xs
xsm
sm
md
lg

ไทยเจอภัยแล้ง36จว. แม่น้ำโขงแห้งขอด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

ASTVผู้จัดการรายวัน- สถานการณ์ภัยแล้งในปี้ส่อรุนแรงเกินคาด ล่าสุดมหาไทยายงานลุกลาม 36 จังหวัด ส่วนวิกฤตแม่น้ำโขงแห้งขอดยังหาทางออกไม่ได้ ! “มาร์ค” เรียกร้องจีนจัดถกวิชาการ ปูทางสู่ การบริหารจัดการน้ำ ลุ่มน้ำโขง ฐานะจีนผู้ที่มีบทบาทสูงในการพัฒนาในอนุภูมิภาคนี้


นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัย แล้งว่า ขณะนี้ มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 36 จังหวัด 277 อำเภอ 1,874 ตำบล 13,975 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,931,713 คน 1,029,811 ครัวเรือน คาดว่าพื้นที่การเกษตร จะได้รับความเสียหาย รวม 118,414 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 114,327 ไร่ นาข้าว 3,431 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 656 ไร่ แยกเป็น ภาคเหนือ 13 จังหวัดได้แก่ รวม 120 อำเภอ 768 ตำบล 5,310 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,095,820 คน 367,961 ครัวเรือน

นายอนุชา กล่าวว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง6 จังหวัด 93 อำเภอ 734 ตำบล 6,525 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,868,746 คน 444,100 ครัวเรือน ภาคกลาง 9 จังหวัด รวม 25 อำเภอ 146 ตำบล 902 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 201,356 คน 68,869 ครัวเรือน

ภาคตะวันออก 4 จังหวัด รวม 22 อำเภอ 135 ตำบล 792 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 646,452 คน 114,393 ครัวเรือน ภาคใต้ 4 จังหวัด รวม 17 อำเภอ 91 ตำบล 446 หมู่บ้าน ราษฎร เดือดร้อน 110,339 คน 34,488 ครัวเรือน และเมื่อเปรียบเทียบกับภัยแล้งในช่วงเดียวกันของปี 52 กับ เพิ่มขึ้น จำนวน 7 จังหวัด 49 อำเภอ 709 ตำบล 4,743 หมู่บ้าน หรือมีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัย แล้งเพิ่มขึ้น 51.38 %

สำหรับการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ได้จัด ตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2553 ส่วนกลาง ณ กรมป้องกันและ บรรเทาสาธารณภัย พร้อมประสานให้จังหวัด จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯในลักษณะเดียวกับ ส่วนกลางทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือผู้ ประสบภัยแล้งอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ในเบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ 348 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยแล้งไป แล้วจำนวน 46,758,650 ลิตร ซ่อมสร้างทำนบ ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 2,559 แห่ง ขุดลอก แหล่งน้ำ 479 แห่ง สุดท้ายนี้หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความ ช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

ไทยพร้อมจัดเวทีแก้วิกฤต “ น้ำโขง”

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังจากนายหู เจิ้งเยว่ (Mr. Hu Zhengyue) ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนเข้าเยี่ยมคารวะวานนี้ (8 มี.ค.)ว่า ได้มี การหารือเกี่ยวกับเรื่องปริมาณน้ำในแม่น้ำโขง และทางจีนได้ยืนยันว่า จีนก็ประสบปัญหาภัยแล้ง เพราะปริมาณฝนที่ตกน้อยที่สุด ในรอบหลายสิบปี

"ตนได้เสนอจีนว่า จะสามารถทำให้ทุกฝ่ายสบายใจด้วยการเปิดเผยตัวเลขปริมาณน้ำ ในแต่ละช่วงทั้งที่สูงและต่ำรวมถึงปริมาณน้ำที่ปล่อยลงมา และเชิญชวนว่าให้มีการประชุมกัน ระหว่างประเทศในกลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมด โดยจะเป็นการประชุมเชิงวิชาการก่อน หากคิดว่ายังไม่ เหมาะในระดับนโยบาย เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันและประเทศไทยเองก็ยินดีที่จะเป็นเจ้าภาพ ในการจัดการประชุม เพราะมีหลายเวทีที่สามารถจัดการประชุมได้ ” นายกฯกล่าว

และว่า ในการประชุมระดับปลัดกระทรวงของวานนี้ ทางนายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ยืนยันว่า ปัญหาปริมาณน้ำฝนทั้งในประเทศจีนและลาว มีผลอย่างมาก ต่อระดับน้ำ และพิจารณาจากตัวเลขที่มีการใช้ระดับน้ำจากจีนลงมานั้น จะมีฝนประมาณ 10กว่า% และจากลาวประมาณ30 กว่า%

เมื่อถามว่าเป็นผลมาจากการสร้างเขื่อนในจีน นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าไม่ได้มีผลมาจากการสร้างเขื่อน เอาจากที่อยู่ในลาวเองที่ไม่ต้องลงไปในแม่น้ำ แต่อย่างไรก็ตามตนได้บอกไปกับจีนว่า จะเกิดเหตุจาก สิ่งใดก็ตาม แต่ถ้าจีนช่วยได้ ในแง่การบริหารน้ำ และปล่อยน้ำมา ก็จะช่วยได้

เมื่อถามว่าผวจ.เชียงราย เองได้ทำหนังสือแจ้งไปยังผู้ว่าการมณฑลที่อยู่ใกล้เคียงให้ทราบเกี่ยวกับ เรื่องน้ำแล้วจะ ได้ คำปฏิเสธที่จะระบายน้ำมานั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเข้าใจว่าการตัดสินใจใน เรื่องแบบนี้ คงจะต้องมาจาก ส่วนบนหรือระดับสูงเท่านั้น แต่วันนี้ก็ได้แจ้งในเรื่องนี้ไปกับผช.รัฐมนตรี ที่เดินทางมาพบตนแล้ว

ด้านนายหู เจิ้งเยว่ กล่าวว่า รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของจีน ถือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเป็น ภารกิจสำคัญ และการสร้างเขื่อนในประเทศจีนนั้น เป็นตามหลักการที่จะไม่ให้เกิดผลกระทบต่อ ประเทศปลายน้ำ และปริมาณน้ำ ในแม่น้ำลานช้างมีสัดส่วนเพียง 13% ของปริมาณน้ำในน้ำโขง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่คณะกรรมการลุ่มน้ำ โขงได้มีการประสานกันอย่างต่อเนื่อง และจีนจะไม่ยอม เสียผลประโยชน์ร่วมกันในอนุภูมิภาคนี้ด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น