ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - โจรใต้สุดถ่อย! ตามประกบยิงถล่มผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านบ้านท่าน้ำ ในปัตตานีเสียชีวิตพร้อมครอบครัว "พ่อ-แม่-ลูกชายวัน 8 ขวบ 3 ศพ" ขณะที่ลูกชายวัย 6 ขวบอีกคนอาการโคม่า จนท.คาดอาจเป็นการฆ่าปิดปากพยาน เพราะผู้ตายเป็นพยานปากเอกในคดียิงผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ "สุเทพ" ยันพร้อมตรวจสอบกรณี GT200 ที่กำลังมีปัญหา ลั่นไม่หวั่น "เพื่อไทย" ยื่น ป.ป.ช.
วานนี้ (31 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. พ.ต.อ.วัลลพ จำนงอาสา ผกก.สภ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งมีเหตุยิงกันมีผู้เสียชีวิตบนถนนภายในหมู่บ้าน ม.1 ต.แป้น จึงรีบนำกำลังตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครไปที่เกิดเหตุ พร้อมด้วย พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก. พ.ต.อ.จีรวัฒน์ อุดมสุด พ.ต.อ.โพธ สวยสุวรรณ รอง ผบก. พอ.ปกรณ์ จันทรโชตะ ผบ.ทพ.43 ไปถึงเจ้าหน้าที่พบภาพสลดใจเนื่องจากผู้เสียชีวิตนอนตายสภาพกอดกันพ่อแม่ลูก โดยมีเลือดจำนวนมากไหลนองบนพื้นถนน
จากการตรวจสอบทราบชื่อผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ศพ คือ นายหะแว วามะ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 ม.2 บ้านท่าน้ำ ต.ท่าน้ำ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยนางสารีธา แวจิ อายุ 41 ปี และ ด.ช.อับดุลฮากิม วามะ อายุ 8 ปี นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านท่าน้ำโดยทั้ง 3 ศพถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม.ที่ลำตัว
นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำส่ง รพ.ปัตตานี เนื่องจากอาการสาหัส ทราบชื่อ ด.ช.อับดุลสลาม วามะ อายุ 6 ปี ถูกกระสุนปืนที่ศรีษะ 1 นัด ในที่เกิดเหตุพบรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อยามาฮ่า ทะเบียน ขกศ 173 ตรัง และพบปลอกกระสุน 9 มม. จำนวน 2 ปลอก และ 11 มม. จำนวน 7 ปลอกจึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน
สอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ นายหะแว ขี่รถจักรยานยนต์มาจากบ้านพักที่ อ.ปะนาเระ เพื่อจะไปธุระที่ อ.สายบุรี โดยมีภรรยาและลูกชาย 2 คน นั่งมาด้วย ปรากฏว่า เมื่อขับมาถึงที่เกิดเหตุมีคนร้าย 4 คนใช้รถจักรยานยนต์ 2 คัน ขับตามประกบหลัง จากนั้นได้ชักอาวุธปืนกระหน่ำยิงหลายนัดโดยไม่สนใจว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเด็กที่นั่งมาด้วย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บดังกล่าว หลังเกิดเหตุคนร้ายได้เร่งเครื่องหลบหนีไป
อย่างไรก็ตาม จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า นายหะแว เป็นพยานปากเอกในคดียิงผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ซึ่งก็เชื่อว่าน่าจะเป็นประเด็นหนึ่งของการสังหารครั้งนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดประเด็นการสร้างสถานการณ์
ด้าน พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และอดีตรอง ผบ.ตชด.ภ.4 เปิดเผยถึงกรณีการเรียกร้องให้พิสูจน์คุณสมบัติและประสิทธิภาพเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ใช้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อลดกระแสความคลางแคลงใจจากผู้คนในสังคม โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เริ่มไม่มั่นใจในอุปกรณ์ที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการดูแลสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในเวลานี้
พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวต่อว่า วันนี้ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากจะต้องชี้แจงต่อสังคมถึงเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องจีที 200 คงไม่พอเพราะสิ่งที่ประชาชนเริ่มตั้งข้อสังเกตเพิ่มขึ้นคือคุณภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด กับราคาหรืองบประมาณที่จ่ายไปมีความเหมาะสม หรือคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ดังนั้น สิ่งที่หน่วยงานเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ต้องตอบสังคมนอกจากเรื่องสมรรถนะของอุปกรณ์ชนิดนี้ว่าใช้งานได้ดีแค่ไหนแล้ว ยังต้องแสดงตอบคำถามถึงจำนวนเงินที่แลกกับเครื่องมือชนิดนี้ว่ามีความสมดุลย์แค่ไหนกับประสิทธิภาพการที่ทำงานได้ระดับหนึ่งเท่านั้น
“ตามข่าวราคาเครื่องจีที 200 มีมูลค่าเหยียบล้านบาท แต่ในขณะที่ประสิทธิภาพการใช้งานไม่สามารถตอบสนองการป้องกันปัญหาจากการก่อเหตุด้วยวัตถุระเบิดได้ชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หน่วยงานผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาว่ามีความคุ้มค่ากันหรือไม่ที่จะนำอุปกรณ์ชนิดนี้มาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใช้ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิตไม่น้อย ดังนั้น ชาวบ้านจึงชักไม่มั่นใจเพราะไม่รู้จะฝากความเชื่อมั่นได้หรือไม่”
ทางด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึง กรณีที่หลายฝ่ายระบุถึงความไม่มีประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT 200 ว่า ยังไม่ได้สั่งการให้ตรวจสอบ เพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องเร่งรีบ เพราะรัฐบาลยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องจัดลำดับความสำคัญและดำเนินการ แต่หากสังคมยังมีข้อสงสัยก็ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ปรากฏชัดเจน
“เครื่องมือดังกล่าวเป็นที่ต้องการของเจ้าหน้าที่ เพราะสามารถใช้งานได้เห็นผล ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบเรื่องนี้ ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากการจัดซื้อเครื่องกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 2547 สมัยที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล” นายสุเทพ กล่าว
วานนี้ (31 ม.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. พ.ต.อ.วัลลพ จำนงอาสา ผกก.สภ.สายบุรี จ.ปัตตานี ได้รับแจ้งมีเหตุยิงกันมีผู้เสียชีวิตบนถนนภายในหมู่บ้าน ม.1 ต.แป้น จึงรีบนำกำลังตำรวจ ทหาร และอาสาสมัครไปที่เกิดเหตุ พร้อมด้วย พล.ต.ต.พิเชษฐ์ ปิติเศรษฐพันธ์ ผบก. พ.ต.อ.จีรวัฒน์ อุดมสุด พ.ต.อ.โพธ สวยสุวรรณ รอง ผบก. พอ.ปกรณ์ จันทรโชตะ ผบ.ทพ.43 ไปถึงเจ้าหน้าที่พบภาพสลดใจเนื่องจากผู้เสียชีวิตนอนตายสภาพกอดกันพ่อแม่ลูก โดยมีเลือดจำนวนมากไหลนองบนพื้นถนน
จากการตรวจสอบทราบชื่อผู้เสียชีวิตทั้ง 3 ศพ คือ นายหะแว วามะ อายุ 50 ปี อยู่บ้านเลขที่ 2 ม.2 บ้านท่าน้ำ ต.ท่าน้ำ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี และมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน พร้อมด้วยนางสารีธา แวจิ อายุ 41 ปี และ ด.ช.อับดุลฮากิม วามะ อายุ 8 ปี นักเรียนชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนบ้านท่าน้ำโดยทั้ง 3 ศพถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มม. และ 11 มม.ที่ลำตัว
นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บถูกนำส่ง รพ.ปัตตานี เนื่องจากอาการสาหัส ทราบชื่อ ด.ช.อับดุลสลาม วามะ อายุ 6 ปี ถูกกระสุนปืนที่ศรีษะ 1 นัด ในที่เกิดเหตุพบรถจักรยานยนต์ ยี่ห้อยามาฮ่า ทะเบียน ขกศ 173 ตรัง และพบปลอกกระสุน 9 มม. จำนวน 2 ปลอก และ 11 มม. จำนวน 7 ปลอกจึงเก็บไว้เป็นหลักฐาน
สอบสวนทราบว่า ก่อนเกิดเหตุ นายหะแว ขี่รถจักรยานยนต์มาจากบ้านพักที่ อ.ปะนาเระ เพื่อจะไปธุระที่ อ.สายบุรี โดยมีภรรยาและลูกชาย 2 คน นั่งมาด้วย ปรากฏว่า เมื่อขับมาถึงที่เกิดเหตุมีคนร้าย 4 คนใช้รถจักรยานยนต์ 2 คัน ขับตามประกบหลัง จากนั้นได้ชักอาวุธปืนกระหน่ำยิงหลายนัดโดยไม่สนใจว่าจะเป็นผู้หญิงหรือเด็กที่นั่งมาด้วย จนทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บดังกล่าว หลังเกิดเหตุคนร้ายได้เร่งเครื่องหลบหนีไป
อย่างไรก็ตาม จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า นายหะแว เป็นพยานปากเอกในคดียิงผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ ซึ่งก็เชื่อว่าน่าจะเป็นประเด็นหนึ่งของการสังหารครั้งนี้ แต่ก็ยังไม่ได้ตัดประเด็นการสร้างสถานการณ์
ด้าน พล.ต.ต.จำรูญ เด่นอุดม ประธานมูลนิธิวัฒนธรรมอิสลามภาคใต้ และอดีตรอง ผบ.ตชด.ภ.4 เปิดเผยถึงกรณีการเรียกร้องให้พิสูจน์คุณสมบัติและประสิทธิภาพเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด จีที 200 ที่ใช้ในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่หน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องจะต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงเพื่อลดกระแสความคลางแคลงใจจากผู้คนในสังคม โดยเฉพาะประชาชนที่อาศัยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เริ่มไม่มั่นใจในอุปกรณ์ที่ช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในการดูแลสวัสดิภาพความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินอยู่ในเวลานี้
พล.ต.ต.จำรูญ กล่าวต่อว่า วันนี้ผู้เกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากจะต้องชี้แจงต่อสังคมถึงเรื่องประสิทธิภาพของเครื่องจีที 200 คงไม่พอเพราะสิ่งที่ประชาชนเริ่มตั้งข้อสังเกตเพิ่มขึ้นคือคุณภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด กับราคาหรืองบประมาณที่จ่ายไปมีความเหมาะสม หรือคุ้มค่ามากน้อยแค่ไหน ดังนั้น สิ่งที่หน่วยงานเกี่ยวข้องในเรื่องนี้ต้องตอบสังคมนอกจากเรื่องสมรรถนะของอุปกรณ์ชนิดนี้ว่าใช้งานได้ดีแค่ไหนแล้ว ยังต้องแสดงตอบคำถามถึงจำนวนเงินที่แลกกับเครื่องมือชนิดนี้ว่ามีความสมดุลย์แค่ไหนกับประสิทธิภาพการที่ทำงานได้ระดับหนึ่งเท่านั้น
“ตามข่าวราคาเครื่องจีที 200 มีมูลค่าเหยียบล้านบาท แต่ในขณะที่ประสิทธิภาพการใช้งานไม่สามารถตอบสนองการป้องกันปัญหาจากการก่อเหตุด้วยวัตถุระเบิดได้ชนิด 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หน่วยงานผู้เกี่ยวข้องควรพิจารณาว่ามีความคุ้มค่ากันหรือไม่ที่จะนำอุปกรณ์ชนิดนี้มาให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานใช้ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงต่อชีวิตไม่น้อย ดังนั้น ชาวบ้านจึงชักไม่มั่นใจเพราะไม่รู้จะฝากความเชื่อมั่นได้หรือไม่”
ทางด้านนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง กล่าวถึง กรณีที่หลายฝ่ายระบุถึงความไม่มีประสิทธิภาพของเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด GT 200 ว่า ยังไม่ได้สั่งการให้ตรวจสอบ เพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องเร่งรีบ เพราะรัฐบาลยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่ต้องจัดลำดับความสำคัญและดำเนินการ แต่หากสังคมยังมีข้อสงสัยก็ต้องพิสูจน์ข้อเท็จจริงให้ปรากฏชัดเจน
“เครื่องมือดังกล่าวเป็นที่ต้องการของเจ้าหน้าที่ เพราะสามารถใช้งานได้เห็นผล ส่วนกรณีที่พรรคเพื่อไทยจะยื่นเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบเรื่องนี้ ไม่เป็นปัญหา เนื่องจากการจัดซื้อเครื่องกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรก เมื่อปี 2547 สมัยที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาล” นายสุเทพ กล่าว