ความทะเยอทะยานของรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของประธานาธิบดีมะห์มุด อะห์มาดิเนจัด วัย 53 ปี ในการหาทางเข้าไปเพิ่มพูนบทบาทและขยายอิทธิพลของตนในทวีปแอฟริกากำลังทำให้รัฐบาลอิสราเอลเป็นกังวลอย่างยิ่งยวดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความกลัวที่ว่า อิสราเอลอาจต้องสูญเสียเพื่อนที่มีอยู่น้อยนิดในทวีปแห่งนี้ไปให้กับศัตรูตัวฉกาจอย่างรัฐบาลอิหร่านในไม่ช้า
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในทวีปแอฟริกาอันเป็นที่รวมของกลุ่มประเทศที่ได้ชื่อว่ายากจนข้นแค้นที่สุดในโลกหลายสิบประเทศ ได้เกิดกระแส “อิหร่าน ฟีเวอร์” ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในหลายประเทศของทวีปแห่งนี้ไล่ตั้งแต่พื้นที่ทะเลทรายทางตอนเหนือของทวีป,ประเทศในพื้นที่แถบชายฝั่งทางตะวันตก, ประเทศแถบที่ราบสูงด้านตะวันออกของแอฟริกา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เป็นเกาะเล็กเกาะน้อยในมหาสมุทรอินเดียนอกชายฝั่งกาฬทวีป ดังเช่นตัวอย่างหนึ่งที่ นิช อูมารู เอ็นชาเร ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมแอฟริกันจากสถาบัน “บามุม” ในแคเมอรูน เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจเมื่อไม่นานมานี้ว่า “ทุกวันนี้ หากคุณเดินทางมายังหลายประเทศของแอฟริกา สิ่งแรกที่คุณจะได้เห็นทันทีที่คุณก้าวออกจากสนามบินก็คือ รถแท็กซี่ที่ผลิตโดยบริษัทโคโดรของอิหร่านจอดเรียงรายอยู่ทุกหนแห่ง และเมื่อใดก็ตามที่คุณเดินทางไปตลาด คุณก็จะได้พบเห็นแต่สินค้านานาชนิดที่ถูกส่งตรงมาจากประเทศนั้นเพื่อขายให้กับชาวแอฟริกันในราคาที่ถูกเป็นพิเศษ ”
ขณะที่ศาสตราจารย์ แพทริก แมนนิง ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์แอฟริกา จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก ในมลรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ชี้ว่า ทุกวันนี้อิหร่านมีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีอะห์มาดิเนจัดประกาศ“นโยบายมองแอฟริกา”เป็นครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งนโยบายดังกล่าวของผู้นำอิหร่านนี้มีจุดมุ่งหมายประการสำคัญอยู่ที่การหาทางเอาธงอิหร่านไปปักไว้ “กลางหัวใจ”ชาวแอฟริกันทั้งหลายให้ได้ เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนเคยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการขยายอิทธิพลมายังทวีปแห่งนี้ในอดีต
แต่หากจะมองให้ลึกลงไปแล้ว สิ่งที่อิหร่านต้องการจากแอฟริกาคงไม่ได้มีเพียงผลประโยชน์ด้านการค้าเท่านั้น เวลานี้ทางการเตหะรานกำลังเผชิญแรงกดดันจากทั่วทุกมุมโลกจากกรณีโครงการนิวเคลียร์ จนทำให้อิหร่านซึ่งได้ชื่อว่า เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ลำดับที่ 2ของโลก ด้วยกำลังการผลิตกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถึงกับอยู่ไม่เป็นสุข เนื่องจากต้องเผชิญกับคำขู่จะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจครั้งใหม่และเสียงประณามจากชาวโลก โดยเฉพาะจากชาติตะวันตกเป็นรายวัน จึงมิใช่เรื่องแปลกหากผู้นำอย่างอะห์มะดิเนจัดที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2005 จะพยายามลดทอนแรงกดดันดังกล่าวด้วยการกระโจนเข้าหาประเทศในแอฟริกา เพื่อหวังให้ชาติเหล่านี้ช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้อิหร่านในเวทีสหประชาชาติ แทนที่ “พันธมิตรเก่า” อย่างรัสเซีย ที่นับวันจะมีแต่ถอยห่างจากอิหร่านมากขึ้นทุกขณะ
และแน่นอนที่สุด สิ่งที่ประธานาธิบดีอะห์มาดิเนจัดนำมาเป็นเครื่องมือหลักในการ “ซื้อใจ”ชาวแอฟริกัน ให้หันมายอมรับรัฐบาลเตหะรานมากขึ้น ก็คือน้ำมันและความช่วยเหลือทางการเงินรูปแบบต่างๆ เหมือนกับที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้วเมื่อครั้งที่ไปซื้อใจประเทศในแถบละตินอเมริกาทั้ง โบลิเวีย นิการากัว และเวเนซุเอลา แม้เขาจะทราบดีว่า ภารกิจซื้อใจชาติแอฟริกาครั้งนี้คงไม่ง่ายนัก เนื่องจากดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปนี้มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโลกตะวันตกและศัตรูหมายเลขหนึ่งอย่างอิสราเอลที่เข้าไปลงหลักปักฐานในแอฟริกาก่อนอิหร่านหลายปี จากการเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแขนงต่างๆ และช่วยพลิกฟื้นแผ่นดินที่แห้งแล้งของแอฟริกาจนกลายเป็น “สรวงสวรรค์แห่งการเพาะปลูก” ทำให้อิสราเอลได้ใจแอฟริกันชนไปไม่น้อย
ผู้นำอิหร่านเริ่มต้นภารกิจซื้อใจแอฟริกา ด้วยการมุ่งเสนอความช่วยเหลือด้านน้ำมันและด้านต่างๆ แก่บรรดาประเทศมุสลิมในแอฟริกา เพราะเขาเล็งเห็นแล้วว่าประเทศเหล่านี้ต่างรู้สึกรับไม่ได้กับการกดขี่พี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล ซึ่งก็ถือเป็นกลวิธีที่ได้ผล เนื่องจากอิหร่านสามารถดึงเอาประเทศมุสลิมแอฟริกันเข้ามายืนอยู่ข้างตนได้มากมายภายในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทั้ง เซเนกัล, แกมเบีย, มอริเตเนีย, กินี, เบอร์กินา ฟาโซ, ซูดาน, คอโมโรส ไม่เว้นแม้แต่ กานาและไนจีเรียซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “มหามิตร” ของอิสราเอลในกาฬทวีป ตามมาด้วยการหันไปเจริญสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นคริสเตียนอย่างเคนยา ด้วยการเสนอจะส่งน้ำมันดิบปริมาณ 4 ล้านตันต่อปีให้ใช้แบบฟรีๆโดยไม่คิดมูลค่าผ่านทางท่าเรือมอมบาซาทางตะวันออกเฉียงใต้ของเคนยา ซึ่งแน่นอนว่า ประเทศยากจนอย่างเคนยาอ้าแขนรับข้อเสนอดังกล่าวด้วยความเต็มใจ
การรุกคืบของอิหร่านในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสร้างความกังวลใจให้กับรัฐบาลอิสราเอลไม่น้อย เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การใช้นโยบาย “Oil & Aid Diplomacy” ของผู้นำอิหร่าน ประสบความสำเร็จอย่างงดงามภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน ต่างกับอิสราเอลที่ต้องใช้เวลานานนับสิบปีกว่าจะได้ใจชาวแอฟริกันมาครอง
ด้วยเหตุนี้ อาวิกดอร์ ลีเบอร์แมน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอล ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นขุนพลคู่ใจด้านการทูตของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ถึงกับออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า “ถึงเวลาแล้วที่อิสราเอลต้องปรับปรุงนโยบายต่างประเทศของตนต่อแอฟริกาเสียใหม่ เนื่องจากในขณะนี้ชาวแอฟริกันและบรรดาผู้นำของพวกเขาไม่ได้ต้องการระบบชลประทานที่เป็นเลิศจากเรา สำหรับการเพาะปลูกพืชในทะเลทรายอีกต่อไป แต่พวกเขากำลังหันไปเทใจให้กับน้ำมันดิบของอะห์มาดิเนจัดมากขึ้นเรื่อยๆ ”
ดังนั้น จึงไม่ผิดนักหากจะสรุปว่า อิสราเอลกำลังเพลี่ยงพล้ำเสียทีให้กับรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของอะห์มาดิเนจัด และบรรดาแกนนำในรัฐบาลอิสราเอลคงมีอันต้อง “เจ็บกระดองใจ” ไม่น้อย ที่ต้องเฝ้ามองดูความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่าของอิหร่านในการแย่งชิงชาติพันธมิตรในแอฟริกาออกไปจากอ้อมอกของตนอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันอิหร่านก็จะยังคงเดินหน้าใช้น้ำมันและความช่วยเหลือต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพลของตนในแอฟริกาต่อไป เพราะอิหร่านทราบดีว่า อิสราเอลไม่มีน้ำมันจำนวนมหาศาลที่จะมาทุ่มในศึกครั้งนี้เหมือนกับพวกเขานั่นเอง
ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในทวีปแอฟริกาอันเป็นที่รวมของกลุ่มประเทศที่ได้ชื่อว่ายากจนข้นแค้นที่สุดในโลกหลายสิบประเทศ ได้เกิดกระแส “อิหร่าน ฟีเวอร์” ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในหลายประเทศของทวีปแห่งนี้ไล่ตั้งแต่พื้นที่ทะเลทรายทางตอนเหนือของทวีป,ประเทศในพื้นที่แถบชายฝั่งทางตะวันตก, ประเทศแถบที่ราบสูงด้านตะวันออกของแอฟริกา ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่เป็นเกาะเล็กเกาะน้อยในมหาสมุทรอินเดียนอกชายฝั่งกาฬทวีป ดังเช่นตัวอย่างหนึ่งที่ นิช อูมารู เอ็นชาเร ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมแอฟริกันจากสถาบัน “บามุม” ในแคเมอรูน เคยกล่าวไว้อย่างน่าสนใจเมื่อไม่นานมานี้ว่า “ทุกวันนี้ หากคุณเดินทางมายังหลายประเทศของแอฟริกา สิ่งแรกที่คุณจะได้เห็นทันทีที่คุณก้าวออกจากสนามบินก็คือ รถแท็กซี่ที่ผลิตโดยบริษัทโคโดรของอิหร่านจอดเรียงรายอยู่ทุกหนแห่ง และเมื่อใดก็ตามที่คุณเดินทางไปตลาด คุณก็จะได้พบเห็นแต่สินค้านานาชนิดที่ถูกส่งตรงมาจากประเทศนั้นเพื่อขายให้กับชาวแอฟริกันในราคาที่ถูกเป็นพิเศษ ”
ขณะที่ศาสตราจารย์ แพทริก แมนนิง ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์แอฟริกา จากมหาวิทยาลัยพิตส์เบิร์ก ในมลรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐฯ ชี้ว่า ทุกวันนี้อิหร่านมีบทบาทและอิทธิพลอย่างมากต่อประเทศในแอฟริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีอะห์มาดิเนจัดประกาศ“นโยบายมองแอฟริกา”เป็นครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน ซึ่งนโยบายดังกล่าวของผู้นำอิหร่านนี้มีจุดมุ่งหมายประการสำคัญอยู่ที่การหาทางเอาธงอิหร่านไปปักไว้ “กลางหัวใจ”ชาวแอฟริกันทั้งหลายให้ได้ เช่นเดียวกับที่รัฐบาลจีนเคยประสบความสำเร็จอย่างงดงามในการขยายอิทธิพลมายังทวีปแห่งนี้ในอดีต
แต่หากจะมองให้ลึกลงไปแล้ว สิ่งที่อิหร่านต้องการจากแอฟริกาคงไม่ได้มีเพียงผลประโยชน์ด้านการค้าเท่านั้น เวลานี้ทางการเตหะรานกำลังเผชิญแรงกดดันจากทั่วทุกมุมโลกจากกรณีโครงการนิวเคลียร์ จนทำให้อิหร่านซึ่งได้ชื่อว่า เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ลำดับที่ 2ของโลก ด้วยกำลังการผลิตกว่า 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถึงกับอยู่ไม่เป็นสุข เนื่องจากต้องเผชิญกับคำขู่จะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจครั้งใหม่และเสียงประณามจากชาวโลก โดยเฉพาะจากชาติตะวันตกเป็นรายวัน จึงมิใช่เรื่องแปลกหากผู้นำอย่างอะห์มะดิเนจัดที่ครองอำนาจมาตั้งแต่ปี 2005 จะพยายามลดทอนแรงกดดันดังกล่าวด้วยการกระโจนเข้าหาประเทศในแอฟริกา เพื่อหวังให้ชาติเหล่านี้ช่วยเป็นปากเป็นเสียงให้อิหร่านในเวทีสหประชาชาติ แทนที่ “พันธมิตรเก่า” อย่างรัสเซีย ที่นับวันจะมีแต่ถอยห่างจากอิหร่านมากขึ้นทุกขณะ
และแน่นอนที่สุด สิ่งที่ประธานาธิบดีอะห์มาดิเนจัดนำมาเป็นเครื่องมือหลักในการ “ซื้อใจ”ชาวแอฟริกัน ให้หันมายอมรับรัฐบาลเตหะรานมากขึ้น ก็คือน้ำมันและความช่วยเหลือทางการเงินรูปแบบต่างๆ เหมือนกับที่เขาเคยทำสำเร็จมาแล้วเมื่อครั้งที่ไปซื้อใจประเทศในแถบละตินอเมริกาทั้ง โบลิเวีย นิการากัว และเวเนซุเอลา แม้เขาจะทราบดีว่า ภารกิจซื้อใจชาติแอฟริกาครั้งนี้คงไม่ง่ายนัก เนื่องจากดินแดนส่วนใหญ่ในทวีปนี้มีสัมพันธ์ใกล้ชิดกับโลกตะวันตกและศัตรูหมายเลขหนึ่งอย่างอิสราเอลที่เข้าไปลงหลักปักฐานในแอฟริกาก่อนอิหร่านหลายปี จากการเข้าไปถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแขนงต่างๆ และช่วยพลิกฟื้นแผ่นดินที่แห้งแล้งของแอฟริกาจนกลายเป็น “สรวงสวรรค์แห่งการเพาะปลูก” ทำให้อิสราเอลได้ใจแอฟริกันชนไปไม่น้อย
ผู้นำอิหร่านเริ่มต้นภารกิจซื้อใจแอฟริกา ด้วยการมุ่งเสนอความช่วยเหลือด้านน้ำมันและด้านต่างๆ แก่บรรดาประเทศมุสลิมในแอฟริกา เพราะเขาเล็งเห็นแล้วว่าประเทศเหล่านี้ต่างรู้สึกรับไม่ได้กับการกดขี่พี่น้องมุสลิมชาวปาเลสไตน์ของอิสราเอล ซึ่งก็ถือเป็นกลวิธีที่ได้ผล เนื่องจากอิหร่านสามารถดึงเอาประเทศมุสลิมแอฟริกันเข้ามายืนอยู่ข้างตนได้มากมายภายในระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาทั้ง เซเนกัล, แกมเบีย, มอริเตเนีย, กินี, เบอร์กินา ฟาโซ, ซูดาน, คอโมโรส ไม่เว้นแม้แต่ กานาและไนจีเรียซึ่งเคยได้ชื่อว่าเป็น “มหามิตร” ของอิสราเอลในกาฬทวีป ตามมาด้วยการหันไปเจริญสัมพันธ์กับประเทศที่เป็นคริสเตียนอย่างเคนยา ด้วยการเสนอจะส่งน้ำมันดิบปริมาณ 4 ล้านตันต่อปีให้ใช้แบบฟรีๆโดยไม่คิดมูลค่าผ่านทางท่าเรือมอมบาซาทางตะวันออกเฉียงใต้ของเคนยา ซึ่งแน่นอนว่า ประเทศยากจนอย่างเคนยาอ้าแขนรับข้อเสนอดังกล่าวด้วยความเต็มใจ
การรุกคืบของอิหร่านในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาสร้างความกังวลใจให้กับรัฐบาลอิสราเอลไม่น้อย เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การใช้นโยบาย “Oil & Aid Diplomacy” ของผู้นำอิหร่าน ประสบความสำเร็จอย่างงดงามภายในระยะเวลาเพียงไม่นาน ต่างกับอิสราเอลที่ต้องใช้เวลานานนับสิบปีกว่าจะได้ใจชาวแอฟริกันมาครอง
ด้วยเหตุนี้ อาวิกดอร์ ลีเบอร์แมน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศอิสราเอล ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นขุนพลคู่ใจด้านการทูตของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ถึงกับออกมาให้สัมภาษณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า “ถึงเวลาแล้วที่อิสราเอลต้องปรับปรุงนโยบายต่างประเทศของตนต่อแอฟริกาเสียใหม่ เนื่องจากในขณะนี้ชาวแอฟริกันและบรรดาผู้นำของพวกเขาไม่ได้ต้องการระบบชลประทานที่เป็นเลิศจากเรา สำหรับการเพาะปลูกพืชในทะเลทรายอีกต่อไป แต่พวกเขากำลังหันไปเทใจให้กับน้ำมันดิบของอะห์มาดิเนจัดมากขึ้นเรื่อยๆ ”
ดังนั้น จึงไม่ผิดนักหากจะสรุปว่า อิสราเอลกำลังเพลี่ยงพล้ำเสียทีให้กับรัฐบาลอิหร่านภายใต้การนำของอะห์มาดิเนจัด และบรรดาแกนนำในรัฐบาลอิสราเอลคงมีอันต้อง “เจ็บกระดองใจ” ไม่น้อย ที่ต้องเฝ้ามองดูความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่าของอิหร่านในการแย่งชิงชาติพันธมิตรในแอฟริกาออกไปจากอ้อมอกของตนอย่างต่อเนื่องตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกันอิหร่านก็จะยังคงเดินหน้าใช้น้ำมันและความช่วยเหลือต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพลของตนในแอฟริกาต่อไป เพราะอิหร่านทราบดีว่า อิสราเอลไม่มีน้ำมันจำนวนมหาศาลที่จะมาทุ่มในศึกครั้งนี้เหมือนกับพวกเขานั่นเอง