าที่พร้อมที่จะให้บริการ”นายวิจักรกล่าว
สำหรับรูปแบบการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 จะปฏิบัติงานในลักษณะของศูนย์เบ็ดเสร็จ โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มสายด่วน AFTA (Q&A Unit) จะตอบคำถามและรับฟังปัญหา ข้อกังวลที่เกี่ยวข้องกับ AFTA และการเปิดตลาด
2.กลุ่มติดตามและประเมินสถานการณ์ (Monitoring Unit) ติดตามสถานการณ์การนำเข้า-ส่งออก เพื่อแก้ไขปัญหาได้ทันกับเหตุการณ์
3.กลุ่มให้คำปรึกษาสัญจร (AFTA Mobile Unit) เป็นหน่วยเคลื่อนที่ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและให้คำปรึกษากับผู้ที่เกี่ยวข้อง
4.กลุ่มมาตรการช่วยเหลือ (Remedy Unit) ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากความตกลง ตลอดจนการเยียวยาผลกระทบและใช้มาตรการช่วยเหลือต่างๆ
นั่นหมายความว่า ผู้ประกอบการที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับ AFTA ไม่ว่าจะเป็นข้อตกลง AFTA การใช้ประโยชน์จาก AFTA การบุกเจาะตลาดอาเซียน สินค้ากลุ่มไหนที่จะได้ประโยชน์จากการเปิดเสรี หรือมีผลกระทบจากการเปิดเสรี AFTA สามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาได้ที่ AFTA Hotline 1385
นายวิจักรย้ำว่า มาตรการรองรับการเปิดเสรี AFTA ไม่ใช่มีเพียงแค่การเปิดศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 กระทรวงพาณิชย์ยังได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการกำกับดูแลและป้องกันผลกระทบจากการเปิดเสรี AFTA โดยมีนายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ซึ่งจะเข้ามาทำหน้าที่ในการติดตามปัญหาและหามาตรการแก้ไขอย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ กรมการค้าต่างประเทศ ยังกำหนดจัดสัมมนาใหญ่ประมาณกลางเดือนก.พ.2553 และเดินสายทั่วประเทศ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลง AFTA ให้มากที่สุด พร้อมติดตามผลและรับฟังความเห็นของประชาชนอย่างต่อเนื่อง
“มาตรการรองรับการเปิดเสรี AFTA ที่กล่าวถึงทั้งหมด เป็นข้อยืนยันได้ว่าภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจ และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือและผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้ประโยชน์จากการเปิดเสรี AFTA ให้มากที่สุด และมีความพร้อมที่จะรับมือกับการเปิดเสรี AFTA อย่างทันท่วงที แต่ทั้งนี้ หากใครที่ยังมีข้อสงสัย ก็สามารถหาคำตอบได้ที่ศูนย์ปฏิบัติการ AFTA Hotline 1385 ได้ รวมทั้งสามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.dft.go.th” นายวิจักรกล่าวในที่สุด