แผ่นดินไหวใหญ่ขนาดความรุนแรง 7.0 ริกเตอร์ ถล่มใส่ “เฮติ” ประเทศยากจนในแถบทะเลแคริบเบียน หวั่นมีผู้เสียชีวิตเป็นพันๆ คน ฤทธิ์ธรณีพิโรธโยกคลอนทำเนียบประธานาธิบดีถล่มทลาย ส่วนอาคารที่ทำการสหประชาชาติ และโรงแรมยอดนิยมของชาวตะวันตก ตลอดจนย่านชุมชนแออัดริมภูเขา ต่างก็เสียหายย่อยยับ ทางการเฮติร้องขอความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ขณะที่นานาชาติก็ตอบสนองตระเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์กู้ภัยและข้าวของต่างๆ รีบเดินทางเข้าไป
สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) รายงานว่า แผ่นดินไหวใหญ่คราวนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 16.53 น. วันอังคาร (12) ตามเวลาท้องถิ่นเฮติ (ตรงกับ 04.32 น.วันพุธที่ 13 เวลาเมืองไทย) โดยวัดความรุนแรงได้ 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งนับว่าทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศนี้ในรอบระยะเวลากว่า 200 ปี นอกจากนี้ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกที่แรงๆ ตามมาเป็นระยะๆ อีกกว่า 30 ครั้งแล้ว
จากภาพวิดีโอและปากคำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ กรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติอยู่ในสภาพโกลาหลวุ่นวาย ทำเนียบประธานาธิบดีอยู่ในสภาพหักพังเสียหาย หลังคารูปโดมกลมหล่นลงมากองอยู่ข้างบนกำแพงที่พังราบ ตามมุมต่างๆ ของตัวเมือง ผู้คนจำนวนมากสะอึกสะอื้นไห้ และอยู่ในอาการงงงวยเฝ้ามองอาคารบ้านเรือนที่กลายเป็นซากปรักหักพัง เมื่อเกิดแรงสั่นไหวใหม่ๆ ขึ้นครั้งใด แม้กระทั่งพวกที่ได้รับบาดเจ็บอยู่ก็พากันวิ่งออกมาที่ท้องถนนพร้อมกับกรีดร้องด้วยความตื่นตระหนก ตามที่ต่างๆ จะเห็นศพของผู้เสียชีวิตโดยมีทั้งที่เพิ่งถูกนำมาวางบนถนนและที่ยังติดอยู่ในกองอิฐกองปูน นอกจากนั้นอาคารที่ถล่มลงมาจำนวนมากทำให้นครแห่งนี้คลุ้งไปด้วยฝุ่นซีเมนต์อยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงภายหลังแผ่นดินไหวใหญ่
ยูเอสจีเอสระบุว่า จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวคราวนี้อยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้เพียงแค่ 15 กิโลเมตร และอยู่ในระดับลึกจากพื้นดินเพียงราวๆ 8.3 กิโลเมตร ยานน์ คิงเกอร์ นักวิทยาการแผ่นดินไหว แห่งสถาบันฟิสิกส์แห่งโลก (ไอพีจี) ในกรุงปารีส อธิบายว่า เนื่องจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวใหญ่คราวนี้อยู่ใกล้ๆ และอยู่ระดับตื้นๆ ด้วย เสมือนกับอยู่ใต้ปอร์โตแปรงซ์เลย จึงสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างหนักหน่วงสาหัสให้แก่นครที่มีผู้คนอาศัยทั้งภายในตัวเมืองและพื้นที่รอบๆ ประมาณ 4 ล้านคนแห่งนี้
รายงานประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตมีออกมาแตกต่างกันตั้งแต่ระดับหลายร้อยไปจนถึงหลายพันคน โดยปัญหาส่วนหนึ่งมาจากปัญหาด้านการสื่อสารคมนาคม ทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ออกมาช้ามาก ทว่ายิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งดูจะปรากฏชัดเจนมากขึ้นว่า ความเสียหายและจำนวนการสูญเสียชีวิตผู้คนคงจะอยู่ในระดับสูงลิ่ว
รัฐมนตรีต่างประเทศ แบร์นาร์ด คุชแนร์ ของฝรั่งเศส กล่าวทางวิทยุอาร์ทีแอลของแดนน้ำหอมว่า อาคารของยูเอ็นในปอร์โตแปรงซ์ ซึ่งเป็นกองบัญชาการของกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติในเฮติ ได้พังทลายลงมา และดูเหมือนผู้คนในอาคาร รวมทั้ง เฮดี อันนาบี ผู้บัญชาการกองกำลังดังกล่าว ตลอดจนผู้คนที่อยู่แวดล้อมเขา ต่างเสียชีวิตทั้งหมด
บันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติแถลงในเวลาต่อมาว่า อันนาบีเป็นเจ้าหน้าที่ยูเอ็นผู้หนึ่งที่ยังคงสูญหาย แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้บัญชาการกองกำลังยูเอ็นผู้นี้เสียชีวิตแล้ว เขาระบุด้วยว่า ขณะที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น มีคนอยู่ในอาคารที่ทำการยูเอ็นแห่งนั้นราว 100-150 คน
กองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเฮติ ซึ่งมีชื่อย่อตามภาษาฝรั่งเศสว่า MINUSTAH มีกำลังทั้งสิ้นราว 9,000 คน บราซิลซึ่งเป็นชาติที่ส่งทหารเข้าร่วมภารกิจนี้มากที่สุดคือ 1,200 คน ได้แถลงว่าแผ่นดินไหวคราวนี้ทำให้ทหารรักษาสันติภาพที่เป็นชาวบราซิล เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน ขณะที่สื่อมวลชนของทางการรายงานว่า มีทหารจีนถูกฝังอยู่ในซากปรักหักพัง 8 คน และหายไป 10 คน สำหรับจอร์แดนก็รายงานว่า ทหารของตนในกองกำลังรักษาสันติภาพตายไป 3 คน และบาดเจ็บ 21 คน
ทางด้าน อแลง โจยันเดต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านความร่วมมือของฝรั่งเศส กล่าวกับสถานีวิทยุ เฟรนซ์เรดิโอว่า ที่โรงแรมมอนตานา ซึ่งเป็นโรงแรมในปอร์โตแปรงซ์ที่ชาวต่างชาตินิยมไปพักกัน ขณะเกิดแผ่นดินไหวนั้นมีคนอยู่ภายในราว 300 คน และมีคนออกมาได้แล้วเพียง 100 คน ยังคงมีชาวต่างชาติสูญหายไปอีกประมาณ 200 คน ทำให้ทางฝรั่งเศสรู้สึกห่วงใยมาก
ซารา ฟาจาร์โ ด โฆษกขององค์การคาทอลิกบรรเทาทุกข์ (ซีอาร์เอส) บอกกับหนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ว่า พวกผู้แทนขององค์การในเฮติกล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตคราวนี้อาจจะอยู่ในระดับเป็นพันๆ คน ส่วนองค์การแพทย์ไร้พรมแดน ก็แถลงว่า กำลังรักษาผู้บาดเจ็บราว 600 คนในโรงพยาบาลหลายแห่งของตนในเฮติ นอกจากนั้นทางองค์การยังกำลังเร่งส่งหน่วยเสริมเข้าไปยังพื้นที่ประสบภัย เช่นเดียวกับทางองค์การกาชาดสากล
เนื่องจากเฮติเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก จึงขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะรับมือกับวินาศภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเครื่องมืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่จะขุดเจาะซากปรักหักพัง ตลอดจนบุคลากรในการเผชิญรับมือเหตุฉุกเฉิน
เรย์มอนด์ อัลซิเด โจเซฟ เอกอัครราชทูตเฮติประจำกรุงวอชิงตัน กล่าวในการให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ร้องขอให้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ช่วยเหลือเฮติ เหมือนอย่างที่ได้เคยช่วยในปี 2008 เมื่อตอนที่มีพายุเฮอร์ริเคนถล่มประเทศของเขาถึง 4 ลูก
ทางด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงตั้งแต่ที่ทราบข่าวแผ่นดินไหวว่า เขาขอส่งความระลึกถึงห่วงใย และขอสวดอ้อนวอนให้แก่ประชาชนเฮติ พร้อมให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในทันที
มีรายงานว่าทำเนียบขาวได้จัดประชุมกันในตอนดึกวันอังคาร เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯประสานกันเข้าไปช่วยกู้ภัยในเฮติ ส่วนที่เจนีวา พวกเจ้าหน้าที่ยูเอ็นคาดหมายว่า ยูเอ็นจะออกคำร้องฉุกเฉินต่อนานาชาติ เพื่อให้ช่วยกันบริจาคเงินทุนตลอดจนความช่วยเหลืออื่นๆ แก่เฮติ ทันทีที่สามารถประเมินความต้องการในภาคสนามได้แล้ว
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศ กุยโด เวสเตอร์เวลเล ของเยอรมนี แถลงว่า เยอรมนีขอบริจาคเงินช่วยเหลือ 1 ล้านยูโรทันที ส่วนธนาคารพัฒนาภาคพื้นอเมริกา (อินเตอร์-อเมริกัน ดีเวลอปเมนต์ แบงก์) ก็แจ้งให้ความช่วยเหลือทันที 200,000 ดอลลาร์ ด้านธนาคารโลกแถลงว่า จะรีบส่งทีมงานไปช่วยประเมินความเสียหายและวางแผนฟื้นฟู
สำนักงานสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ (ยูเอสจีเอส) รายงานว่า แผ่นดินไหวใหญ่คราวนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 16.53 น. วันอังคาร (12) ตามเวลาท้องถิ่นเฮติ (ตรงกับ 04.32 น.วันพุธที่ 13 เวลาเมืองไทย) โดยวัดความรุนแรงได้ 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ ซึ่งนับว่าทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศนี้ในรอบระยะเวลากว่า 200 ปี นอกจากนี้ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกที่แรงๆ ตามมาเป็นระยะๆ อีกกว่า 30 ครั้งแล้ว
จากภาพวิดีโอและปากคำของผู้อยู่ในเหตุการณ์ กรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติอยู่ในสภาพโกลาหลวุ่นวาย ทำเนียบประธานาธิบดีอยู่ในสภาพหักพังเสียหาย หลังคารูปโดมกลมหล่นลงมากองอยู่ข้างบนกำแพงที่พังราบ ตามมุมต่างๆ ของตัวเมือง ผู้คนจำนวนมากสะอึกสะอื้นไห้ และอยู่ในอาการงงงวยเฝ้ามองอาคารบ้านเรือนที่กลายเป็นซากปรักหักพัง เมื่อเกิดแรงสั่นไหวใหม่ๆ ขึ้นครั้งใด แม้กระทั่งพวกที่ได้รับบาดเจ็บอยู่ก็พากันวิ่งออกมาที่ท้องถนนพร้อมกับกรีดร้องด้วยความตื่นตระหนก ตามที่ต่างๆ จะเห็นศพของผู้เสียชีวิตโดยมีทั้งที่เพิ่งถูกนำมาวางบนถนนและที่ยังติดอยู่ในกองอิฐกองปูน นอกจากนั้นอาคารที่ถล่มลงมาจำนวนมากทำให้นครแห่งนี้คลุ้งไปด้วยฝุ่นซีเมนต์อยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมงภายหลังแผ่นดินไหวใหญ่
ยูเอสจีเอสระบุว่า จุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวคราวนี้อยู่ห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ไปทางตะวันตกเฉียงใต้เพียงแค่ 15 กิโลเมตร และอยู่ในระดับลึกจากพื้นดินเพียงราวๆ 8.3 กิโลเมตร ยานน์ คิงเกอร์ นักวิทยาการแผ่นดินไหว แห่งสถาบันฟิสิกส์แห่งโลก (ไอพีจี) ในกรุงปารีส อธิบายว่า เนื่องจากศูนย์กลางแผ่นดินไหวใหญ่คราวนี้อยู่ใกล้ๆ และอยู่ระดับตื้นๆ ด้วย เสมือนกับอยู่ใต้ปอร์โตแปรงซ์เลย จึงสามารถสร้างความเสียหายได้อย่างหนักหน่วงสาหัสให้แก่นครที่มีผู้คนอาศัยทั้งภายในตัวเมืองและพื้นที่รอบๆ ประมาณ 4 ล้านคนแห่งนี้
รายงานประเมินจำนวนผู้เสียชีวิตมีออกมาแตกต่างกันตั้งแต่ระดับหลายร้อยไปจนถึงหลายพันคน โดยปัญหาส่วนหนึ่งมาจากปัญหาด้านการสื่อสารคมนาคม ทำให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ออกมาช้ามาก ทว่ายิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งดูจะปรากฏชัดเจนมากขึ้นว่า ความเสียหายและจำนวนการสูญเสียชีวิตผู้คนคงจะอยู่ในระดับสูงลิ่ว
รัฐมนตรีต่างประเทศ แบร์นาร์ด คุชแนร์ ของฝรั่งเศส กล่าวทางวิทยุอาร์ทีแอลของแดนน้ำหอมว่า อาคารของยูเอ็นในปอร์โตแปรงซ์ ซึ่งเป็นกองบัญชาการของกองกำลังรักษาสันติภาพสหประชาชาติในเฮติ ได้พังทลายลงมา และดูเหมือนผู้คนในอาคาร รวมทั้ง เฮดี อันนาบี ผู้บัญชาการกองกำลังดังกล่าว ตลอดจนผู้คนที่อยู่แวดล้อมเขา ต่างเสียชีวิตทั้งหมด
บันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติแถลงในเวลาต่อมาว่า อันนาบีเป็นเจ้าหน้าที่ยูเอ็นผู้หนึ่งที่ยังคงสูญหาย แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าผู้บัญชาการกองกำลังยูเอ็นผู้นี้เสียชีวิตแล้ว เขาระบุด้วยว่า ขณะที่เกิดแผ่นดินไหวนั้น มีคนอยู่ในอาคารที่ทำการยูเอ็นแห่งนั้นราว 100-150 คน
กองกำลังรักษาสันติภาพของยูเอ็นในเฮติ ซึ่งมีชื่อย่อตามภาษาฝรั่งเศสว่า MINUSTAH มีกำลังทั้งสิ้นราว 9,000 คน บราซิลซึ่งเป็นชาติที่ส่งทหารเข้าร่วมภารกิจนี้มากที่สุดคือ 1,200 คน ได้แถลงว่าแผ่นดินไหวคราวนี้ทำให้ทหารรักษาสันติภาพที่เป็นชาวบราซิล เสียชีวิตอย่างน้อย 4 คน ขณะที่สื่อมวลชนของทางการรายงานว่า มีทหารจีนถูกฝังอยู่ในซากปรักหักพัง 8 คน และหายไป 10 คน สำหรับจอร์แดนก็รายงานว่า ทหารของตนในกองกำลังรักษาสันติภาพตายไป 3 คน และบาดเจ็บ 21 คน
ทางด้าน อแลง โจยันเดต์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีด้านความร่วมมือของฝรั่งเศส กล่าวกับสถานีวิทยุ เฟรนซ์เรดิโอว่า ที่โรงแรมมอนตานา ซึ่งเป็นโรงแรมในปอร์โตแปรงซ์ที่ชาวต่างชาตินิยมไปพักกัน ขณะเกิดแผ่นดินไหวนั้นมีคนอยู่ภายในราว 300 คน และมีคนออกมาได้แล้วเพียง 100 คน ยังคงมีชาวต่างชาติสูญหายไปอีกประมาณ 200 คน ทำให้ทางฝรั่งเศสรู้สึกห่วงใยมาก
ซารา ฟาจาร์โ ด โฆษกขององค์การคาทอลิกบรรเทาทุกข์ (ซีอาร์เอส) บอกกับหนังสือพิมพ์ลอสแองเจลิสไทมส์ว่า พวกผู้แทนขององค์การในเฮติกล่าวว่า จำนวนผู้เสียชีวิตคราวนี้อาจจะอยู่ในระดับเป็นพันๆ คน ส่วนองค์การแพทย์ไร้พรมแดน ก็แถลงว่า กำลังรักษาผู้บาดเจ็บราว 600 คนในโรงพยาบาลหลายแห่งของตนในเฮติ นอกจากนั้นทางองค์การยังกำลังเร่งส่งหน่วยเสริมเข้าไปยังพื้นที่ประสบภัย เช่นเดียวกับทางองค์การกาชาดสากล
เนื่องจากเฮติเป็นชาติที่ยากจนที่สุดในซีกโลกตะวันตก จึงขาดแคลนเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะรับมือกับวินาศภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกเครื่องมืออุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่จะขุดเจาะซากปรักหักพัง ตลอดจนบุคลากรในการเผชิญรับมือเหตุฉุกเฉิน
เรย์มอนด์ อัลซิเด โจเซฟ เอกอัครราชทูตเฮติประจำกรุงวอชิงตัน กล่าวในการให้สัมภาษณ์โทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ร้องขอให้ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐฯ ช่วยเหลือเฮติ เหมือนอย่างที่ได้เคยช่วยในปี 2008 เมื่อตอนที่มีพายุเฮอร์ริเคนถล่มประเทศของเขาถึง 4 ลูก
ทางด้านประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงตั้งแต่ที่ทราบข่าวแผ่นดินไหวว่า เขาขอส่งความระลึกถึงห่วงใย และขอสวดอ้อนวอนให้แก่ประชาชนเฮติ พร้อมให้สัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือในทันที
มีรายงานว่าทำเนียบขาวได้จัดประชุมกันในตอนดึกวันอังคาร เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐฯประสานกันเข้าไปช่วยกู้ภัยในเฮติ ส่วนที่เจนีวา พวกเจ้าหน้าที่ยูเอ็นคาดหมายว่า ยูเอ็นจะออกคำร้องฉุกเฉินต่อนานาชาติ เพื่อให้ช่วยกันบริจาคเงินทุนตลอดจนความช่วยเหลืออื่นๆ แก่เฮติ ทันทีที่สามารถประเมินความต้องการในภาคสนามได้แล้ว
ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศ กุยโด เวสเตอร์เวลเล ของเยอรมนี แถลงว่า เยอรมนีขอบริจาคเงินช่วยเหลือ 1 ล้านยูโรทันที ส่วนธนาคารพัฒนาภาคพื้นอเมริกา (อินเตอร์-อเมริกัน ดีเวลอปเมนต์ แบงก์) ก็แจ้งให้ความช่วยเหลือทันที 200,000 ดอลลาร์ ด้านธนาคารโลกแถลงว่า จะรีบส่งทีมงานไปช่วยประเมินความเสียหายและวางแผนฟื้นฟู