แบงก์ทหารไทยรุกธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ตั้งเป้ากวาดมาร์เก็ตแชร์ 4% ในปี 2553 และเพิ่มเป็น 14% ในปี 2556 ขณะที่รายได้ค่าฟีและรายได้ดอกเบี้ยก็จะเติบโต 1,000 ล้านบาท ในปีหน้า จากปีนี้โตอยู่ที่ 500 ล้านบาท หลังนำระบบ TMB International Trade Technology ที่เป็นเทคโนโลยี “อิมเมจจิ้ง เวิร์คโฟลว” มาช่วยจัดการด้านเอกสาร
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า ในปี 2553 ธนาคารตั้งเป้าเติบโตส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) สำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 4% และคาดว่าจะทำให้ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดดังกล่าวเพิ่มเป็น 14% ในปี 2556 หลังจากที่ธนาคารได้นำระบบ TMB International Trade Technology ที่ทันสมัยที่ชื่อว่า “อิมเมจจิ้ง เวิร์คโฟลว” หรือระบบการจัดการด้านเอกสารผ่านช่องทางอินเตอร์แอคทีฟ ออนไลน์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่จะช่วยลดความยุ่งยากและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตลอดจนการแข่งขันด้านธุรกิจต่างประเทศของลูกค้าธนาคาร
ทั้งนี้ ธนาคารได้ลงทุนในระบบดังกล่าวเป็นจำนวนกว่า 100 ล้านบาท และเตรียมเงินลงทุนในกิจกรรมต่อเนื่องจากนี้อีกประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถได้รับประโยชน์ โดยธนาคารคาดว่าจะเริ่มให้บริการระบบดังกล่าวอย่างเป็นทางการแก่ลูกค้าทั่วไปที่ยังไม่เคยใช้บริการกับธนาคารมาก่อนได้ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ธนาคารนำระบบดังกล่าวมาใช้ให้บริการปรากฏว่าได้ช่วยลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมด้านเอกสารและด้านการติดต่อดำเนินการลงถึง 40% จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาในการให้บริการ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
นายปิติ ยังกล่าวอีกว่าระบบดังกล่าวมีความสะดวก โดยการนำเอกสารทุกชนิดสแกนเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการทำงานระหว่างลูกค้าและธนาคาร ซึ่งจะมีการควบคุมและจัดการกระบวนการในงานประจำวัน เนื่องจากระบบนี้สามารถกำหนดมาตรฐานเวลาในการทำธุรกรรมได้อย่างแน่นอน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการภายในผ่านการแจ้งเตือนและการให้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะเป็นการลดภาระด้านการจัดเก็บเอกสารและสามารถเรียกดูข้อมูลผ่านระบบด้วยตนเองแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมเสมือนมีศูนย์บริการธุรกิจต่างประเทศอยู่ในที่ทำการของตนเอง
นอกจากนี้ ในกรณีที่ระบบการให้บริการเกิดเหตุขัดข้องหรือระบบล่ม ซึ่งเกิดจากการจราจล การชุมนุม และการวางระเบิดก็ตาม ธนาคารก็ได้เตรียมความพร้อมตรงนี้ไว้เช่นกันคือ ธนาคารจะมีระบบเซิร์ฟเวอร์เกี่ยวกับข้อมูลที่ได้สำรองไว้อีกที่หนึ่ง โดยจะมีศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองอยู่ที่อาคารพญาไทและอาคารที่สีลม ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่ซิ้งกับสำนักงานใหญ่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นพนักงานก็จะยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ตามปกติ
“แม้ว่าการส่งออกในประเทศไทยปีนี้จะหดตัวลง แต่ยอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศของธนาคารสามารถโตสวนทางได้ ประมาณ 50-60% หรือคิดเป็นมูลค่า 50,000-60,000 ล้านบาท แต่เป็นการโตจากฐานเดิมที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ มองว่าอุตสาหกรรมที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะไม่ใช่เพียงภาคเกษตรภาคเดียว ดังเช่นที่ผ่านมา แต่เริ่มมีสัญญาณที่ดีจากภาคยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์” นายปิติ กล่าว
ขณะที่ความเสี่ยงที่น่าจับตามอง ได้แก่ การที่ผู้ส่งออกยังยึดติดกับลูกค้าในตลาดเก่า อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งทำการค้ากันด้วยความคุ้นเคย ส่งผลให้การเก็บค่าสินค้าทำด้วยความยากลำบาก อีกทั้งในตลาดเก่ายังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการควรมองหาตลาดใหม่ อาทิ จีน หรือ อินเดีย ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากนัก
ด้านนายวีระชัย อมรรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สายงานธุรรกรรมการเงิน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ธนาคารเปิดให้บริการกับลูกค้าที่ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกด้วยการนำเทคโนโลยี “อิมเมจจิ้ง เวิร์คโฟลว” มาให้บริการเมื่อต้นปี 2552 ที่ผ่านมานั้น ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งฐานจำนวนลูกค้าและปริมาณกระแสเงินสด (Cashflow) อยู่ที่ 1% โดยเป็นลูกค้ารายใหญ่จำนวน 500-600 ราย และลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีก 1,000 ราย จากจำนวนลูกค้าที่ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกทั้งหมด 40,000 รายทั่วประเทศ และมีกระแสเงินสดประมาณ 160,000-180,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ธนาคารตั้งไว้ว่าในปีหน้ายอดกระแสเงินสดจะเติบโตเป็น 400,000 ล้านบาท
ในขณะที่รายได้จากการให้บริการดังกล่าวในปัจจุบันอยู่ที่ 500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้จากอัตราดอกเบี้ย โดยคาดว่าในปีหน้ารายได้ทั้ง 2 ด้านจะเติบโตมากกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน เนื่องจากในไตรมาส 1 ของปีหน้าธนาคารจะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการให้บริการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศเข้ามาสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากขึ้น ประกอบกับธนาคารมองว่าธุรกิจนำเข้าและส่งออกในปีหน้าจะฟื้นตัวดีขึ้น จากปีนี้ที่มีลูกค้าหลายบริษัทชะลอการทำธุรกิจลงไปหลายราย
นายปิติ ตัณฑเกษม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธุรกิจขนาดใหญ่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) (TMB) เปิดเผยว่า ในปี 2553 ธนาคารตั้งเป้าเติบโตส่วนแบ่งทางการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) สำหรับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศอยู่ที่ 4% และคาดว่าจะทำให้ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดดังกล่าวเพิ่มเป็น 14% ในปี 2556 หลังจากที่ธนาคารได้นำระบบ TMB International Trade Technology ที่ทันสมัยที่ชื่อว่า “อิมเมจจิ้ง เวิร์คโฟลว” หรือระบบการจัดการด้านเอกสารผ่านช่องทางอินเตอร์แอคทีฟ ออนไลน์ บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่จะช่วยลดความยุ่งยากและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานตลอดจนการแข่งขันด้านธุรกิจต่างประเทศของลูกค้าธนาคาร
ทั้งนี้ ธนาคารได้ลงทุนในระบบดังกล่าวเป็นจำนวนกว่า 100 ล้านบาท และเตรียมเงินลงทุนในกิจกรรมต่อเนื่องจากนี้อีกประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถได้รับประโยชน์ โดยธนาคารคาดว่าจะเริ่มให้บริการระบบดังกล่าวอย่างเป็นทางการแก่ลูกค้าทั่วไปที่ยังไม่เคยใช้บริการกับธนาคารมาก่อนได้ภายในไตรมาส 1 ปีหน้า แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ธนาคารนำระบบดังกล่าวมาใช้ให้บริการปรากฏว่าได้ช่วยลดระยะเวลาในการทำธุรกรรมด้านเอกสารและด้านการติดต่อดำเนินการลงถึง 40% จากเดิมที่ใช้ระยะเวลาในการให้บริการ 45 นาทีถึง 1 ชั่วโมง
