ASTVผู้จัดการรายวัน-กรมส่งเสริมการส่งออกทำยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศระยะ 5 ปี หวังใช้ส่งออกเป็นฐานในการผลักดันเศรษฐกิจประเทศ ตั้งเป้ายกระดับสินค้า-บริการไทยสู่ตลาดระดับบน รุกสร้างแบรนด์ไทยให้ติดตลาด เล็งขึ้นแท่นผู้นำอาเซียนโดยใช้ประโยชน์จากเออีซี
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กรมส่งเสริมการส่งออก ได้จัดทำยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทย ซึ่งจะใช้ผลักดันการส่งออกในระยะ 5 ปี (ปี2553-2557) และได้เสนอให้นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ พิจารณาแล้ว มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยมีการค้าระหว่างประเทศเป็นฐานรองรับที่มั่นคง เพื่อสร้างเสถียรภาพในการส่งออกในระยะยาวและเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำของไทยในอาเซียน และเพิ่มอำนาจต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของไทยในเวทีเศรษฐกิจโลก
สำหรับยุทธศาสตร์ดังกล่าว แบ่งเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการของไทยสู่ตลาดระดับบน โดยดำเนินการดังนี้ จัดลำดับสินค้าและบริการที่ไทยเป็นผู้นำ หรือมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในตลาดโลก เช่น ข้าวหอมมะลิ อาหารแปรรูป อัญมณี สิ่งทอ การบริหารจัดการโรงแรม และธุรกิจสปา เป็นต้น จากนั้นจะสร้างแบรนด์สินค้าและบริการเหล่านี้ให้เป็นที่ยอมรับของตลาด ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ใช้เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ที่ดีของไทย เพื่อสร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่ม รวมถึงปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
2.ส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยให้การสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก หรือฝึกอบรมผู้ประกอบการให้ทราบความต้องการของตลาดเป้าหมาย และกลุ่มสินค้าและบริการที่มีศักยภาพก่อนการผลิตและส่งออก รวมถึงสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเฉพาะตัวของสินค้า ผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกำหนดกลุ่มเป้าหมายและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
3.กระจายตลาดส่งออกของไทยและสร้างฐานการทำธุรกิจของไทยในทุกภูมิภาคของโลก โดยส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีกรอบต่างๆ บุกขยายตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ เชิงรุก เช่น จีน บราซิล อินเดีย สนับสนุนภาคเอกชนทำธุรกิจในต่างประเทศ สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย และต่างประเทศ ฯลฯ
4.เป็นหนึ่งในผู้นำอาเซียในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ในการขยายการค้าและการลงทุนร่วมกับสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดน และมีบทบาทเป็นผู้ประสานด้านเศรษฐกิจระหว่างสมาชิก และ/หรือสมาชิกกับประเทศคู่เจรจา เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ
5.เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก โดยให้ความสำคัญในการบ่มเพาะเอสเอ็มอี ผู้ส่งออกรายใหม่ และผู้ที่มีศักยภาพ ให้ส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ
6.เจรจาเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของไทย โดยให้ความสำคัญกับการเจรจาทุกระดับ ทั้งทวิภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคี แสดงบทบาทนำในการเจรจาระดับภูมิภาคและพหุภาคี และกำหนดแผนดำเนินการทั้งในเชิงรุก และรับเพื่อปกป้องและตอบโต้ทางการค้า
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า กรมส่งเสริมการส่งออก ได้จัดทำยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศของไทย ซึ่งจะใช้ผลักดันการส่งออกในระยะ 5 ปี (ปี2553-2557) และได้เสนอให้นางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ พิจารณาแล้ว มีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย โดยมีการค้าระหว่างประเทศเป็นฐานรองรับที่มั่นคง เพื่อสร้างเสถียรภาพในการส่งออกในระยะยาวและเพื่อเสริมสร้างความเป็นผู้นำของไทยในอาเซียน และเพิ่มอำนาจต่อรองเพื่อรักษาผลประโยชน์ของไทยในเวทีเศรษฐกิจโลก
สำหรับยุทธศาสตร์ดังกล่าว แบ่งเป็น 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1.ยกระดับคุณภาพและภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการของไทยสู่ตลาดระดับบน โดยดำเนินการดังนี้ จัดลำดับสินค้าและบริการที่ไทยเป็นผู้นำ หรือมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในตลาดโลก เช่น ข้าวหอมมะลิ อาหารแปรรูป อัญมณี สิ่งทอ การบริหารจัดการโรงแรม และธุรกิจสปา เป็นต้น จากนั้นจะสร้างแบรนด์สินค้าและบริการเหล่านี้ให้เป็นที่ยอมรับของตลาด ส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ใช้เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ที่ดีของไทย เพื่อสร้างความแตกต่างและมูลค่าเพิ่ม รวมถึงปกป้องสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
2.ส่งเสริมการผลิตและการพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงกับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว โดยให้การสนับสนุนข้อมูลด้านการตลาดเชิงลึก หรือฝึกอบรมผู้ประกอบการให้ทราบความต้องการของตลาดเป้าหมาย และกลุ่มสินค้าและบริการที่มีศักยภาพก่อนการผลิตและส่งออก รวมถึงสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเฉพาะตัวของสินค้า ผลิตสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และกำหนดกลุ่มเป้าหมายและสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
3.กระจายตลาดส่งออกของไทยและสร้างฐานการทำธุรกิจของไทยในทุกภูมิภาคของโลก โดยส่งเสริมและสนับสนุนภาคเอกชนในการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีกรอบต่างๆ บุกขยายตลาดเกิดใหม่ที่มีศักยภาพ เชิงรุก เช่น จีน บราซิล อินเดีย สนับสนุนภาคเอกชนทำธุรกิจในต่างประเทศ สร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไทย และต่างประเทศ ฯลฯ
4.เป็นหนึ่งในผู้นำอาเซียในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสร้างความเข้มแข็งของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) โดยให้ความสำคัญอันดับต้นๆ ในการขยายการค้าและการลงทุนร่วมกับสมาชิกอาเซียน ส่งเสริมและพัฒนาการค้าชายแดน และมีบทบาทเป็นผู้ประสานด้านเศรษฐกิจระหว่างสมาชิก และ/หรือสมาชิกกับประเทศคู่เจรจา เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฯลฯ
5.เพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก โดยให้ความสำคัญในการบ่มเพาะเอสเอ็มอี ผู้ส่งออกรายใหม่ และผู้ที่มีศักยภาพ ให้ส่งออกได้อย่างต่อเนื่อง สนับสนุนการลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ
6.เจรจาเพื่อเสริมสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ รวมทั้งรักษาและปกป้องผลประโยชน์ของไทย โดยให้ความสำคัญกับการเจรจาทุกระดับ ทั้งทวิภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคี แสดงบทบาทนำในการเจรจาระดับภูมิภาคและพหุภาคี และกำหนดแผนดำเนินการทั้งในเชิงรุก และรับเพื่อปกป้องและตอบโต้ทางการค้า