หลังการตัดสินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว จำนวน 4.6 หมื่นล้านบาทโดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 อาฟเตอร์ช็อกทางการเมืองก็เกิดขึ้นตามมาเป็นระลอก ไม่ว่าจะกรณีการปาระเบิดธนาคารกรุงเทพและสาขาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลจำนวน 4 สาขา, การปาอุจจาระเข้าใส่ที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์, ความพยายามล่ารายชื่อของกลุ่มคนเสื้อแดงเพื่อถอดถอนองค์คณะผู้พิพากษาคดียึดทรัพย์ทั้ง 9 คน ฯลฯ
อาจกล่าวได้ว่า ความวุ่นวายและความเสียหายที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง หลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์ จริงๆ แล้วเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reaction) ที่แสดงให้เห็นถึงความหวาดหวั่นต่ออนาคตตัวเองของคนในระบอบทักษิณ
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดังกล่าวเป็นเพียงแต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่อีกมุมหนึ่งสิ่งที่คนในระบอบทักษิณหวาดกลัวยิ่งกว่าก็คือ การสูญเสียหลักการและเหตุผลในการอรรถาธิบายเพื่อหาความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวต่อสู้โค่นล้มระบอบเดิม โดยชูสัญลักษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณขึ้นเป็นผู้นำของระบอบใหม่
… การสูญเสียหลักการและเหตุผลนี้เองเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่า เพราะคำตัดสินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ของศาลฎีกา โดยเนื้อแท้แล้วนัยสำคัญของมันมิได้อยู่ที่ตัวเลข 4.6 หมื่นล้านบาท แต่อยู่ที่สาระสำคัญของคำพิพากษาที่ศาลใช้เวลาอ่านยาวนานกว่า 7 ชั่วโมง โดยระบุถึงพฤติกรรมในการฉ้อราษฎร์บังหลวงผ่านวิธีการคอร์รัปชันเชิงนโยบายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสรุปได้ว่าเป็นพฤติกรรมการ “ปล้นชาติ” ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นในช่วงหลายวันที่ผ่านมา หลังคำตัดสินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณเอง แกนนำ นปช. รวมถึงสื่อของคนเสื้อแดงและสื่อแนวร่วม แทบจะไม่สามารถหาเหตุผลเชิงประจักษ์ขึ้นมาคัดง้างกับเหตุผลของศาลฎีกาได้ โดยมีเพียงแต่คำโต้แย้ง-ด่าทอ เดิมๆ ที่สามารถถูกหักล้างได้โดยง่าย ยกอย่างเช่น การหมิ่นศาลด้วยการระบุว่าการตัดสินของศาลตกอยู่ภายใต้อำนาจของคณะปฏิวัติ, ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ ราคาหุ้นชินคอร์ป ขึ้น-ลง ตามแนวโน้มของตลาด, พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นนายกฯ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนั้นตัวเลขที่ศาลตัดสินให้ยึดจึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง, ถ้าศาลตัดสินว่า นายพานทองแท้และน.ส.พินทองทา เป็นนอมินีถือหุ้นชินฯ ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว รัฐโดยกรมสรรพากรก็ไม่มีสิทธิไปเก็บภาษี 1.4 หมื่นล้านบาท กับลูกๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีก ฯลฯ
เมื่อพิจารณาคำโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ออกมาจากปาก พ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำ นปช. เหล่านี้แล้วก็เห็นได้ชัดว่า ในส่วนแกนของการต่อสู้ ผู้นำของคนเสื้อแดงนั้นเกิดความความสับสนเป็นอย่างมาก เพราะการพูดมากก็สุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นศาลหรือด่านายตัวเอง ส่วนการพูดน้อยหรือไม่พูดเลยก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องดำเนินการปลุกระดมมวลชนให้เตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวใหญ่
อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาแห่งความสับสนของกลุ่มคนเสื้อแดง พวกเขากลับเชิดชูบทสัมภาษณ์ชิ้นหนึ่งว่า วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองได้อย่างตรงใจ นั่นคือ บทสัมภาษณ์ในนสพ.มติชนรายวันของ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทสัมภาษณ์พิเศษของ อ.เกษียร ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยกองบรรณาธิการมติชนรายวันเลือกที่จะหยิบคำพูดท่อนหนึ่งขึ้นมาเป็นไฮไลต์ของบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า “...อย่าใช้รัฐประหารแก้คอร์รัปชัน เมื่อใดใช้รัฐประหารแก้คอร์รัปชันมันจะทำลายความชอบธรรมของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด นี่เป็นราคาที่แพงมากๆ...”
จากการไฮไลต์บทสัมภาษณ์ของมติชนเช่นนี้ส่งผลให้ “สื่อใต้ปีก” ของเสื้อแดงหลายหัวนำบทสัมภาษณ์ของ อ.เกษียรไปขยายความต่อไม่ว่าจะเป็น ไทยอีนิวส์ วอยซ์ทีวี เป็นต้น เพราะบทสัมภาษณ์ชิ้นดังกล่าวของ อ.เกษียร หลายตอนไปสนับสนุน หลักการและเหตุผลในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ยกตัวอย่างเช่น อ.เกษียร เห็นว่าการปฏิวัติ 19 ก.ย. 2549 มีจุดประสงค์หลักเพื่อการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และ พ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะมีความคิดล้มล้างสถาบันฯ
“คปค.มีนัยความหมายเคลียร์ตั้งแต่ต้นว่า การรัฐประหารครั้งนี้ทำให้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถูกปฏิรูปให้ปลอดภัยสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ปลอดภัยภายใต้ระบอบทักษิณ แต่คำว่าไม่ปลอดภัยไม่ได้แปลว่าจะมีใครไปคิดล้มล้าง หรือล้มเลิก แม้แต่คุณทักษิณเอง ก็คงไม่คิดไปไกลขนาดนั้น แต่จะทำอย่างไรให้อำนาจนำ (Hegemony) หมายถึงความสามารถที่จะนำทั้งประเทศ สังคม และการเมือง มุ่งไปในทิศทางเดียวกันได้ อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะภายใต้การนำของคุณทักษิณ อำนาจการนำ มันย้ายจากส่วนเดิมไปสู่คุณทักษิณ พรรคไทยรักไทย และเครือข่ายที่แวดล้อม ส่วนนี้คือเดิมพัน (เน้นเสียง) ดังนั้น จึงต้องปฏิรูปเสียใหม่ เพื่อให้อำนาจนำอยู่ที่เดิม ซึ่งหมายถึงต้องทำลายอำนาจของคุณทักษิณ โดยทุบลงไปยังฐานอำนาจสำคัญของทักษิณ 2 อย่างคือ 1.ทุน 2.พรรค ...”
หรือคำให้สัมภาษณ์ในเชิงไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านของครอบครัวชินวัตร และแสดงความเห็นอกเห็นใจกับวิธีการทำมาหากินของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย อ.เกษียร ระบุว่า
“ ...หัวใจของทุนนิยม คือกรรมสิทธิ์ แต่คำตัดสินวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ได้พาดเข้าไปกลางหัวใจทุนนิยม กล่าวคือ เมื่อถึงจุดหนึ่ง รัฐสามารถเข้าไปยึดทรัพย์สินของเอกชนได้ เหมือนเชือดไก่ให้ลิงดู จะทำให้ไม่มีกลุ่มทุนใหญ่ที่ไหนกล้าอีก เพราะได้เห็นตัวอย่างแล้วว่า โอ้โห!...ทำมาหากินแทบเป็นแทบตาย แต่แป๊บเดียวโดนยึดเป็นหมื่นล้าน ...”
ทั้งๆ ที่ในข้อเท็จจริงแล้ว อ.เกษียร ก็รู้ดีว่า ประเด็นเรื่องการยึดทรัพย์ฯ ครั้งนี้นั้นมิได้เกิดขึ้นจากความต้องการทำลายระบอบทุนนิยม หรือความต้องการจะยึดทรัพย์สินเอกชนโดยรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่อย่างใด แต่มีจุดเริ่มต้นมาจากการคอร์รัปชันครั้งมโหฬาร ยาวนานหลายปีของ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคพวกเอง
รวมไปถึง คำให้สัมภาษณ์ของ อ.เกษียร ที่ระบุว่า กระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซงโดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพันธมิตรฯ
“การบิดเบือนหลักนิติธรรมด้วยอิทธิพลจนทำให้ตำรวจไม่กล้าสืบหรือสืบนานมาก (ลากเสียง) ทั้งๆ ที่ยึดสนามบินสุวรรณภูมิ (กลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบิน) เป็นปีแล้ว อัยการไม่ฟ้องโดยอ้างว่าไม่มีเจตนา ตรงนี้นี่แหละคือที่มาคำกล่าวหาเรื่องสองมาตรฐาน ...”
ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว คดีต่างๆ ของพันธมิตรฯ นั้นเดินตามไปขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม เช่น คดียึดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรฯ ปลายปี 2551 นั้นอัยการมิได้สั่งไม่ฟ้อง (เหมือนกับกรณี ซุกหุ้นเอสซี แอสเซทของครอบครัวชินวัตร) เพียงแต่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้สรุปคดีส่งอัยการ, คดี บ.การบินไทย ฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายพันธมิตรฯ 500 กว่าล้านบาท ศาลก็รับไว้พิจารณาแล้ว, คดีพันธมิตรฯ ยึดทำเนียบฯ ปี 2551 ก็อยู่ในชั้นอัยการ ฯลฯ
ในทางตรงกันข้าม คดีฝั่งระบอบทักษิณ เช่น คดีนายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวปาฐกถาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2550 เรื่องกลับคาอยู่ในชั้นอัยการมาเกือบ 2 ปีแล้ว และยังไม่ถูกส่งฟ้องโดยใช้ข้ออ้างว่าอยู่ในขั้นตอนการแปลเอกสาร, คดีบุกบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่ 22 กรกฎาคม 2550 เรื่องก็เพิ่งขึ้นถึงชั้นศาลเมื่อต้นปี 2553 ที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุไปแล้ว 2 ปีครึ่ง ฯลฯ
เพราะฉะนั้น การที่ อ.เกษียร ให้สัมภาษณ์โดยละเลยการติดตามรายละเอียดของข่าวสารข้อเท็จจริงเช่นนี้ จึงไม่น่าจะเป็นครรลองปฏิบัติของนักรัฐศาสตร์ระดับ รศ.ดร. และนักวิชาการคนแรกๆ ที่ออกมาต่อต้านระบอบอาญาสิทธิ์ทุนนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (Elected Capitalist Absolutism) ของรัฐบาลทักษิณ รวมถึงการเป็นผู้ที่ตั้งฉายาให้ “ระบอบปล้นชาติโดย พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทย” ว่า “ระบอบทักษิณ” ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงบริบทโดยรวมของบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้แล้ว ผมก็เชื่อว่า อ.เกษียร มีความมุ่งหวังที่ดีต่อกระบวนการยุติธรรม ระบอบการปกครองและสังคมไทยในภาพรวม เพียงแต่บางครั้งความปากไวของอาจารย์ก็ถูกคนบางกลุ่ม-สื่อบางสำนักหยิบฉวยไปใช้เป็นประเด็นเพื่อหวังผลบางประการ
อ่านเพิ่มเติม : บทสัมภาษณ์พิเศษ เกษียร เตชะพีระ วิกฤตหลัง 26 กุมภาฯ จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์
อาจกล่าวได้ว่า ความวุ่นวายและความเสียหายที่เกิดขึ้นในบ้านเมือง หลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์ จริงๆ แล้วเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (Reaction) ที่แสดงให้เห็นถึงความหวาดหวั่นต่ออนาคตตัวเองของคนในระบอบทักษิณ
อย่างไรก็ตาม ปฏิกิริยาสะท้อนกลับดังกล่าวเป็นเพียงแต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในเชิงกายภาพเท่านั้น แต่อีกมุมหนึ่งสิ่งที่คนในระบอบทักษิณหวาดกลัวยิ่งกว่าก็คือ การสูญเสียหลักการและเหตุผลในการอรรถาธิบายเพื่อหาความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวต่อสู้โค่นล้มระบอบเดิม โดยชูสัญลักษณ์ พ.ต.ท.ทักษิณขึ้นเป็นผู้นำของระบอบใหม่
… การสูญเสียหลักการและเหตุผลนี้เองเป็นสิ่งที่น่ากลัวกว่า เพราะคำตัดสินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ของศาลฎีกา โดยเนื้อแท้แล้วนัยสำคัญของมันมิได้อยู่ที่ตัวเลข 4.6 หมื่นล้านบาท แต่อยู่ที่สาระสำคัญของคำพิพากษาที่ศาลใช้เวลาอ่านยาวนานกว่า 7 ชั่วโมง โดยระบุถึงพฤติกรรมในการฉ้อราษฎร์บังหลวงผ่านวิธีการคอร์รัปชันเชิงนโยบายหลากหลายรูปแบบ ซึ่งสรุปได้ว่าเป็นพฤติกรรมการ “ปล้นชาติ” ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
สิ่งที่ผมสังเกตเห็นในช่วงหลายวันที่ผ่านมา หลังคำตัดสินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณเอง แกนนำ นปช. รวมถึงสื่อของคนเสื้อแดงและสื่อแนวร่วม แทบจะไม่สามารถหาเหตุผลเชิงประจักษ์ขึ้นมาคัดง้างกับเหตุผลของศาลฎีกาได้ โดยมีเพียงแต่คำโต้แย้ง-ด่าทอ เดิมๆ ที่สามารถถูกหักล้างได้โดยง่าย ยกอย่างเช่น การหมิ่นศาลด้วยการระบุว่าการตัดสินของศาลตกอยู่ภายใต้อำนาจของคณะปฏิวัติ, ระหว่างที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกฯ ราคาหุ้นชินคอร์ป ขึ้น-ลง ตามแนวโน้มของตลาด, พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ได้เป็นนายกฯ ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนั้นตัวเลขที่ศาลตัดสินให้ยึดจึงคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง, ถ้าศาลตัดสินว่า นายพานทองแท้และน.ส.พินทองทา เป็นนอมินีถือหุ้นชินฯ ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ แล้ว รัฐโดยกรมสรรพากรก็ไม่มีสิทธิไปเก็บภาษี 1.4 หมื่นล้านบาท กับลูกๆ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ อีก ฯลฯ
เมื่อพิจารณาคำโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่ออกมาจากปาก พ.ต.ท.ทักษิณและแกนนำ นปช. เหล่านี้แล้วก็เห็นได้ชัดว่า ในส่วนแกนของการต่อสู้ ผู้นำของคนเสื้อแดงนั้นเกิดความความสับสนเป็นอย่างมาก เพราะการพูดมากก็สุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นศาลหรือด่านายตัวเอง ส่วนการพูดน้อยหรือไม่พูดเลยก็ไม่สามารถทำได้ เพราะต้องดำเนินการปลุกระดมมวลชนให้เตรียมพร้อมสำหรับการเคลื่อนไหวใหญ่
อย่างไรก็ตาม ในห้วงเวลาแห่งความสับสนของกลุ่มคนเสื้อแดง พวกเขากลับเชิดชูบทสัมภาษณ์ชิ้นหนึ่งว่า วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองได้อย่างตรงใจ นั่นคือ บทสัมภาษณ์ในนสพ.มติชนรายวันของ รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
บทสัมภาษณ์พิเศษของ อ.เกษียร ถูกตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2553 ที่ผ่านมา โดยกองบรรณาธิการมติชนรายวันเลือกที่จะหยิบคำพูดท่อนหนึ่งขึ้นมาเป็นไฮไลต์ของบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้ นั่นคือประโยคที่ว่า “...อย่าใช้รัฐประหารแก้คอร์รัปชัน เมื่อใดใช้รัฐประหารแก้คอร์รัปชันมันจะทำลายความชอบธรรมของกระบวนการยุติธรรมทั้งหมด นี่เป็นราคาที่แพงมากๆ...”
จากการไฮไลต์บทสัมภาษณ์ของมติชนเช่นนี้ส่งผลให้ “สื่อใต้ปีก” ของเสื้อแดงหลายหัวนำบทสัมภาษณ์ของ อ.เกษียรไปขยายความต่อไม่ว่าจะเป็น ไทยอีนิวส์ วอยซ์ทีวี เป็นต้น เพราะบทสัมภาษณ์ชิ้นดังกล่าวของ อ.เกษียร หลายตอนไปสนับสนุน หลักการและเหตุผลในการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ยกตัวอย่างเช่น อ.เกษียร เห็นว่าการปฏิวัติ 19 ก.ย. 2549 มีจุดประสงค์หลักเพื่อการรักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ และ พ.ต.ท.ทักษิณไม่น่าจะมีความคิดล้มล้างสถาบันฯ
“คปค.มีนัยความหมายเคลียร์ตั้งแต่ต้นว่า การรัฐประหารครั้งนี้ทำให้ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถูกปฏิรูปให้ปลอดภัยสำหรับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขไม่ปลอดภัยภายใต้ระบอบทักษิณ แต่คำว่าไม่ปลอดภัยไม่ได้แปลว่าจะมีใครไปคิดล้มล้าง หรือล้มเลิก แม้แต่คุณทักษิณเอง ก็คงไม่คิดไปไกลขนาดนั้น แต่จะทำอย่างไรให้อำนาจนำ (Hegemony) หมายถึงความสามารถที่จะนำทั้งประเทศ สังคม และการเมือง มุ่งไปในทิศทางเดียวกันได้ อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะภายใต้การนำของคุณทักษิณ อำนาจการนำ มันย้ายจากส่วนเดิมไปสู่คุณทักษิณ พรรคไทยรักไทย และเครือข่ายที่แวดล้อม ส่วนนี้คือเดิมพัน (เน้นเสียง) ดังนั้น จึงต้องปฏิรูปเสียใหม่ เพื่อให้อำนาจนำอยู่ที่เดิม ซึ่งหมายถึงต้องทำลายอำนาจของคุณทักษิณ โดยทุบลงไปยังฐานอำนาจสำคัญของทักษิณ 2 อย่างคือ 1.ทุน 2.พรรค ...”
หรือคำให้สัมภาษณ์ในเชิงไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินยึดทรัพย์ 4.6 หมื่นล้านของครอบครัวชินวัตร และแสดงความเห็นอกเห็นใจกับวิธีการทำมาหากินของ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย อ.เกษียร ระบุว่า
“ ...หัวใจของทุนนิยม คือกรรมสิทธิ์ แต่คำตัดสินวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ได้พาดเข้าไปกลางหัวใจทุนนิยม กล่าวคือ เมื่อถึงจุดหนึ่ง รัฐสามารถเข้าไปยึดทรัพย์สินของเอกชนได้ เหมือนเชือดไก่ให้ลิงดู จะทำให้ไม่มีกลุ่มทุนใหญ่ที่ไหนกล้าอีก เพราะได้เห็นตัวอย่างแล้วว่า โอ้โห!...ทำมาหากินแทบเป็นแทบตาย แต่แป๊บเดียวโดนยึดเป็นหมื่นล้าน ...”
ทั้งๆ ที่ในข้อเท็จจริงแล้ว อ.เกษียร ก็รู้ดีว่า ประเด็นเรื่องการยึดทรัพย์ฯ ครั้งนี้นั้นมิได้เกิดขึ้นจากความต้องการทำลายระบอบทุนนิยม หรือความต้องการจะยึดทรัพย์สินเอกชนโดยรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งแต่อย่างใด แต่มีจุดเริ่มต้นมาจากการคอร์รัปชันครั้งมโหฬาร ยาวนานหลายปีของ พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคพวกเอง
รวมไปถึง คำให้สัมภาษณ์ของ อ.เกษียร ที่ระบุว่า กระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซงโดยผู้ที่มีอำนาจเหนือกฎหมาย เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับพันธมิตรฯ
“การบิดเบือนหลักนิติธรรมด้วยอิทธิพลจนทำให้ตำรวจไม่กล้าสืบหรือสืบนานมาก (ลากเสียง) ทั้งๆ ที่ยึดสนามบินสุวรรณภูมิ (กลุ่มพันธมิตรฯ บุกยึดสนามบิน) เป็นปีแล้ว อัยการไม่ฟ้องโดยอ้างว่าไม่มีเจตนา ตรงนี้นี่แหละคือที่มาคำกล่าวหาเรื่องสองมาตรฐาน ...”
ทั้งๆ ที่โดยข้อเท็จจริงแล้ว คดีต่างๆ ของพันธมิตรฯ นั้นเดินตามไปขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม เช่น คดียึดสนามบินสุวรรณภูมิของพันธมิตรฯ ปลายปี 2551 นั้นอัยการมิได้สั่งไม่ฟ้อง (เหมือนกับกรณี ซุกหุ้นเอสซี แอสเซทของครอบครัวชินวัตร) เพียงแต่พนักงานสอบสวนยังไม่ได้สรุปคดีส่งอัยการ, คดี บ.การบินไทย ฟ้องต่อศาลแพ่งเรียกร้องค่าเสียหายพันธมิตรฯ 500 กว่าล้านบาท ศาลก็รับไว้พิจารณาแล้ว, คดีพันธมิตรฯ ยึดทำเนียบฯ ปี 2551 ก็อยู่ในชั้นอัยการ ฯลฯ
ในทางตรงกันข้าม คดีฝั่งระบอบทักษิณ เช่น คดีนายจักรภพ เพ็ญแข กล่าวปาฐกถาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2550 เรื่องกลับคาอยู่ในชั้นอัยการมาเกือบ 2 ปีแล้ว และยังไม่ถูกส่งฟ้องโดยใช้ข้ออ้างว่าอยู่ในขั้นตอนการแปลเอกสาร, คดีบุกบ้าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ตั้งแต่ 22 กรกฎาคม 2550 เรื่องก็เพิ่งขึ้นถึงชั้นศาลเมื่อต้นปี 2553 ที่ผ่านมา หลังจากเกิดเหตุไปแล้ว 2 ปีครึ่ง ฯลฯ
เพราะฉะนั้น การที่ อ.เกษียร ให้สัมภาษณ์โดยละเลยการติดตามรายละเอียดของข่าวสารข้อเท็จจริงเช่นนี้ จึงไม่น่าจะเป็นครรลองปฏิบัติของนักรัฐศาสตร์ระดับ รศ.ดร. และนักวิชาการคนแรกๆ ที่ออกมาต่อต้านระบอบอาญาสิทธิ์ทุนนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (Elected Capitalist Absolutism) ของรัฐบาลทักษิณ รวมถึงการเป็นผู้ที่ตั้งฉายาให้ “ระบอบปล้นชาติโดย พ.ต.ท.ทักษิณและพรรคไทยรักไทย” ว่า “ระบอบทักษิณ” ด้วย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงบริบทโดยรวมของบทสัมภาษณ์ชิ้นนี้แล้ว ผมก็เชื่อว่า อ.เกษียร มีความมุ่งหวังที่ดีต่อกระบวนการยุติธรรม ระบอบการปกครองและสังคมไทยในภาพรวม เพียงแต่บางครั้งความปากไวของอาจารย์ก็ถูกคนบางกลุ่ม-สื่อบางสำนักหยิบฉวยไปใช้เป็นประเด็นเพื่อหวังผลบางประการ
อ่านเพิ่มเติม : บทสัมภาษณ์พิเศษ เกษียร เตชะพีระ วิกฤตหลัง 26 กุมภาฯ จากเว็บไซต์มติชนออนไลน์