ASTV ผู้จัดการรายวัน – นายกฯ “อภิสิทธิ์” ฟุ้งสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัว หลังจากตัวเลขการส่งออก-การท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้น บวกกับตัวเลขการจัดเก็บรายได้ไตรมาสแรกทะลุเป้า ผลักดันให้ยอดทั้งปีทะลุ 2 แสนล้านบาท ระบุรัฐบาลเดินหน้าแก้ปัญหาหนี้สินธุรกิจเอสเอ็มอี-เกษตรกรต่อเนื่อง พร้อมเดินทางไปประชุมเศรษฐกิจที่สวิตเซอร์แลนด์ในวันที่ 28 ม.ค.นี้
วานนี้ (24 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) ที่รัฐบาลกำลังเร่งเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาสะสางในเรื่องของหนี้สิน และในเรื่องการดูแลส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอี ว่า รัฐบาลจะจัดงานเอสเอ็มอี เอ็กซ์โป ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค.2553 เพื่อสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี ก่อนจะเดินทางไปร่วมประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 28 ม.ค. นี้
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศนั้น ได้มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน แม้จะยังคงมีปัญหาเรื่องของเกษตรกร หรือเอสเอ็มอีที่ยังคั่งค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัวเลขการส่งออก การท่องเที่ยว ได้กลับมาอยู่ในภาวะที่เรียกว่าปกติ และเริ่มมีการขยายตัวอย่างค่อนข้างรวดเร็ว เท่าที่ติดตามตรวจสอบในช่วงเดือน ม.ค. แม้จะผ่านไปเพียงประมาณ 3 สัปดาห์ ตัวเลขการท่องเที่ยว การส่งออกปรับตัวดีขึ้น และยังได้รับแรงสนับสนุนที่เกิดขึ้นจากราคาพืชผลที่ดีในแง่ของเศรษฐกิจภายในประเทศ
“จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น ทำให้เรามั่นใจว่า ที่พูดถึงการที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกของเศรษฐกิจในปีนี้ร้อยละ 3.5 ทำได้แน่นอน และขณะนี้ว่าตามจริงแล้วบรรดานักวิเคราะห์ และสำนักต่าง ๆ เริ่มที่จะใช้ตัวเลขที่สูงกว่าร้อยละ 3.5 แล้ว”
***เป้าเก็บรายได้ปีนี้ทะลุ 2 แสนล้าน
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกตัวหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้รับทราบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 53 ที่ผ่านมา คือเรื่องของการจัดเก็บรายได้ซึ่งสูงกว่าเป้าค่อนข้างมาก ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค.) การจัดเก็บภาษีเกินเป้ากว่าที่ประมาณการไว้ค่อนข้างจะมาก จนกระทั่งเมื่อดูแนวโน้มไปแล้วตลอดทั้งปีงบประมาณ ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือว่าทำให้เศรษฐกิจมาสะดุดลง ทำให้เชื่อได้ว่าการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณนี้ อาจจะเกินเป้าถึง 2 แสนล้านบาท
“ขณะนี้ต้องถือว่าเศรษฐกิจนั้นมีความมั่นคงในเรื่องของการฟื้นตัวมากทีเดียว และได้ตั้งเป้าในเรื่องของการส่งออกว่า หลังจากที่ปีที่แล้วหดตัวนั้น ปีนี้น่าจะต้องนำให้กลับมาขยายตัวได้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 14 นี่คือเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่คิดว่าขณะนี้น่าจะทำให้ประชาชนได้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น”
****สั่งแทรกแซงราคาข้าวภาคใต้
สำหรับปัญหาและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีปัจจัยเสียงต่างๆ อยู่ ซึ่งจะต้องมีการดูแลและแก้ปัญหากันต่อไป โดยรัฐบาลจะทำงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบ และขณะเดียวกันนั้นก็เร่งเดินหน้าทำระบบต่างๆ ให้ลงตัว อาทิ เช่นการประกันรายได้เกษตรกรรอบ 2 นั้นจะต้องมีการปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีความชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หลังจากรอบแรกอาจจะมีปัญหาบ้าง เพราะความไม่เข้าใจหรือว่าขั้นตอนต่างๆ ซึ่งประชาชน และเจ้าหน้าที่ต้องเรียนรู้พร้อมๆ กันไป แต่ในรอบที่ 2 นั้นเราเริ่มกันตั้งแต่เนิ่นๆ และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการที่มีการขึ้นทะเบียนรับรองสิทธิของเกษตรกร
ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ที่ราคาขายในตลาดต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่ประกาศนั้น นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น และทางกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้เข้าไปดูแลแทรกแซงในกรณีที่มีการกดราคาไม่ให้เป็นไปตามราคาอ้างอิงในพื้นที่ในภาคใต้ ซึ่งผลผลิตข้าวจะออกมาหลังจากพื้นที่อื่น
วานนี้ (24 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงการแก้ปัญหาของผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) ที่รัฐบาลกำลังเร่งเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาสะสางในเรื่องของหนี้สิน และในเรื่องการดูแลส่งเสริมพัฒนาเอสเอ็มอี ว่า รัฐบาลจะจัดงานเอสเอ็มอี เอ็กซ์โป ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 28-31 ม.ค.2553 เพื่อสนับสนุนธุรกิจเอสเอ็มอี ก่อนจะเดินทางไปร่วมประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ที่เมืองดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในวันที่ 28 ม.ค. นี้
สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศนั้น ได้มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างชัดเจน แม้จะยังคงมีปัญหาเรื่องของเกษตรกร หรือเอสเอ็มอีที่ยังคั่งค้างอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของตัวเลขการส่งออก การท่องเที่ยว ได้กลับมาอยู่ในภาวะที่เรียกว่าปกติ และเริ่มมีการขยายตัวอย่างค่อนข้างรวดเร็ว เท่าที่ติดตามตรวจสอบในช่วงเดือน ม.ค. แม้จะผ่านไปเพียงประมาณ 3 สัปดาห์ ตัวเลขการท่องเที่ยว การส่งออกปรับตัวดีขึ้น และยังได้รับแรงสนับสนุนที่เกิดขึ้นจากราคาพืชผลที่ดีในแง่ของเศรษฐกิจภายในประเทศ
“จากปัจจัยต่างๆ ข้างต้น ทำให้เรามั่นใจว่า ที่พูดถึงการที่จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกของเศรษฐกิจในปีนี้ร้อยละ 3.5 ทำได้แน่นอน และขณะนี้ว่าตามจริงแล้วบรรดานักวิเคราะห์ และสำนักต่าง ๆ เริ่มที่จะใช้ตัวเลขที่สูงกว่าร้อยละ 3.5 แล้ว”
***เป้าเก็บรายได้ปีนี้ทะลุ 2 แสนล้าน
นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า สิ่งที่เป็นตัวบ่งบอกตัวหนึ่งที่คณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจได้รับทราบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 53 ที่ผ่านมา คือเรื่องของการจัดเก็บรายได้ซึ่งสูงกว่าเป้าค่อนข้างมาก ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา (ต.ค.-ธ.ค.) การจัดเก็บภาษีเกินเป้ากว่าที่ประมาณการไว้ค่อนข้างจะมาก จนกระทั่งเมื่อดูแนวโน้มไปแล้วตลอดทั้งปีงบประมาณ ถ้าไม่มีเหตุการณ์อะไรในลักษณะที่เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน หรือว่าทำให้เศรษฐกิจมาสะดุดลง ทำให้เชื่อได้ว่าการจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณนี้ อาจจะเกินเป้าถึง 2 แสนล้านบาท
“ขณะนี้ต้องถือว่าเศรษฐกิจนั้นมีความมั่นคงในเรื่องของการฟื้นตัวมากทีเดียว และได้ตั้งเป้าในเรื่องของการส่งออกว่า หลังจากที่ปีที่แล้วหดตัวนั้น ปีนี้น่าจะต้องนำให้กลับมาขยายตัวได้อยู่ที่ประมาณร้อยละ 14 นี่คือเรื่องของภาวะเศรษฐกิจที่คิดว่าขณะนี้น่าจะทำให้ประชาชนได้มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้น”
****สั่งแทรกแซงราคาข้าวภาคใต้
สำหรับปัญหาและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังมีปัจจัยเสียงต่างๆ อยู่ ซึ่งจะต้องมีการดูแลและแก้ปัญหากันต่อไป โดยรัฐบาลจะทำงานด้วยความระมัดระวังรอบคอบ และขณะเดียวกันนั้นก็เร่งเดินหน้าทำระบบต่างๆ ให้ลงตัว อาทิ เช่นการประกันรายได้เกษตรกรรอบ 2 นั้นจะต้องมีการปรับปรุงการบริหารจัดการให้มีความชัดเจนและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด หลังจากรอบแรกอาจจะมีปัญหาบ้าง เพราะความไม่เข้าใจหรือว่าขั้นตอนต่างๆ ซึ่งประชาชน และเจ้าหน้าที่ต้องเรียนรู้พร้อมๆ กันไป แต่ในรอบที่ 2 นั้นเราเริ่มกันตั้งแต่เนิ่นๆ และกำลังอยู่ในขั้นตอนของการที่มีการขึ้นทะเบียนรับรองสิทธิของเกษตรกร
ส่วนปัญหาที่เกิดขึ้นในภาคใต้ที่ราคาขายในตลาดต่ำกว่าราคาอ้างอิงที่ประกาศนั้น นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้ไม่ควรจะเกิดขึ้น และทางกระทรวงพาณิชย์ ได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้เข้าไปดูแลแทรกแซงในกรณีที่มีการกดราคาไม่ให้เป็นไปตามราคาอ้างอิงในพื้นที่ในภาคใต้ ซึ่งผลผลิตข้าวจะออกมาหลังจากพื้นที่อื่น