ASTVผู้จัดการรายวัน-พนักงานสอบสวนกองปราบสรุปสำนวนคดีจับ 5 ต่างชาติขนอาวุธสงคราม ส่งมอบพนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง 4 ข้อหาหนักแล้ว หลังสอบพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดครบ
วานนี้(14 ม.ค.)ที่กองปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าคดีจับกุมอาวุธสงคราม ว่า พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทน ผบก.ป.ได้สั่งการให้พนักงานสอบสวน บก.ป.นำสำนวนการสอบสวนคดีดังกล่าวส่งมอบให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา คือ นายอเล็กซานเดอร์ เซอร์เบเนฟ อายุ 53 ปี นายวิกเตอร์ อัลดุลลายาฟ อายุ 58 ปี นายวิทาลี ซุนคอฟ อายุ 54 ปี นายอิลยาส อิสซาคอฟ อายุ 53 ปี สัญชาติคาซัคสถาน และนายมิคาอิล พีทูคู อายุ 54 ปี สัญชาติเบลารุส ใน 4 ข้อหา ประกอบด้วย 1.ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ลำเลียงอาวุธสงครามทางอากาศยาน 2.เข้ามา หรือนำเข้ามา หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์และนำพาไปกับอากาศยานโดยไม่ได้รับอนุญาต 3.นำพาของไม่ได้เสียภาษีหรือของต้องห้าม ต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรไทย และ 4.ไม่ได้แจ้งหรือแสดงใบอนุญาตหรือบัญชีสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ
พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าวว่า การดำเนินการของพนักงานสอบสวน บก.ป.ในคดีนี้มีการสอบปากคำพยานผู้กล่าวหา 3 ปาก คือ ผกก.สน.ดอนเมือง หน.สส.ดอนเมือง และ พ.ต.ท.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ รอง ผกก.1 บก.ป.โดยสอบปากคำพยานซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจค้นอาวุธสงครามดังกล่าวรวม 6 ปาก และสอบปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ทั้งหมด 12 ปาก อาทิ กรมสรรพาวุธ กองวิทยาการ กองควบคุมยุทธภัณฑ์และวัตถุอันตราย ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการขนส่งทางอากาศยาน ผอ.ท่าอากาศยานดอนเมือง เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเจ็ท เป็นต้น ส่วนของกลางทั้งหมดรวม 8 รายการ 145 หีบห่อ
พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ต้องหาทั้งหมดขณะนี้อยู่ระหว่างฝากขังเป็นครั้งที่ 3 มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม - 18 มกราคม 2552 เมื่อพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนคดีและมีความเห็นสั่งฟ้องคดีให้กับพนักงานอัยการไปแล้ว หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับพนักงานอัยการที่จะดำเนินการต่อไปให้ทันกำหนดฝากขัง 84 วัน อย่างไรก็ดี สำหรับการสรุปสำนวนคดีครั้งนี้ตนได้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ ก่อนจะรายงานต่อที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ต่อไป
**เรื่องปกตินักค้าอาวุธขอผู้นำ ปท.ช่วย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงกรณีนักโทษค้าอาวุธที่ถูกคุมขังในประเทศไทย ส่งอีเมลล์จดหมายไปขอความช่วยเหลือ จากประธานาธิบดีคาซัคสถาน โดยอ้างว่าอยู่ในเรือนจำประเทศไทยลำบากมากว่า เป็นเรื่องปกติ แต่ว่าทุกอย่างก็มีขั้นตอน เรามีสัญญาแลกเปลี่ยนนักโทษกับประเทศต่าง ๆ อยู่ เพราะฉะนั้นกรณีที่ได้รับคำพิพากษาลงโทษ และเข้าไปรับโทษตามกฎหมายไทยอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ประเทศที่นักโทษผู้นั้นถือสัญชาติอยู่ก็มีสิทธิ์ที่จะทำเรื่องมาขอให้นำกลับไปรับโทษต่อในประเทศเขาก็ได้ เราก็เคยทำกับประเทศอื่น
ผู้สื่อข่าวถามว่าการทำเช่นนี้เหมือนกับเป็นการประจานประเทศไทยหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่หรอก เราก็ทำกับประเทศอื่นเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา
วานนี้(14 ม.ค.)ที่กองปราบปราม ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าคดีจับกุมอาวุธสงคราม ว่า พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รักษาราชการแทน ผบก.ป.ได้สั่งการให้พนักงานสอบสวน บก.ป.นำสำนวนการสอบสวนคดีดังกล่าวส่งมอบให้พนักงานอัยการพิจารณาสั่งฟ้อง 5 ผู้ต้องหา คือ นายอเล็กซานเดอร์ เซอร์เบเนฟ อายุ 53 ปี นายวิกเตอร์ อัลดุลลายาฟ อายุ 58 ปี นายวิทาลี ซุนคอฟ อายุ 54 ปี นายอิลยาส อิสซาคอฟ อายุ 53 ปี สัญชาติคาซัคสถาน และนายมิคาอิล พีทูคู อายุ 54 ปี สัญชาติเบลารุส ใน 4 ข้อหา ประกอบด้วย 1.ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยผิดกฎหมาย ลำเลียงอาวุธสงครามทางอากาศยาน 2.เข้ามา หรือนำเข้ามา หรือมีซึ่งยุทธภัณฑ์และนำพาไปกับอากาศยานโดยไม่ได้รับอนุญาต 3.นำพาของไม่ได้เสียภาษีหรือของต้องห้าม ต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรไทย และ 4.ไม่ได้แจ้งหรือแสดงใบอนุญาตหรือบัญชีสินค้าแก่เจ้าหน้าที่ จากการสอบสวนผู้ต้องหาทั้งหมดให้การปฏิเสธ
พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าวว่า การดำเนินการของพนักงานสอบสวน บก.ป.ในคดีนี้มีการสอบปากคำพยานผู้กล่าวหา 3 ปาก คือ ผกก.สน.ดอนเมือง หน.สส.ดอนเมือง และ พ.ต.ท.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ รอง ผกก.1 บก.ป.โดยสอบปากคำพยานซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการตรวจค้นอาวุธสงครามดังกล่าวรวม 6 ปาก และสอบปากคำพยานบุคคลที่เกี่ยวข้องในคดีนี้ทั้งหมด 12 ปาก อาทิ กรมสรรพาวุธ กองวิทยาการ กองควบคุมยุทธภัณฑ์และวัตถุอันตราย ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนการขนส่งทางอากาศยาน ผอ.ท่าอากาศยานดอนเมือง เจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่บริษัท เอ็มเจ็ท เป็นต้น ส่วนของกลางทั้งหมดรวม 8 รายการ 145 หีบห่อ
พ.ต.อ.สุพิศาล กล่าวต่อว่า สำหรับผู้ต้องหาทั้งหมดขณะนี้อยู่ระหว่างฝากขังเป็นครั้งที่ 3 มีกำหนดตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม - 18 มกราคม 2552 เมื่อพนักงานสอบสวนได้สรุปสำนวนคดีและมีความเห็นสั่งฟ้องคดีให้กับพนักงานอัยการไปแล้ว หลังจากนี้ก็ขึ้นอยู่กับพนักงานอัยการที่จะดำเนินการต่อไปให้ทันกำหนดฝากขัง 84 วัน อย่างไรก็ดี สำหรับการสรุปสำนวนคดีครั้งนี้ตนได้รายงานผู้บังคับบัญชาทราบ ก่อนจะรายงานต่อที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ต่อไป
**เรื่องปกตินักค้าอาวุธขอผู้นำ ปท.ช่วย
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงกรณีนักโทษค้าอาวุธที่ถูกคุมขังในประเทศไทย ส่งอีเมลล์จดหมายไปขอความช่วยเหลือ จากประธานาธิบดีคาซัคสถาน โดยอ้างว่าอยู่ในเรือนจำประเทศไทยลำบากมากว่า เป็นเรื่องปกติ แต่ว่าทุกอย่างก็มีขั้นตอน เรามีสัญญาแลกเปลี่ยนนักโทษกับประเทศต่าง ๆ อยู่ เพราะฉะนั้นกรณีที่ได้รับคำพิพากษาลงโทษ และเข้าไปรับโทษตามกฎหมายไทยอยู่ในช่วงเวลาหนึ่งแล้ว ประเทศที่นักโทษผู้นั้นถือสัญชาติอยู่ก็มีสิทธิ์ที่จะทำเรื่องมาขอให้นำกลับไปรับโทษต่อในประเทศเขาก็ได้ เราก็เคยทำกับประเทศอื่น
ผู้สื่อข่าวถามว่าการทำเช่นนี้เหมือนกับเป็นการประจานประเทศไทยหรือไม่ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไม่หรอก เราก็ทำกับประเทศอื่นเหมือนกัน ซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดา