ASTVผู้จัดการรายวัน - นายล่องลม บุนนาค ประธานกรรมการ บริษัท โจนส์ แลง ลาซาลล์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า การที่รัฐบาลไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะมีผลกระทบต่อการขยายตัวของตลาดอสังหาริมทรัพย์ไม่มากนัก ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากหมดอายุมาตรการ ผู้ประกอบการ จะมีการใช้ กลยุทธ์จัดการกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป สำหรับโครงการที่อยู่อาศัยบางโครงการ ผู้ประกอบการอาจสามารถผลักภาระจากค่าธรรมเนียมการโอนและภาษีธุรกิจจำเพาะที่เพิ่มขึ้นไปยังผู้ซื้อด้วยการบวกเข้าไปในราคาขาย เพื่อให้สามารถรักษาระดับผลกำไรของโครงการ แต่สำหรับโครงการที่มีการแข่งขันสูง และมีกลุ่มลูกค้าที่มีความอ่อนไหวในเรื่องราคา อาจสามารถปรับราคาขึ้นได้ยาก เพราะจะทำให้การขายโครงการทำได้ยาก
สำหรับผลกระทบที่เห็นในทันทีจากการประกาศไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล คือ จะเร่งให้มีการซื้อและโอนให้เร็วขึ้นในช่วงนี้ ก่อนมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ซึ่งอาจทำให้ดูเหมือนว่า จะมีกิจกรรมการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษในระหว่างที่มีมาตรการนี้อยู่ และจากนั้น ยอดการโอนคาดว่าจะมีปริมาณเบาบางลง แต่ปริมาณการโอนที่เบาบางลงอาจไม่สามารถสรุปได้ว่า เป็นผลมาจากการไม่ต่ออายุมาตรการ แต่เป็นเพราะได้มีการเร่งโอนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า
นอกจากนี้การไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ สิ่งที่ต้องจับตาเพิ่มเติมต่อไปคือ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่ามาตรการกระตุ้นจากภาครัฐฯ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการซื้อ ดังนั้น หากรัฐบาล ยังคงใช้นโยบาย อัตราดอกเบี้ย ต่ำ น่าจะส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่า เพราะทุกๆ เปอร์เซ็นต์ของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น หมายถึงความสามารถในการซื้อที่ลดต่ำลง อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่า อัตราดอกเบี้ยอาจปรับตัวขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากที่แนวโน้มทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น
สำหรับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อภาคอสังหาฯในปีนี้ คือความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งอิงอยู่กับสภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีการปรับการประมาณการตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็น 3.5 ถึง 4.5% แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ปัญหาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองซึ่งหากเกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนหลายๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมา อาจมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้เกิดการชะลอการซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้
สำหรับผลกระทบที่เห็นในทันทีจากการประกาศไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ของรัฐบาล คือ จะเร่งให้มีการซื้อและโอนให้เร็วขึ้นในช่วงนี้ ก่อนมาตรการดังกล่าวจะสิ้นสุดลงในวันที่ 28 มีนาคมนี้ ซึ่งอาจทำให้ดูเหมือนว่า จะมีกิจกรรมการซื้อขายเพิ่มมากขึ้นเป็นพิเศษในระหว่างที่มีมาตรการนี้อยู่ และจากนั้น ยอดการโอนคาดว่าจะมีปริมาณเบาบางลง แต่ปริมาณการโอนที่เบาบางลงอาจไม่สามารถสรุปได้ว่า เป็นผลมาจากการไม่ต่ออายุมาตรการ แต่เป็นเพราะได้มีการเร่งโอนไปแล้วในช่วงก่อนหน้า
นอกจากนี้การไม่ต่ออายุมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ สิ่งที่ต้องจับตาเพิ่มเติมต่อไปคือ ทิศทางของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่จะมีผลต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่ามาตรการกระตุ้นจากภาครัฐฯ ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้มีผลโดยตรงต่อความสามารถในการซื้อ ดังนั้น หากรัฐบาล ยังคงใช้นโยบาย อัตราดอกเบี้ย ต่ำ น่าจะส่งผลดีต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์มากกว่า เพราะทุกๆ เปอร์เซ็นต์ของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น หมายถึงความสามารถในการซื้อที่ลดต่ำลง อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มว่า อัตราดอกเบี้ยอาจปรับตัวขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากที่แนวโน้มทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น
สำหรับปัจจัยที่มีความสำคัญต่อภาคอสังหาฯในปีนี้ คือความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ซึ่งอิงอยู่กับสภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยมีการปรับการประมาณการตัวเลขการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้นเป็น 3.5 ถึง 4.5% แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญคือ ปัญหาความไม่แน่นอนของสถานการณ์ทางการเมืองซึ่งหากเกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนหลายๆ เหตุการณ์ที่ผ่านมา อาจมีผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภค ซึ่งอาจทำให้เกิดการชะลอการซื้อในตลาดอสังหาริมทรัพย์ได้