เมื่อเวลา 10.30 น.วานนี้ (22 ก.พ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ.) นนทบุรี นายวิษณุ เครืองาม อดีตรองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในงานวันมูลนิธิ พ.อ.จินดา ณ สงขลา เรื่อง"แต่งตั้งอย่างไรให้มีคุณธรรม" ว่า ในอดีต ตนเคยเป็นเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เคยเห็นการละเมิดในการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูง 2 ลักษณะ คือละเมิดนอกเกมกติกา อาทิ การแต่งตั้งโยกย้ายส่วนมากจะเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เป็นวาระจร หรือบ่อยครั้งที่ใช้เป็นวาระเพื่อทราบ ให้นายกรัฐมนตรีอนุมัติแทนครม.ไปก่อน แล้วถ้าครม.ทักท้วงจึงมีการแก้ไข ซึ่งเท่าที่เกิดมา ยังไม่เคยเห็นการทักท้วง และการละเมิดในกติกา บางครั้ง รัฐมนตรีอยากแต่งตั้งระดับ 10 เทียบเท่าอธิบดี ซึ่งเป็นอำนาจของปลัดกระทรวง ก็จะทำหนังสือให้ปลัดเข้ามาช่วยราชการในทำเนียบฯ หรือให้ไปราชการต่างประเทศ เพื่อให้รองปลัดคนอื่นขึ้น และเซ็นคำสั่ง
ทั้งนี้ กรณีที่ฝ่ายการเมืองจะแทรกแซงการแต่งตั้งมีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ฝ่ายการเมืองเข้มแข็งมาก รัฐบาลมีเสียงเด็ดขาด เช่น ในภาวะปฏิวัติ กับช่วงที่ฝ่ายการเมืองกำลังอ่อนแอ มีความแตกแยกกันเอง
นายวิษณุกล่าวต่อว่า จุดสำคัญในการควบคุมระบบคุณธรรม คือ การที่ในช่วงมีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการพลเรือน และตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ( ก.พ.ค.) โดยได้เริ่มมีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน และในส่วนของข้าราชการพลเรือนทั่วไป กำลังจัดตั้งคณะกรรมการนี้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ปรากฏใน พ.ร.บ.ดังกล่าว คือ ระบบคุณธรรม ใน ม. 22 ว่า การแต่งตั้งข้าราชการ ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความเสมอภาค เป็นธรรม และประโยชน์ทางราชการ คือ คำนึงถึงผลงานต้องมาก่อน ไม่ใช่เรื่องความคิดเห็นทางการเมือง และ ม.52 การบรรจุ แต่งตั้ง ต้องใช้ระบบคุณธรรม คำนึงถึงผลงาน ความประพฤติ พฤติการจริยธรรม ตลอดจนประโยชน์ข้าราชการ เคยมีคนถามว่า อาวุโสไปอยู่ตรงไหน ก็อยู่ในส่วนของความเป็นธรรม แต่สิ่งที่มีน้ำหนักมากกว่า คือผลงาน
นายวิษณุ กล่าวว่า ขณะนี้มีข่าวเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง ทั้งตำรวจ ทั้งโรงเรียนนายอำเภอ ตนไม่ยืนยันว่าจริง เพราะอยู่ข้างนอกแล้ว แต่สังเกตว่า ทำไมการแต่งตั้งมีทุกปี แต่เพิ่งเป็นข่าวปีนี้ รัฐบาล ก.พ. ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ต้องหวั่นไหว เพราะมันท้าทายระบบราชการอย่างฉกาจฉกรรจ์ สิ่งที่ตนสังเกตเห็น และต้องการให้เป็นวิธีแก้ไข คือ
1 . การแต่งตั้งอะไรที่ยึกยัก ปล่อยให้เวลาผ่านไปนานผิดปรกติ จนข้าราชการขวัญเสีย หัวไม่ขยับ หางขึ้นไม่ได้ จะประวิงเวลาไว้รออะไร รอให้มีคนอื่นอาวุโส หรือรอผ่านเกณฑ์อะไร ดังนั้นต้องมีเกณฑ์เวลาเรื่องการแต่งตั้งที่ชัดเจน
2 . ต้องมีความโปร่งใส กรรมวิธีอธิบายได้ โดยเฉพาะระดับที่ต้องโปรดเกล้าฯ เมื่อผ่าน ครม. ต้องมีประวัติแนบทุกครั้ง แต่บางครั้งในการแต่งตั้งโยกย้ายใหญ่ อย่างผู้ว่าฯ หรือทูต ก็ไม่ได้ทำประวัติแนบ แต่ควรต้องมีประวัติเก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการครม. ( สลค.) เพื่ออ้างอิงเวลาถูกทวงถามว่า คนๆ นี้ได้รับการแต่งตั้งเพราะความเหมาะสมอย่างไร โดยเฉพาะขณะนี้ มีการถวายฎีกา เรื่องความไม่ชอบธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายมาก คนตอบคือเลขาฯ ครม.ทั้งนั้น
3 . อยากให้ ก.พ. , ก.พ.ค. และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม มาพูดคุยสะท้อนปัญหา เมื่อมีอะไรเป็นข่าวออกไป มันก็เหมือนเป็นยันต์ ให้ผีกลัวระดับหนึ่ง อีกทั้งยังมีผู้ใหญ่เคยเสนอให้มีการรวมตัวของข้าราชการผู้ใหญ่เกษียณในการช่วยสะท้อนปัญหา และเรียกร้องให้เกิดธรรมาภิบาล ซึ่งทราบว่า มีการรวมตัวแล้ว แต่ยังจำกัดค่อนข้างแคบ
4. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้ให้ ม.98 เรื่องการคุ้มครองพยาน ข้าราชการคนไหนได้รู้ว่า มีสิ่งไม่ดี ไปรายงานผู้บังคับบัญชา ก็จะถูกปกป้อง กันเป็นพยาน หากสอบแล้วมีมูล ก็ได้รับความดีความชอบ
" ตัวอย่างตอนนี้ มีข่าวเรื่องซื้อขายตำแหน่ง อยากให้คนที่จ่าย แต่ไม่ได้ตำแหน่ง ไปให้ข้อมูล ไปร้องเรียน แล้วต้องปกป้องเขาให้ปลอดภัยด้วย เหมือนเวลาที่มีการถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลามีคนไปหาข้อเท็จจริงเพื่อใช้ประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ก็ไม่บอกว่าใครร้อง แต่มีปัญหา พอส่งหน่วยงานต้นสังกัด ก็เงียบ แล้วทิ้งเรื่องไว้นาน หรือบอกว่า อยู่ระหว่างการสอบสวน หรือมีอีกประเภท บอกว่า สอบแล้วไม่มีมูล เว้นแต่จะแจ้งว่าใครร้อง สำนักราชเลขาธิการก็เคยบ่นมาแล้วว่าไม่ได้รับความร่วมมือ ดังนั้นจึงอยากให้มีระบบคุ้มครองพยาน กระตุ้นให้คนพูด หลังๆนี้ มีการถวายฎีกาเรื่องคัดค้านการแต่งตั้งโยกย้ายจำนวนมาก" นายวิษณุกล่าว
5. อยากให้มีการลองพิจารณา พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ม. 3 ( 1 ) ตีความเรื่องการบริหารตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ชัดเจน ต่อไปใครละเมิด จะได้ถือว่า ผิดกฎหมาย หนักกว่าผิดมติ ครม.หรือ ผิดมติ ก.พ.มาก นำไปสู่การถอดถอน หรือยื่นฟ้องศาลปกครองได้ แต่ลองออกเป็นมติ ครม.นำร่องก่อนก็ได้ เพราะถ้าเป็นกฎหมาย จะแก้ยาก
6. ก.พ.ค.มีอำนาจตาม ม.126 ว่า ถ้าระเบียบคำสั่งใดไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม ก็สั่งให้แก้ไขได้ เช่น เรื่องกรอบการใช้ดุลพินิจ การเลือกปฏิบัติ แต่ก.พ.ค. เอง ต้องกำหนดกรอบการใช้อำนาจ ตีความคำที่ยังคลุมเครืออย่างคำว่า ระบบคุณธรรม ให้ชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้อยากให้เร่งดำเนินการ เพราะกำลังอื้อฉาว วันนี้คงมีความจำเป็นแล้ว ที่เลขาธิการ ก.พ.จะต้องเข้าที่ประชุม ครม.ด้วย เพราะมีเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย เรื่องวินัยค่อนข้างมาก
-----------------------------
ทั้งนี้ กรณีที่ฝ่ายการเมืองจะแทรกแซงการแต่งตั้งมีอยู่ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ฝ่ายการเมืองเข้มแข็งมาก รัฐบาลมีเสียงเด็ดขาด เช่น ในภาวะปฏิวัติ กับช่วงที่ฝ่ายการเมืองกำลังอ่อนแอ มีความแตกแยกกันเอง
นายวิษณุกล่าวต่อว่า จุดสำคัญในการควบคุมระบบคุณธรรม คือ การที่ในช่วงมีการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มีการพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการพลเรือน และตั้งคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม ( ก.พ.ค.) โดยได้เริ่มมีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก่อน และในส่วนของข้าราชการพลเรือนทั่วไป กำลังจัดตั้งคณะกรรมการนี้
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ปรากฏใน พ.ร.บ.ดังกล่าว คือ ระบบคุณธรรม ใน ม. 22 ว่า การแต่งตั้งข้าราชการ ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถ ความเสมอภาค เป็นธรรม และประโยชน์ทางราชการ คือ คำนึงถึงผลงานต้องมาก่อน ไม่ใช่เรื่องความคิดเห็นทางการเมือง และ ม.52 การบรรจุ แต่งตั้ง ต้องใช้ระบบคุณธรรม คำนึงถึงผลงาน ความประพฤติ พฤติการจริยธรรม ตลอดจนประโยชน์ข้าราชการ เคยมีคนถามว่า อาวุโสไปอยู่ตรงไหน ก็อยู่ในส่วนของความเป็นธรรม แต่สิ่งที่มีน้ำหนักมากกว่า คือผลงาน
นายวิษณุ กล่าวว่า ขณะนี้มีข่าวเรื่องการซื้อขายตำแหน่ง ทั้งตำรวจ ทั้งโรงเรียนนายอำเภอ ตนไม่ยืนยันว่าจริง เพราะอยู่ข้างนอกแล้ว แต่สังเกตว่า ทำไมการแต่งตั้งมีทุกปี แต่เพิ่งเป็นข่าวปีนี้ รัฐบาล ก.พ. ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ต้องหวั่นไหว เพราะมันท้าทายระบบราชการอย่างฉกาจฉกรรจ์ สิ่งที่ตนสังเกตเห็น และต้องการให้เป็นวิธีแก้ไข คือ
1 . การแต่งตั้งอะไรที่ยึกยัก ปล่อยให้เวลาผ่านไปนานผิดปรกติ จนข้าราชการขวัญเสีย หัวไม่ขยับ หางขึ้นไม่ได้ จะประวิงเวลาไว้รออะไร รอให้มีคนอื่นอาวุโส หรือรอผ่านเกณฑ์อะไร ดังนั้นต้องมีเกณฑ์เวลาเรื่องการแต่งตั้งที่ชัดเจน
2 . ต้องมีความโปร่งใส กรรมวิธีอธิบายได้ โดยเฉพาะระดับที่ต้องโปรดเกล้าฯ เมื่อผ่าน ครม. ต้องมีประวัติแนบทุกครั้ง แต่บางครั้งในการแต่งตั้งโยกย้ายใหญ่ อย่างผู้ว่าฯ หรือทูต ก็ไม่ได้ทำประวัติแนบ แต่ควรต้องมีประวัติเก็บไว้ที่สำนักเลขาธิการครม. ( สลค.) เพื่ออ้างอิงเวลาถูกทวงถามว่า คนๆ นี้ได้รับการแต่งตั้งเพราะความเหมาะสมอย่างไร โดยเฉพาะขณะนี้ มีการถวายฎีกา เรื่องความไม่ชอบธรรมในการแต่งตั้งโยกย้ายมาก คนตอบคือเลขาฯ ครม.ทั้งนั้น
3 . อยากให้ ก.พ. , ก.พ.ค. และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ( ก.พ.ร.) ได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรี หรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรม มาพูดคุยสะท้อนปัญหา เมื่อมีอะไรเป็นข่าวออกไป มันก็เหมือนเป็นยันต์ ให้ผีกลัวระดับหนึ่ง อีกทั้งยังมีผู้ใหญ่เคยเสนอให้มีการรวมตัวของข้าราชการผู้ใหญ่เกษียณในการช่วยสะท้อนปัญหา และเรียกร้องให้เกิดธรรมาภิบาล ซึ่งทราบว่า มีการรวมตัวแล้ว แต่ยังจำกัดค่อนข้างแคบ
4. พ.ร.บ.ระเบียบบริหารข้าราชการพลเรือนฉบับปัจจุบัน ได้ให้ ม.98 เรื่องการคุ้มครองพยาน ข้าราชการคนไหนได้รู้ว่า มีสิ่งไม่ดี ไปรายงานผู้บังคับบัญชา ก็จะถูกปกป้อง กันเป็นพยาน หากสอบแล้วมีมูล ก็ได้รับความดีความชอบ
" ตัวอย่างตอนนี้ มีข่าวเรื่องซื้อขายตำแหน่ง อยากให้คนที่จ่าย แต่ไม่ได้ตำแหน่ง ไปให้ข้อมูล ไปร้องเรียน แล้วต้องปกป้องเขาให้ปลอดภัยด้วย เหมือนเวลาที่มีการถวายฎีกาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เวลามีคนไปหาข้อเท็จจริงเพื่อใช้ประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ก็ไม่บอกว่าใครร้อง แต่มีปัญหา พอส่งหน่วยงานต้นสังกัด ก็เงียบ แล้วทิ้งเรื่องไว้นาน หรือบอกว่า อยู่ระหว่างการสอบสวน หรือมีอีกประเภท บอกว่า สอบแล้วไม่มีมูล เว้นแต่จะแจ้งว่าใครร้อง สำนักราชเลขาธิการก็เคยบ่นมาแล้วว่าไม่ได้รับความร่วมมือ ดังนั้นจึงอยากให้มีระบบคุ้มครองพยาน กระตุ้นให้คนพูด หลังๆนี้ มีการถวายฎีกาเรื่องคัดค้านการแต่งตั้งโยกย้ายจำนวนมาก" นายวิษณุกล่าว
5. อยากให้มีการลองพิจารณา พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ม. 3 ( 1 ) ตีความเรื่องการบริหารตามหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ออกเป็นพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการแต่งตั้งข้าราชการให้ชัดเจน ต่อไปใครละเมิด จะได้ถือว่า ผิดกฎหมาย หนักกว่าผิดมติ ครม.หรือ ผิดมติ ก.พ.มาก นำไปสู่การถอดถอน หรือยื่นฟ้องศาลปกครองได้ แต่ลองออกเป็นมติ ครม.นำร่องก่อนก็ได้ เพราะถ้าเป็นกฎหมาย จะแก้ยาก
6. ก.พ.ค.มีอำนาจตาม ม.126 ว่า ถ้าระเบียบคำสั่งใดไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม ก็สั่งให้แก้ไขได้ เช่น เรื่องกรอบการใช้ดุลพินิจ การเลือกปฏิบัติ แต่ก.พ.ค. เอง ต้องกำหนดกรอบการใช้อำนาจ ตีความคำที่ยังคลุมเครืออย่างคำว่า ระบบคุณธรรม ให้ชัดเจน ซึ่งเรื่องนี้อยากให้เร่งดำเนินการ เพราะกำลังอื้อฉาว วันนี้คงมีความจำเป็นแล้ว ที่เลขาธิการ ก.พ.จะต้องเข้าที่ประชุม ครม.ด้วย เพราะมีเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย เรื่องวินัยค่อนข้างมาก
-----------------------------