“พาณิชย์” ระดมสมองผู้ประกอบการไทย เตรียมความพร้อมรับมือเปิดเสรีบริการอาเซียนปี 2553 ใน 4 สาขานำร่อง ท่องเที่ยว สุขภาพ ขนส่งทางอากาศ โทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์
นายนพดล สระวาสี รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายการเปิดตลาดในสาขาบริการต่างๆ โดยจะมีการเร่งรัดเปิดเสรีใน 4 สาขาบริการนำร่อง ได้แก่ ท่องเที่ยว สุขภาพ ขนส่งทางอากาศ สาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งกำหนดให้สมาชิกอาเซียนสามารถถือหุ้นอย่างน้อย 70% และยกเลิกข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั้งหมด โดยมีผลในปี 2553 หรือหลังจากที่มีการลงนาม และในปี 2556 จะต้องเปิดให้อาเซียนถือหุ้นอย่างน้อย 70% ในสาขาขนส่งโลจิสติกส์ ส่วนสาขาบริการอื่นๆ ต้องเปิดให้สมาชิกอาเซียนสามารถถือหุ้นได้อย่างน้อย 70% ในปี 2558 เช่น ด้านการสื่อสาร การก่อสร้าง จัดจำหน่าย การศึกษา การเงิน บริการธุรกิจ อาทิ วิชาชีพ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน และปรับตัวรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีให้สามารถแข่งขันต่อไปได้ กรมจึงได้จัดโครงการชี้แจงความคืบหน้าการเจรจา และชี้แจงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเจรจาการค้าบริการให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำมาประกอบการเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการ ซึ่งถือเป็นข้อผูกพันชุดที่ 8 ของไทยภายใต้อาเซียน
“จะพยายามทำให้ภาคเอกชนของไทยเข้าใจ และได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า การเปิดตลาดการค้าบริการนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่แค่การเปิดเสรี หากแต่เป็นการลดอุปสรรคในการทำธุรกิจบริการระหว่างกัน และทำให้เกิดความโปร่งใส เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับโอกาส และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” นายนพดล กล่าว
สำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการนั้น เป็นหนึ่งในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อทำให้อาเซียนมีการรวมกลุ่มกันเองอย่างเข้มแข็ง และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะมีผลในปี 2558 โดยก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายการเป็น AEC นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศไทยมีข้อตกลงที่ต้องเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการการลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน
นายนพดล สระวาสี รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้อาเซียนได้กำหนดเป้าหมายการเปิดตลาดในสาขาบริการต่างๆ โดยจะมีการเร่งรัดเปิดเสรีใน 4 สาขาบริการนำร่อง ได้แก่ ท่องเที่ยว สุขภาพ ขนส่งทางอากาศ สาขาโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ ซึ่งกำหนดให้สมาชิกอาเซียนสามารถถือหุ้นอย่างน้อย 70% และยกเลิกข้อจำกัดการเข้าสู่ตลาดอื่นๆ ทั้งหมด โดยมีผลในปี 2553 หรือหลังจากที่มีการลงนาม และในปี 2556 จะต้องเปิดให้อาเซียนถือหุ้นอย่างน้อย 70% ในสาขาขนส่งโลจิสติกส์ ส่วนสาขาบริการอื่นๆ ต้องเปิดให้สมาชิกอาเซียนสามารถถือหุ้นได้อย่างน้อย 70% ในปี 2558 เช่น ด้านการสื่อสาร การก่อสร้าง จัดจำหน่าย การศึกษา การเงิน บริการธุรกิจ อาทิ วิชาชีพ อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการไทยในการเข้าไปใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีการค้าบริการในอาเซียน และปรับตัวรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปิดเสรีให้สามารถแข่งขันต่อไปได้ กรมจึงได้จัดโครงการชี้แจงความคืบหน้าการเจรจา และชี้แจงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการเจรจาการค้าบริการให้หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนเพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะเพื่อนำมาประกอบการเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการ ซึ่งถือเป็นข้อผูกพันชุดที่ 8 ของไทยภายใต้อาเซียน
“จะพยายามทำให้ภาคเอกชนของไทยเข้าใจ และได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นว่า การเปิดตลาดการค้าบริการนั้น แท้จริงแล้วไม่ใช่แค่การเปิดเสรี หากแต่เป็นการลดอุปสรรคในการทำธุรกิจบริการระหว่างกัน และทำให้เกิดความโปร่งใส เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถวางแผนในการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับโอกาส และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น” นายนพดล กล่าว
สำหรับการเปิดตลาดการค้าบริการนั้น เป็นหนึ่งในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) เพื่อทำให้อาเซียนมีการรวมกลุ่มกันเองอย่างเข้มแข็ง และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งจะมีผลในปี 2558 โดยก่อนที่จะไปถึงเป้าหมายการเป็น AEC นั้น ประเทศสมาชิกอาเซียน รวมถึงประเทศไทยมีข้อตกลงที่ต้องเปิดตลาดการค้าสินค้า การค้าบริการการลงทุนและแรงงานฝีมืออย่างเสรีมากขึ้น เพื่อนำไปสู่การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน