ASTVผู้จัดการรายวัน- เซอร์ไพร์สสุดๆ ยังไม่ทันหมดอายุมาตรการตรึงค่าไฟที่ครบกำหนดส.ค. เรกูเลเตอร์ประกาศตรึงค่าไฟได้ยาวจนถึงสิ้นปี บนสมมติฐานที่ราคาน้ำมันดิบตลาดโลกต้องไม่เกิน 85 เหรียญต่อบาร์เรล โยนกฟผ.แบกดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาท
นายนภดล มัณฑะจิตร คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า นโยบายรัฐบาลตามติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)กำหนดตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ เอฟทีถึงส.ค. 2553 นั้น หากพิจารณาจากภาระหนี้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) รับแทนประชาชนจากการตรึงค่าไฟฟ้าจนถึงล่าสุดรวม 1.5 หมื่นล้านบาทและดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาทนั้นหากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกไม่ขยับไปเกินระดับ 85 เหรียญต่อบาร์เรลการตรึงค่าไฟฟ้าจะสามารถดำเนินการได้จนถึงสิ้นปี
“ ภาระที่กฟผ.รับแทนประชาชน 1.5 หมื่นล้านบาทคาดว่าจะใช้หนี้คืนได้หมดภายในสิ้นปีนี้ส่วนภาระดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาทที่เกิดขึ้นกฟผ.สามารถแบกรับภาระได้ไปจนถึงเดือนสิงหาคม หากน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับนี้ ประกอบกับเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวจะทำให้การใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ก็จะสามารถตรึงค่าเอฟทีได้จนถึงสิ้นปี ”นายนภดลกล่าว
สำหรับกรณีที่เกิดปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติของบมจ.ปตท.ที่ส่งผลให้กระทบต่อค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 400 ล้านบาทที่ผ่านมาขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดซึ่งจะต้องมีผู้ร่วมรับผิดชอบทั้งปตท.และกฟผ.โดยยืนยันว่าจะไม่ให้ประชาชนแบกรับภาระแต่อย่างใด
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานเรกูเลเตอร์กล่าวว่า ตามหลักความเป็นจริงค่าเอฟที จะต้องปรับขึ้นทุกครั้ง เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภค และค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจด้วย โดยปัจจุบันตรึงค่าเอฟที ไว้ที่ระดับ 92.55 สตางค์ต่อหน่วย ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2552 ถึงเมษายน 2553
ขณะนี้กพพ.อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต้องจัดทำมาตรฐานกลางเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม(COP) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจัดทำขึ้นเนื่องจากมีการร้องเรียนว่าผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเกิน 10 เมกะวัตต์ที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)มีการหลบเลี่ยงมาผลิตไม่ให้เกินขนาดทำให้ประชาชนมองว่าเป็นการเลี่ยงที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีผลย้อนหลังกับรายเก่าที่ต้องดำเนินการด้วย
สำหรับปี 2553 กกพ. มีเป้าหมายที่จะเร่งเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน 5 ปี พ.ศ. 2551 – 2555 โดยจะมุ่งเน้นประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกิจการพลังงาน และอุตสาหกรรมในภาพรวม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรกำกับดูแลชั้นเลิศ โดยการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการด้านพลังงาน การมีเวทีแข่งขันที่ได้มาตรฐาน และมีอัตราค่าบริการที่สะท้อนถึงต้นทุนที่ชัดเจน และมีความโปร่งใส นอกจากนี้ ยังได้กำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การวางรากฐานการกำกับกิจการพลังงานออกไปสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้พลังงานทั่วประเทศเกิดความเข้าใจในกิจการพลังงาน
นายนภดล มัณฑะจิตร คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า นโยบายรัฐบาลตามติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)กำหนดตรึงค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือ เอฟทีถึงส.ค. 2553 นั้น หากพิจารณาจากภาระหนี้ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) รับแทนประชาชนจากการตรึงค่าไฟฟ้าจนถึงล่าสุดรวม 1.5 หมื่นล้านบาทและดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาทนั้นหากราคาน้ำมันดิบตลาดโลกไม่ขยับไปเกินระดับ 85 เหรียญต่อบาร์เรลการตรึงค่าไฟฟ้าจะสามารถดำเนินการได้จนถึงสิ้นปี
“ ภาระที่กฟผ.รับแทนประชาชน 1.5 หมื่นล้านบาทคาดว่าจะใช้หนี้คืนได้หมดภายในสิ้นปีนี้ส่วนภาระดอกเบี้ย 2,000 ล้านบาทที่เกิดขึ้นกฟผ.สามารถแบกรับภาระได้ไปจนถึงเดือนสิงหาคม หากน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับนี้ ประกอบกับเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวจะทำให้การใช้ไฟฟ้าสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำลง ก็จะสามารถตรึงค่าเอฟทีได้จนถึงสิ้นปี ”นายนภดลกล่าว
สำหรับกรณีที่เกิดปัญหาการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติของบมจ.ปตท.ที่ส่งผลให้กระทบต่อค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นรวมประมาณ 400 ล้านบาทที่ผ่านมาขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดซึ่งจะต้องมีผู้ร่วมรับผิดชอบทั้งปตท.และกฟผ.โดยยืนยันว่าจะไม่ให้ประชาชนแบกรับภาระแต่อย่างใด
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานเรกูเลเตอร์กล่าวว่า ตามหลักความเป็นจริงค่าเอฟที จะต้องปรับขึ้นทุกครั้ง เนื่องจากต้นทุนค่าเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภค และค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจด้วย โดยปัจจุบันตรึงค่าเอฟที ไว้ที่ระดับ 92.55 สตางค์ต่อหน่วย ตั้งแต่งวดเดือนมกราคม 2552 ถึงเมษายน 2553
ขณะนี้กพพ.อยู่ระหว่างการกำหนดหลักเกณฑ์ให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ต้องจัดทำมาตรฐานกลางเพื่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม(COP) ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวจัดทำขึ้นเนื่องจากมีการร้องเรียนว่าผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเกิน 10 เมกะวัตต์ที่ต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)มีการหลบเลี่ยงมาผลิตไม่ให้เกินขนาดทำให้ประชาชนมองว่าเป็นการเลี่ยงที่จะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ซึ่งเกณฑ์นี้จะมีผลย้อนหลังกับรายเก่าที่ต้องดำเนินการด้วย
สำหรับปี 2553 กกพ. มีเป้าหมายที่จะเร่งเดินหน้าตามแผนยุทธศาสตร์การกำกับกิจการพลังงาน 5 ปี พ.ศ. 2551 – 2555 โดยจะมุ่งเน้นประสิทธิผลและประสิทธิภาพของกิจการพลังงาน และอุตสาหกรรมในภาพรวม เพื่อมุ่งสู่การเป็นองค์กรกำกับดูแลชั้นเลิศ โดยการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพการบริการด้านพลังงาน การมีเวทีแข่งขันที่ได้มาตรฐาน และมีอัตราค่าบริการที่สะท้อนถึงต้นทุนที่ชัดเจน และมีความโปร่งใส นอกจากนี้ ยังได้กำหนดกลยุทธ์ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การวางรากฐานการกำกับกิจการพลังงานออกไปสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้พลังงานทั่วประเทศเกิดความเข้าใจในกิจการพลังงาน