ในบทความเรื่อง “จุดจบคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้าน” ที่ตีพิมพ์ในมติชนเมื่อ 15มกราคม เจ้าของนามปากกา “ประสงค์ วิสุทธิ์” ผู้เปิดปมซุกหุ้นคนแรกๆ จนสะเทือนเลื่อนลั่นวงการการเมืองไทยเมื่อเกือบ 10 ปีก่อน ได้เอ่ยถึงภาพยนตร์ชื่อดังของ ฮอลีวูด เรื่อง SWAT: สวาท หน่วยตำรวจมะกันที่รับหน้าที่คุมตัวผู้ต้องหาค้ายาเสพติดรายใหญ่จากโรงพักนิวยอร์กไปส่งเรื่องจำของรัฐ แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดความวุ่นวายตามมาก็คือ ผู้ต้องหา (ไม่รู้หน้าเหลี่ยมไม่เหลี่ยม) ดันมีโอกาสให้สัมภาษณ์นักข่าวทีวี มันเลยประกาศว่า “ถ้าใครช่วยตนออกไปได้จะให้ 100 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4 พันล้านบาท” แล้วอำนาจเงินก็ทำให้แก๊งอาชญากรรมทั้งนิวยอร์กผนึกกำลังขนอาวุธหนัก มาช่วยมันแหกคุก กลายเป็นภาระให้กับหน่วย SWAT
ที่เด็ดยิ่งไปกว่า คือคนเขียนบทเจ้ากรรม ตั้งใจจะทรมานใจคนดู เขียนให้หนึ่งในสมาชิกหน่วย SWAT คิดคดทรยศต่อหน้าที่การงานของตัวเอง คือ หวังจะพาคนร้ายหนี แลกกับเงิน 100 ล้าน ผลสุดท้ายจบลงที่คนทรยศถูกยิงตาย ท่ามกลางเสียงสาปแช่ง และนักโทษชายปราชัย...
คุณประสงค์ วิสุทธิ์ เขียนเพื่ออะไร ไม่มีความจำเป็นต้องไปก้าวล่วง แต่สิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงใจความสำคัญของภาพยนตร์ที่คอลัมนิสต์ท่านนี้ยกมา ต้องการจะสอนให้เห็นถึงความเลวร้ายของผู้คิดคดทรยศต่อหน้าที่
“คนก่อกรรมทำเข็ญนั้น ย่อมถูกสังคมประณามว่าเป็นคนชั่วช้าอยู่แล้วแต่คนที่ทรยศต่อหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือคนชั่ว เพราะหวังเงิน ชั่วช้าและน่ากลัวยิ่งกว่า”
จบจากเรื่องภาพยนตร์ฮอลีวูด หันมาดูเรื่องบ้านเมืองกันบ้าง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพิ่งเดินทางไปให้ถ้อยคำกับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา กรณีมีบุคคลภายนอกรู้ล่วงหน้าคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อต้นกล้ายางพารา มูลค่า1,440 ล้านบาท ก่อนที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะ อ่านคำพิพากษา
…พูดง่ายๆ ก็คือ สอบหาที่มาข่าวลือ เลขล็อก 8 ต่อ 1 นั่นเอง …
ตามข่าวนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ได้ให้ข้อมูล และตอบคำถามคณะกรรมการของศาลอย่างเต็มที่ นานถึง 3 ชั่วโมง โดยที่ทนาย สุวัตร อภัยภักดิ์ ระบุว่า ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนได้เกรงจะไม่เหมาะสม
หากจะย้อนรอยปรากฏการณ์ ผลสอบคดีกล้ายางรั่วจริงหรือ?
คดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองนัดฟังคำพิพากษาคดีในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 แต่พอถึงวันจริง กลับมีเหตุที่ทำให้คณะผู้พิพากษาชุดที่มีท่าน บุญรอด ตันประเสริฐ เป็นประธานไม่สามารถอ่านคำพิพากษาได้ อันเนื่องมาจากจำเลยทั้ง 44 คนมาปรากฏตัวต่อศาลไม่ครบ ศาลจึงนัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้ง ในวันที่ 20 กันยายน 2552
ขณะที่มติ 8 ต่อ 1 เนวินรอด!!! ดังอื้ออึงไปแล้วทั่วทั้งสังคมตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2552 ไม่ใช่แค่จากตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล แม้แต่แกนนำเสื้อแดงที่ไม่ใช่ระดับที่มีความสลักสำคัญอย่าง จตุพร พรหมพันธุ์ ก็ยังเอาเรื่องนี้ไปปราศรัย
ถือเป็นเรื่องดีที่ศาลยุติธรรมวันนี้ไม่นิ่งนอนใจแต่ลุกขึ้นมาหาคำตอบลบข้อครหา ผลคดีรั่วจริงหรือไม่ ด้วยการตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาคำตอบที่แท้จริง ต้องยอมรับว่า วันนี้สิ่งที่สังคมตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ดังกล่าว มีความสำคัญต่อสถานะของสถาบันที่ผดุงความยุติธรรม
คนทั่วไป ไม่ได้อยากรู้ว่า สนธิ เก่งมาจากไหนถึงรู้ไปทุกเรื่อง กระทั่งผลคดีกล้ายาง และคนทั่วไปไม่ได้อยากรู้ว่า สนธิรู้แล้วทำไมไม่เก็บไว้ เอามาพูดทำไม ไม่เหมาะสม
แต่ที่คนทั้งประเทศต้องการคำตอบ และต้องตอบให้ได้คือ
คำพิพากษารั่วจริงหรือไม่?
หากรั่วจริง ก็ต้องสืบต่อให้ได้ว่ารั่วเพราะอะไร? ในขั้นตอนไหน?
การรั่วออกมาก่อนหน้าคำพิพากษาจะถูกอ่านถึงเกือบเดือนส่งผลกระทบต่อความยุติธรรมและความเชื่อมั่นในคดีดังกล่าว หรือไม่?
และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นนี้จะมีอำนาจมากน้อย สามารถสอบถามองค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตกล้ายางทั้งคณะได้หรือไม่ หรือสามารถเข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้หรือไม่ มีอำนาจมากแค่ไหน?
อย่าไประแวงว่าการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายยุติธรรมเยี่ยงนี้จะเข้าทางคนเสื้อแดง เพราะตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใส การตรวจสอบและการชี้แจงลักษณะนี้มีแต่จะช่วยลบคำสบประมาทของพวกไม่หวังดีต่อบ้านต่อเมืองได้ ในทางตรงข้าม การตรวจสอบก็จะเป็นทางสร้างเกราะแก้วคุ้มภัย ให้กับสถาบันสำคัญของชาติให้ทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ให้มีพวกเหลือบ ลิ้น เรไรเข้ามาแสวงหาประโยชน์ ด้วยการใช้เงินซื้อ หรือใช้ขนมซื้อก็ตาม
การตรวจสอบครั้งนี้ ยิ่งควรจะทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยว่า หากตรวจสอบแล้วพบข้อพิรุธ ความไม่ถูกไม่ต้องในหมู่บุคลากรของกระบวนการยุติธรรม ผู้มีอำนาจก็พร้อมจะตัดเนื้อร้ายนั้นทิ้งทำลาย และลงโทษไม่ให้ลุกลามไปได้ เป็นการสละส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ เป็นการลงโทษบุคคลผู้มีความผิด เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันให้คงอยู่เป็นที่พึ่งพาของประชาชน
อย่าให้ซ้ำรอยกรณีสินบนคดียุบพรรค ที่ลำพังคนระดับอดีตเลขาธิการประธานศาลฎีกายุคตุลาการภิวัฒน์อย่าง นายจรัญ ภักดีธนากุล ถึงขั้นออกมาเปิดข้อมูลว่า มีนักการเมืองบางพรรคมอบหมายให้กับข้าราชการบางคนไปเสนอให้สินบนแก่ตุลาการรัฐธรรมนูญบางท่าน แต่เจอคนดีที่ท่านปฏิเสธไม่รับ จึงทำให้คดีซุกหุ้นภาค 2 ไม่ซ้ำรอยคดีเก่าๆ (ดูเพิ่มจากรายงานพิเศษ : “สินบนตุลาการฯ” ต้องเคลียร์...ไม่มี “ผู้รับ” จริงหรือ? ผู้จัดการออนไลน์ 20 มิ.ย. 50)
สิ้นความจากปากอาจารย์จรัญ นอกจากกระทรวงยุติธรรมจะนำตัว “นายหน้าม้าใช้” ที่ว่ามาลงโทษไม่ได้ เพราะผลการสอบของคณะกรรมการฯ ระบุว่า พยานหลักฐานอ่อน เอาผิดไม่ได้ (ดู พินิจ สุเสารัจ พ้นผิดคดีให้สินบนตุลาการ รธน.คดียุบพรรคการเมือง, สำนักข่าวไทย 4 ธ.ค. 50) เรื่องนี้กลับมีความไม่ชอบมาพากล เมื่อรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมในขณะนั้น ออกมาข่มขู่ผู้เปิดเผยอย่างท่านจรัญ ภักดีธนากุล และนายวีระ สมความคิดว่า จะแจ้งความกลับ
ผลลัพธ์แบบนี้ นอกจากจะทำให้สังคมไม่คลายความสงสัยแล้ว ยังจะพลอยเป็นการกีดกันไม่ให้คนดีๆ เสนอตัวออกมาทำหน้าที่ช่วยสอดส่องดูแลความถูกต้องในสังคม เพราะคนจะกลัวเดือดร้อน และพูดเสียงเดียวกันว่า อย่าไปยุ่งเลย เดี๋ยวก็เจ็บตัวเหมือน สนธิ จรัญ หรือวีระ หรอก ...
ที่เด็ดยิ่งไปกว่า คือคนเขียนบทเจ้ากรรม ตั้งใจจะทรมานใจคนดู เขียนให้หนึ่งในสมาชิกหน่วย SWAT คิดคดทรยศต่อหน้าที่การงานของตัวเอง คือ หวังจะพาคนร้ายหนี แลกกับเงิน 100 ล้าน ผลสุดท้ายจบลงที่คนทรยศถูกยิงตาย ท่ามกลางเสียงสาปแช่ง และนักโทษชายปราชัย...
คุณประสงค์ วิสุทธิ์ เขียนเพื่ออะไร ไม่มีความจำเป็นต้องไปก้าวล่วง แต่สิ่งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงใจความสำคัญของภาพยนตร์ที่คอลัมนิสต์ท่านนี้ยกมา ต้องการจะสอนให้เห็นถึงความเลวร้ายของผู้คิดคดทรยศต่อหน้าที่
“คนก่อกรรมทำเข็ญนั้น ย่อมถูกสังคมประณามว่าเป็นคนชั่วช้าอยู่แล้วแต่คนที่ทรยศต่อหน้าที่ เพื่อช่วยเหลือคนชั่ว เพราะหวังเงิน ชั่วช้าและน่ากลัวยิ่งกว่า”
จบจากเรื่องภาพยนตร์ฮอลีวูด หันมาดูเรื่องบ้านเมืองกันบ้าง เมื่อวันพุธที่ผ่านมา นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพิ่งเดินทางไปให้ถ้อยคำกับคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นผู้พิพากษาศาลฎีกา กรณีมีบุคคลภายนอกรู้ล่วงหน้าคำพิพากษาคดีทุจริตซื้อต้นกล้ายางพารา มูลค่า1,440 ล้านบาท ก่อนที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะ อ่านคำพิพากษา
…พูดง่ายๆ ก็คือ สอบหาที่มาข่าวลือ เลขล็อก 8 ต่อ 1 นั่นเอง …
ตามข่าวนั้น หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ได้ให้ข้อมูล และตอบคำถามคณะกรรมการของศาลอย่างเต็มที่ นานถึง 3 ชั่วโมง โดยที่ทนาย สุวัตร อภัยภักดิ์ ระบุว่า ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณชนได้เกรงจะไม่เหมาะสม
หากจะย้อนรอยปรากฏการณ์ ผลสอบคดีกล้ายางรั่วจริงหรือ?
คดีนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองนัดฟังคำพิพากษาคดีในวันที่ 17 สิงหาคม 2552 แต่พอถึงวันจริง กลับมีเหตุที่ทำให้คณะผู้พิพากษาชุดที่มีท่าน บุญรอด ตันประเสริฐ เป็นประธานไม่สามารถอ่านคำพิพากษาได้ อันเนื่องมาจากจำเลยทั้ง 44 คนมาปรากฏตัวต่อศาลไม่ครบ ศาลจึงนัดอ่านคำพิพากษาอีกครั้ง ในวันที่ 20 กันยายน 2552
ขณะที่มติ 8 ต่อ 1 เนวินรอด!!! ดังอื้ออึงไปแล้วทั่วทั้งสังคมตั้งแต่ต้นเดือนสิงหาคม 2552 ไม่ใช่แค่จากตัวนายสนธิ ลิ้มทองกุล แม้แต่แกนนำเสื้อแดงที่ไม่ใช่ระดับที่มีความสลักสำคัญอย่าง จตุพร พรหมพันธุ์ ก็ยังเอาเรื่องนี้ไปปราศรัย
ถือเป็นเรื่องดีที่ศาลยุติธรรมวันนี้ไม่นิ่งนอนใจแต่ลุกขึ้นมาหาคำตอบลบข้อครหา ผลคดีรั่วจริงหรือไม่ ด้วยการตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาคำตอบที่แท้จริง ต้องยอมรับว่า วันนี้สิ่งที่สังคมตั้งคำถามกับปรากฏการณ์ดังกล่าว มีความสำคัญต่อสถานะของสถาบันที่ผดุงความยุติธรรม
คนทั่วไป ไม่ได้อยากรู้ว่า สนธิ เก่งมาจากไหนถึงรู้ไปทุกเรื่อง กระทั่งผลคดีกล้ายาง และคนทั่วไปไม่ได้อยากรู้ว่า สนธิรู้แล้วทำไมไม่เก็บไว้ เอามาพูดทำไม ไม่เหมาะสม
แต่ที่คนทั้งประเทศต้องการคำตอบ และต้องตอบให้ได้คือ
คำพิพากษารั่วจริงหรือไม่?
หากรั่วจริง ก็ต้องสืบต่อให้ได้ว่ารั่วเพราะอะไร? ในขั้นตอนไหน?
การรั่วออกมาก่อนหน้าคำพิพากษาจะถูกอ่านถึงเกือบเดือนส่งผลกระทบต่อความยุติธรรมและความเชื่อมั่นในคดีดังกล่าว หรือไม่?
และคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นนี้จะมีอำนาจมากน้อย สามารถสอบถามองค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตกล้ายางทั้งคณะได้หรือไม่ หรือสามารถเข้าไปสอบถามเจ้าหน้าที่ศาลฎีกาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ได้หรือไม่ มีอำนาจมากแค่ไหน?
อย่าไประแวงว่าการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจฝ่ายยุติธรรมเยี่ยงนี้จะเข้าทางคนเสื้อแดง เพราะตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมมีความโปร่งใส การตรวจสอบและการชี้แจงลักษณะนี้มีแต่จะช่วยลบคำสบประมาทของพวกไม่หวังดีต่อบ้านต่อเมืองได้ ในทางตรงข้าม การตรวจสอบก็จะเป็นทางสร้างเกราะแก้วคุ้มภัย ให้กับสถาบันสำคัญของชาติให้ทำงานอย่างเต็มที่ ไม่ให้มีพวกเหลือบ ลิ้น เรไรเข้ามาแสวงหาประโยชน์ ด้วยการใช้เงินซื้อ หรือใช้ขนมซื้อก็ตาม
การตรวจสอบครั้งนี้ ยิ่งควรจะทำให้เห็นเป็นตัวอย่างด้วยว่า หากตรวจสอบแล้วพบข้อพิรุธ ความไม่ถูกไม่ต้องในหมู่บุคลากรของกระบวนการยุติธรรม ผู้มีอำนาจก็พร้อมจะตัดเนื้อร้ายนั้นทิ้งทำลาย และลงโทษไม่ให้ลุกลามไปได้ เป็นการสละส่วนน้อยเพื่อรักษาส่วนใหญ่ เป็นการลงโทษบุคคลผู้มีความผิด เพื่อรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันให้คงอยู่เป็นที่พึ่งพาของประชาชน
อย่าให้ซ้ำรอยกรณีสินบนคดียุบพรรค ที่ลำพังคนระดับอดีตเลขาธิการประธานศาลฎีกายุคตุลาการภิวัฒน์อย่าง นายจรัญ ภักดีธนากุล ถึงขั้นออกมาเปิดข้อมูลว่า มีนักการเมืองบางพรรคมอบหมายให้กับข้าราชการบางคนไปเสนอให้สินบนแก่ตุลาการรัฐธรรมนูญบางท่าน แต่เจอคนดีที่ท่านปฏิเสธไม่รับ จึงทำให้คดีซุกหุ้นภาค 2 ไม่ซ้ำรอยคดีเก่าๆ (ดูเพิ่มจากรายงานพิเศษ : “สินบนตุลาการฯ” ต้องเคลียร์...ไม่มี “ผู้รับ” จริงหรือ? ผู้จัดการออนไลน์ 20 มิ.ย. 50)
สิ้นความจากปากอาจารย์จรัญ นอกจากกระทรวงยุติธรรมจะนำตัว “นายหน้าม้าใช้” ที่ว่ามาลงโทษไม่ได้ เพราะผลการสอบของคณะกรรมการฯ ระบุว่า พยานหลักฐานอ่อน เอาผิดไม่ได้ (ดู พินิจ สุเสารัจ พ้นผิดคดีให้สินบนตุลาการ รธน.คดียุบพรรคการเมือง, สำนักข่าวไทย 4 ธ.ค. 50) เรื่องนี้กลับมีความไม่ชอบมาพากล เมื่อรองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมในขณะนั้น ออกมาข่มขู่ผู้เปิดเผยอย่างท่านจรัญ ภักดีธนากุล และนายวีระ สมความคิดว่า จะแจ้งความกลับ
ผลลัพธ์แบบนี้ นอกจากจะทำให้สังคมไม่คลายความสงสัยแล้ว ยังจะพลอยเป็นการกีดกันไม่ให้คนดีๆ เสนอตัวออกมาทำหน้าที่ช่วยสอดส่องดูแลความถูกต้องในสังคม เพราะคนจะกลัวเดือดร้อน และพูดเสียงเดียวกันว่า อย่าไปยุ่งเลย เดี๋ยวก็เจ็บตัวเหมือน สนธิ จรัญ หรือวีระ หรอก ...