ASTVผู้จัดการรายวัน- “สรยุทธ”หารืออัยการสูงสุดและ 30 กิจการวันนี้ (29ม.ค.) หาช่องเดินหน้ายกเว้นระงับกิจการหลังคำสั่งศาลฯเปิดช่อง เบื้องต้นพบ 6 กิจการเข้าข่ายไม่ต้องทำEIA แนะให้ยื่นสผ.ชี้ชัดได้ ส่วนที่เหลือเตรียมจัดกลุ่มดำเนินงานเพิ่ม ขณะที่หอการค้าญี่ปุ่นจี้ ทวงสัญญาจากรัฐ ชัดเจนใน 6 เดือน หากช้ากว่านั้นขู่อาจมีบางกิจการตัดสินใจย้ายฐานหนีได้
วานนี้ (28 ม.ค.) นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง เปิดเผยว่า วันนี้(29ม.ค.) จะเชิญผู้แทนจาก 30 กิจการที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องขอยกเว้นการระงับกิจการพร้อมด้วยที่ปรึกษากฏหมายของบริษัท นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด มาร่วมหารือเพื่อวิเคราะห์สำนวนที่ส่งศาลฯไปเพื่อจัดหมวดหมู่ในการดำเนินงานส่วนกิจการอื่นๆ สามารถร่วมรับฟังได้ด้วยเช่นกัน และหลังจากนั้นจะมีการหารือรายละเอียดในคณะกรรมการกลางเพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนให้ชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 3 ก.พ.นี้
“ เราคงต้องมาดู 30 กิจการเพราะการยื่นศาลฯก็จะต้องดูว่าหากเป็นคำร้องเดิมไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงก็จะต้องอุทธรณ์ไปที่ศาลปกครองสูงสุดแต่หากมีเหตุผลใหม่ก็สามารถยื่นกลับไปที่ศาลปกครองกลางได้อีกซึ่งวันที่ 3 ก.พ.จะดูรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองถึงแนวทางปฏิบัติจะเคลียร์กับเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากสุด”นายสรยุทธกล่าว
**แนะ6กิจการยื่นสผ.ตีความEIA
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้พิจารณาจากคำสั่งศาลฯยกคำร้อง30กิจการประกอบด้วย 1. เป็นกิจการที่ไม่เข้าข่ายต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ศาลฯได้ระบุว่าขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงซึ่งพบว่ามีประมาณ 6 กิจการที่เข้าข่ายนี้จึงเห็นว่าเอกชนควรจะส่งหนังสือแจ้งไปยังสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ชี้ชัดแล้วส่งเรื่องดังกล่าวยื่นต่อศาลฯให้ยกเว้นระงับกิจการอีกครั้ง
สำหรับกิจการที่เข้าข่ายไม่ต้องทำรายงานอีไอเอ แบ่งเป็นโครงการด้านพลังงาน 4 โครงการคือ 1. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตสารฟีนอล ของบริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด 2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงโรงผลิตสารโอเลฟินส์ สาขาถนน ไอสี่(ก่อสร้างเตาแครกกิ้งสำรอง) ของ ปตท.เคมิคอล
3.โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลิเอทิลีน ของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน) และ4.การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการส่วนขยายโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง(บีพีอีเอ็กซ์) ของบริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด(มหาชน) ส่วนอีก 2 โครงการเป็นของอุตสาหกรรม ที่เป็นโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของบ.บลูสโคปสตีลและบริษัทที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม อีกราย
สำหรับกลุ่มที่ 2. ให้พิจารณาจากการอนุมัติและอนุญาตที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 24 ส.ค.50ที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ โดยเมื่อพิจารณาจากคำตัดสินของกรณีบริษัทสยามยามาโตะ ที่หลุดพ้นคำระงับกิจการไปก่อนหน้านี้เนื่องจากดูที่ใบอนุญาติการใช้ที่ดินและใบอนุญาตประกอบกิจการซึ่งเท่าที่พิจารณายังไม่มีกิจการใดที่เข้าข่ายนัก
กลุ่ม 3.การยกเหตุผลเทียบเคียงกับ 11 กิจการที่ศาลฯได้พิจารณาให้เดินหน้ากิจการต่อไปโดยไม่ได้ยกเว้นการระงับกิจการซึ่งปรากฏว่าศาลฯระบุว่าการยื่นของเอกชนมีการใช้ข้อมูลเก่าจึงจะต้องมาพิจารณาว่าได้ยืนยันไปอย่างไรโดยเฉพาะมีการยืนยันว่าจะปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ที่ได้มีการกำหนดกรอบกติกาไว้แล้วหรือไม่เช่นการทำ EIA การทำรายงานผลกระทบสุขภาพ(HIA)
