“ถ้าทุกคนเป็นเศรษฐีได้ด้วยการคิด ก็คงไม่มียาจก เพราะยาจกก็คิดจะเป็นเศรษฐีได้” นี่คือวาทะของอาจารย์สุชีพ บุญญานุภาพ ผู้เป็นปราชญ์ในทางพุทธศาสนา
โดยนัยแห่งวาทะนี้มีความชัดเจนและเข้าใจได้อย่างเป็นรูปธรรมว่า สักว่าด้วยเหตุแห่งการคิดอยากเป็นโน่นเป็นนี่ หรืออยากมีโน่นมีนี่เพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้คิดไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำความคิดนั้นไปลงมือทำให้บรรลุผลตามที่คิดไว้ ไม่สามารถจะทำให้ผู้คิดบรรลุเป้าหมายแห่งการคิดแต่อย่างใด เป็นได้อย่างมากก็แค่นักฝันที่ไม่มีวันที่จะเป็นจริงได้
แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยวันนี้ และเวลานี้กำลังคิด และกำลังฝันที่จะโค่นล้มรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยการใช้กองกำลังของคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ และชูการนำอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่กำลังหนีโทษจำคุกอยู่ในต่างแดนคืนสู่อำนาจทางการเมืองอีกครั้ง หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นผู้นำรัฐบาลมาแล้วยุคหนึ่ง แต่มีอันต้องหลุดจากตำแหน่งเนื่องจากถูกกองทัพทำการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และถูกดำเนินคดีในศาลถึงขั้นถูกพิพากษาจำคุก 2 ปี ในคดีซื้อที่ดินรัชดาฯ
ส่วนว่าขบวนการล่าฝันจะเกิดขึ้น และเป็นจริงได้หรือไม่ อีกไม่นานนี้คงได้ดูกัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึงวันนั้น ผู้เขียนในฐานะสื่อมวลชนเห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจและควรแก่การนำมาวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการมองปัญหาและหาแนวทางป้องกัน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้นจากขบวนการล่าฝันที่ว่านี้
เริ่มด้วยคำถามที่ว่า ทำไมคนเสื้อแดงจึงเปิดแนวรบ และแนวรุกพร้อมกันทั้งในสภาและนอกสภา โดยให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีบางคนอันเป็นการต่อสู้ทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย และนอกสภาให้กองทัพเสื้อแดงที่เพิ่งจะมีการแต่งตั้งให้พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีเป็น ผบ.สูงสุดของกองทัพประชาชนต่อสู้กับรัฐบาล โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างน้อย 3 ประการ คือ
1. รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำแพ้โหวตในการลงมติไม่ไว้วางใจที่พรรคเพื่อไทยยื่นญัตติ โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลส่วนหนึ่งแหกมติพรรคหรือพรรคมีมติให้ฟรีโหวต ทางพรรคเพื่อไทยก็จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยผู้ที่พรรคเพื่อไทยมีมติให้เป็นนายกฯ ในการขอยื่นญัตติ และมีพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนหรือทั้งหมดเข้าร่วมด้วย
เมื่อได้อำนาจรัฐบาลมาแล้ว แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้คงไม่หยุดอยู่แค่นี้ แต่จะต้องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ และออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณเป็นเป้าหมายสุดท้าย
2. เพื่อสร้างกระแสกดดันศาลที่กำลังจะตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่จะมาถึง ให้มีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินในทางที่เป็นประโยชน์แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ
3. ก่อความวุ่นวายให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมือง และทางฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ถึงขั้นต้องยุบสภา เปิดโอกาสให้เลือกตั้งใหม่ซึ่งเท่ากับเปิดช่องให้ทางฝ่ายนี้ต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้ง และพวกเขาเชื่อว่ามีโอกาสชนะเหมือนเมื่อปลายปี 2550 หรือถ้าไม่มีการยุบสภาก็อาจมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายคนเสื้อแดงอ้างเหตุการต่อต้านปฏิวัติปลุกกระแสให้เกิดความวุ่นวาย และหาทางเจรจา หรือไม่ก็เข้ามาโค่นล้มอำนาจรัฐด้วยกองทัพประชาชน ดังที่พวกเขาคิดกันมาตลอดภายใต้การชี้นำของคนบางคนที่ยังยึดติดลัทธิคอมมิวนิสต์โบราณอยู่
