ASTVผู้จัดการรายวัน-อัยการสูงสุด เล่นเกมซื้อเวลาสั่งฟ้อง"ชาย-จิ๋ว-ป๊อด-เบื๊อก"ผู้ต้องหาฆ่าประชาชน 7 ตุลาเลือด อ้างสำนวนยังไม่สมบูรณ์ ชง ป.ป.ช.ตั้งคณะกรรมการร่วม ด้าน“วิชา”ระบุถือเป็นคดีแรกที่ อสส.ทำคดีเร็วผิดปกติ พิลึกเสนอสอบพยานฝ่ายตำรวจเพิ่ม 100 ปาก
วานนี้(21 ต.ค.)นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดอาญานักการเมือง และนายตำรวจ รวม 4 คน ประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี,พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี,พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.)กรณีที่มีคำสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บหลายรายว่า หลังจากที่ ป.ป.ช.ส่งสำนวนพร้อมพยานหลักฐานการชี้มูลความผิด มาให้สำนักอัยการสูงสุดแล้ว อัยการสูงสุดได้มอบสำนวนคดีมาให้ตนในฐานะอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ พิจารณาเพื่อสรุปความเห็น
ซึ่งล่าสุดตนได้เสนอให้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทนอัยการสูงสุด และ ป.ป.ช.เพื่อพิจารณาสำนวนคดีร่วมกันในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ เพื่อให้สำนวนครบถ้วน โดยตนได้เสนอรายงานนายจุลสิงห์ วสันต์สิงห์ อัยการสูงสุดทราบแล้ว และอยู่ระหว่างการแจ้งเรื่องให้ ป.ป.ช.ทราบ
นายธนพิชญ์กล่าวว่า อัยการได้ใช้เวลาพิจารณาสำนวนของ ป.ป.ช. นาน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสำนวนที่ ป.ป.ช.ส่งมาให้อัยการพิจารณานั้นไม่ได้มีการแยกพิจารณาระหว่างนักการเมืองกับนายตำรวจแต่อย่างใด
**พิลึกเสนอสอบตำรวจ 100 ปาก
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เปิดเผยถึงสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.)ตีกลับสำนวนคดีสลายม็อบ 7 ต.ค. 2551 ว่า อัยการสูงสุด (อสส.)ต้องการให้ ป.ป.ช.สอบพยานเพิ่มเติมเป็น 100 ปาก และให้เหตุผลว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ มีข้อบกพร่อง ซึ่งก็ว่ากันไป เพราะภารกิจของแต่ละองค์กรก็ต่างกัน ซึ่งตามกฎหมายคงต้องตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นมา
อย่างไรก็ตามเหตุผลบางข้อที่ อสส.ระบุมานั้น บางประเด็น ป.ป.ช.ก็สอบพยานไปหลายปากแล้ว แต่เขาก็ยังบอกว่าไม่เพียงพอ จะต้องครบถ้วนมากกว่านี้ เนื่องจากยังมีผู้ร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้พยานส่วนใหญ่ที่ อสส.อ้างว่ายังสอบไม่ครบถ้วนนั้น คือพยานฝ่ายตำรวจ ตอนสอบพยานเราก็คัด เพราะเวลาส่งไปที่ศาลก็ไม่ใช่ว่าเขาเสนอพยานมา 100 ปาก แล้วต้องสอบให้หมด มันเป็นไปไม่ได้ ไม่อย่างนั้นศาลคงทำงาน 100 วัน มันต้องคัดเลือกว่าใครมีน้ำหนักเกี่ยวข้องอย่างไร
"ผมเป็นศาลมาผมก็ยึดวิธีการ ที่ให้ความเป็นธรรม โดยถือน้ำหนักคำพยานว่าเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่เมื่อ อสส. เสนอมาเช่นนี้ ป.ป.ช.ต้องนำมาพิจารณากันในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในวันที่ 22 ต.ค.นี้"
**"วิชา"เหน็บทำคดีเร็วผิดปกติ
นายวิชา กล่าวอีกว่า "อสส.ส่งหนังสือแจ้งมาให้ทราบเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นคดีที่เร็วมาก เร็วเป็นพิเศษ เร็วที่สุดตั้งแต่ที่มีการเสนอตั้งคณะทำงานร่วม ทั้งที่ ป.ป.ช.ส่งสำนวน ไปให้ไม่ถึงเดือน ส่งไปเมื่อไม่นานมานี้ ก็เร็วดี ทำงานเร็วอย่างนี้ก็ดี ถ้าอย่างนั้นผมขอ ทวงคดีรถดับเพลิงด้วยว่าขอให้เร็วอย่างนี้บ้าง ฝากทวงด้วย เพราะยังไม่เห็นแจ้งกลับมาเลยว่าท่านจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง"
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นภายในกี่วัน นายวิชา กล่าวว่า ภายใน 14 วัน ต้องตั้งให้แล้วเสร็จ แต่ระยะเวลาในการทำงานนั้นไม่ได้กำหนด ว่ากันไปจนกว่าจะทำเสร็จสิ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่า อสส.ได้ตีกลับสำนวนคดี สลายม็อบ 7 ต.ค.กลับมายัง ป.ป.ช. โดยให้เหตุผลว่าสำนวนคดีที่ ป.ป.ช.สรุปไปนั้น ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะพิจารณาดำเนินการส่งฟ้องในคดีอาญาได้ เพราะยังไม่ได้สอบพยานอีกเป็น 100 ปาก จึงขอให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง ป.ป.ช.และ อสส.เพื่อพิจารณาสำนวนคดีดังกล่าวใหม่
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า เหตุใด อสส.จึงพิจารณาสำนวนคดีดังกล่าวเร็วมาก ทั้งที่ ป.ป.ช.เพิ่งส่งสำนวน ไปให้เพียงประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งต่างจากคดีอื่น ๆก่อนหน้านี้ที่ ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนไป แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีคำตอบกลับมา สำหรับคดีดังกล่าว ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา โดย ป.ป.ช.เห็นว่า นายสมชาย ในฐานะนายกรัฐมนตรี และพล.อ.ชวลิต ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสั่งการให้สลายการชุมนุม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่วน พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติ อดีต ผบช.น.ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์และเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่กลับไม่มีการสั่งให้หยุดการสลายการชุมนุม ทั้งที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเช้า ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญา ในฐานความผิดเดียวกันกับนายสมชาย และ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79 (5) (6) ด้วย โดย ป.ป.ช.ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 70
วานนี้(21 ต.ค.)นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เปิดเผยถึงคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ชี้มูลความผิดอาญานักการเมือง และนายตำรวจ รวม 4 คน ประกอบด้วย นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี,พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตรองนายกรัฐมนตรี,พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) และ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล(ผบช.น.)กรณีที่มีคำสั่งสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.)บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 จนมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บหลายรายว่า หลังจากที่ ป.ป.ช.ส่งสำนวนพร้อมพยานหลักฐานการชี้มูลความผิด มาให้สำนักอัยการสูงสุดแล้ว อัยการสูงสุดได้มอบสำนวนคดีมาให้ตนในฐานะอธิบดีอัยการฝ่ายคดีพิเศษ พิจารณาเพื่อสรุปความเห็น
ซึ่งล่าสุดตนได้เสนอให้แต่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างผู้แทนอัยการสูงสุด และ ป.ป.ช.เพื่อพิจารณาสำนวนคดีร่วมกันในประเด็นที่ยังไม่สมบูรณ์ เพื่อให้สำนวนครบถ้วน โดยตนได้เสนอรายงานนายจุลสิงห์ วสันต์สิงห์ อัยการสูงสุดทราบแล้ว และอยู่ระหว่างการแจ้งเรื่องให้ ป.ป.ช.ทราบ
นายธนพิชญ์กล่าวว่า อัยการได้ใช้เวลาพิจารณาสำนวนของ ป.ป.ช. นาน 30 วันตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งสำนวนที่ ป.ป.ช.ส่งมาให้อัยการพิจารณานั้นไม่ได้มีการแยกพิจารณาระหว่างนักการเมืองกับนายตำรวจแต่อย่างใด
**พิลึกเสนอสอบตำรวจ 100 ปาก
นายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เปิดเผยถึงสำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.)ตีกลับสำนวนคดีสลายม็อบ 7 ต.ค. 2551 ว่า อัยการสูงสุด (อสส.)ต้องการให้ ป.ป.ช.สอบพยานเพิ่มเติมเป็น 100 ปาก และให้เหตุผลว่าสำนวนไม่สมบูรณ์ มีข้อบกพร่อง ซึ่งก็ว่ากันไป เพราะภารกิจของแต่ละองค์กรก็ต่างกัน ซึ่งตามกฎหมายคงต้องตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นมา
อย่างไรก็ตามเหตุผลบางข้อที่ อสส.ระบุมานั้น บางประเด็น ป.ป.ช.ก็สอบพยานไปหลายปากแล้ว แต่เขาก็ยังบอกว่าไม่เพียงพอ จะต้องครบถ้วนมากกว่านี้ เนื่องจากยังมีผู้ร้องขอความเป็นธรรม ทั้งนี้พยานส่วนใหญ่ที่ อสส.อ้างว่ายังสอบไม่ครบถ้วนนั้น คือพยานฝ่ายตำรวจ ตอนสอบพยานเราก็คัด เพราะเวลาส่งไปที่ศาลก็ไม่ใช่ว่าเขาเสนอพยานมา 100 ปาก แล้วต้องสอบให้หมด มันเป็นไปไม่ได้ ไม่อย่างนั้นศาลคงทำงาน 100 วัน มันต้องคัดเลือกว่าใครมีน้ำหนักเกี่ยวข้องอย่างไร
"ผมเป็นศาลมาผมก็ยึดวิธีการ ที่ให้ความเป็นธรรม โดยถือน้ำหนักคำพยานว่าเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่เมื่อ อสส. เสนอมาเช่นนี้ ป.ป.ช.ต้องนำมาพิจารณากันในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ในวันที่ 22 ต.ค.นี้"
**"วิชา"เหน็บทำคดีเร็วผิดปกติ
นายวิชา กล่าวอีกว่า "อสส.ส่งหนังสือแจ้งมาให้ทราบเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นคดีที่เร็วมาก เร็วเป็นพิเศษ เร็วที่สุดตั้งแต่ที่มีการเสนอตั้งคณะทำงานร่วม ทั้งที่ ป.ป.ช.ส่งสำนวน ไปให้ไม่ถึงเดือน ส่งไปเมื่อไม่นานมานี้ ก็เร็วดี ทำงานเร็วอย่างนี้ก็ดี ถ้าอย่างนั้นผมขอ ทวงคดีรถดับเพลิงด้วยว่าขอให้เร็วอย่างนี้บ้าง ฝากทวงด้วย เพราะยังไม่เห็นแจ้งกลับมาเลยว่าท่านจะฟ้องหรือไม่ฟ้อง"
ผู้สื่อข่าวถามว่าต้องตั้งคณะทำงานร่วมขึ้นภายในกี่วัน นายวิชา กล่าวว่า ภายใน 14 วัน ต้องตั้งให้แล้วเสร็จ แต่ระยะเวลาในการทำงานนั้นไม่ได้กำหนด ว่ากันไปจนกว่าจะทำเสร็จสิ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.เมื่อวันที่ 20 ต.ค. ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ได้แจ้งให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ทราบว่า อสส.ได้ตีกลับสำนวนคดี สลายม็อบ 7 ต.ค.กลับมายัง ป.ป.ช. โดยให้เหตุผลว่าสำนวนคดีที่ ป.ป.ช.สรุปไปนั้น ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะพิจารณาดำเนินการส่งฟ้องในคดีอาญาได้ เพราะยังไม่ได้สอบพยานอีกเป็น 100 ปาก จึงขอให้มีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่าง ป.ป.ช.และ อสส.เพื่อพิจารณาสำนวนคดีดังกล่าวใหม่
อย่างไรก็ตามในที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้มีการตั้งข้อสังเกตกันว่า เหตุใด อสส.จึงพิจารณาสำนวนคดีดังกล่าวเร็วมาก ทั้งที่ ป.ป.ช.เพิ่งส่งสำนวน ไปให้เพียงประมาณ 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งต่างจากคดีอื่น ๆก่อนหน้านี้ที่ ป.ป.ช.ได้ส่งสำนวนไป แต่จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีคำตอบกลับมา สำหรับคดีดังกล่าว ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา โดย ป.ป.ช.เห็นว่า นายสมชาย ในฐานะนายกรัฐมนตรี และพล.อ.ชวลิต ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบสั่งการให้สลายการชุมนุม มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ส่วน พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติ อดีต ผบช.น.ซึ่งเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์และเป็นเจ้าของพื้นที่ แต่กลับไม่มีการสั่งให้หยุดการสลายการชุมนุม ทั้งที่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตในช่วงเช้า ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดทางอาญา ในฐานความผิดเดียวกันกับนายสมชาย และ พล.อ.ชวลิต รวมทั้งชี้มูลความผิดวินัยร้ายแรง พล.ต.อ.พัชรวาท อดีต ผบ.ตร. และ พล.ต.ท.สุชาติตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 มาตรา 79 (5) (6) ด้วย โดย ป.ป.ช.ส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดพิจารณาดำเนินการฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 92 และมาตรา 70