สวัสดีปีใหม่ค่ะท่านผู้อ่านทุกท่าน ขอต้อนรับเข้าสู่ศักราชใหม่ที่สดใสมีพลัง หลังจากการพักผ่อนที่มีความสุขถึง 4 วัน ดิฉันเชื่อว่าหลายๆ ท่านคงมีเวลานั่งทบทวนถึงสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา และหลายท่านก็คงมีความตั้งใจที่จะทำอะไรดีๆ เรียนรู้และทดลองสิ่งใหม่ๆ และยิ่งช่วงต้นปีอย่างนี้ก็ยิ่งมีพลังไฟเต็มที่ แล้วจะมัวรออะไรอยู่คะ เดินหน้าลุยกันเลยค่ะ
Back to “the Futures” เป็นเรื่องราวที่ดิฉันภูมิใจนำเสนอวันนี้ค่ะ หลายท่านอ่านแล้วคงนึกไปถึงภาพยนต์ฝรั่งที่โด่งดังมากในยุค 1980-90 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการข้ามเวลาไปทั้งในอดีตและอนาคต โดยแต่ละครั้งที่มีข้ามเวลา ตัวเอกของเรื่องจะพยายามแก้ไขอดีตให้ดีขึ้นและกระตือรือร้นที่จะล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งล้วนเป็นความใฝ่ฝันของมนุษย์เดินดินอย่างเราทั้งสิ้น
และด้วยความพยายามของมนุษย์ที่จะทำความฝันในการข้ามเวลาให้เป็นจริง ได้ก่อให้เกิด "สิ่งประดิษฐ์ทางการลงทุน" ที่ทำให้เราสามารถกำหนดอนาคตได้ และหนึ่งในนั้นที่ได้รับความนิยมมากก็คือ "Futures" ค่ะ
การลงทุนใน "Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" ไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย และก็อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ของท่านผู้อ่านหลายๆ ท่าน แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยเสียทีเดียว เนื่องจากการลงทุนประเภทนี้มีความซับซ้อน แต่ไม่ว่าจะซับซ้อนแค่ไหน ก็ไม่ยากเกินความสามารถของเราไปได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก Futures กัน โดยวันนี้ดิฉันได้รวบรวมประเด็นคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Futures ดังนี้ค่ะ
Futures คืออะไร
Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย คือ "ผู้ซื้อ"และ "ผู้ขาย" ค่ะ โดยทั้งสองฝ่าย " ตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อขายสินค้าที่ราคาและปริมาณเท่าไห " แต่มีกำหนดว่าจะ "ส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต" จะเห็นได้ว่า แค่เริ่มต้นเราก็มองเห็นราคาและปริมาณสินค้าที่เราจะซื้อหรือขายในอนาคตได้แล้ว นอกจากนี้เรายังเลือกช่วงเวลาที่จะส่งมอบสินค้าหรือจ่ายเงินในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจรู้สึกว่า Futures คล้ายๆ กับสัญญา Forward แต่ความจริงแล้ว Futures กับ Forward นั้นมีความแตกต่างกันอยู่หลายข้อค่ะ ซึ่งดิฉันจะขยายความในคราวต่อไป
Futures ซื้อขายสินค้าประเภทไหน
สำหรับการซื้อขายนั้นเราไม่ได้ซื้อขายกันที่ตัวสินค้าค่ะ แต่เป็นการซื้อขายตัวสัญญา "Futures "ซึ่งราคาของ Futures จะขึ้นอยู่กับสินค้าที่เราระบุว่าสัญญาดังกล่าวอ้างอิงอยู่กับสินค้าอะไร ดังนั้นสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันใน Futures จึงเรียกกันว่า "สินค้าอ้างอิง" ค่ะ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสินค้าที่จับต้องได้ เช่น สินค้าเกษตร ทองคำ น้ำมัน หรืออาจเป็นสินค้าอื่นๆ ที่จับต้องไม่ได้แต่สามารถวัดมูลค่าได้ เช่น ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย และเมื่อ Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวครบกำหนดส่งมอบและชำระเงิน คู่สัญญาก็อาจจะส่งมอบกันจริงๆ หรืออาจใช้วิธีชำระเงินที่เกิดจากการคำนวณกำไรขาดทุนแทนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละ Futures ค่ะ ดังนั้นควรศึกษาเงื่อนไขของการลงทุนใน Futures แต่ละประเภทอย่างละเอียดก่อนการลงทุน
ประเภทของ Futures ในตลาดลงทุนไทย
ปัจจุบันประเทศไทยของเรามีตลาดซื้อขายล่วงหน้าอยู่ 2 แห่งค่ะ คือ
1. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET : ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยปัจจุบันมีสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3, ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2, ข้าวขาว 5% และมันสำปะหลังเส้น
2. บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX : ศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยปัจจุบันมีสินค้าที่ซื้อขายกัน 4 ประเภท ได้แก่ SET50 Index Futures, Stock Futures, Gold Futures และ SET50 Index Options (ในวันนี้ดิฉันจะขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของ Futures กันก่อนค่ะ)
ถึงแม้จะมีเพียงแค่ 2 ตลาดและประเภทสินค้าก็ไม่ได้มากมายนัก แต่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าทั้ง 2 แห่งนี้ ก็สามารถสร้างนักลงทุนและเศรษฐีหน้าใหม่ประดับฟ้าเมืองไทยได้ไม่น้อยเลยค่ะ
นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนใน Futures ค่ะ ความตื่นเต้นยังมีอีกมากมาย ซึ่งดิฉันไม่อาจบรรยายได้หมดในวันเดียว ติดตามข้อมูลได้ในตอนต่อไปค่ะ
Back to “the Futures” เป็นเรื่องราวที่ดิฉันภูมิใจนำเสนอวันนี้ค่ะ หลายท่านอ่านแล้วคงนึกไปถึงภาพยนต์ฝรั่งที่โด่งดังมากในยุค 1980-90 เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการข้ามเวลาไปทั้งในอดีตและอนาคต โดยแต่ละครั้งที่มีข้ามเวลา ตัวเอกของเรื่องจะพยายามแก้ไขอดีตให้ดีขึ้นและกระตือรือร้นที่จะล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งล้วนเป็นความใฝ่ฝันของมนุษย์เดินดินอย่างเราทั้งสิ้น
และด้วยความพยายามของมนุษย์ที่จะทำความฝันในการข้ามเวลาให้เป็นจริง ได้ก่อให้เกิด "สิ่งประดิษฐ์ทางการลงทุน" ที่ทำให้เราสามารถกำหนดอนาคตได้ และหนึ่งในนั้นที่ได้รับความนิยมมากก็คือ "Futures" ค่ะ
การลงทุนใน "Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า" ไม่ใช่เรื่องใหม่ของไทย และก็อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ของท่านผู้อ่านหลายๆ ท่าน แต่ก็ยังไม่ใช่สิ่งที่คนไทยส่วนใหญ่คุ้นเคยเสียทีเดียว เนื่องจากการลงทุนประเภทนี้มีความซับซ้อน แต่ไม่ว่าจะซับซ้อนแค่ไหน ก็ไม่ยากเกินความสามารถของเราไปได้ ดังนั้นเรามาทำความรู้จัก Futures กัน โดยวันนี้ดิฉันได้รวบรวมประเด็นคำถามยอดฮิตเกี่ยวกับ Futures ดังนี้ค่ะ
Futures คืออะไร
Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า คือสัญญาระหว่าง 2 ฝ่าย คือ "ผู้ซื้อ"และ "ผู้ขาย" ค่ะ โดยทั้งสองฝ่าย " ตกลงกันวันนี้ว่าจะซื้อขายสินค้าที่ราคาและปริมาณเท่าไห " แต่มีกำหนดว่าจะ "ส่งมอบสินค้าและชำระเงินในอนาคต" จะเห็นได้ว่า แค่เริ่มต้นเราก็มองเห็นราคาและปริมาณสินค้าที่เราจะซื้อหรือขายในอนาคตได้แล้ว นอกจากนี้เรายังเลือกช่วงเวลาที่จะส่งมอบสินค้าหรือจ่ายเงินในอนาคตได้อีกด้วยค่ะ อ่านมาถึงตรงนี้ หลายท่านอาจรู้สึกว่า Futures คล้ายๆ กับสัญญา Forward แต่ความจริงแล้ว Futures กับ Forward นั้นมีความแตกต่างกันอยู่หลายข้อค่ะ ซึ่งดิฉันจะขยายความในคราวต่อไป
Futures ซื้อขายสินค้าประเภทไหน
สำหรับการซื้อขายนั้นเราไม่ได้ซื้อขายกันที่ตัวสินค้าค่ะ แต่เป็นการซื้อขายตัวสัญญา "Futures "ซึ่งราคาของ Futures จะขึ้นอยู่กับสินค้าที่เราระบุว่าสัญญาดังกล่าวอ้างอิงอยู่กับสินค้าอะไร ดังนั้นสินค้าที่ตกลงซื้อขายกันใน Futures จึงเรียกกันว่า "สินค้าอ้างอิง" ค่ะ ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งสินค้าที่จับต้องได้ เช่น สินค้าเกษตร ทองคำ น้ำมัน หรืออาจเป็นสินค้าอื่นๆ ที่จับต้องไม่ได้แต่สามารถวัดมูลค่าได้ เช่น ดัชนีหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย และเมื่อ Futures หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้าดังกล่าวครบกำหนดส่งมอบและชำระเงิน คู่สัญญาก็อาจจะส่งมอบกันจริงๆ หรืออาจใช้วิธีชำระเงินที่เกิดจากการคำนวณกำไรขาดทุนแทนก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละ Futures ค่ะ ดังนั้นควรศึกษาเงื่อนไขของการลงทุนใน Futures แต่ละประเภทอย่างละเอียดก่อนการลงทุน
ประเภทของ Futures ในตลาดลงทุนไทย
ปัจจุบันประเทศไทยของเรามีตลาดซื้อขายล่วงหน้าอยู่ 2 แห่งค่ะ คือ
1. ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย หรือ AFET : ศูนย์กลางการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยปัจจุบันมีสินค้า 4 ประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3, ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 2, ข้าวขาว 5% และมันสำปะหลังเส้น
2. บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ TFEX : ศูนย์กลางการซื้อขายอนุพันธ์เกี่ยวกับตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินค้าโภคภัณฑ์ โดยปัจจุบันมีสินค้าที่ซื้อขายกัน 4 ประเภท ได้แก่ SET50 Index Futures, Stock Futures, Gold Futures และ SET50 Index Options (ในวันนี้ดิฉันจะขอกล่าวถึงเฉพาะในส่วนของ Futures กันก่อนค่ะ)
ถึงแม้จะมีเพียงแค่ 2 ตลาดและประเภทสินค้าก็ไม่ได้มากมายนัก แต่ตลาดซื้อขายล่วงหน้าทั้ง 2 แห่งนี้ ก็สามารถสร้างนักลงทุนและเศรษฐีหน้าใหม่ประดับฟ้าเมืองไทยได้ไม่น้อยเลยค่ะ
นี่เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนใน Futures ค่ะ ความตื่นเต้นยังมีอีกมากมาย ซึ่งดิฉันไม่อาจบรรยายได้หมดในวันเดียว ติดตามข้อมูลได้ในตอนต่อไปค่ะ