ไม่ว่าการต่อสู้ในครั้งนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิด หรือเกิดขึ้นแล้วคนเสื้อแดงจะแพ้หรือชนะ สิ่งที่ประชาชนคนทั่วไปได้รับผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคมเป็นไปในทางลบมากกว่าบวก และไม่ควรจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2550 จึงไม่มีเหตุผลใดที่ทางฝ่ายกลุ่มคนเสื้อแดงจะลุกขึ้นมาขับไล่ด้วยการอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
2. ด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ากลุ่มคนเสื้อแดงก่อความวุ่นวาย รัฐบาลที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือก็สามารถใช้กฎหมายโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐทั้งตำรวจ และทหารเป็นกลไกดำเนินการให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้ โดยไม่จำเป็นต้องปฏิวัติ
3. ถ้าจะอ้างว่ารัฐบาลไม่มีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความมั่นคงภายในประเทศ จึงต้องทำการปฏิวัติปกครองด้วยระบอบเผด็จการจึงจะแก้ปัญหาได้ ก็อาจมีคำตอบกลับไปว่า เมืองไทยในระยะ 60 กว่าปีเกือบ 70 ปีมีปฏิวัติมาแล้วหลายครั้ง แต่ทำไมปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จึงไม่หมดไป และถ้ามีการปฏิวัติอีกครั้งจะแก้ปัญหาได้หมดจริงหรือ
ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะ 3 ประการที่ว่ามา ผู้เขียนเชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาแก้ได้ แต่ที่แก้ไม่ได้เพราะผู้แก้ปัญหากับผู้ก่อปัญหาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือคนละกลุ่มแต่เกี่ยวข้องกัน จึงแก้ไม่ได้หรือไม่ยอมแก้เท่านั้นเอง
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรตื่นกลัวกับคำขู่ของคนเสื้อแดงที่เปิดยุทธการล่าฝันจนเกินกว่าเหตุ
โดยนัยแห่งวาทะนี้มีความชัดเจนและเข้าใจได้อย่างเป็นรูปธรรมว่า สักว่าด้วยเหตุแห่งการคิดอยากเป็นโน่นเป็นนี่ หรืออยากมีโน่นมีนี่เพียงอย่างเดียว โดยที่ผู้คิดไม่มีศักยภาพเพียงพอที่จะนำความคิดนั้นไปลงมือทำให้บรรลุผลตามที่คิดไว้ ไม่สามารถจะทำให้ผู้คิดบรรลุเป้าหมายแห่งการคิดแต่อย่างใด เป็นได้อย่างมากก็แค่นักฝันที่ไม่มีวันที่จะเป็นจริงได้
แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีคนกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยวันนี้ และเวลานี้กำลังคิด และกำลังฝันที่จะโค่นล้มรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยการใช้กองกำลังของคนกลุ่มหนึ่งที่ใช้เสื้อแดงเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้ และชูการนำอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ที่กำลังหนีโทษจำคุกอยู่ในต่างแดนคืนสู่อำนาจทางการเมืองอีกครั้ง หลังจากที่เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง และเป็นผู้นำรัฐบาลมาแล้วยุคหนึ่ง แต่มีอันต้องหลุดจากตำแหน่งเนื่องจากถูกกองทัพทำการปฏิวัติรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 และถูกดำเนินคดีในศาลถึงขั้นถูกพิพากษาจำคุก 2 ปี ในคดีซื้อที่ดินรัชดาฯ
ส่วนว่าขบวนการล่าฝันจะเกิดขึ้น และเป็นจริงได้หรือไม่ อีกไม่นานนี้คงได้ดูกัน
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะถึงวันนั้น ผู้เขียนในฐานะสื่อมวลชนเห็นว่าเรื่องนี้น่าสนใจและควรแก่การนำมาวิเคราะห์เพื่อเป็นพื้นฐานในการมองปัญหาและหาแนวทางป้องกัน รวมไปถึงการแก้ไขปัญหาอันอาจเกิดขึ้นจากขบวนการล่าฝันที่ว่านี้
เริ่มด้วยคำถามที่ว่า ทำไมคนเสื้อแดงจึงเปิดแนวรบ และแนวรุกพร้อมกันทั้งในสภาและนอกสภา โดยให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี พร้อมด้วยรัฐมนตรีบางคนอันเป็นการต่อสู้ทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย และนอกสภาให้กองทัพเสื้อแดงที่เพิ่งจะมีการแต่งตั้งให้พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรีเป็น ผบ.สูงสุดของกองทัพประชาชนต่อสู้กับรัฐบาล โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างน้อย 3 ประการ คือ
1. รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำแพ้โหวตในการลงมติไม่ไว้วางใจที่พรรคเพื่อไทยยื่นญัตติ โดยมีพรรคร่วมรัฐบาลส่วนหนึ่งแหกมติพรรคหรือพรรคมีมติให้ฟรีโหวต ทางพรรคเพื่อไทยก็จะได้เป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล โดยผู้ที่พรรคเพื่อไทยมีมติให้เป็นนายกฯ ในการขอยื่นญัตติ และมีพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนหรือทั้งหมดเข้าร่วมด้วย
เมื่อได้อำนาจรัฐบาลมาแล้ว แน่นอนว่าคนกลุ่มนี้คงไม่หยุดอยู่แค่นี้ แต่จะต้องเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ และออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่อดีตนายกฯ ทักษิณเป็นเป้าหมายสุดท้าย
2. เพื่อสร้างกระแสกดดันศาลที่กำลังจะตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ที่จะมาถึง ให้มีการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินในทางที่เป็นประโยชน์แก่อดีตนายกฯ ทักษิณ
3. ก่อความวุ่นวายให้เกิดขึ้นแก่บ้านเมือง และทางฝ่ายรัฐบาลไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ถึงขั้นต้องยุบสภา เปิดโอกาสให้เลือกตั้งใหม่ซึ่งเท่ากับเปิดช่องให้ทางฝ่ายนี้ต่อสู้ทางการเมืองอีกครั้ง และพวกเขาเชื่อว่ามีโอกาสชนะเหมือนเมื่อปลายปี 2550 หรือถ้าไม่มีการยุบสภาก็อาจมีการปฏิวัติรัฐประหารเกิดขึ้น ถ้าเป็นเช่นนี้เป็นการเปิดโอกาสให้ทางฝ่ายคนเสื้อแดงอ้างเหตุการต่อต้านปฏิวัติปลุกกระแสให้เกิดความวุ่นวาย และหาทางเจรจา หรือไม่ก็เข้ามาโค่นล้มอำนาจรัฐด้วยกองทัพประชาชน ดังที่พวกเขาคิดกันมาตลอดภายใต้การชี้นำของคนบางคนที่ยังยึดติดลัทธิคอมมิวนิสต์โบราณอยู่
ไม่ว่าการต่อสู้ในครั้งนี้จะเกิดขึ้นหรือไม่เกิด หรือเกิดขึ้นแล้วคนเสื้อแดงจะแพ้หรือชนะ สิ่งที่ประชาชนคนทั่วไปได้รับผลกระทบทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคมเป็นไปในทางลบมากกว่าบวก และไม่ควรจะเกิดขึ้น ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทยฉบับ พ.ศ. 2550 จึงไม่มีเหตุผลใดที่ทางฝ่ายกลุ่มคนเสื้อแดงจะลุกขึ้นมาขับไล่ด้วยการอ้างว่าไม่เป็นประชาธิปไตย
2. ด้วยเหตุผลเดียวกัน ถ้ากลุ่มคนเสื้อแดงก่อความวุ่นวาย รัฐบาลที่มีอำนาจรัฐอยู่ในมือก็สามารถใช้กฎหมายโดยมีเจ้าหน้าที่รัฐทั้งตำรวจ และทหารเป็นกลไกดำเนินการให้เกิดความสงบเรียบร้อยได้ โดยไม่จำเป็นต้องปฏิวัติ
3. ถ้าจะอ้างว่ารัฐบาลไม่มีความเด็ดขาดในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาความมั่นคงภายในประเทศ จึงต้องทำการปฏิวัติปกครองด้วยระบอบเผด็จการจึงจะแก้ปัญหาได้ ก็อาจมีคำตอบกลับไปว่า เมืองไทยในระยะ 60 กว่าปีเกือบ 70 ปีมีปฏิวัติมาแล้วหลายครั้ง แต่ทำไมปัญหาต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จึงไม่หมดไป และถ้ามีการปฏิวัติอีกครั้งจะแก้ปัญหาได้หมดจริงหรือ
ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะ 3 ประการที่ว่ามา ผู้เขียนเชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาแก้ได้ แต่ที่แก้ไม่ได้เพราะผู้แก้ปัญหากับผู้ก่อปัญหาเป็นคนกลุ่มเดียวกัน หรือคนละกลุ่มแต่เกี่ยวข้องกัน จึงแก้ไม่ได้หรือไม่ยอมแก้เท่านั้นเอง
ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ควรตื่นกลัวกับคำขู่ของคนเสื้อแดงที่เปิดยุทธการล่าฝันจนเกินกว่าเหตุ