**หอการค้ายุ่นจี้6เดือนไม่ชัดย้ายฐาน
นายโย จิซึคาตะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ หรือเจซีซี กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการหารือประจำปี ระหว่างภาครัฐและเจซีซี ว่า สมาชิกเจซีซี 1,314 รายเกือบ 1 ใน 3 ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อปัญหามาบตาพุดโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก ก่อสร้างและสถาบันการเงินจึงต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาให้มีความชัดเจนโดยเร็วซึ่งหากเกินกว่า 6 เดือนยังไม่เห็นแนวทางใดๆ ชัดเจนบางกิจการอาจจะมีการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตได้
“ รัฐบาลไทยระบุว่าจะเร่งแก้ไขปัญหาให้มีข้อยุติใน 6 เดือนคงต้องกลับไปถามรัฐบาลว่าระยะเวลานั้นคือเมื่อใดแน่ เพราะรัฐบาลเป็นคนกำหนดเอง ซึ่งหากเร่งแก้ไขได้จะเป็นบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนในไทยโดยมองว่าไทยยังมีศักยภาพอยู่”ประธานเจซีซีกล่าว
ทั้งนี้ สิ่งที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการความชัดเจนคือในเรื่องของประเภทกิจการรุนแรงที่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปส่วนกรณีกรอบการจัดทำ EIA และ HIA นั้นต้องการให้รัฐบาลไทยมีขั้นตอนดำเนินการให้เร็วสุดก็จะเป็นผลดีซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่หวังไว้เช่นนั้น
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ได้ชี้แจงและทำความเข้าใจให้กับเจซีซีเข้าใจแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย ซึ่งขณะนี้ดำเนินการแล้ว 4 รูปแบบ คือ การเร่งออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งองค์การอิสระ(เฉพาะกาล) 2. การดำเนินงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อหาทางปฏิบัติ 3. ตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 และ4.เร่งออกเป็นพระราชบัญญัติให้ทันเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหอการค้าญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นมากขึ้นโดยยืนยันว่าหอการค้าญี่ปุ่นยังไม่ถอนการลงทุนในไทย.
วานนี้ (28 ม.ค.) นายสรยุทธ เพ็ชรตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและในฐานะประธานคณะทำงานกลางเพื่อหาข้อสรุปในแนวทางดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง เปิดเผยว่า วันนี้(29ม.ค.) จะเชิญผู้แทนจาก 30 กิจการที่ศาลปกครองกลางยกคำร้องขอยกเว้นการระงับกิจการพร้อมด้วยที่ปรึกษากฏหมายของบริษัท นายจุลสิงห์ วสันตสิงห์ อัยการสูงสุด มาร่วมหารือเพื่อวิเคราะห์สำนวนที่ส่งศาลฯไปเพื่อจัดหมวดหมู่ในการดำเนินงานส่วนกิจการอื่นๆ สามารถร่วมรับฟังได้ด้วยเช่นกัน และหลังจากนั้นจะมีการหารือรายละเอียดในคณะกรรมการกลางเพื่อหาข้อสรุปในการดำเนินการตามมาตรา 67 วรรคสอง ซึ่งมีตัวแทนจากทุกภาคส่วนให้ชัดเจนอีกครั้งในวันที่ 3 ก.พ.นี้
“ เราคงต้องมาดู 30 กิจการเพราะการยื่นศาลฯก็จะต้องดูว่าหากเป็นคำร้องเดิมไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงก็จะต้องอุทธรณ์ไปที่ศาลปกครองสูงสุดแต่หากมีเหตุผลใหม่ก็สามารถยื่นกลับไปที่ศาลปกครองกลางได้อีกซึ่งวันที่ 3 ก.พ.จะดูรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองถึงแนวทางปฏิบัติจะเคลียร์กับเจ้าหน้าที่แต่ละหน่วยงานเพื่อให้เกิดความชัดเจนมากสุด”นายสรยุทธกล่าว
**แนะ6กิจการยื่นสผ.ตีความEIA
ทั้งนี้ เบื้องต้นได้พิจารณาจากคำสั่งศาลฯยกคำร้อง30กิจการประกอบด้วย 1. เป็นกิจการที่ไม่เข้าข่ายต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ศาลฯได้ระบุว่าขอให้ตรวจสอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงซึ่งพบว่ามีประมาณ 6 กิจการที่เข้าข่ายนี้จึงเห็นว่าเอกชนควรจะส่งหนังสือแจ้งไปยังสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ชี้ชัดแล้วส่งเรื่องดังกล่าวยื่นต่อศาลฯให้ยกเว้นระงับกิจการอีกครั้ง
สำหรับกิจการที่เข้าข่ายไม่ต้องทำรายงานอีไอเอ แบ่งเป็นโครงการด้านพลังงาน 4 โครงการคือ 1. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตสารฟีนอล ของบริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด 2. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงโรงผลิตสารโอเลฟินส์ สาขาถนน ไอสี่(ก่อสร้างเตาแครกกิ้งสำรอง) ของ ปตท.เคมิคอล
3.โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตโพลิเอทิลีน ของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด(มหาชน) และ4.การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการส่วนขยายโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชนิดความหนาแน่นสูง(บีพีอีเอ็กซ์) ของบริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จำกัด(มหาชน) ส่วนอีก 2 โครงการเป็นของอุตสาหกรรม ที่เป็นโครงการที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของบ.บลูสโคปสตีลและบริษัทที่มีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม อีกราย
สำหรับกลุ่มที่ 2. ให้พิจารณาจากการอนุมัติและอนุญาตที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 24 ส.ค.50ที่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ โดยเมื่อพิจารณาจากคำตัดสินของกรณีบริษัทสยามยามาโตะ ที่หลุดพ้นคำระงับกิจการไปก่อนหน้านี้เนื่องจากดูที่ใบอนุญาติการใช้ที่ดินและใบอนุญาตประกอบกิจการซึ่งเท่าที่พิจารณายังไม่มีกิจการใดที่เข้าข่ายนัก
กลุ่ม 3.การยกเหตุผลเทียบเคียงกับ 11 กิจการที่ศาลฯได้พิจารณาให้เดินหน้ากิจการต่อไปโดยไม่ได้ยกเว้นการระงับกิจการซึ่งปรากฏว่าศาลฯระบุว่าการยื่นของเอกชนมีการใช้ข้อมูลเก่าจึงจะต้องมาพิจารณาว่าได้ยืนยันไปอย่างไรโดยเฉพาะมีการยืนยันว่าจะปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรค 2 ที่ได้มีการกำหนดกรอบกติกาไว้แล้วหรือไม่เช่นการทำ EIA การทำรายงานผลกระทบสุขภาพ(HIA)
**หอการค้ายุ่นจี้6เดือนไม่ชัดย้ายฐาน
นายโย จิซึคาตะ ประธานหอการค้าญี่ปุ่น กรุงเทพฯ หรือเจซีซี กล่าวภายหลังหารือร่วมกับ นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการหารือประจำปี ระหว่างภาครัฐและเจซีซี ว่า สมาชิกเจซีซี 1,314 รายเกือบ 1 ใน 3 ได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อปัญหามาบตาพุดโดยเฉพาะอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็ก ก่อสร้างและสถาบันการเงินจึงต้องการให้รัฐบาลเร่งแก้ไขปัญหาให้มีความชัดเจนโดยเร็วซึ่งหากเกินกว่า 6 เดือนยังไม่เห็นแนวทางใดๆ ชัดเจนบางกิจการอาจจะมีการตัดสินใจย้ายฐานการผลิตได้
“ รัฐบาลไทยระบุว่าจะเร่งแก้ไขปัญหาให้มีข้อยุติใน 6 เดือนคงต้องกลับไปถามรัฐบาลว่าระยะเวลานั้นคือเมื่อใดแน่ เพราะรัฐบาลเป็นคนกำหนดเอง ซึ่งหากเร่งแก้ไขได้จะเป็นบรรยากาศที่ดีสำหรับการลงทุนในไทยโดยมองว่าไทยยังมีศักยภาพอยู่”ประธานเจซีซีกล่าว
ทั้งนี้ สิ่งที่นักลงทุนญี่ปุ่นต้องการความชัดเจนคือในเรื่องของประเภทกิจการรุนแรงที่ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปส่วนกรณีกรอบการจัดทำ EIA และ HIA นั้นต้องการให้รัฐบาลไทยมีขั้นตอนดำเนินการให้เร็วสุดก็จะเป็นผลดีซึ่งนักลงทุนญี่ปุ่นส่วนใหญ่หวังไว้เช่นนั้น
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ได้ชี้แจงและทำความเข้าใจให้กับเจซีซีเข้าใจแนวทางการแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไทย ซึ่งขณะนี้ดำเนินการแล้ว 4 รูปแบบ คือ การเร่งออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีตั้งองค์การอิสระ(เฉพาะกาล) 2. การดำเนินงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อหาทางปฏิบัติ 3. ตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหามาบตาพุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 และ4.เร่งออกเป็นพระราชบัญญัติให้ทันเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งหอการค้าญี่ปุ่นมีความเชื่อมั่นมากขึ้นโดยยืนยันว่าหอการค้าญี่ปุ่นยังไม่ถอนการลงทุนในไทย.