ถกหาช่องอุ้มมาบตาพุดมีลุ้น หลังพบช่องดันกิจการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง 23 กิจการเดินหน้าต่อได้ เล็งให้อัยการเป็นตัวแทนยื่นศาลปกครองกลางขอทบทวนระงับเฉพาะการก่อสร้างไม่เกี่ยวกับการเปิดดำเนินการและต้องยืนยันทำตามมาตรา 67 วรรค 2 ขณะที่อีก 10 กิจการเข้าข่ายส่งสผ.ตีความไม่ต้องทำEIA และ 4-5 กิจการให้กรอ.และกนอ.ดูใบอนุญาตประกอบกิจการ
วานนี้ (29 ม.ค.) นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับตัวแทน 30 กิจการที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องการขอยกเว้นระงับกิจการเมื่อเร็วๆ นี้พร้อมกับตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุด วานนี้(29ม.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบที่จะช่วยเหลือกิจการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างจำนวน 23 กิจการเพื่อลดผลกระทบให้น้อยสุด โดยจะหยิบยกประเด็นเฉพาะขอผ่อนผันยกเว้นการระงับการก่อสร้างเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน และพร้อมที่จะทำตามมาตรา 67 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยจะให้เอกชนเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อส่งให้อัยการเป็นตัวแทนยื่นต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอทบทวนคำสั่งระงับกิจการซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาจัดทำเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
“ ใน 23 กิจการนั้นมีส่วนหนึ่งที่ติดอยู่ใน 30 กิจการที่ศาลยกคำร้องด้วย เราก็เห็นว่ากลุ่มนี้จะมีผลกระทบมากสุด แต่การก่อสร้างไม่ได้สร้างมลภาวะแต่อย่างไรจนกว่าจะมีการดำเนินกิจการ ดังนั้น จึงให้เอกชนจัดทำข้อมูลรายละเอียดว่า ระหว่างก่อสร้างมีแผนดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรด้วย ขณะเดียวกันวันที่ 1 ก.พ.จะทำหนังสือลงนามโดยนายชายชัย ชัยรุ่งเรืองรมว.อุตสาหกรรมทำถึง 8 หน่วยงานรัฐที่ถูกฟ้อง เพื่อเห็นชอบมอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นตัวแทนการยื่นเรื่อง ” นายสรยุทธกล่าว
สำหรับกลุ่มกิจการที่พิจารณาจากการยกคำร้องของศาลฯระบุถึงกิจการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) สามารถส่งเรื่องให้สำนักโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เป็นผู้พิจารณาได้ทันที ซึ่งพบว่ามี 10 กิจการที่เข้าข่ายที่จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ 1. บ.พีทีที ฟีนอล จำกัด 2.บ.อดิตยาเบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 3.ปตท.เคมีคอลจำกัด(มหาชน) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลิเอทิลีน 4. บ.สยาม มิตซุย พีทีเอ จำกัด 5. บ.กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด โครงการติดตั้ง DME Removal Unit
6. บ.ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด 7. ปตท.เคมีคอล สาขาถนนไอ-สี่ 8. บ.บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด(มหาชน) 9. บ.ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด ผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีน 10. บ.บลูสโคปสตีล (ประเทศไทย) จำกัด
นายสรยุทธกล่าวว่า กลุ่มกิจการที่ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นั้น กลุ่มนี้จากการพิจารณาจะมี 4-5 กิจการซึ่งได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) พิจารณา
“ในกลุ่มที่ไม่เข้าข่ายทำ EIA และกลุ่มที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นั้น เอกชนสามารถยื่นขอคำยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันทีแล้วให้ยื่นแจ้งไปยังศาลปกครองกลางเพื่อขอยกเว้นการระงับกิจการ”นายสรยุทธกล่าว
ส่วนกิจการในกลุ่มสุดท้ายที่จะสามารถนำเหตุผลที่ 11 กิจการหลุดพ้นการระงับกิจการจากศาลปกครองสูงสุดมาเทียบเคียงกลุ่มนี้ จะต้องมาพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่าจะสามารถหยิบยกขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดได้หรือไม่อย่างไร เบื้องต้นคาดว่ากลุ่มนี้จะมี 19 กิจการใน 64 กิจการที่ถูกระงับดำเนินกิจการ
นายประศาสน์ชัย ตันฑพานิช อธิบดีอัยการคดีปกครองกลางกล่าวว่า กรณีกิจการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างได้พิจารณาแล้วว่ามีโอกาสที่จะขอทบทวนได้ เนื่องจากกระบวนการผลิตยังไม่ได้เกิดขึ้น จึงไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมจึงน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะให้ธุรกิจยังคงก่อสร้างไปก่อนได้ แต่ต้องทำตามกระบวนการมาตรา 67 วรรค 2 แล้วจึงพิจารณาตามขั้นตอนว่าควรจะเปิดดำเนินการหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยสุด
**ส่งทีมไทยแลนด์กล่อมญี่ปุ่น มี.ค.นี้
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคม 2553 นี้ รัฐบาลจะส่งทีมไทยแลนด์เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับนักธุรกิจญี่ปุ่นในเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาโครงการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกสั่งระงับตามคำสั่งศาลปกครอง เพื่อฟื้นฟูและเรียกความเชื่อมั่นกลับมา หลังมีข่าวนักลงทุนญี่ปุ่นเตรียมย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น หากการแก้ไขปัญหามาบตาพุดยังไม่มีความชัดเจนในช่วงเวลาอันสั้น
"ขณะนี้มีหลายโครงการลงทุนที่เริ่มเดินหน้าตามขั้นตอนของกระบวนการตาที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง กำหนดไว้ และเป็นการสะท้อนว่า ไทยให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม" รมว.คลัง กล่าวและว่า รัฐบาลพยายามที่จะคลี่คลายปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้ลดน้อยลง ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน
วานนี้ (29 ม.ค.) นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2 เปิดเผยหลังการประชุมร่วมกับตัวแทน 30 กิจการที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องการขอยกเว้นระงับกิจการเมื่อเร็วๆ นี้พร้อมกับตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุด วานนี้(29ม.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบที่จะช่วยเหลือกิจการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างจำนวน 23 กิจการเพื่อลดผลกระทบให้น้อยสุด โดยจะหยิบยกประเด็นเฉพาะขอผ่อนผันยกเว้นการระงับการก่อสร้างเท่านั้นไม่เกี่ยวกับการดำเนินงาน และพร้อมที่จะทำตามมาตรา 67 วรรคสองแห่งรัฐธรรมนูญปี 2550 โดยจะให้เอกชนเร่งจัดทำข้อมูลเพื่อส่งให้อัยการเป็นตัวแทนยื่นต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอทบทวนคำสั่งระงับกิจการซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาจัดทำเสร็จภายใน 2 สัปดาห์
“ ใน 23 กิจการนั้นมีส่วนหนึ่งที่ติดอยู่ใน 30 กิจการที่ศาลยกคำร้องด้วย เราก็เห็นว่ากลุ่มนี้จะมีผลกระทบมากสุด แต่การก่อสร้างไม่ได้สร้างมลภาวะแต่อย่างไรจนกว่าจะมีการดำเนินกิจการ ดังนั้น จึงให้เอกชนจัดทำข้อมูลรายละเอียดว่า ระหว่างก่อสร้างมีแผนดูแลด้านสิ่งแวดล้อมอย่างไรด้วย ขณะเดียวกันวันที่ 1 ก.พ.จะทำหนังสือลงนามโดยนายชายชัย ชัยรุ่งเรืองรมว.อุตสาหกรรมทำถึง 8 หน่วยงานรัฐที่ถูกฟ้อง เพื่อเห็นชอบมอบหมายให้อัยการสูงสุดเป็นตัวแทนการยื่นเรื่อง ” นายสรยุทธกล่าว
สำหรับกลุ่มกิจการที่พิจารณาจากการยกคำร้องของศาลฯระบุถึงกิจการที่ไม่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) สามารถส่งเรื่องให้สำนักโนบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เป็นผู้พิจารณาได้ทันที ซึ่งพบว่ามี 10 กิจการที่เข้าข่ายที่จะจัดอยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ 1. บ.พีทีที ฟีนอล จำกัด 2.บ.อดิตยาเบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 3.ปตท.เคมีคอลจำกัด(มหาชน) การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลิเอทิลีน 4. บ.สยาม มิตซุย พีทีเอ จำกัด 5. บ.กรุงเทพซินธิติกส์ จำกัด โครงการติดตั้ง DME Removal Unit
6. บ.ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด 7. ปตท.เคมีคอล สาขาถนนไอ-สี่ 8. บ.บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด(มหาชน) 9. บ.ไทยโพลิเอททิลีน จำกัด ผลิตเม็ดพลาสติกโพลิเอททีลีน 10. บ.บลูสโคปสตีล (ประเทศไทย) จำกัด
นายสรยุทธกล่าวว่า กลุ่มกิจการที่ได้รับใบอนุญาตดำเนินกิจการก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นั้น กลุ่มนี้จากการพิจารณาจะมี 4-5 กิจการซึ่งได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.)และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) พิจารณา
“ในกลุ่มที่ไม่เข้าข่ายทำ EIA และกลุ่มที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการก่อนรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้นั้น เอกชนสามารถยื่นขอคำยืนยันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ทันทีแล้วให้ยื่นแจ้งไปยังศาลปกครองกลางเพื่อขอยกเว้นการระงับกิจการ”นายสรยุทธกล่าว
ส่วนกิจการในกลุ่มสุดท้ายที่จะสามารถนำเหตุผลที่ 11 กิจการหลุดพ้นการระงับกิจการจากศาลปกครองสูงสุดมาเทียบเคียงกลุ่มนี้ จะต้องมาพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่าจะสามารถหยิบยกขึ้นมาอุทธรณ์ต่อศาลสูงสุดได้หรือไม่อย่างไร เบื้องต้นคาดว่ากลุ่มนี้จะมี 19 กิจการใน 64 กิจการที่ถูกระงับดำเนินกิจการ
นายประศาสน์ชัย ตันฑพานิช อธิบดีอัยการคดีปกครองกลางกล่าวว่า กรณีกิจการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างได้พิจารณาแล้วว่ามีโอกาสที่จะขอทบทวนได้ เนื่องจากกระบวนการผลิตยังไม่ได้เกิดขึ้น จึงไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมจึงน่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะให้ธุรกิจยังคงก่อสร้างไปก่อนได้ แต่ต้องทำตามกระบวนการมาตรา 67 วรรค 2 แล้วจึงพิจารณาตามขั้นตอนว่าควรจะเปิดดำเนินการหรือไม่ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจได้รับผลกระทบน้อยสุด
**ส่งทีมไทยแลนด์กล่อมญี่ปุ่น มี.ค.นี้
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ในเดือนมีนาคม 2553 นี้ รัฐบาลจะส่งทีมไทยแลนด์เดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจกับนักธุรกิจญี่ปุ่นในเรื่องแนวทางการแก้ปัญหาโครงการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกสั่งระงับตามคำสั่งศาลปกครอง เพื่อฟื้นฟูและเรียกความเชื่อมั่นกลับมา หลังมีข่าวนักลงทุนญี่ปุ่นเตรียมย้ายฐานการลงทุนไปประเทศอื่น หากการแก้ไขปัญหามาบตาพุดยังไม่มีความชัดเจนในช่วงเวลาอันสั้น
"ขณะนี้มีหลายโครงการลงทุนที่เริ่มเดินหน้าตามขั้นตอนของกระบวนการตาที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรคสอง กำหนดไว้ และเป็นการสะท้อนว่า ไทยให้ความสำคัญในเรื่องการสร้างสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม" รมว.คลัง กล่าวและว่า รัฐบาลพยายามที่จะคลี่คลายปัญหาต่างๆ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศให้ลดน้อยลง ซึ่งเชื่อว่ารัฐบาลจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชน