เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ ( 22 ก.พ.) ที่ตึก กสท.เขตบางรัก บริษัทคอนโทรล ดาต้า (ประเทศไทย) จำกัดได้มีการแถลงข่าวกรณีการจัดทำระบบให้บริการประชาชน ด้านการทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่ ที่มีการระบุการประกวดราคาส่อไปทางทุจริต โดยมีนายทวีศักดิ์ นิลวัชระมณี ผู้จัดการฝ่ายขาย เป็นผู้ชี้แจง โดยระบุว่าอุปกรณ์ต่างๆ ของบริษัทมีความทันสมัยได้มาตรฐาน และเป็นไปตามความต้องการของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยทุกประการ
การแถลงข่าวครั้งนี้ มีเพียงการฉายสไลด์เพื่อแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดทำระบบทะเบียนเท่านั้น ทั้งนี้ไม่คณะกรรมการประกวดราคาจากกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด มีเพียง นายวิเชียร ชิดชนกนารถ ผู้อำนวยการส่วนการบริหาร และพัฒนาเทคโนโลยี ในฐานะประธานกรรมการกำหนดขอบเขตงาน (TOR) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้าราชการ 14 คน ที่ถูกฝ่ายการเมืองร้องขอให้โยกย้ายไปช่วยราชาการที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา
แต่ล่าสุดนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิพานิชย์ อธิบดีกรมการปกครองได้ลงนามให้ทั้ง14 คน กลับมาทำหน้าที่ราชการเดิม ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. เป็นต้นไป เข้าร่วมสังเกตการแถลงข่าวของบริษัทคอนโทรล ดาต้าฯ ด้วยเท่านั้น
ทั้งนี้ นายวิเชียร กล่าวภายหลังการแถลงข่าวว่า อุปกรณ์ต่างๆ ที่บริษัทนำเสนอถือว่าคุณสมบัติผ่าน แต่กรมการปกครองไม่ต้องการซื้อฮาร์ดแวร์ แต่ต้องการเช่าระบบการบริการตามที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ อาทิ การรองรับการเชื่อมต่อข้อมูล 5 หมื่นจอภายใน 1 วินาที และต้องการให้สร้างฐานข้อมูลให้ใหม่ การเก็บลายพิมพ์นิ้วมือที่ทำงานได้เลย ซึ่งการที่กรมการปกครอง จะมั่นใจได้ต้องผ่านการทดสอบ โดยบริษัทต้องปรับในจุดนี้ และต้องสาธิตให้กรมการปกครองดู ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ เรื่องการเขียนโปรแกรม การถ่ายโอนข้อมูลจากเก่าไปใหม่ โดยต้องมีการทดสอบ แต่ปรากฎว่าที่ผ่านมาการทดสอบของ บริษัท คอนโทรล ดาต้าฯ ไม่สมบูรณ์ เพราะคณะกรรมการทีโออาร์ ซึ่งเป็นผู้ออกโจทย์ทดสอบ ถูกคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่ต่างจังหวัด จึงไม่มีใครออกโจทย์
ดังนั้น กระบวนการทดสอบที่มีการดำเนินการไป คณะกรรมการทีโออาร์ ได้ทำหนังสือแจ้งอธิบดีกรมการปกครองแล้วว่า ไม่สามารถรับผลการทดสอบได้ เพราะไม่ได้ทำตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ ทำให้คณะกรรมการไม่มั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพว่าจะเป็นไปตามที่ทีโออาร์กำหนดหรือไม่
ข้ออ้างที่ระบุว่า บริษัท คอนโทรล ดาต้าฯ บอกว่าจะไม่มีการคิดค่าบำรุงรักษา เป็นการพูดปากเปล่า เชื่อถือไม่ได้ เพราะไม่มีสัญญา แต่เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะกรมการปกครอง มีการบำรุงรักษาเองอยู่แล้ว
"เราไม่เคยไม่มั่นใจบริษัทคอนโทรล ดาต้าฯ เพราะเราทำงานกันมานาน แต่กติกาต้องเป็นกติกา จะมาผ่อนผันให้ลูกใครเข้าโรงเรียนไม่ได้ ไม่ว่าจะเข้าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หรือ เตรียมอุดมศึกษา ก็ต้องสอบทั้งนั้น และผมก็เชื่อว่าทางบริษัท ก็พร้อมที่จะสอบ แต่โดยกระบวนการมันไม่มีข้อสอบ ก็เลยทำข้อสอบเอง แล้วก็สอบ ทั้งที่มันน่าจะมีอะไรที่สง่างามมากว่านี้ เพื่อไม่ให้เป็นข้อกังขาของใคร ผมพูดในนามประธานคณะกรรมการทีโออาร์ ที่เป็นผู้ออกแบบระบบนี้ และต้องเป็นผู้ใช้ระบบนี้ต่อไป ทางคณะทีโออาร์ ไม่สบายใจ เพราะบริษัทดังกล่าวเหมือนไม่ได้สอบเอ็นทรานซ์เข้ามา เพราะถ้าพลาดแล้วจะเสียหายมาก อยากให้บริษัทคอนโทรล ดาต้าฯ ทำตามทีโออาร์ ไม่ว่าจะเขียนอย่างไรก็ควรทำตามนั้น ยกเว้นว่าจะมีการหลีกเลี่ยง การที่ออกมาแบบนี้ถามว่า ผมกลัวไหม ผมตอบได้ว่า ผมเป็นข้าราชการทำงานให้ราชการ" นายวิเชียร กล่าว
ทั้งนี้ ก่อนการแถลงข่าวได้มีการแจกเอกสารเรื่อง "การชี้แจงต่อสื่อมวลชน กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกวดราคาโครงการจัดทำระบบให้บริการประชาชนด้านการทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่" จำนวน 9 หน้า โดยเอกสารดังกล่าว มีการลำดับเหตุการณ์ และสรุปสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกวดราคาว่า มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองในหลายกรณี แต่ได้มีการป้ายหมึกดำลบชื่อนักการเมืองที่เป็นคนสั่งการออก ทั้งเรื่องการทำทีโออาร์ เรื่องการประกวดราคา รวมถึงการทดสอบด้านเทคนิค ที่ไม่เป็นไปตาม ทีโออาร์ ซึ่งฝ่ายราชการประจำเห็นว่า อาจจะส่งผลเสียหายร้ายแรงรต่อการให้บริการประชาชนในอนาคตได้
อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว ได้มีการแถลงข่าวอีกครั้งในเวลา 14.30 น. โดยยืนยันว่า บริษัททำทีโอผ่าน และระบุว่า ขีดความสามารถเป็นสเปก ที่โออาร์ กำหนดไว้
การแถลงข่าวครั้งนี้ มีเพียงการฉายสไลด์เพื่อแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ ในการจัดทำระบบทะเบียนเท่านั้น ทั้งนี้ไม่คณะกรรมการประกวดราคาจากกระทรวงมหาดไทย เข้าร่วมรับฟังแต่อย่างใด มีเพียง นายวิเชียร ชิดชนกนารถ ผู้อำนวยการส่วนการบริหาร และพัฒนาเทคโนโลยี ในฐานะประธานกรรมการกำหนดขอบเขตงาน (TOR) ซึ่งเป็นหนึ่งในข้าราชการ 14 คน ที่ถูกฝ่ายการเมืองร้องขอให้โยกย้ายไปช่วยราชาการที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ (ศอ.บต.) เมื่อวันที่ 18 ม.ค.ที่ผ่านมา
แต่ล่าสุดนายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิพานิชย์ อธิบดีกรมการปกครองได้ลงนามให้ทั้ง14 คน กลับมาทำหน้าที่ราชการเดิม ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 22 ก.พ. เป็นต้นไป เข้าร่วมสังเกตการแถลงข่าวของบริษัทคอนโทรล ดาต้าฯ ด้วยเท่านั้น
ทั้งนี้ นายวิเชียร กล่าวภายหลังการแถลงข่าวว่า อุปกรณ์ต่างๆ ที่บริษัทนำเสนอถือว่าคุณสมบัติผ่าน แต่กรมการปกครองไม่ต้องการซื้อฮาร์ดแวร์ แต่ต้องการเช่าระบบการบริการตามที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ อาทิ การรองรับการเชื่อมต่อข้อมูล 5 หมื่นจอภายใน 1 วินาที และต้องการให้สร้างฐานข้อมูลให้ใหม่ การเก็บลายพิมพ์นิ้วมือที่ทำงานได้เลย ซึ่งการที่กรมการปกครอง จะมั่นใจได้ต้องผ่านการทดสอบ โดยบริษัทต้องปรับในจุดนี้ และต้องสาธิตให้กรมการปกครองดู ทั้งเรื่องประสิทธิภาพ เรื่องการเขียนโปรแกรม การถ่ายโอนข้อมูลจากเก่าไปใหม่ โดยต้องมีการทดสอบ แต่ปรากฎว่าที่ผ่านมาการทดสอบของ บริษัท คอนโทรล ดาต้าฯ ไม่สมบูรณ์ เพราะคณะกรรมการทีโออาร์ ซึ่งเป็นผู้ออกโจทย์ทดสอบ ถูกคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่ต่างจังหวัด จึงไม่มีใครออกโจทย์
ดังนั้น กระบวนการทดสอบที่มีการดำเนินการไป คณะกรรมการทีโออาร์ ได้ทำหนังสือแจ้งอธิบดีกรมการปกครองแล้วว่า ไม่สามารถรับผลการทดสอบได้ เพราะไม่ได้ทำตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ ทำให้คณะกรรมการไม่มั่นใจในเรื่องประสิทธิภาพว่าจะเป็นไปตามที่ทีโออาร์กำหนดหรือไม่
ข้ออ้างที่ระบุว่า บริษัท คอนโทรล ดาต้าฯ บอกว่าจะไม่มีการคิดค่าบำรุงรักษา เป็นการพูดปากเปล่า เชื่อถือไม่ได้ เพราะไม่มีสัญญา แต่เป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้น เพราะกรมการปกครอง มีการบำรุงรักษาเองอยู่แล้ว
"เราไม่เคยไม่มั่นใจบริษัทคอนโทรล ดาต้าฯ เพราะเราทำงานกันมานาน แต่กติกาต้องเป็นกติกา จะมาผ่อนผันให้ลูกใครเข้าโรงเรียนไม่ได้ ไม่ว่าจะเข้าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย หรือ เตรียมอุดมศึกษา ก็ต้องสอบทั้งนั้น และผมก็เชื่อว่าทางบริษัท ก็พร้อมที่จะสอบ แต่โดยกระบวนการมันไม่มีข้อสอบ ก็เลยทำข้อสอบเอง แล้วก็สอบ ทั้งที่มันน่าจะมีอะไรที่สง่างามมากว่านี้ เพื่อไม่ให้เป็นข้อกังขาของใคร ผมพูดในนามประธานคณะกรรมการทีโออาร์ ที่เป็นผู้ออกแบบระบบนี้ และต้องเป็นผู้ใช้ระบบนี้ต่อไป ทางคณะทีโออาร์ ไม่สบายใจ เพราะบริษัทดังกล่าวเหมือนไม่ได้สอบเอ็นทรานซ์เข้ามา เพราะถ้าพลาดแล้วจะเสียหายมาก อยากให้บริษัทคอนโทรล ดาต้าฯ ทำตามทีโออาร์ ไม่ว่าจะเขียนอย่างไรก็ควรทำตามนั้น ยกเว้นว่าจะมีการหลีกเลี่ยง การที่ออกมาแบบนี้ถามว่า ผมกลัวไหม ผมตอบได้ว่า ผมเป็นข้าราชการทำงานให้ราชการ" นายวิเชียร กล่าว
ทั้งนี้ ก่อนการแถลงข่าวได้มีการแจกเอกสารเรื่อง "การชี้แจงต่อสื่อมวลชน กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกวดราคาโครงการจัดทำระบบให้บริการประชาชนด้านการทะเบียน และบัตรประจำตัวประชาชนแบบใหม่" จำนวน 9 หน้า โดยเอกสารดังกล่าว มีการลำดับเหตุการณ์ และสรุปสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในการประกวดราคาว่า มีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมืองในหลายกรณี แต่ได้มีการป้ายหมึกดำลบชื่อนักการเมืองที่เป็นคนสั่งการออก ทั้งเรื่องการทำทีโออาร์ เรื่องการประกวดราคา รวมถึงการทดสอบด้านเทคนิค ที่ไม่เป็นไปตาม ทีโออาร์ ซึ่งฝ่ายราชการประจำเห็นว่า อาจจะส่งผลเสียหายร้ายแรงรต่อการให้บริการประชาชนในอนาคตได้
อย่างไรก็ตามหลังจากที่มีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว ได้มีการแถลงข่าวอีกครั้งในเวลา 14.30 น. โดยยืนยันว่า บริษัททำทีโอผ่าน และระบุว่า ขีดความสามารถเป็นสเปก ที่โออาร์ กำหนดไว้