คนไทยส่วนใหญ่อาจจะไม่รู้ว่าบ้านเมืองของเรานี้ได้ผลาญงบประมาณจากเงินหลวงซึ่งมีที่มาจากภาษีของประชาชน โดยไร้คุณค่า โดยไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ หรือโดยไม่สมกับราคาเป็นจำนวนมากมายมหาศาลยิ่งนัก
เพราะเรามัวแต่วางใจว่ามีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องแผนพัฒนาต่างๆ มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความคุ้มและความไม่คุ้มในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ตลอดจนมีหน่วยงานที่กำกับตรวจสอบดูแลการใช้เงินงบประมาณ แต่ที่ไหนได้เหลวเป๋ว เละเฟะ จนแทบไม่น่าเชื่อ
มีการทำการสำรวจศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของนักการเมือง 2-3 คนแล้วปรากฏว่าภายใต้การบริหารจัดการของนักการเมือง 2-3 คนเท่านั้น ได้ล้างผลาญงบประมาณโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์กว่า 60,000 ล้านบาท
เช่น โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงการทำเขื่อน สนามบินในภาคอีสาน และสนามกีฬาบางแห่งในภาคอีสาน ใช้งบประมาณไปร่วม 60,000 ล้านบาท แต่ใช้สอยอันใดมิได้เลย
หรือถ้าจะพอมีประโยชน์อยู่บ้างก็ในฐานะที่เป็นอนุสรณ์ให้คนไทยทั้งหลายได้จดจำรำลึกว่ายุคหนึ่ง สมัยหนึ่ง มีนักการเมืองชั่วช้าสารเลวบังเกิดขึ้นในบ้านเมือง แล้วฉ้อฉลปล้นชาติผลาญแผ่นดินเป็นมูลค่ามหาศาล จะได้คิดอ่านป้องกันแก้ไขไม่ให้อันตรายเช่นนั้นเกิดขึ้นกับบ้านเมืองอีก
บทความในวันนี้มุ่งหมายจะบอกเตือนรัฐบาลโดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตลอดจนผู้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและราษฎรทั้งปวงให้ได้รู้ทั่วกันว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกล้างผลาญงบประมาณแผ่นดินถึง 700,000 ล้านบาท โดยที่ไม่คุ้มค่าและไม่คุ้มประโยชน์ แบบเดียวกับอนุสรณ์แห่งความชั่วช้าสารเลวอีกแล้ว
และคราวนี้เป็นเรื่องของกิจการรถไฟ โดยรัฐบาลได้อนุมัติโครงการใช้จ่ายเงินงบประมาณก้อนใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาการรถไฟ คือกำหนดเป็นวงเงินถึง 700,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาปรับปรุงเส้นทางรถไฟ และมุ่งโฉมหน้าไปสู่การสร้างรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ ไปถึงปลายทางสุดของแต่ละภาคของประเทศ
โดยมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงรางรถไฟแบบเก่าและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดสรรเงินก้อนแรกเป็นเงินสูงถึง 100,000 ล้านบาท และเพิ่งเพิ่มขึ้นอีก 50,000 ล้านบาท หลังจากพรรคการเมืองพรรคหนึ่งข่มขู่ว่าจะถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล
จึงกลายเป็นว่าในวงเงินปรับปรุงพัฒนารถไฟ 700,000 ล้านบาทนั้น จะใช้เงินก้อนแรกถึง 150,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงรางรถไฟแบบเก่า ตลอดจนระบบสัญญาณต่างๆ
ทำไมจึงกล่าวว่าจะเป็นการล้างผลาญงบประมาณแผ่นดินครั้งใหญ่ที่สุดเล่า?
ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันกิจการรถไฟนั้นเป็นกิจการที่ต้องสร้างวางโครงข่ายให้ทั่วถึงทั้งประเทศอย่างหนึ่ง และต้องเชื่อมโยงกับภูมิภาคหรือประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างหนึ่ง และปมเงื่อนก็คือขนาดความกว้างของรางที่ต้องเป็นขนาดเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะเชื่อมโยงแล่นถึงกันไม่ได้
ขนาดความกว้างของรางเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์รถไฟ เพราะปัจจุบันนี้ขนาดความกว้างของรางรถไฟในโลกไม่ว่าจะเป็นแบบรถไฟธรรมดา รถไฟรางคู่ หรือรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ล้วนใช้ขนาดรางกว้าง 1.43 เมตรทั้งสิ้น
แต่ประเทศไทยของเราซึ่งได้รับผลกระทบมาตั้งแต่สัญญาเบาริ่ง และการกดดันบังคับจากนักล่าอาณานิคมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง จึงทำให้รถไฟไทยต้องใช้ขนาดรางกว้างแค่ 1 เมตร และไม่มีการปรับปรุงใดๆ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ในปัจจุบันนี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยล้วนใช้รางกว้างมาตรฐาน คือรางกว้าง 1.43 เมตรทั้งสิ้น มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวที่ยังคงใช้รางขนาดกว้าง 1 เมตร ดังนั้นถ้าไม่รีบปรับยุทธศาสตร์รถไฟในเรื่องขนาดกว้างของรางแล้ว กิจการรถไฟไทยก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับภูมิภาคได้เลย
ขณะนี้ประเทศจีนเป็นเจ้าใหญ่ในเรื่องโครงข่ายรถไฟที่จะเชื่อมทวีปต่างๆ ในโลกกับทวีปเอเชีย และในเอเชียด้วยกันก็จะเป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน ดังนั้นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟจีน-อาเซียน จึงมีนัยยะสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย
แต่เดิมมานั้นมีการวางกำหนดเส้นทางโครงข่ายรถไฟอาเซียน จากจีนมาลงที่เมืองคุนหมิง แล้วดิ่งตรงผ่านชายแดนไทย-ลาว ตรงลงมาที่จังหวัดพิษณุโลก มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สี่เหลี่ยมอินโดจีน และแยกเป็น 3 สาย
สายหนึ่งลงใต้ ผ่านกรุงเทพฯ ตรงไปออกมาเลเซีย บรูไน และเชื่อมต่อไปถึงสิงคโปร์
อีกสายหนึ่งไปทางซ้าย เข้าพม่า และไปออกท่าเรือน้ำลึกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย เพื่อเป็นเส้นทางไปสู่แอฟริกา ตะวันออกกลางและยุโรป
อีกสายหนึ่งไปทางขวา เข้าลาว แล้วแยกไปเวียดนาม ไปสุดสายที่ท่าเรือน้ำลึกของเวียดนามเพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิคไปญี่ปุ่นและอเมริกา ส่วนอีกแยกหนึ่งไปเขมร ออกสู่ท่าเรือน้ำลึกของเขมร ออกสู่อ่าวไทยและไปได้ทั่วสารทิศ
โดยโครงข่ายนี้ประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์เป็นศูนย์กลางโครงข่ายรถไฟของเอเชียและอาเซียน-จีน จะทำให้เส้นทางคมนาคมต่างๆ และต้นทุนในการขนส่งต่างๆ เป็นประโยชน์ยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย
เส้นทางนี้จะเป็นรถไฟรางคู่ และมีขนาดรางกว้างแบบมาตรฐาน 1.43 เมตรทั้งสิ้น เพราะเป็นระบบรางที่สามารถรองรับรถขบวนใหญ่ ขนส่งคนและสินค้าได้มาก และใช้ความเร็วได้สูง ตลอดจนมีความปลอดภัยยิ่งกว่าระบบรางกว้าง 1 เมตร ที่ประเทศไทยใช้อยู่
แต่ทว่าประเทศไทยไม่ยอมเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระบบรางเป็นแบบมาตรฐาน และไม่สนใจโครงข่ายนี้ จนในที่สุดต้องถูกตัดทิ้งออกไปจากโครงข่าย ทำให้ประเทศไทยตกรถไฟขบวนนี้ไปแล้ว และจะทำให้อนาคตการขนส่งและต้นทุนของประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ จนกระทั่งไม่สามารถแข่งขันกันได้เลย
ทว่ายังไม่สาย ยังอยู่ในวิสัยและเวลาที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ ปัญหาอยู่ตรงที่รัฐบาลจะมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งหรือไม่เท่านั้น แต่เวลามีไม่มากแล้ว นี่คือจุดเป็นจุดตายที่สำคัญของอนาคตประเทศไทย ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างตั้งแต่วันนี้
โครงข่ายรถไฟดังกล่าวเป็นโครงข่ายรถไฟรางคู่ แต่เป็นรางมาตรฐาน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้ประเทศจีนเป็นเจ้าโลก และมีต้นทุนในการก่อสร้างถูกที่สุดในโลก
รถไฟความเร็วสูงเป็นรถไฟฟ้า ที่วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งบนระบบรางมาตรฐานที่เป็นระบบรางคู่ ดังนั้นความเร็วจึงมีตั้งแต่ระดับ 0-500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถได้ความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเป็นระบบที่ใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น ต่างกับรถไฟรางคู่ซึ่งเป็นระบบการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าต่างๆ
มีต้นทุนค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณกิโลเมตรละ 600 ล้านบาท อาจจะเห็นว่าแพง เมื่อเปรียบเทียบกับการก่อสร้างถนน แต่ต้องไม่ลืมว่าถนนนั้นยังต้องซื้อรถยนต์มาวิ่งและต้องสิ้นเปลืองพลังงานน้ำมัน ซึ่งกำลังเป็นอันตรายที่วิกฤตยิ่งใหญ่ของชาติอยู่ในขณะนี้ที่ไม่อาจเพิ่มได้อีกแล้ว
โครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ที่พูดกันว่าจะต้องใช้เงินลงทุน 700,000 ล้านบาท และจะก่อสร้างไปทั่วทุกภาคของประเทศ คือกรุงเทพฯ–เชียงราย, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซา, กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ระยองนั้น เป็นความเพ้อฝันและโกหกเด็กที่ไม่มีคุณค่าทางความเป็นจริง เพราะเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิงภายใต้ระบบรางกว้าง 1 เมตร และจำนวนงบประมาณที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ดังนั้นการตั้งงบประมาณเพื่อปรับปรุงกิจการรถไฟให้เป็นแบบรถไฟความเร็วสูงที่จะต้องใช้วงเงินทั้งสิ้น 700,000 ล้านบาท และจะใช้เงินก้อนแรก 150,000 ล้านบาทนั้น จึงนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ใดๆ แล้ว อีกไม่นานนักก็จะต้องถูกรื้อทิ้งหรือปล่อยทิ้งค้างไว้เหมือนเสารถไฟโฮปเวลล์ ที่ประจานการคอร์รัปชันในบ้านเมืองให้ผู้คนเห็นกันทั้งบ้านทั้งเมืองในขณะนี้
รัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงต้องเร่งหยุดแผนการและโครงการใช้เงิน 700,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้เงินก้อนแรก 150,000 ล้านบาทไว้ในทันที และรีบตัดสินใจดังต่อไปนี้
ประการแรก ปรับยุทธศาสตร์รางรถไฟเป็นขนาดมาตรฐานกว้าง 1.43 เมตรทั่วประเทศ และเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟรางคู่ของไทยกับโครงข่ายเส้นทางจีน-อาเซียน โดยใช้เงินกู้จากกองทุนก่อสร้างพื้นฐานของจีน
ประการที่สอง เร่งสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 สาย ที่มีความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-นครสวรรค์, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี โดยปรับงบพัฒนารถไฟ 700,000 ล้านบาทมาใช้แทน.
เพราะเรามัวแต่วางใจว่ามีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องแผนพัฒนาต่างๆ มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องความคุ้มและความไม่คุ้มในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ ตลอดจนมีหน่วยงานที่กำกับตรวจสอบดูแลการใช้เงินงบประมาณ แต่ที่ไหนได้เหลวเป๋ว เละเฟะ จนแทบไม่น่าเชื่อ
มีการทำการสำรวจศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของนักการเมือง 2-3 คนแล้วปรากฏว่าภายใต้การบริหารจัดการของนักการเมือง 2-3 คนเท่านั้น ได้ล้างผลาญงบประมาณโดยไม่ได้ใช้ประโยชน์กว่า 60,000 ล้านบาท
เช่น โครงการบ่อบำบัดน้ำเสีย โครงการทำเขื่อน สนามบินในภาคอีสาน และสนามกีฬาบางแห่งในภาคอีสาน ใช้งบประมาณไปร่วม 60,000 ล้านบาท แต่ใช้สอยอันใดมิได้เลย
หรือถ้าจะพอมีประโยชน์อยู่บ้างก็ในฐานะที่เป็นอนุสรณ์ให้คนไทยทั้งหลายได้จดจำรำลึกว่ายุคหนึ่ง สมัยหนึ่ง มีนักการเมืองชั่วช้าสารเลวบังเกิดขึ้นในบ้านเมือง แล้วฉ้อฉลปล้นชาติผลาญแผ่นดินเป็นมูลค่ามหาศาล จะได้คิดอ่านป้องกันแก้ไขไม่ให้อันตรายเช่นนั้นเกิดขึ้นกับบ้านเมืองอีก
บทความในวันนี้มุ่งหมายจะบอกเตือนรัฐบาลโดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ตลอดจนผู้เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองและราษฎรทั้งปวงให้ได้รู้ทั่วกันว่า ขณะนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ในความเสี่ยงที่จะถูกล้างผลาญงบประมาณแผ่นดินถึง 700,000 ล้านบาท โดยที่ไม่คุ้มค่าและไม่คุ้มประโยชน์ แบบเดียวกับอนุสรณ์แห่งความชั่วช้าสารเลวอีกแล้ว
และคราวนี้เป็นเรื่องของกิจการรถไฟ โดยรัฐบาลได้อนุมัติโครงการใช้จ่ายเงินงบประมาณก้อนใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาการรถไฟ คือกำหนดเป็นวงเงินถึง 700,000 ล้านบาท เพื่อพัฒนาปรับปรุงเส้นทางรถไฟ และมุ่งโฉมหน้าไปสู่การสร้างรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพฯ ไปถึงปลายทางสุดของแต่ละภาคของประเทศ
โดยมุ่งเน้นที่จะปรับปรุงรางรถไฟแบบเก่าและระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดสรรเงินก้อนแรกเป็นเงินสูงถึง 100,000 ล้านบาท และเพิ่งเพิ่มขึ้นอีก 50,000 ล้านบาท หลังจากพรรคการเมืองพรรคหนึ่งข่มขู่ว่าจะถอนตัวออกจากการร่วมรัฐบาล
จึงกลายเป็นว่าในวงเงินปรับปรุงพัฒนารถไฟ 700,000 ล้านบาทนั้น จะใช้เงินก้อนแรกถึง 150,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงรางรถไฟแบบเก่า ตลอดจนระบบสัญญาณต่างๆ
ทำไมจึงกล่าวว่าจะเป็นการล้างผลาญงบประมาณแผ่นดินครั้งใหญ่ที่สุดเล่า?
ก็ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อันกิจการรถไฟนั้นเป็นกิจการที่ต้องสร้างวางโครงข่ายให้ทั่วถึงทั้งประเทศอย่างหนึ่ง และต้องเชื่อมโยงกับภูมิภาคหรือประเทศเพื่อนบ้านอีกอย่างหนึ่ง และปมเงื่อนก็คือขนาดความกว้างของรางที่ต้องเป็นขนาดเดียวกัน มิฉะนั้นก็จะเชื่อมโยงแล่นถึงกันไม่ได้
ขนาดความกว้างของรางเป็นปัญหาทางยุทธศาสตร์รถไฟ เพราะปัจจุบันนี้ขนาดความกว้างของรางรถไฟในโลกไม่ว่าจะเป็นแบบรถไฟธรรมดา รถไฟรางคู่ หรือรถไฟความเร็วสูง หรือรถไฟฟ้าใต้ดิน ล้วนใช้ขนาดรางกว้าง 1.43 เมตรทั้งสิ้น
แต่ประเทศไทยของเราซึ่งได้รับผลกระทบมาตั้งแต่สัญญาเบาริ่ง และการกดดันบังคับจากนักล่าอาณานิคมในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง จึงทำให้รถไฟไทยต้องใช้ขนาดรางกว้างแค่ 1 เมตร และไม่มีการปรับปรุงใดๆ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย จนกระทั่งถึงทุกวันนี้
ในปัจจุบันนี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยล้วนใช้รางกว้างมาตรฐาน คือรางกว้าง 1.43 เมตรทั้งสิ้น มีแต่ประเทศไทยประเทศเดียวที่ยังคงใช้รางขนาดกว้าง 1 เมตร ดังนั้นถ้าไม่รีบปรับยุทธศาสตร์รถไฟในเรื่องขนาดกว้างของรางแล้ว กิจการรถไฟไทยก็จะไม่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับภูมิภาคได้เลย
ขณะนี้ประเทศจีนเป็นเจ้าใหญ่ในเรื่องโครงข่ายรถไฟที่จะเชื่อมทวีปต่างๆ ในโลกกับทวีปเอเชีย และในเอเชียด้วยกันก็จะเป็นจุดเชื่อมสำคัญระหว่างจีนกับประเทศอาเซียน ดังนั้นพื้นที่ยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟจีน-อาเซียน จึงมีนัยยะสำคัญต่ออนาคตของประเทศไทย
แต่เดิมมานั้นมีการวางกำหนดเส้นทางโครงข่ายรถไฟอาเซียน จากจีนมาลงที่เมืองคุนหมิง แล้วดิ่งตรงผ่านชายแดนไทย-ลาว ตรงลงมาที่จังหวัดพิษณุโลก มีจุดศูนย์กลางอยู่ที่สี่เหลี่ยมอินโดจีน และแยกเป็น 3 สาย
สายหนึ่งลงใต้ ผ่านกรุงเทพฯ ตรงไปออกมาเลเซีย บรูไน และเชื่อมต่อไปถึงสิงคโปร์
อีกสายหนึ่งไปทางซ้าย เข้าพม่า และไปออกท่าเรือน้ำลึกสู่ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย เพื่อเป็นเส้นทางไปสู่แอฟริกา ตะวันออกกลางและยุโรป
อีกสายหนึ่งไปทางขวา เข้าลาว แล้วแยกไปเวียดนาม ไปสุดสายที่ท่าเรือน้ำลึกของเวียดนามเพื่อออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิคไปญี่ปุ่นและอเมริกา ส่วนอีกแยกหนึ่งไปเขมร ออกสู่ท่าเรือน้ำลึกของเขมร ออกสู่อ่าวไทยและไปได้ทั่วสารทิศ
โดยโครงข่ายนี้ประเทศไทยจะได้รับอานิสงส์เป็นศูนย์กลางโครงข่ายรถไฟของเอเชียและอาเซียน-จีน จะทำให้เส้นทางคมนาคมต่างๆ และต้นทุนในการขนส่งต่างๆ เป็นประโยชน์ยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย
เส้นทางนี้จะเป็นรถไฟรางคู่ และมีขนาดรางกว้างแบบมาตรฐาน 1.43 เมตรทั้งสิ้น เพราะเป็นระบบรางที่สามารถรองรับรถขบวนใหญ่ ขนส่งคนและสินค้าได้มาก และใช้ความเร็วได้สูง ตลอดจนมีความปลอดภัยยิ่งกว่าระบบรางกว้าง 1 เมตร ที่ประเทศไทยใช้อยู่
แต่ทว่าประเทศไทยไม่ยอมเปลี่ยนยุทธศาสตร์ระบบรางเป็นแบบมาตรฐาน และไม่สนใจโครงข่ายนี้ จนในที่สุดต้องถูกตัดทิ้งออกไปจากโครงข่าย ทำให้ประเทศไทยตกรถไฟขบวนนี้ไปแล้ว และจะทำให้อนาคตการขนส่งและต้นทุนของประเทศไทยสูงกว่าประเทศอื่นๆ จนกระทั่งไม่สามารถแข่งขันกันได้เลย
ทว่ายังไม่สาย ยังอยู่ในวิสัยและเวลาที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ ปัญหาอยู่ตรงที่รัฐบาลจะมีความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งหรือไม่เท่านั้น แต่เวลามีไม่มากแล้ว นี่คือจุดเป็นจุดตายที่สำคัญของอนาคตประเทศไทย ที่จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้กระจ่างตั้งแต่วันนี้
โครงข่ายรถไฟดังกล่าวเป็นโครงข่ายรถไฟรางคู่ แต่เป็นรางมาตรฐาน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งขณะนี้ประเทศจีนเป็นเจ้าโลก และมีต้นทุนในการก่อสร้างถูกที่สุดในโลก
รถไฟความเร็วสูงเป็นรถไฟฟ้า ที่วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งบนระบบรางมาตรฐานที่เป็นระบบรางคู่ ดังนั้นความเร็วจึงมีตั้งแต่ระดับ 0-500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จึงสามารถได้ความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเป็นระบบที่ใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารเท่านั้น ต่างกับรถไฟรางคู่ซึ่งเป็นระบบการขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าต่างๆ
มีต้นทุนค่าก่อสร้างเฉลี่ยประมาณกิโลเมตรละ 600 ล้านบาท อาจจะเห็นว่าแพง เมื่อเปรียบเทียบกับการก่อสร้างถนน แต่ต้องไม่ลืมว่าถนนนั้นยังต้องซื้อรถยนต์มาวิ่งและต้องสิ้นเปลืองพลังงานน้ำมัน ซึ่งกำลังเป็นอันตรายที่วิกฤตยิ่งใหญ่ของชาติอยู่ในขณะนี้ที่ไม่อาจเพิ่มได้อีกแล้ว
โครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐบาล ที่พูดกันว่าจะต้องใช้เงินลงทุน 700,000 ล้านบาท และจะก่อสร้างไปทั่วทุกภาคของประเทศ คือกรุงเทพฯ–เชียงราย, กรุงเทพฯ-ปาดังเบซา, กรุงเทพฯ-หนองคาย, กรุงเทพฯ-ระยองนั้น เป็นความเพ้อฝันและโกหกเด็กที่ไม่มีคุณค่าทางความเป็นจริง เพราะเป็นไปไม่ได้อย่างสิ้นเชิงภายใต้ระบบรางกว้าง 1 เมตร และจำนวนงบประมาณที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้
ดังนั้นการตั้งงบประมาณเพื่อปรับปรุงกิจการรถไฟให้เป็นแบบรถไฟความเร็วสูงที่จะต้องใช้วงเงินทั้งสิ้น 700,000 ล้านบาท และจะใช้เงินก้อนแรก 150,000 ล้านบาทนั้น จึงนอกจากจะไม่เป็นประโยชน์ใดๆ แล้ว อีกไม่นานนักก็จะต้องถูกรื้อทิ้งหรือปล่อยทิ้งค้างไว้เหมือนเสารถไฟโฮปเวลล์ ที่ประจานการคอร์รัปชันในบ้านเมืองให้ผู้คนเห็นกันทั้งบ้านทั้งเมืองในขณะนี้
รัฐบาลและนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงต้องเร่งหยุดแผนการและโครงการใช้เงิน 700,000 ล้านบาท ซึ่งจะต้องใช้เงินก้อนแรก 150,000 ล้านบาทไว้ในทันที และรีบตัดสินใจดังต่อไปนี้
ประการแรก ปรับยุทธศาสตร์รางรถไฟเป็นขนาดมาตรฐานกว้าง 1.43 เมตรทั่วประเทศ และเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟรางคู่ของไทยกับโครงข่ายเส้นทางจีน-อาเซียน โดยใช้เงินกู้จากกองทุนก่อสร้างพื้นฐานของจีน
ประการที่สอง เร่งสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 สาย ที่มีความเร็วเฉลี่ย 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เชื่อมกรุงเทพฯ-โคราช, กรุงเทพฯ-นครสวรรค์, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-ประจวบคีรีขันธ์ และกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี โดยปรับงบพัฒนารถไฟ 700,000 ล้านบาทมาใช้แทน.