นายปิติ ยังกล่าวอีกว่าระบบดังกล่าวมีความสะดวก โดยการนำเอกสารทุกชนิดสแกนเข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการทำงานระหว่างลูกค้าและธนาคาร ซึ่งจะมีการควบคุมและจัดการกระบวนการในงานประจำวัน เนื่องจากระบบนี้สามารถกำหนดมาตรฐานเวลาในการทำธุรกรรมได้อย่างแน่นอน อีกทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการภายในผ่านการแจ้งเตือนและการให้ข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะเป็นการลดภาระด้านการจัดเก็บเอกสารและสามารถเรียกดูข้อมูลผ่านระบบด้วยตนเองแบบเรียลไทม์ ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมเสมือนมีศูนย์บริการธุรกิจต่างประเทศอยู่ในที่ทำการของตนเอง
นอกจากนี้ ในกรณีที่ระบบการให้บริการเกิดเหตุขัดข้องหรือระบบล่ม ซึ่งเกิดจากการจราจล การชุมนุม และการวางระเบิดก็ตาม ธนาคารก็ได้เตรียมความพร้อมตรงนี้ไว้เช่นกันคือ ธนาคารจะมีระบบเซิร์ฟเวอร์เกี่ยวกับข้อมูลที่ได้สำรองไว้อีกที่หนึ่ง โดยจะมีศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองอยู่ที่อาคารพญาไทและอาคารที่สีลม ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่ซิ้งกับสำนักงานใหญ่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นพนักงานก็จะยังสามารถให้บริการลูกค้าได้ตามปกติ
“แม้ว่าการส่งออกในประเทศไทยปีนี้จะหดตัวลง แต่ยอดธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศของธนาคารสามารถโตสวนทางได้ ประมาณ 50-60% หรือคิดเป็นมูลค่า 50,000-60,000 ล้านบาท แต่เป็นการโตจากฐานเดิมที่มีอยู่เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ มองว่าอุตสาหกรรมที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศจะไม่ใช่เพียงภาคเกษตรภาคเดียว ดังเช่นที่ผ่านมา แต่เริ่มมีสัญญาณที่ดีจากภาคยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์” นายปิติ กล่าว
ขณะที่ความเสี่ยงที่น่าจับตามอง ได้แก่ การที่ผู้ส่งออกยังยึดติดกับลูกค้าในตลาดเก่า อาทิ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น ซึ่งทำการค้ากันด้วยความคุ้นเคย ส่งผลให้การเก็บค่าสินค้าทำด้วยความยากลำบาก อีกทั้งในตลาดเก่ายังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการควรมองหาตลาดใหม่ อาทิ จีน หรือ อินเดีย ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวมากนัก
ด้านนายวีระชัย อมรรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ สายงานธุรรกรรมการเงิน ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ตั้งแต่ที่ธนาคารเปิดให้บริการกับลูกค้าที่ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกด้วยการนำเทคโนโลยี “อิมเมจจิ้ง เวิร์คโฟลว” มาให้บริการเมื่อต้นปี 2552 ที่ผ่านมานั้น ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั้งฐานจำนวนลูกค้าและปริมาณกระแสเงินสด (Cashflow) อยู่ที่ 1% โดยเป็นลูกค้ารายใหญ่จำนวน 500-600 ราย และลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) อีก 1,000 ราย จากจำนวนลูกค้าที่ทำธุรกิจนำเข้าและส่งออกทั้งหมด 40,000 รายทั่วประเทศ และมีกระแสเงินสดประมาณ 160,000-180,000 ล้านบาท จากเป้าหมายที่ธนาคารตั้งไว้ว่าในปีหน้ายอดกระแสเงินสดจะเติบโตเป็น 400,000 ล้านบาท
ในขณะที่รายได้จากการให้บริการดังกล่าวในปัจจุบันอยู่ที่ 500 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นรายได้ค่าธรรมเนียมและรายได้จากอัตราดอกเบี้ย โดยคาดว่าในปีหน้ารายได้ทั้ง 2 ด้านจะเติบโตมากกว่า 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ธนาคารมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมายอย่างแน่นอน เนื่องจากในไตรมาส 1 ของปีหน้าธนาคารจะนำผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับการให้บริการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศเข้ามาสนับสนุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการมากขึ้น ประกอบกับธนาคารมองว่าธุรกิจนำเข้าและส่งออกในปีหน้าจะฟื้นตัวดีขึ้น จากปีนี้ที่มีลูกค้าหลายบริษัทชะลอการทำธุรกิจลงไปหลายราย