ASTV ผู้จัดการรายวัน - นายกฯ “อภิสิทธิ์” ลั่น ก.ตร. ไม่มีสิทธิกลับวินิจฉัย ป.ป.ช. กรณีลงโทษบิ๊ก 3 ตำรวจสั่งสลายพันธมิตรฯ พร้อมยืนยันไม่ต้องนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เพื่อพิจารณา ระบุอดีตศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำสั่งเป็นบรรทัดฐานไว้แล้ว แนะให้ผู้ถูกกล่าวโทษไปร้องศาลปกครองเอง เตรียมส่งความเห็นกฤษฏีกาให้ “แม่นมอมทุกข์” แจ้ง ก.ตร.ทบทวน
นายภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เตรียมเสนอให้นายกรัฐมนตรี นำมติของ ก.ตร. เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา กรณี ก.ตร.กลับมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้ไล่ออก พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.ภ.4 ช่วยราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดี 7 ตุลาเลือด และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีต ผบก.ภจ.อุดรธานี ในคดีปล่อยกลุ่มคนเสื้อแดงทำร้ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า คงไม่มีความจำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก
ทั้งนี้ ในอดีตทางกฤษฏีกาได้ให้ความเห็นมาอย่างชัดเจนว่าเรื่องที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว การอุทธรณ์ตามกฎหมายบริหารงานบุคคลจะอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการสั่งลงโทษ แต่จะไปกลับข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช. ไม่ได้ ทำได้เพียงแค่การอุทรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ
"สมมุติว่า สอบมาว่าผิดวินัยร้ายแรง มีการลงโทษไล่ออกก็อาจจะอุทรณ์ให้เป็นปลดออกได้ อย่างนี้เป็นต้น แต่จะไปอุทธรณ์แล้วกลับคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช.ไม่ได้ อันนี้ชัดเจนและมีคำวินิจฉัยแล้ว ซึ่งผมกำลังจะแจ้งความเห็นของกฤษฏีกานี้ให้นายสุเทพ ดำเนินการต่อไป ในวันจันทร์ที่ 11 มกราคมนี้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับประเด็นที่ได้ตั้งข้อสังกตการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ตร. จะทำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ป.ป.ช.แน่นอน ดังนั้นจะต้องให้นายสุเทพ แจ้งต่อ ก.ตร.กลับไปทบทวนมติดังกล่าว เพราะมันจะขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วกรณีอดีตอธิบดีกรมปาะชาสัมพันธ์ที่เคยทำแบบเดียวกันคือ ป.ป.ช.ส่งเรื่องมา ก.พ.ลงโทษ แต่อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ไปอุทธรณ์ แล้วไปกลับคำวินิจฉัยเกินเลยก้าวล่วงดุลพินิจของ ป.ป.ช.ที่สุดมีการส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอก ก.พ.ไม่มีอำนาจทำเช่นนั้นได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหมายความว่ากรณี 3 นายตำรวจจะต้องคงมติ ป.ป.ช. เรื่องการปลดออกไม่มีการให้กลับเข้ามารับราชการ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถูกต้อง แต่บุคคลเหล่านี้สามารถที่จะไปขอความเป็นธรรมได้ในช่องทางของศาลปกครอง ซึ่งในอดีตก็เคยมีศาลปกครองที่กลับคำวินิจฉัยที่เคยเกิดขึ้นจาก ป.ป.ช.ฉะนั้นการ ให้ความเป็นธรรมกับคนเหล่านี้คือเมื่อกระบวนการตรงนี้สิ้นสุดลงท่านเหล่านี้ สามารถไปร้องศาลปกครองได้ แต่ในส่วนของฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจที่จะไปกลับคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระ แต่หากเป็นศาลปกครองนั้นทำได้เพราะเป็นองค์กรอิสระเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าว
ส่วนรัฐบาลจะต้องเตรียมการอะไรในเรื่องนี้หรือไม่นั้น นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งมติ ก.ตร.เพียงแต่เห็นจากข่าว ตนได้ปรารภเรื่องนี้ต่อทางกฤษฎีกา ให้ช่วยค้นข้อกฎหมายให้ เพราะจำได้เคยมีปัญหาเช่นนี้มาก่อน ทางกฤษกีกา โดยเลขาธิการกฤษฏีกาได้ทำหนังสือมาถึงตนเองแล้ว และจะแจ้งนายสุเทพต่อไป
ก่อนหน้านี้ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ได้ออกมายืนยันว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.คงต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ในสัปดาห์นี้เพื่อพิจารณามติ ก.ตร.ดังกล่าว ซึ่งจะพิจารณารายละเอียดว่า มติ ก.ตร.ให้เหตุผลอย่างไร แต่ตามกฎหมายแล้ว มติ ก.ตร.ไม่สามารถหักล้างมติของ ป.ป.ช.ที่ชี้มูลความผิดว่า ทั้งสองคนมีความผิดวินัยร้ายแรงได้ และ ก.ตร.จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติของ ป.ป.ช. เนื่องจากเคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจเด็ดขาดในการชี้มูลความผิด
นายภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) เตรียมเสนอให้นายกรัฐมนตรี นำมติของ ก.ตร. เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา กรณี ก.ตร.กลับมติของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ที่ให้ไล่ออก พล.ต.อ.พัชรวาท วงศ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีต ผบช.ภ.4 ช่วยราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดี 7 ตุลาเลือด และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ อดีต ผบก.ภจ.อุดรธานี ในคดีปล่อยกลุ่มคนเสื้อแดงทำร้ายกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ว่า คงไม่มีความจำเป็นต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีก
ทั้งนี้ ในอดีตทางกฤษฏีกาได้ให้ความเห็นมาอย่างชัดเจนว่าเรื่องที่มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้ว การอุทธรณ์ตามกฎหมายบริหารงานบุคคลจะอุทธรณ์ได้เฉพาะดุลพินิจในการสั่งลงโทษ แต่จะไปกลับข้อเท็จจริงหรือเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช. ไม่ได้ ทำได้เพียงแค่การอุทรณ์ดุลพินิจในการสั่งลงโทษ
"สมมุติว่า สอบมาว่าผิดวินัยร้ายแรง มีการลงโทษไล่ออกก็อาจจะอุทรณ์ให้เป็นปลดออกได้ อย่างนี้เป็นต้น แต่จะไปอุทธรณ์แล้วกลับคำวินิจฉัยของ ป.ป.ช.ไม่ได้ อันนี้ชัดเจนและมีคำวินิจฉัยแล้ว ซึ่งผมกำลังจะแจ้งความเห็นของกฤษฏีกานี้ให้นายสุเทพ ดำเนินการต่อไป ในวันจันทร์ที่ 11 มกราคมนี้" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
สำหรับประเด็นที่ได้ตั้งข้อสังกตการปฏิบัติหน้าที่ของ ก.ตร. จะทำเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ไม่สอดคล้องกับกฎหมาย ป.ป.ช.แน่นอน ดังนั้นจะต้องให้นายสุเทพ แจ้งต่อ ก.ตร.กลับไปทบทวนมติดังกล่าว เพราะมันจะขัดกับรัฐธรรมนูญ เพราะมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปแล้วกรณีอดีตอธิบดีกรมปาะชาสัมพันธ์ที่เคยทำแบบเดียวกันคือ ป.ป.ช.ส่งเรื่องมา ก.พ.ลงโทษ แต่อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ไปอุทธรณ์ แล้วไปกลับคำวินิจฉัยเกินเลยก้าวล่วงดุลพินิจของ ป.ป.ช.ที่สุดมีการส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ ศาลรัฐธรรมนูญก็บอก ก.พ.ไม่มีอำนาจทำเช่นนั้นได้
ผู้สื่อข่าวถามว่าหมายความว่ากรณี 3 นายตำรวจจะต้องคงมติ ป.ป.ช. เรื่องการปลดออกไม่มีการให้กลับเข้ามารับราชการ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ถูกต้อง แต่บุคคลเหล่านี้สามารถที่จะไปขอความเป็นธรรมได้ในช่องทางของศาลปกครอง ซึ่งในอดีตก็เคยมีศาลปกครองที่กลับคำวินิจฉัยที่เคยเกิดขึ้นจาก ป.ป.ช.ฉะนั้นการ ให้ความเป็นธรรมกับคนเหล่านี้คือเมื่อกระบวนการตรงนี้สิ้นสุดลงท่านเหล่านี้ สามารถไปร้องศาลปกครองได้ แต่ในส่วนของฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจที่จะไปกลับคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระ แต่หากเป็นศาลปกครองนั้นทำได้เพราะเป็นองค์กรอิสระเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าว
ส่วนรัฐบาลจะต้องเตรียมการอะไรในเรื่องนี้หรือไม่นั้น นาอยภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ได้รับแจ้งมติ ก.ตร.เพียงแต่เห็นจากข่าว ตนได้ปรารภเรื่องนี้ต่อทางกฤษฎีกา ให้ช่วยค้นข้อกฎหมายให้ เพราะจำได้เคยมีปัญหาเช่นนี้มาก่อน ทางกฤษกีกา โดยเลขาธิการกฤษฏีกาได้ทำหนังสือมาถึงตนเองแล้ว และจะแจ้งนายสุเทพต่อไป
ก่อนหน้านี้ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช. ได้ออกมายืนยันว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.คงต้องนำเรื่องดังกล่าวเข้าหารือในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ในสัปดาห์นี้เพื่อพิจารณามติ ก.ตร.ดังกล่าว ซึ่งจะพิจารณารายละเอียดว่า มติ ก.ตร.ให้เหตุผลอย่างไร แต่ตามกฎหมายแล้ว มติ ก.ตร.ไม่สามารถหักล้างมติของ ป.ป.ช.ที่ชี้มูลความผิดว่า ทั้งสองคนมีความผิดวินัยร้ายแรงได้ และ ก.ตร.จำเป็นต้องปฏิบัติตามมติของ ป.ป.ช. เนื่องจากเคยมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ยืนยันว่า ป.ป.ช.มีอำนาจเด็ดขาดในการชี้มูลความผิด