กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว 36 จังหวัด กว่า 1 ล้านครัวเรือนได้รับความเดือดร้อน พื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายกว่า 1.1 แสนไร่ โดยส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ภาคเหนือ 13 จังหวัด และมีสถิติสูงขึ้นกว่าปี 52
วันนี้ (8 มี.ค.) นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยถึง สถานการณ์ภัยแล้งว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 36 จังหวัด 277 อำเภอ 1,874 ตำบล 13,975 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,931,713 คน 1,029,811 ครัวเรือน คาดว่าพื้นที่การเกษตรจะได้รับความเสียหาย รวม 118,414 ไร่ แยกเป็นพืชไร่ 114,327 ไร่ นาข้าว 3,431 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 656 ไร่ แยกเป็น ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย ตาก น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พิจิตร เชียงใหม่ รวม 120 อำเภอ 768 ตำบล 5,310 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,095,820 คน 367,961 ครัวเรือน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ รวม 93 อำเภอ 734 ตำบล 6,525 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,868,746 คน 444,100 ครัวเรือน
ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชัยนาท ลพบุรี นครปฐม นครนายก รวม 25 อำเภอ 146 ตำบล 902 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 201,356 คน 68,869 ครัวเรือน
ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และปราจีนบุรี รวม 22 อำเภอ 135 ตำบล 792 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 646,452 คน 114,393 ครัวเรือน
ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล และระนอง รวม 17 อำเภอ 91 ตำบล 446 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 110,339 คน 34,488 ครัวเรือน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้งรวม 29 จังหวัด 228 อำเภอ 1,165 ตำบล 9,232 หมู่บ้าน พื้นที่ประสบภัยแล้งปี 2553 มากกว่าปี 2552 จำนวน 7 จังหวัด 49 อำเภอ 709 ตำบล 4,743 หมู่บ้าน หรือมีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.38
นายอนุชากล่าวอีกว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาภัยแล้งและช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2553 ส่วนกลาง ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมประสานให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ในลักษณะเดียวกับส่วนกลางทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ในเบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ 348 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยแล้งไปแล้วจำนวน 46,758,650 ลิตร ซ่อมสร้างทำนบ ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 2,559 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 479 แห่ง สุดท้ายนี้ ขอให้ประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผน การใช้น้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรควรปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย และวางแผนการเพาะปลูกพืช ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการน้ำที่จังหวัดกำหนด สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป
วันนี้ (8 มี.ค.) นายอนุชา โมกขะเวส อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยถึง สถานการณ์ภัยแล้งว่า ขณะนี้มีพื้นที่ประสบภัยแล้ง รวม 36 จังหวัด 277 อำเภอ 1,874 ตำบล 13,975 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 3,931,713 คน 1,029,811 ครัวเรือน คาดว่าพื้นที่การเกษตรจะได้รับความเสียหาย รวม 118,414 ไร่ แยกเป็นพืชไร่ 114,327 ไร่ นาข้าว 3,431 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 656 ไร่ แยกเป็น ภาคเหนือ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย ตาก น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ พิจิตร เชียงใหม่ รวม 120 อำเภอ 768 ตำบล 5,310 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,095,820 คน 367,961 ครัวเรือน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เลย หนองบัวลำภู ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานี บุรีรัมย์ รวม 93 อำเภอ 734 ตำบล 6,525 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 1,868,746 คน 444,100 ครัวเรือน
ภาคกลาง 9 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ชัยนาท ลพบุรี นครปฐม นครนายก รวม 25 อำเภอ 146 ตำบล 902 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 201,356 คน 68,869 ครัวเรือน
ภาคตะวันออก 4 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี และปราจีนบุรี รวม 22 อำเภอ 135 ตำบล 792 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 646,452 คน 114,393 ครัวเรือน
ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล และระนอง รวม 17 อำเภอ 91 ตำบล 446 หมู่บ้าน ราษฎรเดือดร้อน 110,339 คน 34,488 ครัวเรือน เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2552 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้งรวม 29 จังหวัด 228 อำเภอ 1,165 ตำบล 9,232 หมู่บ้าน พื้นที่ประสบภัยแล้งปี 2553 มากกว่าปี 2552 จำนวน 7 จังหวัด 49 อำเภอ 709 ตำบล 4,743 หมู่บ้าน หรือมีจำนวนหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้นร้อยละ 51.38
นายอนุชากล่าวอีกว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาภัยแล้งและช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2553 ส่วนกลาง ณ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พร้อมประสานให้จังหวัดจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ในลักษณะเดียวกับส่วนกลางทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และท้องถิ่น เพื่อบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว ในเบื้องต้นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ 348 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยแล้งไปแล้วจำนวน 46,758,650 ลิตร ซ่อมสร้างทำนบ ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 2,559 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 479 แห่ง สุดท้ายนี้ ขอให้ประชาชนร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัด และวางแผน การใช้น้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรควรปลูกพืชอายุสั้นที่ใช้น้ำน้อย และวางแผนการเพาะปลูกพืช ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารจัดการน้ำที่จังหวัดกำหนด สุดท้ายนี้ หากประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานและให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป