เอเอฟพี/เอเจนซี - กองกำลังความมั่นคงของนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารอเมริกันที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นวานนี้(19) พยายามควบคุมพวกปล้นชิงที่ออกอาละวาดในเมืองหลวงเฮติ ขณะที่ทีมกู้ภัยยังคงสามารถดึงเอาผู้รอดชีวิตออกจากซากปรักหักพังได้อย่างปาฏิหาริย์ อีกทั้งระบุว่ามีโอกาสที่จะพบเพิ่มเติมอีก
เวลานี้มีทหารสหรัฐฯราว 1,700 คนอยู่บนแผ่นดินเฮติแล้ว เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองดูแลการให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนพยายามรักษาความปลอดภัย นอกจากนั้นยังมีนาวิกโยธินอเมริกันอีก 2,200 คนเพิ่งมาถึงด้วยเรือรบ ยูเอสเอส บาตาน ทำให้จำนวนทหารสหรัฐฯทั้งที่ขึ้นบกแล้วและที่อยู่บนเรือนอกชายฝั่งของเฮติมี 7,000 คนแล้ว โดยที่ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐฯสัญญาว่าจะเพิ่มบุคลากรเป็นกว่า 10,000 คนในระยะไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ขณะเดียวกันคาดหมายว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะลงมติในวันอังคาร(19) อนุมัติคำขอของ บันคีมุน เลขาธิการยูเอ็น ที่จะเพิ่มทหารและตำรวจรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเฮติอีก 3,500 คน
สภาพในกรุงปอร์โตแปรงซ์เวลานี้ ผู้ไร้ที่อาศัยหลายแสนคนยังต้องตกเป็นเหยื่อของพวกกลุ่มปล้นชิงที่บุกค้นหาแย่งชิงข้าวของ โดยที่กำลังตำรวจเฮติและกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติไม่เพียงพอที่จะดูแลกำราบปราบปราม
ในอีกด้านหนึ่ง ขณะที่ความเสียหายทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินจากภัยแผ่นดินไหวคราวนี้จะมีมากมายแค่ไหนยังยากที่จะประเมิน แต่เรื่องราวของเด็กและผู้ใหญ่ที่ยังรอดชีวิตอยู่ทั้งที่ติดอยู่ในซากอาคารซึ่งพังทับลงมาแล้วร่วมสัปดาห์ ยังคงปรากฏออกมาอยู่เรื่อยๆ
ทีมกู้ภัยสามารถช่วยชีวิตเด็กหญิงอายุ 18 เดือนผู้หนึ่งซึ่งติดอยู่ในซากปรักหักพังอยู่ถึง 6 วัน ไม่มีใครทราบว่าเธอชื่ออะไรและเข้าใจกันว่าสมาชิกในครอบครัวเธอคงเสียชีวิตหมดแล้วเมื่อบ้านของพวกเขาทะลายลงมา
ทางเจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินของอิสราเอลในโรงพยาบาลสนามนอกกรุงปอร์โตแปรงซ์ ก็กำลังรักษา ฌอง-หลุยส์ บราห์มส์ เด็กชายวัย 8 เดือน ซึ่งติดอยู่ใต้บ้านของครอบครัวที่พังลงมานาน 5 วัน พ่อและพี่ชายของทารกน้อยผู้นี้หนีออกมาได้โดยบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ ฌอง-หลุยส์ ยังถูกฝังอยู่ จนกระทั่งเพื่อนบ้านได้ยินเสียงร้องไห้ของเขา และติดต่อทหารรักษาสันติภาพยูเอ็น
ตามตัวเลขของยูเอ็นระบุว่า ในจำนวนผู้รอดชีวิตที่ช่วยออกมาได้กว่า 90 คนในสัปดาห์ที่แล้ว มีราว 20 คนที่พบตัวในวันอาทิตย์(17)หรือวันจันทร์(18)
เอลิซาเบ็ธ เบิร์ส โฆษกหญิงของสำนักงานความร่วมมือด้านกิจการมนุษยธรรมของสหประชาชาติแถลงที่กรุงปอร์โต แปรงซ์ว่า “ยังคงมีความหวัง” โดยปัญหาใหญ่ของผู้ที่ติดอยู่คืออาการขาดน้ำ แต่ขณะนี้ยังถือว่ามีโอกาสที่พวกเขาจะรอดชีวิตและรอให้ช่วยเหลืออกมา
** โอบามาเรียกร้องUS,แคนาดา,บราซิลเป็น “เจ้าภาพหลัก”ช่วยเฮติ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ เรียกร้องเมื่อวันจันทร์ (18) ให้รัฐบาลสหรัฐฯ แคนาดา และบราซิลจับมือเป็นพันธมิตรกัน เพื่อแสดงบทบาทเป็นผู้นำประชาคมโลกในการให้ความช่วยเหลือเฮติที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมร้ายแรงหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งคาดว่า อาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 200,000 คน
ผู้นำสหรัฐฯ ระบุว่า ภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูประเทศเฮตินับจากนี้ จำเป็นต้องมีประเทศที่เป็น “เจ้าภาพ” ในการประสานงานกับองค์การสหประชาชาติ รัฐบาลของนานาประเทศ และองค์กรบรรเทาทุกข์ต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเฮติเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากนับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวที่กรุงปอร์โต แปรงซ์ และอีกหลายเมืองทางตะวันตกของเฮติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ความช่วยเหลือของนานาชาติยังมีความล่าช้าและดำเนินไปแบบ “ต่างคนต่างทำ”
ขณะโฆษกรัฐบาลบราซิลเปิดเผยที่กรุงบราซิเลียว่า ประธานาธิบดี ลุยช์ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิล ได้เห็นชอบกับแนวคิดของประธานาธิบดีโอบามาในการหาประเทศผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อดูแลการประสานงานการให้ความช่วยเหลือเฮติเช่นกันโดยเฉพาะการเข้าไปช่วยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพยูเอ็นในเฮติ รวมถึง ภารกิจในการขนส่งลำเลียงอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย โดยคาดว่าความชัดเจนในเรื่องนี้จะมีมากขึ้นหลังการหารือร่วมกันอีกครั้งของผู้นำทั้ง 3 ประเทศในเร็วๆนี้
** แพทย์ชี้ เฮติจะเผชิญภาวะคุกคามด้านสุขภาพขั้นรุนแรง
จอน แอนดรัส จากองค์การอนามัยแพนอเมริกัน (Pan American Health Organization) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดขององค์การอนามัยโลกระบุว่า เฮติกำลังจะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามด้านสุขภาพครั้งมโหฬารซึ่งจะสร้างความสูญเสียที่รุนแรงไม่แพ้ความเสียหายจากแผ่นดินไหว 7.0ริกเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียนานาชนิด ซึ่งจะทำให้บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเกิดการติดเชื้อตามบาดแผล รวมทั้ง จะเกิดการระบาดของบาดทะยัก ไข้หัด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อหิวาตกโรค และโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตหลังเกิดแผ่นดินไหวจำนวนมากเช่นกัน
** สถาปนิกนานาชาติชี้เฮติเสียหายหนักเพราะวัสดุก่อสร้างแย่
ปาทริก โกลอมเบล และเซร์เฮ กูโน ตัวแทนจากองค์กรการกุศลที่เรียกตัวเองว่า “มูลนิธิสถาปนิกฉุกเฉิน” หรือ (อีเอเอฟ) เปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจอาคาร บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในกรุงปอร์โต แปรงซ์ อย่างน้อย 30 แห่ง หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคารที่แล้ว (12) พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้อาคารบ้านเรือนต่างๆพังทลายลงมาภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจนทำให้มีผู้ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังจำนวนมากนั้นมาจากวัสดุก่อสร้างคุณภาพต่ำนานาชนิดที่ชาวเฮตินำมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น เศษคอนกรีตและเหล็กราคาถูก
โดยโกลอมเบลเปิดเผยว่า ชาวเฮติส่วนใหญ่คำนึงถึงปัจจัยด้านงบประมาณในการก่อสร้าง มากกว่าความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคาร ทำให้มีการนำเอาคอนกรีต หรือซีเมนต์ที่มีส่วนผสมเจือจาง และไม่ได้สัดส่วนมาใช้ในการก่อสร้างอย่างแพร่หลาย ไม่เว้นแม้แต่สถานที่ราชการ โรงแรม หรือห้างร้านในย่านธุรกิจของกรุงปอร์โต แปรงซ์ขณะที่จำนวนผู้ที่มีความชำนาญอย่างแท้จริงในการก่อสร้างในเฮติก็ยังมีจำนวนน้อยมาก พร้อมย้ำว่า ภัยพิบัติครั้งนี้ในเฮติจะไม่มีผู้ชีวิตถึง 200,000 คนอย่างแน่นอนหากอาคารบ้านเรือนต่างๆได้รับการออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐาน
** มะกันเปิดไฟเขียวรับเด็กกำพร้าเฮติเข้าประเทศ
การออกมาเรียกร้องของผู้นำสหรัฐฯ ให้มีการจับมือของทั้ง 3 ประเทศยักษ์ใหญ่แห่งทวีปอเมริกามีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่เจเน็ต นาโปลิตาโนรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯออกมาแถลงที่กรุงวอชิงตันว่า ทางการสหรัฐฯ จะอนุญาตให้บรรดาเด็กกำพร้าชาวเฮติที่สูญเสียพ่อแม่และผู้ปกครองจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ได้มีโอกาสเดินทางเข้ามาเริ่มต้นชีวิตใหม่บนแผ่นดินสหรัฐฯได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
อย่างไรก็ตาม นาโปลิตาโน วัย 52 ปี กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวของสหรัฐฯ ไม่ได้หมายความว่า เด็กกำพร้าทุกรายในเฮติจะได้รับสิทธิเดินทางมายังสหรัฐฯ ทั้งหมด แต่จะต้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวดเป็นรายกรณี โดยจะมีความร่วมมือระหว่างทางการสหรัฐฯกับรัฐบาลเฮติอย่างใกล้ชิด ในการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติต่างๆ ของเด็กกำพร้าและพ่อแม่อุปถัมภ์ชาวอเมริกันแต่ละรายอย่างรอบคอบก่อน
** โฆษก UN ยัน เจ้าหน้าที่ตายแล้ว 46, สูญหายเกิน 500 ราย
มาร์ติน เนเซอร์กี โฆษกองค์การสหประชาชาติแถลงที่สำนักงานใหญ่ยูเอ็นในมหานครนิวยอร์ก เมื่อวันจันทร์ (18)โดยระบุว่า จนถึงขณะนี้สามารถยืนยันได้ว่ามีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆในสังกัด เสียชีวิตจากภัยพิบัติในเฮติแล้วทั้งสิ้น 46 ราย ขณะที่จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่า ยังมีเจ้าหน้าที่อีกมากกว่า 500 คนที่สูญหาย โดยไม่ทราบว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ด้านโจเซ็ตต์ ชีแรน ผู้อำนวยการใหญ่โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติได้ออกมาเรียกร้องที่กรุงโรม ของอิตาลีโดยย้ำว่าบรรดาผู้ประสบภัยชาวเฮติที่รอดชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังขาดแคลนอาหารอยู่อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภท “พร้อมรับประทาน” ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้มากกว่า 100 ล้านชุดภายในระยะเวลา 30 วันนับจากนี้
เวลานี้มีทหารสหรัฐฯราว 1,700 คนอยู่บนแผ่นดินเฮติแล้ว เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองดูแลการให้ความช่วยเหลือ ตลอดจนพยายามรักษาความปลอดภัย นอกจากนั้นยังมีนาวิกโยธินอเมริกันอีก 2,200 คนเพิ่งมาถึงด้วยเรือรบ ยูเอสเอส บาตาน ทำให้จำนวนทหารสหรัฐฯทั้งที่ขึ้นบกแล้วและที่อยู่บนเรือนอกชายฝั่งของเฮติมี 7,000 คนแล้ว โดยที่ผู้บัญชาการทหารของสหรัฐฯสัญญาว่าจะเพิ่มบุคลากรเป็นกว่า 10,000 คนในระยะไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ขณะเดียวกันคาดหมายว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ จะลงมติในวันอังคาร(19) อนุมัติคำขอของ บันคีมุน เลขาธิการยูเอ็น ที่จะเพิ่มทหารและตำรวจรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเฮติอีก 3,500 คน
สภาพในกรุงปอร์โตแปรงซ์เวลานี้ ผู้ไร้ที่อาศัยหลายแสนคนยังต้องตกเป็นเหยื่อของพวกกลุ่มปล้นชิงที่บุกค้นหาแย่งชิงข้าวของ โดยที่กำลังตำรวจเฮติและกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติไม่เพียงพอที่จะดูแลกำราบปราบปราม
ในอีกด้านหนึ่ง ขณะที่ความเสียหายทั้งด้านชีวิตและทรัพย์สินจากภัยแผ่นดินไหวคราวนี้จะมีมากมายแค่ไหนยังยากที่จะประเมิน แต่เรื่องราวของเด็กและผู้ใหญ่ที่ยังรอดชีวิตอยู่ทั้งที่ติดอยู่ในซากอาคารซึ่งพังทับลงมาแล้วร่วมสัปดาห์ ยังคงปรากฏออกมาอยู่เรื่อยๆ
ทีมกู้ภัยสามารถช่วยชีวิตเด็กหญิงอายุ 18 เดือนผู้หนึ่งซึ่งติดอยู่ในซากปรักหักพังอยู่ถึง 6 วัน ไม่มีใครทราบว่าเธอชื่ออะไรและเข้าใจกันว่าสมาชิกในครอบครัวเธอคงเสียชีวิตหมดแล้วเมื่อบ้านของพวกเขาทะลายลงมา
ทางเจ้าหน้าที่แพทย์ฉุกเฉินของอิสราเอลในโรงพยาบาลสนามนอกกรุงปอร์โตแปรงซ์ ก็กำลังรักษา ฌอง-หลุยส์ บราห์มส์ เด็กชายวัย 8 เดือน ซึ่งติดอยู่ใต้บ้านของครอบครัวที่พังลงมานาน 5 วัน พ่อและพี่ชายของทารกน้อยผู้นี้หนีออกมาได้โดยบาดเจ็บเล็กน้อย แต่ ฌอง-หลุยส์ ยังถูกฝังอยู่ จนกระทั่งเพื่อนบ้านได้ยินเสียงร้องไห้ของเขา และติดต่อทหารรักษาสันติภาพยูเอ็น
ตามตัวเลขของยูเอ็นระบุว่า ในจำนวนผู้รอดชีวิตที่ช่วยออกมาได้กว่า 90 คนในสัปดาห์ที่แล้ว มีราว 20 คนที่พบตัวในวันอาทิตย์(17)หรือวันจันทร์(18)
เอลิซาเบ็ธ เบิร์ส โฆษกหญิงของสำนักงานความร่วมมือด้านกิจการมนุษยธรรมของสหประชาชาติแถลงที่กรุงปอร์โต แปรงซ์ว่า “ยังคงมีความหวัง” โดยปัญหาใหญ่ของผู้ที่ติดอยู่คืออาการขาดน้ำ แต่ขณะนี้ยังถือว่ามีโอกาสที่พวกเขาจะรอดชีวิตและรอให้ช่วยเหลืออกมา
** โอบามาเรียกร้องUS,แคนาดา,บราซิลเป็น “เจ้าภาพหลัก”ช่วยเฮติ
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ เรียกร้องเมื่อวันจันทร์ (18) ให้รัฐบาลสหรัฐฯ แคนาดา และบราซิลจับมือเป็นพันธมิตรกัน เพื่อแสดงบทบาทเป็นผู้นำประชาคมโลกในการให้ความช่วยเหลือเฮติที่กำลังเผชิญวิกฤตการณ์ด้านมนุษยธรรมร้ายแรงหลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.0 ริกเตอร์เมื่อสัปดาห์ก่อน ซึ่งคาดว่า อาจมีผู้เสียชีวิตมากถึง 200,000 คน
ผู้นำสหรัฐฯ ระบุว่า ภารกิจในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและฟื้นฟูประเทศเฮตินับจากนี้ จำเป็นต้องมีประเทศที่เป็น “เจ้าภาพ” ในการประสานงานกับองค์การสหประชาชาติ รัฐบาลของนานาประเทศ และองค์กรบรรเทาทุกข์ต่างๆ เพื่อให้การช่วยเหลือเฮติเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากนับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวที่กรุงปอร์โต แปรงซ์ และอีกหลายเมืองทางตะวันตกของเฮติเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ความช่วยเหลือของนานาชาติยังมีความล่าช้าและดำเนินไปแบบ “ต่างคนต่างทำ”
ขณะโฆษกรัฐบาลบราซิลเปิดเผยที่กรุงบราซิเลียว่า ประธานาธิบดี ลุยช์ อินาซิโอ ลูลา ดา ซิลวา ผู้นำบราซิล ได้เห็นชอบกับแนวคิดของประธานาธิบดีโอบามาในการหาประเทศผู้รับผิดชอบหลัก เพื่อดูแลการประสานงานการให้ความช่วยเหลือเฮติเช่นกันโดยเฉพาะการเข้าไปช่วยสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพยูเอ็นในเฮติ รวมถึง ภารกิจในการขนส่งลำเลียงอาหาร น้ำดื่ม และสิ่งของบรรเทาทุกข์ต่างๆไปแจกจ่ายให้กับผู้ประสบภัย โดยคาดว่าความชัดเจนในเรื่องนี้จะมีมากขึ้นหลังการหารือร่วมกันอีกครั้งของผู้นำทั้ง 3 ประเทศในเร็วๆนี้
** แพทย์ชี้ เฮติจะเผชิญภาวะคุกคามด้านสุขภาพขั้นรุนแรง
จอน แอนดรัส จากองค์การอนามัยแพนอเมริกัน (Pan American Health Organization) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดขององค์การอนามัยโลกระบุว่า เฮติกำลังจะเผชิญหน้ากับภัยคุกคามด้านสุขภาพครั้งมโหฬารซึ่งจะสร้างความสูญเสียที่รุนแรงไม่แพ้ความเสียหายจากแผ่นดินไหว 7.0ริกเตอร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียนานาชนิด ซึ่งจะทำให้บรรดาผู้ได้รับบาดเจ็บที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีเกิดการติดเชื้อตามบาดแผล รวมทั้ง จะเกิดการระบาดของบาดทะยัก ไข้หัด โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ อหิวาตกโรค และโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่อาจทำให้มีผู้เสียชีวิตหลังเกิดแผ่นดินไหวจำนวนมากเช่นกัน
** สถาปนิกนานาชาติชี้เฮติเสียหายหนักเพราะวัสดุก่อสร้างแย่
ปาทริก โกลอมเบล และเซร์เฮ กูโน ตัวแทนจากองค์กรการกุศลที่เรียกตัวเองว่า “มูลนิธิสถาปนิกฉุกเฉิน” หรือ (อีเอเอฟ) เปิดเผยข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่สำรวจอาคาร บ้านเรือน และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ในกรุงปอร์โต แปรงซ์ อย่างน้อย 30 แห่ง หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันอังคารที่แล้ว (12) พบว่า สาเหตุหลักที่ทำให้อาคารบ้านเรือนต่างๆพังทลายลงมาภายในระยะเวลาอันรวดเร็วเมื่อเกิดแผ่นดินไหวจนทำให้มีผู้ติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังจำนวนมากนั้นมาจากวัสดุก่อสร้างคุณภาพต่ำนานาชนิดที่ชาวเฮตินำมาใช้ในการก่อสร้าง เช่น เศษคอนกรีตและเหล็กราคาถูก
โดยโกลอมเบลเปิดเผยว่า ชาวเฮติส่วนใหญ่คำนึงถึงปัจจัยด้านงบประมาณในการก่อสร้าง มากกว่าความมั่นคงแข็งแรงของตัวอาคาร ทำให้มีการนำเอาคอนกรีต หรือซีเมนต์ที่มีส่วนผสมเจือจาง และไม่ได้สัดส่วนมาใช้ในการก่อสร้างอย่างแพร่หลาย ไม่เว้นแม้แต่สถานที่ราชการ โรงแรม หรือห้างร้านในย่านธุรกิจของกรุงปอร์โต แปรงซ์ขณะที่จำนวนผู้ที่มีความชำนาญอย่างแท้จริงในการก่อสร้างในเฮติก็ยังมีจำนวนน้อยมาก พร้อมย้ำว่า ภัยพิบัติครั้งนี้ในเฮติจะไม่มีผู้ชีวิตถึง 200,000 คนอย่างแน่นอนหากอาคารบ้านเรือนต่างๆได้รับการออกแบบและก่อสร้างตามมาตรฐาน
** มะกันเปิดไฟเขียวรับเด็กกำพร้าเฮติเข้าประเทศ
การออกมาเรียกร้องของผู้นำสหรัฐฯ ให้มีการจับมือของทั้ง 3 ประเทศยักษ์ใหญ่แห่งทวีปอเมริกามีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังจากที่เจเน็ต นาโปลิตาโนรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯออกมาแถลงที่กรุงวอชิงตันว่า ทางการสหรัฐฯ จะอนุญาตให้บรรดาเด็กกำพร้าชาวเฮติที่สูญเสียพ่อแม่และผู้ปกครองจากเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ ได้มีโอกาสเดินทางเข้ามาเริ่มต้นชีวิตใหม่บนแผ่นดินสหรัฐฯได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย
อย่างไรก็ตาม นาโปลิตาโน วัย 52 ปี กล่าวว่า มาตรการดังกล่าวของสหรัฐฯ ไม่ได้หมายความว่า เด็กกำพร้าทุกรายในเฮติจะได้รับสิทธิเดินทางมายังสหรัฐฯ ทั้งหมด แต่จะต้องมีการพิจารณาอย่างเข้มงวดเป็นรายกรณี โดยจะมีความร่วมมือระหว่างทางการสหรัฐฯกับรัฐบาลเฮติอย่างใกล้ชิด ในการตรวจสอบประวัติและคุณสมบัติต่างๆ ของเด็กกำพร้าและพ่อแม่อุปถัมภ์ชาวอเมริกันแต่ละรายอย่างรอบคอบก่อน
** โฆษก UN ยัน เจ้าหน้าที่ตายแล้ว 46, สูญหายเกิน 500 ราย
มาร์ติน เนเซอร์กี โฆษกองค์การสหประชาชาติแถลงที่สำนักงานใหญ่ยูเอ็นในมหานครนิวยอร์ก เมื่อวันจันทร์ (18)โดยระบุว่า จนถึงขณะนี้สามารถยืนยันได้ว่ามีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆในสังกัด เสียชีวิตจากภัยพิบัติในเฮติแล้วทั้งสิ้น 46 ราย ขณะที่จากการตรวจสอบล่าสุดพบว่า ยังมีเจ้าหน้าที่อีกมากกว่า 500 คนที่สูญหาย โดยไม่ทราบว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ด้านโจเซ็ตต์ ชีแรน ผู้อำนวยการใหญ่โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติได้ออกมาเรียกร้องที่กรุงโรม ของอิตาลีโดยย้ำว่าบรรดาผู้ประสบภัยชาวเฮติที่รอดชีวิตจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ยังขาดแคลนอาหารอยู่อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารประเภท “พร้อมรับประทาน” ซึ่งคาดว่าอาจต้องใช้มากกว่า 100 ล้านชุดภายในระยะเวลา 30 วันนับจากนี้