คอลัมน์ ถนนการลงทุน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินที่ก่อกำเนิดจาก หรือมีการอ้างอิงจาก หรือเกิดการผันแปรของราคาตามสินทรัพย์อ้างอิงอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ๆ (Underlying Variables) จึงทำให้ราคาของตราสารอนุพันธ์จะมีการเคลื่อนไหวไปตามสินทรัพย์ที่อนุพันธ์นั้นอ้างอิง ทำให้เกิดการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ซึ่งมีกทั้งการลงทุนเพื่อการเก็งกำไร และการลงทุนเพื่อการป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ
สินทรัพย์ที่อ้างอิง ที่นำมาใช้อ้างอิงกับตราสารอนุพันธ์นั้น อาจเป็นตราสารทางการเงินต่าง ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้าน รถยนต์ ยางพารา ทองคำ ฯลฯ ตามที่ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ว่าเป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์อะไร
อนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นอยู่ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ซึ่งโดยปกติการซื้อขายบ้านและที่ดินเป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายกันล่วงหน้า โดยที่ผู้ซื้อทำการวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้ขาย เช่น บ้านมีราคา 3,000,000 บาท ผู้ซื้อได้ตกลงที่จะวางเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาทในวันทำสัญญา และจะมีการส่งมอบบ้านแก่กันในอนาคต พร้อมทั้งมีการชำระราคาส่วนที่เหลือในอนาคตด้วยเช่นเดียวกัน เช่น อีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างสัญญาที่ยังไม่ครบกำหนดอายุของสัญญานั้น ผู้ที่ตกลงซื้อก็จะดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำเงินกู้มาซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าว หากธนาคารอนุมัติเงินกู้ ผู้ซื้อก็จะนำเงินมาชำระค่าบ้านตามสัญญา หรือหากผู้ซื้อไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทำตามสัญญาได้ผู้ขายก็จะยึดเงินมัดจำดังกล่าวไป หรือหากผู้ซื้อสามารถขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินค่ามัดจำคืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ผู้ซื้อสามารถที่จะขายสัญญาจะซื้อจะขายได้ หากราคาบ้านมีราคาสูงขึ้นในระหว่าง เวลา 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนเงินที่ได้วางมัดจำไว้ และถ้าราคาบ้านมีราคาลดลงในระหว่าง 6 เดือนสัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
ในปัจจุบัน ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจของประเทศไทยมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีตราสารอนุพันธ์ชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตราสารอนุพันธ์ที่ประเทศไทยมีมาค่อนข้างยาวนานกว่าตราสารอนุพันธ์ชนิดอื่น ๆ ก็ คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currencies Exchange Forward Contract) ซึ่งมักจะนิยมใช้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้า สัญญาดังกล่าวจะเป็นการทำสัญญาระหว่าง ธนาคารพาณิชย์ที่มีการรับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กับผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกซึ่งจะมีรายได้หรือรายจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นการทำสัญญาดังกล่าว จะทำให้ผู้ที่จะมีรายได้หรือรายจ่าย ที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้ทราบว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นอย่างไร การทำสัญญาดังกล่าวจะทำให้ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถประเมินถึงรายได้และรายจ่ายที่เป็นจำนวนเงินสกุลบาทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จะทำให้ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนลดลง
ตราสารอนุพันธ์ประเภทอื่น ๆ ที่มีในประเทศไทยในขณะนี้อีกประเภทหนึ่ง ก็คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) สินค้าเกษตร ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นสัญญาที่ตกลงซื้อขายสินค้าเกษตร เช่น มันสัมปะหลังเส้น แป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ ข้าวขาว 5% ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR20 และน้ำยางข้น ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรนี้จะช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้สินค้าเกษตรดังกล่าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่น ๆ สามารถกำหนดราคาซื้อขายล่วงหน้าได้ การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้เป็นการประกันว่าสินค้าเกษตรดังกล่าวเมื่อผลิตออกมาแล้ว ผู้ขายสินค้าเกษตรจะสามารถขายได้ราคาตามที่ต้องการ และจะผลิตสินค้าออกมาตามความต้องการใช้ของตลาด ไม่มีสินค้าล้นตลาด ส่วนด้านของผู้ซื้อก็จะสามารถมั่นใจได้ว่าราคาวัตถุดิบที่ต้องการซื้อนั้น จะเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ไม่เกิดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร
ตารสารอนุพันธ์อีกประเภทที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาไม่นานมากนัก คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 (SET50 Index Futures และ SET50 Index Options) สัญญาซื้อขายหุ้นสามัญล่วงหน้า (Stock Futures) ซึ่งดำเนินการซื้อขายที่ตลาดอนุพันธ์ ซึ่งบริหารจัดการโดย บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (TFEX) เป็นตลาดที่ทำหน้าที่ซึ่งขายล่วงหน้าดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 ของประเทศไทย เป็นการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเข้ามาในการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่นักลงทุนจะสามารถเลือกลงทุนตามปกติในตลาดหลักทรัพย์ และเลือกลงทุนใน SET 50 Index Futures หรือ Stock Futures เพิ่มเติม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าราคาของหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ต้องการให้เป็น เช่น หากนักลงทุนเลือกลงทุนอยู่ในหลักทรัพย์หลายชนิด แต่กลัวว่าราคาของหลักทรัพย์เหล่านั้น จะมีราคาที่ลดลงทำให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุน นักลงทุนดังกล่าวก็สามรถที่จะเข้ามาลงทุนใน SET 50 Index Futuresหรือ Stock Futures ได้ เพื่อเป็นการป้องกันในกรณีที่ราคาหลักทรัพย์ลดลง ผู้ลงทุนก็จะขาดทุนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ แต่จะได้กำไรจากการลงทุนใน SET 50 Index Futures หรือ Stock Futures มาทดแทน
ดร.กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาสาทรธานี
ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจไซเบอร์ (RSU Cyber University)
และผู้จัดการโครงการหลักสูตร MBA มหาวิทยาลัยรังสิต
ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินที่ก่อกำเนิดจาก หรือมีการอ้างอิงจาก หรือเกิดการผันแปรของราคาตามสินทรัพย์อ้างอิงอยู่ ซึ่งโดยทั่วไปตราสารอนุพันธ์จะมีมูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) หรือตัวแปรอ้างอิงอื่น ๆ (Underlying Variables) จึงทำให้ราคาของตราสารอนุพันธ์จะมีการเคลื่อนไหวไปตามสินทรัพย์ที่อนุพันธ์นั้นอ้างอิง ทำให้เกิดการลงทุนในตราสารอนุพันธ์ ซึ่งมีกทั้งการลงทุนเพื่อการเก็งกำไร และการลงทุนเพื่อการป้องกันความเสี่ยงต่าง ๆ
สินทรัพย์ที่อ้างอิง ที่นำมาใช้อ้างอิงกับตราสารอนุพันธ์นั้น อาจเป็นตราสารทางการเงินต่าง ๆ เช่น อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ พันธบัตร ตั๋วเงิน หุ้นสามัญ ฯลฯ หรืออาจเป็นสินค้าหรือสินทรัพย์อื่น ๆ เช่น น้ำมัน ข้าว บ้าน รถยนต์ ยางพารา ทองคำ ฯลฯ ตามที่ตราสารอนุพันธ์นั้นได้กำหนดไว้ว่าเป็นการอ้างอิงถึงสินทรัพย์อะไร
อนุพันธ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นอยู่ในชีวิตประจำวัน อาจเป็นสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดิน ซึ่งโดยปกติการซื้อขายบ้านและที่ดินเป็นการทำสัญญาจะซื้อจะขายกันล่วงหน้า โดยที่ผู้ซื้อทำการวางเงินมัดจำจำนวนหนึ่ง ให้แก่ผู้ขาย เช่น บ้านมีราคา 3,000,000 บาท ผู้ซื้อได้ตกลงที่จะวางเงินมัดจำจำนวน 500,000 บาทในวันทำสัญญา และจะมีการส่งมอบบ้านแก่กันในอนาคต พร้อมทั้งมีการชำระราคาส่วนที่เหลือในอนาคตด้วยเช่นเดียวกัน เช่น อีก 6 เดือนข้างหน้า ในระหว่างสัญญาที่ยังไม่ครบกำหนดอายุของสัญญานั้น ผู้ที่ตกลงซื้อก็จะดำเนินการขอกู้เงินจากธนาคาร เพื่อนำเงินกู้มาซื้อบ้านและที่ดินดังกล่าว หากธนาคารอนุมัติเงินกู้ ผู้ซื้อก็จะนำเงินมาชำระค่าบ้านตามสัญญา หรือหากผู้ซื้อไม่สามารถกู้เงินจากธนาคารได้ ผู้ซื้อก็จะไม่สามารถทำตามสัญญาได้ผู้ขายก็จะยึดเงินมัดจำดังกล่าวไป หรือหากผู้ซื้อสามารถขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่ผู้อื่นได้ ผู้ซื้อก็จะได้รับเงินค่ามัดจำคืน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่ผู้ซื้อสามารถที่จะขายสัญญาจะซื้อจะขายได้ หากราคาบ้านมีราคาสูงขึ้นในระหว่าง เวลา 6 เดือน สัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนเงินที่ได้วางมัดจำไว้ และถ้าราคาบ้านมีราคาลดลงในระหว่าง 6 เดือนสัญญาดังกล่าวอาจมีมูลค่าลดลงด้วยเช่นเดียวกัน
ในปัจจุบัน ตราสารอนุพันธ์ (Derivatives) เริ่มเข้ามามีบทบาทในภาคธุรกิจของประเทศไทยมากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะมีตราสารอนุพันธ์ชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตราสารอนุพันธ์ที่ประเทศไทยมีมาค่อนข้างยาวนานกว่าตราสารอนุพันธ์ชนิดอื่น ๆ ก็ คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเงินตราต่างประเทศ (Foreign Currencies Exchange Forward Contract) ซึ่งมักจะนิยมใช้สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเงินตราต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้า สัญญาดังกล่าวจะเป็นการทำสัญญาระหว่าง ธนาคารพาณิชย์ที่มีการรับบริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กับผู้นำเข้าหรือผู้ส่งออกซึ่งจะมีรายได้หรือรายจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้นการทำสัญญาดังกล่าว จะทำให้ผู้ที่จะมีรายได้หรือรายจ่าย ที่เป็นเงินตราต่างประเทศได้ทราบว่าอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นในอนาคตจะเป็นอย่างไร การทำสัญญาดังกล่าวจะทำให้ทั้งผู้ส่งออกและผู้นำเข้าสามารถประเมินถึงรายได้และรายจ่ายที่เป็นจำนวนเงินสกุลบาทได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จะทำให้ความเสี่ยงจากการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนลดลง
ตราสารอนุพันธ์ประเภทอื่น ๆ ที่มีในประเทศไทยในขณะนี้อีกประเภทหนึ่ง ก็คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Futures Contract) สินค้าเกษตร ในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) เป็นสัญญาที่ตกลงซื้อขายสินค้าเกษตร เช่น มันสัมปะหลังเส้น แป้งมันสำปะหลังชั้นพิเศษ ข้าวขาว 5% ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR20 และน้ำยางข้น ซึ่งการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสินค้าเกษตรนี้จะช่วยให้ทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้สินค้าเกษตรดังกล่าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอื่น ๆ สามารถกำหนดราคาซื้อขายล่วงหน้าได้ การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้านี้เป็นการประกันว่าสินค้าเกษตรดังกล่าวเมื่อผลิตออกมาแล้ว ผู้ขายสินค้าเกษตรจะสามารถขายได้ราคาตามที่ต้องการ และจะผลิตสินค้าออกมาตามความต้องการใช้ของตลาด ไม่มีสินค้าล้นตลาด ส่วนด้านของผู้ซื้อก็จะสามารถมั่นใจได้ว่าราคาวัตถุดิบที่ต้องการซื้อนั้น จะเป็นไปตามที่ตกลงกันไว้ ไม่เกิดความผันผวนของราคาสินค้าเกษตร
ตารสารอนุพันธ์อีกประเภทที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมาไม่นานมากนัก คือ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 (SET50 Index Futures และ SET50 Index Options) สัญญาซื้อขายหุ้นสามัญล่วงหน้า (Stock Futures) ซึ่งดำเนินการซื้อขายที่ตลาดอนุพันธ์ ซึ่งบริหารจัดการโดย บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (TFEX) เป็นตลาดที่ทำหน้าที่ซึ่งขายล่วงหน้าดัชนีหลักทรัพย์ SET 50 ของประเทศไทย เป็นการใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้าเข้ามาในการป้องกันความเสี่ยงจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ โดยที่นักลงทุนจะสามารถเลือกลงทุนตามปกติในตลาดหลักทรัพย์ และเลือกลงทุนใน SET 50 Index Futures หรือ Stock Futures เพิ่มเติม เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ถ้าราคาของหลักทรัพย์เปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ไม่ต้องการให้เป็น เช่น หากนักลงทุนเลือกลงทุนอยู่ในหลักทรัพย์หลายชนิด แต่กลัวว่าราคาของหลักทรัพย์เหล่านั้น จะมีราคาที่ลดลงทำให้เกิดการขาดทุนจากการลงทุน นักลงทุนดังกล่าวก็สามรถที่จะเข้ามาลงทุนใน SET 50 Index Futuresหรือ Stock Futures ได้ เพื่อเป็นการป้องกันในกรณีที่ราคาหลักทรัพย์ลดลง ผู้ลงทุนก็จะขาดทุนจากการลงทุนในหลักทรัพย์ แต่จะได้กำไรจากการลงทุนใน SET 50 Index Futures หรือ Stock Futures มาทดแทน