นครปฐม - พาณิชย์นครปฐม คาด การค้าไทยกับอาเซียนขยายตัวหลังภาษีลดลงเป็น 0% แนะผู้ประกอบการเร่งใช้ประโยชน์
นายมรกต คงทน ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม ในฐานะโฆษกจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ตนได้รับแจ้งจากนายวิฑูร สุขพูล พาณิชย์จังหวัดนครปฐม ว่า การที่อาเซียนได้บรรลุผลการเปิดเสรีการค้าสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 โดยภาษีสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์) ได้ลดเป็น 0% หมดทุกรายการ
ส่วนสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม หรือที่เรียกว่า CLMV) จะลดภาษีช้ากว่า กล่าวคือภาษีสินค้าทั้งหมดอยู่ที่ 0-5% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 และจะลดเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2558 การลดภาษีดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลดีต่อการค้าของไทยกับอาเซียนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี จากเดิมที่มีอัตราโดยเฉลี่ย 20% การลดภาษีดังกล่าวนับเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยที่จะทำการค้ากับอาเซียน
เนื่องจากอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรถึงกว่า 580 ล้านคน จึงควรเร่งการใช้สิทธิประโยชน์ให้มากขึ้นทั้งในด้านการส่งออก ซึ่งไทยจะสามารถส่งออกสินค้าที่ได้แหล่งกำเนิดสินค้าของไทยไปยังตลาดอาเซียนด้วยอัตราภาษี 0% สร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์
ด้านการนำเข้า จะทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการใช้วัตถุดิบมากขึ้น สามารถเลือกหาแหล่งนำเข้าจากอาเซียนด้วยต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง ก่อให้เกิดการขยายตัวภาคการผลิตเกิดการจ้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยสินค้าของไทยที่มีศักยภาพในตลาดอาเซียนมีหลายกลุ่ม ได้แก่ สินค้าเกษตร
อาทิ ข้าว น้ำตาล เป็นต้น สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยางพาราแท่ง/ยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อาหารสำเร็จรูป(อาหารกระป๋อง)
ทั้งนี้ ในส่วนของสินค้าที่ยังมีความกังวลกันอยู่โดยเฉพาะสาขาเกษตร ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวยาวนานกว่าด้านอุตสาหกรรม ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการกำหนดหลายมาตรการเพื่อเตรียมพร้อม ได้แก่การบริหารการนำเข้า จัดตั้งระบบติดตามตรวจสอบการนนำเข้า กำหนดการใช้มาตรกาด้านคุณภาพต่างๆ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
นอกจากนี้ หากเกิดการทะลักของสินค้าเข้า ไทยสามารถใช้มาตรการปกป้อง (safeguard measure) โดยการขึ้นภาษีหรือกำหนดปริมาณการนำเข้าได้ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สายด่วน 0-2507-7555 หรือข้อมูลด้านการใช้สิทธิประโยชน์ มาตรการรองรับและการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัว ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ สายด่วน 1385
นายมรกต คงทน ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครปฐม ในฐานะโฆษกจังหวัดนครปฐม เปิดเผยว่า ตนได้รับแจ้งจากนายวิฑูร สุขพูล พาณิชย์จังหวัดนครปฐม ว่า การที่อาเซียนได้บรรลุผลการเปิดเสรีการค้าสินค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) แล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 โดยภาษีสินค้าของประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์) ได้ลดเป็น 0% หมดทุกรายการ
ส่วนสมาชิกอาเซียนใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม หรือที่เรียกว่า CLMV) จะลดภาษีช้ากว่า กล่าวคือภาษีสินค้าทั้งหมดอยู่ที่ 0-5% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 และจะลดเป็น 0% ทั้งหมดในปี 2558 การลดภาษีดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลดีต่อการค้าของไทยกับอาเซียนที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 25% ต่อปี จากเดิมที่มีอัตราโดยเฉลี่ย 20% การลดภาษีดังกล่าวนับเป็นโอกาสสำคัญของธุรกิจ ผู้ประกอบการไทยที่จะทำการค้ากับอาเซียน
เนื่องจากอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ที่มีประชากรถึงกว่า 580 ล้านคน จึงควรเร่งการใช้สิทธิประโยชน์ให้มากขึ้นทั้งในด้านการส่งออก ซึ่งไทยจะสามารถส่งออกสินค้าที่ได้แหล่งกำเนิดสินค้าของไทยไปยังตลาดอาเซียนด้วยอัตราภาษี 0% สร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าประเทศที่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์
ด้านการนำเข้า จะทำให้ผู้ประกอบการมีทางเลือกในการใช้วัตถุดิบมากขึ้น สามารถเลือกหาแหล่งนำเข้าจากอาเซียนด้วยต้นทุนวัตถุดิบที่ต่ำลง ก่อให้เกิดการขยายตัวภาคการผลิตเกิดการจ้างงานและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจของไทยสินค้าของไทยที่มีศักยภาพในตลาดอาเซียนมีหลายกลุ่ม ได้แก่ สินค้าเกษตร
อาทิ ข้าว น้ำตาล เป็นต้น สินค้าอุตสาหกรรม อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนยางพาราแท่ง/ยางแผ่นรมควัน ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ อาหารสำเร็จรูป(อาหารกระป๋อง)
ทั้งนี้ ในส่วนของสินค้าที่ยังมีความกังวลกันอยู่โดยเฉพาะสาขาเกษตร ซึ่งต้องใช้เวลาในการปรับตัวยาวนานกว่าด้านอุตสาหกรรม ภาครัฐไม่ได้นิ่งนอนใจได้มีการกำหนดหลายมาตรการเพื่อเตรียมพร้อม ได้แก่การบริหารการนำเข้า จัดตั้งระบบติดตามตรวจสอบการนนำเข้า กำหนดการใช้มาตรกาด้านคุณภาพต่างๆ เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค
นอกจากนี้ หากเกิดการทะลักของสินค้าเข้า ไทยสามารถใช้มาตรการปกป้อง (safeguard measure) โดยการขึ้นภาษีหรือกำหนดปริมาณการนำเข้าได้ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ สายด่วน 0-2507-7555 หรือข้อมูลด้านการใช้สิทธิประโยชน์ มาตรการรองรับและการให้ความช่วยเหลือเพื่อการปรับตัว ได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ สายด่วน 1385