ความเดิมต่อจากตอนที่แล้ว ดิฉันได้เล่าถึง "Futures "หนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ทางการลงทุนที่ทำให้ความฝันในการข้ามเวลาของมนุษย์ให้เป็นจริง เครื่องมือที่ทำให้เราสามารถกำหนดอนาคตทางการลงทุนของเราได้ (อ่านย้อนหลังได้ที่ www.afet.or.th/v081/thai/learning/articleShow.php?id=155) โดย Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย คือผู้ซื้อและผู้ขาย โดยทั้งสองฝ่าย "ตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อขายสินค้าที่ราคาและปริมาณเท่าไหร่ " แต่จะ "ส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต "อ่านมาถึงตรงนี้ ท่านผู้อ่านบางท่านอาจจะสงสัยว่าสัญญา Futures นี้เหมือนกับสัญญา Forward หรือไม่ คำตอบคือ เหมือนกันในแง่ของการเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยงค่ะ แต่มีความแตกต่างกันในหลายข้อ เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น เรามาดูตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างสัญญา Futures และสัญญา Forward กันค่ะ
ที่มา : หนังสือ "ลงทุนอย่างไร...ใน AFET " (หนังสือการลงทุนดีๆ ที่ให้กันฟรีค่ะ สามารถ download ได้ที่ www.afet.or.th/v081/thai/learning/publication.php )
หลังจากทำความรู้จักกับ Futures มาสักพักแล้ว มาดูวิธีการลงทุนใน Futures กันบ้าง แต่เนื่องจากการลงทุนใน Futures เป็นเรื่องที่ตื่นเต้นเร้าใจและต้องอาศัยฝีมือ ดังนั้นเราจึงต้องพกอาวุธความรู้ติดตัวไปด้วย อาวุธแรกคือ กลุ่มคำศัพท์ในชีวิตประจำวันของนักลงทุนใน Futures อย่างพวกเรา
คำสั่งในการซื้อขาย
LONG : ซื้อ SHORT : ขาย
OFFSET : การปิดสถานะการถือครองสัญญา โดยการทำสัญญาในฝั่งตรงข้ามกับสัญญาที่ถือครองไว้เดิม เช่น ทำ SHORT ล้าง LONG, ทำ LONG ล้าง SHORT
เงื่อนไขการส่งมอบรับมอบ เมื่อสัญญา Futures ครบกำหนด
CASH SETTLEMENT : การชำระส่วนต่างราคาด้วยเงินสด (แทนการส่งมอบรับมอบสินค้าจริง) เช่น SET50 Index Futures, Gold Futures และ Stock Futures ใน TFEX
PHYSICAL DELIVERY : การส่งมอบรับมอบสินค้าจริง ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา Futures ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ใน AFET ทั้งนี้ Futures ประเภทนี้ นักลงทุนซึ่งไม่ได้คาดหวังว่าจะส่งมอบหรือรับมอบสินค้าจริงๆ ควรปิดสถานะของตนเอง ก่อนเข้าใกล้วันครบกำหนดค่ะ
BOTH OPTIONS : ผู้ถือสัญญาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิธี CASH SETTLEMENT หรือ PHYSICAL DELIVERY เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าข้าวหอมมะลิ (BHMR), ข้าวขาว 5% (BWR5) และมันสำปะหลังเส้น (TC) ใน AFET
การคำนวณกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันซื้อขาย
Mark to Market : การคำนวณกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันซื้อขาย โดยใช้ราคายุติประจำวัน (Daily Settlement Price) ซึ่งหากบัญชีใดกำไร ก็จะได้รับเงินโอนเข้า กลับกันหากบัญชีใดขาดทุน เงินในบัญชีนั้นก็จะถูกโอนออก ทั้งนี้ Mark to Market เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยนักลงทุนในการติดตามสถานะการซื้อขายของตน หากเกิดภาวะขาดทุนก็สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างทันท่วงที
Margin คำนี้สำคัญมากค่ะ เพราะ Margin คือเงินประกันการซื้อขาย เนื่องจากผู้ซื้อผู้ขายสัญญา Futures ไม่ต้องนำเงินมาจ่ายเต็มจำนวนตามมูลค่าของสัญญา Futures แต่เพื่อการป้องกันการบิดพลิ้วของสัญญา ทำให้ต้องมีการเรียกเก็บเงินประกัน หรือ Margin ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ค่ะ
IM (Initial Margin) : เงินประกันขั้นต้น ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขาย Futures ต้องวางไว้ตามอัตราที่สำนักหักบัญชีของ AFET หรือ บริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีลงทุนใน TFEX เป็นผู้กำหนด
MM (Maintenance Margin) : เงินประกันขั้นต่ำ หรือจำง่ายๆ ว่าเป็นเกณฑ์ระดับเงินขั้นต่ำที่ต้องรักษาไว้ในบัญชี หากเมื่อไหร่ที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เราถือไว้ขาดทุน จนทำให้จำนวนเงินในบัญชีซื้อขายต่ำกว่าระดับ MM นี้ เราจะถูกเรียกให้วางเงินประกันส่วนเพิ่ม (Margin Call) เพื่อให้เงินในบัญชีกลับมาเท่ากับระดับ IM อีกครั้งค่ะ
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตาลายไปนะคะ ค่อยๆ อ่าน รับรองว่าความรู้ครั้งนี้ ไม่เสียทีที่ได้อ่าน เพราะถ้าอ่านเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้ ความรู้นี้จะสามารถสร้างรายได้ให้ท่านผู้อ่านในอนาคตค่ะ ในคราวหน้า เราจะมาดูวิทยายุทธในการเข้าซื้อขายในตลาดล่วงหน้า (Futures Exchange) ว่าจะสนุกสนานเร้าใจขนาดไหน ติดตามตอนต่อไปค่ะ
ที่มา : หนังสือ "ลงทุนอย่างไร...ใน AFET " (หนังสือการลงทุนดีๆ ที่ให้กันฟรีค่ะ สามารถ download ได้ที่ www.afet.or.th/v081/thai/learning/publication.php )
หลังจากทำความรู้จักกับ Futures มาสักพักแล้ว มาดูวิธีการลงทุนใน Futures กันบ้าง แต่เนื่องจากการลงทุนใน Futures เป็นเรื่องที่ตื่นเต้นเร้าใจและต้องอาศัยฝีมือ ดังนั้นเราจึงต้องพกอาวุธความรู้ติดตัวไปด้วย อาวุธแรกคือ กลุ่มคำศัพท์ในชีวิตประจำวันของนักลงทุนใน Futures อย่างพวกเรา
คำสั่งในการซื้อขาย
LONG : ซื้อ SHORT : ขาย
OFFSET : การปิดสถานะการถือครองสัญญา โดยการทำสัญญาในฝั่งตรงข้ามกับสัญญาที่ถือครองไว้เดิม เช่น ทำ SHORT ล้าง LONG, ทำ LONG ล้าง SHORT
เงื่อนไขการส่งมอบรับมอบ เมื่อสัญญา Futures ครบกำหนด
CASH SETTLEMENT : การชำระส่วนต่างราคาด้วยเงินสด (แทนการส่งมอบรับมอบสินค้าจริง) เช่น SET50 Index Futures, Gold Futures และ Stock Futures ใน TFEX
PHYSICAL DELIVERY : การส่งมอบรับมอบสินค้าจริง ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา Futures ตัวอย่างเช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้ายางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) ใน AFET ทั้งนี้ Futures ประเภทนี้ นักลงทุนซึ่งไม่ได้คาดหวังว่าจะส่งมอบหรือรับมอบสินค้าจริงๆ ควรปิดสถานะของตนเอง ก่อนเข้าใกล้วันครบกำหนดค่ะ
BOTH OPTIONS : ผู้ถือสัญญาสามารถเลือกได้ว่าจะใช้วิธี CASH SETTLEMENT หรือ PHYSICAL DELIVERY เช่น สัญญาซื้อขายล่วงหน้าข้าวหอมมะลิ (BHMR), ข้าวขาว 5% (BWR5) และมันสำปะหลังเส้น (TC) ใน AFET
การคำนวณกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันซื้อขาย
Mark to Market : การคำนวณกำไรขาดทุนทุกสิ้นวันซื้อขาย โดยใช้ราคายุติประจำวัน (Daily Settlement Price) ซึ่งหากบัญชีใดกำไร ก็จะได้รับเงินโอนเข้า กลับกันหากบัญชีใดขาดทุน เงินในบัญชีนั้นก็จะถูกโอนออก ทั้งนี้ Mark to Market เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยนักลงทุนในการติดตามสถานะการซื้อขายของตน หากเกิดภาวะขาดทุนก็สามารถปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การซื้อขายได้อย่างทันท่วงที
Margin คำนี้สำคัญมากค่ะ เพราะ Margin คือเงินประกันการซื้อขาย เนื่องจากผู้ซื้อผู้ขายสัญญา Futures ไม่ต้องนำเงินมาจ่ายเต็มจำนวนตามมูลค่าของสัญญา Futures แต่เพื่อการป้องกันการบิดพลิ้วของสัญญา ทำให้ต้องมีการเรียกเก็บเงินประกัน หรือ Margin ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ค่ะ
IM (Initial Margin) : เงินประกันขั้นต้น ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขาย Futures ต้องวางไว้ตามอัตราที่สำนักหักบัญชีของ AFET หรือ บริษัทสำนักหักบัญชี (ประเทศไทย) จำกัด ในกรณีลงทุนใน TFEX เป็นผู้กำหนด
MM (Maintenance Margin) : เงินประกันขั้นต่ำ หรือจำง่ายๆ ว่าเป็นเกณฑ์ระดับเงินขั้นต่ำที่ต้องรักษาไว้ในบัญชี หากเมื่อไหร่ที่สัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เราถือไว้ขาดทุน จนทำให้จำนวนเงินในบัญชีซื้อขายต่ำกว่าระดับ MM นี้ เราจะถูกเรียกให้วางเงินประกันส่วนเพิ่ม (Margin Call) เพื่อให้เงินในบัญชีกลับมาเท่ากับระดับ IM อีกครั้งค่ะ
ท่านผู้อ่านอย่าเพิ่งตาลายไปนะคะ ค่อยๆ อ่าน รับรองว่าความรู้ครั้งนี้ ไม่เสียทีที่ได้อ่าน เพราะถ้าอ่านเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้ ความรู้นี้จะสามารถสร้างรายได้ให้ท่านผู้อ่านในอนาคตค่ะ ในคราวหน้า เราจะมาดูวิทยายุทธในการเข้าซื้อขายในตลาดล่วงหน้า (Futures Exchange) ว่าจะสนุกสนานเร้าใจขนาดไหน ติดตามตอนต่อไปค่ะ