ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ ประธานองค์กรอุณาโลม ได้ทำหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี พร้อม พล.อ.ประวิตร วงศ์สุวรรณ รมว.กลาโหม นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค รมว.ยุติธรรม และ พล.ต.อประทีป ตันประเสริฐ .รักษาราชการ ผบ.ตร. เพื่อขอให้ตรวจสอบเครื่องตรวจสารวัตถุระเบิด ยาเสพติด สารอื่นๆ GT 200
หนังสือระบุว่าปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐบาลด้วยกันที่ต้องมีส่วนรู้เห็นและรับผิดชอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลและกองทัพ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เห็นได้ชัดคือใช้การพัฒนาด้านการจัดซื้อ จัดหายุทโธปกรณ์นำมาใช้ในพื้นที่โดยขาดการทดสอบและตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือคณะกรรมการฯที่สมควรจัดตั้งขึ้นรเพื่อให้คุ้มค่าเงินงบประมาณของชาติที่ต้องสูญเสียไป ง
แต่ตรงกันข้ามการจัดซื้อ จัดหายุทโธปกรณ์ในแต่ละครั้งกลับเป็นไปด้วยความง่ายดายและไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเจ้าหน้าที่และปาระชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งผลเสียที่เป็นอันตรายจากการใช้งานโดยเฉพาะการนำเครื่องตรวจสารวัตถุระเบิด และสารเสพติด GT 200 ที่หน่วยงานของรัฐบาลนำมาใช้หลายหน่วยงาน ได้แก่ กองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แบะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ซึ่งปัจจุบันเฉพาะกองทัพบกมีเครื่องฯ GT 200 ใช้งานมากกว่า 200 เครื่อง เป็นอย่างต่ำ และหากนับรวมทุกหน่วยงานแล้ว น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 เครื่อง ราคาที่ทางการไทยสั่งซื้อประมาณเครื่องละ 900,000 บาท คิดเป็นวงเงินที่ซื้อ เครื่องฯ GT 200 ประมาณกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี่มีข่าวลือว่าเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องใช้สถานการณ์ภาคใต้เป็นแหล้งหาเงินและงบประมาณ รวมทั้งในสร้างสถานการณ์ให้รุนแรงมากขึ้น อย่างเช่น การจัดซื้อกล้อง CCTV และเรือเหาะตรวจการของกองทัพ และยังมีประเด็นในเรื่องของเบี้ยเลี้ยงกำลังพล และยอดผีที่มีแต่ชื่อบรรจุไว้ในอัตรายอดกำลงพลที่ลงไปปฏิบัติงานทางภาคใต้เท่านั้น
จากเหตุการณ์ความไม่สงบและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้นำอุปกรณ์เคร่องตรวจหาสารฯ GT 200 เข้ามาใช้ อาทิ เช่นการสืบสวนจุดเกิดเหตุในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 และเหตุการณ์โศกนาฎกรรมคาร์บอมบ์ที่บริเวณกลางเมืองสุไหงโกลก และจักรยานต์บอมบ์ที่ อ.เมือง จ.ยะลา ในช่วงเดือนตุลาคม 2552
รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดจากเครื่องฯ GT200 นี้ ได้เคยทำงานผิดพลาดในการ ตรวจวัตถุระเบิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง อันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินความมั่นคงและขวัญกำลังใจของประชาชนและเจ้าหน้าที่ เช่นเหตุการณ์ระเบิดหลายจุดในวันที่ 9 ธ.ค. 2552 ณ ศาลาริมน้ำแม่น้ำปัตตานี จ.ยะลา ส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ EOD ของ ฉก.อโณทัย และ ตชด.44 เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย นอกจากนี้ยังมีภาพล้อเลียนเครื่องฯ GT200 ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุ
นอกจากข้อมูลข่าวความผิดพลาดของเครื่องฯ GT200 ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างคุณลักษณะขีดความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องฯ GT200 ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้จริงและได้ส่งผลเสียมากมาย รวมทั้งทำลายกระบวนการสอบสวนในเรื่องของการปราบปรามยาเสพติด ตลอดจนสร้างเงื่อนไขทางสังคมให้เกิดขึ้นในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดจากการตรวจสารเสพติดกับนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยข้อผิพพลาดของเครื่องฯ GT 200 ที่เกิดขึ้นทั้งในแบบ false-negative คือ เครื่องฯรายงานว่าไม่มีระเบิดแต่ในความเป็นจริงแล้วมีระเบิด และแบบ fales-positive คือเครื่องฯ รายงานว่ามีระเบิดแต่ในความเป็นจริงไม่มีระเบิดอยู่เลย
ความล้มเหลวที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเครื่องฯ GT200 ทางหน่วยงานที่ใช้เครื่องฯ ได้แก้ตัวว่าเกิดจากความไม่พร้อมของผู้ใช้งาน หรือเจ้าหน้า ที่อ่อนเพลียและพักผ่อนไม่เพียงพอ และที่ส่งผลร้ายไปกว่านั้นคือ หน่วยงาน ที่ใช้เครื่องฯ ได้แก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มเจ้าหน้าที่เป็น 2 คนต่อเครื่อง ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการเพิ่มอันตราการสูญเสียที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่อง มากกว่าเดิมโดยไม่จำเป็น
ในหนังสือร้องเรียนฯดังกล่าวระบุตอนหนึ่งด้วยว่า นอกจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบ ในพื้นที่ภาคใต้แล้ว การแพร่ระบาดของยาเสพติดได้เพิ่มระดับการแพร่กระบายและมีผู้เข้าสู่กระบวนการ เครือข่าย มากขึ้นตาามลำดับ และเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงมหาดไทยได้สั่งซื้อเครื่อง ALPHA 6 จำนวนกว่า 700 เครื่องเครื่องละ 400,000 บาท แจกจ่ายไปทั่วประเทศเพื่อใช้ตรวจหายาเสพติด ตามนโยบายโครงการ Clean and seal
ขณะที่กระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศเตือนว่า อย่าใช้เครื่องมือตรวจหาสารวัตถุระเบิดที่หลอกลวง ต้มตุ๋น หรือแหกตา โดยใช้คำว่า BOGUS EXPLOSIVES DETECTION EQUIPMENT
และเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2552 หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้ลงข่าวการใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ADE651 โดยกองทัพอีกรักว่าการที่หน่วยงานด้านการรักษาความมั่นคงของอีรักมีความเชื่อถือกับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดนั้น ทหารสหรัฐฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของสหรัฐฯ กล่าวว่าเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้
นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตได้อ้างว่ามีการใช้เครื่องฯ GT 200 มากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก แต่ถูกกองทัพสหราชอาณาจักร ออกหนังสือตอบโต้ยืนยันในกองทัพไม่มีการใช้เครื่อง GT 200 เช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนดด์ ซึ่งเป็น 1 ใน 25 ประเทศที่บริษัทผู้ผลิตแอบอ้าง ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้เครื่องฯดังกล่าว
หนังสือร้องเรียนฉบับนี้จึเสนอแนะให้ควรตั้งคณะกรรมการพิเศษ ขึ้นมาตรวจสอบการจัดซื้อ จัดหา เครื่องตรวจหาสารฯ GT200 และ ALPHA 6 โดยให้รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน และเพื่อไม่ให้สูญเสียงบประมาณของชาติเพิ่มมากขึ้น ควรพิจารณาระงับโครงการดังกล่าวไว้ก่อนชั่วคราว ให้มีการตาวจสอบโดยขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญตามที่หน่วยงานของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้เคยทดสองมาแล้วเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ
หนังสือระบุว่าปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขให้เป็นที่ยอมรับของประชาชน รวมทั้งหน่วยงานของรัฐบาลด้วยกันที่ต้องมีส่วนรู้เห็นและรับผิดชอบการดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ภาคใต้ของหน่วยงานด้านความมั่นคงของรัฐบาลและกองทัพ ซึ่งการแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่เห็นได้ชัดคือใช้การพัฒนาด้านการจัดซื้อ จัดหายุทโธปกรณ์นำมาใช้ในพื้นที่โดยขาดการทดสอบและตรวจสอบจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญหรือคณะกรรมการฯที่สมควรจัดตั้งขึ้นรเพื่อให้คุ้มค่าเงินงบประมาณของชาติที่ต้องสูญเสียไป ง
แต่ตรงกันข้ามการจัดซื้อ จัดหายุทโธปกรณ์ในแต่ละครั้งกลับเป็นไปด้วยความง่ายดายและไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับเจ้าหน้าที่และปาระชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังส่งผลเสียที่เป็นอันตรายจากการใช้งานโดยเฉพาะการนำเครื่องตรวจสารวัตถุระเบิด และสารเสพติด GT 200 ที่หน่วยงานของรัฐบาลนำมาใช้หลายหน่วยงาน ได้แก่ กองทัพทั้ง 3 เหล่าทัพ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น แบะการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ซึ่งปัจจุบันเฉพาะกองทัพบกมีเครื่องฯ GT 200 ใช้งานมากกว่า 200 เครื่อง เป็นอย่างต่ำ และหากนับรวมทุกหน่วยงานแล้ว น่าจะอยู่ที่ประมาณ 1,000 เครื่อง ราคาที่ทางการไทยสั่งซื้อประมาณเครื่องละ 900,000 บาท คิดเป็นวงเงินที่ซื้อ เครื่องฯ GT 200 ประมาณกว่า 900 ล้านบาท ซึ่งก่อนหน้านี่มีข่าวลือว่าเจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้องใช้สถานการณ์ภาคใต้เป็นแหล้งหาเงินและงบประมาณ รวมทั้งในสร้างสถานการณ์ให้รุนแรงมากขึ้น อย่างเช่น การจัดซื้อกล้อง CCTV และเรือเหาะตรวจการของกองทัพ และยังมีประเด็นในเรื่องของเบี้ยเลี้ยงกำลังพล และยอดผีที่มีแต่ชื่อบรรจุไว้ในอัตรายอดกำลงพลที่ลงไปปฏิบัติงานทางภาคใต้เท่านั้น
จากเหตุการณ์ความไม่สงบและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้นำอุปกรณ์เคร่องตรวจหาสารฯ GT 200 เข้ามาใช้ อาทิ เช่นการสืบสวนจุดเกิดเหตุในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 และเหตุการณ์โศกนาฎกรรมคาร์บอมบ์ที่บริเวณกลางเมืองสุไหงโกลก และจักรยานต์บอมบ์ที่ อ.เมือง จ.ยะลา ในช่วงเดือนตุลาคม 2552
รวมทั้งเหตุการณ์ที่เกิดจากเครื่องฯ GT200 นี้ ได้เคยทำงานผิดพลาดในการ ตรวจวัตถุระเบิดอีกเหตุการณ์หนึ่ง อันส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินความมั่นคงและขวัญกำลังใจของประชาชนและเจ้าหน้าที่ เช่นเหตุการณ์ระเบิดหลายจุดในวันที่ 9 ธ.ค. 2552 ณ ศาลาริมน้ำแม่น้ำปัตตานี จ.ยะลา ส่งผลให้ เจ้าหน้าที่ EOD ของ ฉก.อโณทัย และ ตชด.44 เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายนาย นอกจากนี้ยังมีภาพล้อเลียนเครื่องฯ GT200 ที่กลุ่มผู้ก่อความไม่สงบทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุ
นอกจากข้อมูลข่าวความผิดพลาดของเครื่องฯ GT200 ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับข้อกล่าวอ้างคุณลักษณะขีดความสามารถและประสิทธิภาพของเครื่องฯ GT200 ซึ่งไม่สามารถใช้งานได้จริงและได้ส่งผลเสียมากมาย รวมทั้งทำลายกระบวนการสอบสวนในเรื่องของการปราบปรามยาเสพติด ตลอดจนสร้างเงื่อนไขทางสังคมให้เกิดขึ้นในกรณีที่เกิดข้อผิดพลาดจากการตรวจสารเสพติดกับนักเรียน นักศึกษา เยาวชน และประชาชนผู้บริสุทธิ์ทั่วไปในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
โดยข้อผิพพลาดของเครื่องฯ GT 200 ที่เกิดขึ้นทั้งในแบบ false-negative คือ เครื่องฯรายงานว่าไม่มีระเบิดแต่ในความเป็นจริงแล้วมีระเบิด และแบบ fales-positive คือเครื่องฯ รายงานว่ามีระเบิดแต่ในความเป็นจริงไม่มีระเบิดอยู่เลย
ความล้มเหลวที่เกี่ยวกับประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของเครื่องฯ GT200 ทางหน่วยงานที่ใช้เครื่องฯ ได้แก้ตัวว่าเกิดจากความไม่พร้อมของผู้ใช้งาน หรือเจ้าหน้า ที่อ่อนเพลียและพักผ่อนไม่เพียงพอ และที่ส่งผลร้ายไปกว่านั้นคือ หน่วยงาน ที่ใช้เครื่องฯ ได้แก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มเจ้าหน้าที่เป็น 2 คนต่อเครื่อง ซึ่งการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นการเพิ่มอันตราการสูญเสียที่เกิดจากความผิดพลาดของเครื่อง มากกว่าเดิมโดยไม่จำเป็น
ในหนังสือร้องเรียนฯดังกล่าวระบุตอนหนึ่งด้วยว่า นอกจากเหตุการณ์ความ ไม่สงบ ในพื้นที่ภาคใต้แล้ว การแพร่ระบาดของยาเสพติดได้เพิ่มระดับการแพร่กระบายและมีผู้เข้าสู่กระบวนการ เครือข่าย มากขึ้นตาามลำดับ และเมื่อไม่นานมานี้กระทรวงมหาดไทยได้สั่งซื้อเครื่อง ALPHA 6 จำนวนกว่า 700 เครื่องเครื่องละ 400,000 บาท แจกจ่ายไปทั่วประเทศเพื่อใช้ตรวจหายาเสพติด ตามนโยบายโครงการ Clean and seal
ขณะที่กระทรวงยุติธรรม สหรัฐอเมริกา ได้ออกประกาศเตือนว่า อย่าใช้เครื่องมือตรวจหาสารวัตถุระเบิดที่หลอกลวง ต้มตุ๋น หรือแหกตา โดยใช้คำว่า BOGUS EXPLOSIVES DETECTION EQUIPMENT
และเมื่อวันที่ 3 พ.ย. 2552 หนังสือพิมพ์ The New York Times ได้ลงข่าวการใช้เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ADE651 โดยกองทัพอีกรักว่าการที่หน่วยงานด้านการรักษาความมั่นคงของอีรักมีความเชื่อถือกับเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดนั้น ทหารสหรัฐฯ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคของสหรัฐฯ กล่าวว่าเป็นเครื่องที่ไม่สามารถใช้งานได้
นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตได้อ้างว่ามีการใช้เครื่องฯ GT 200 มากกว่า 25 ประเทศทั่วโลก แต่ถูกกองทัพสหราชอาณาจักร ออกหนังสือตอบโต้ยืนยันในกองทัพไม่มีการใช้เครื่อง GT 200 เช่นเดียวกับกระทรวงกลาโหมเนเธอร์แลนดด์ ซึ่งเป็น 1 ใน 25 ประเทศที่บริษัทผู้ผลิตแอบอ้าง ก็ปฏิเสธว่าไม่ได้ใช้เครื่องฯดังกล่าว
หนังสือร้องเรียนฉบับนี้จึเสนอแนะให้ควรตั้งคณะกรรมการพิเศษ ขึ้นมาตรวจสอบการจัดซื้อ จัดหา เครื่องตรวจหาสารฯ GT200 และ ALPHA 6 โดยให้รีบดำเนินการอย่างเร่งด่วน และเพื่อไม่ให้สูญเสียงบประมาณของชาติเพิ่มมากขึ้น ควรพิจารณาระงับโครงการดังกล่าวไว้ก่อนชั่วคราว ให้มีการตาวจสอบโดยขอความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญตามที่หน่วยงานของสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรได้เคยทดสองมาแล้วเพื่อยืนยันประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือ